การแพร่ระบาดอย่างหนักของไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ Covid-19 มีคำถามต่างๆมากมาย เช่น โควิท-19คืออะไร อาการโควิท การรักษาโควิท แนวทางการกักตัว 14 วัน เป็นต้น

covid-19 ไวรัสโคโรน่า โรคติดต่อ โรคระบาด

1. Covid-19 คืออะไร

COVID-19 คือ โรคติดต่อที่ระบบทางเดินหายใจจากเชื้อโคโรนาไวรัส SARS-CoV-2 พบการแพร่ของเชื้อครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของที่มีของเชื้อโรคได้ แต่สันนิษฐานว่ามาจากค้างคาว ซึ่งองค์การอนามัยโลก ( WHO ) ประกาศตั้งชื่ออย่างเป็นทางการสำหรับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยใช้ชื่อว่า ” โควิด-19 ” ( Covid-19 ) ย่อมาจาก “ coronavirus disease starting in 2019 ”

2. ไวรัสโคโรน่าการติดต่อคนสู่คนได้อย่างไร

การติดต่อของเชื้อไวรัสโคโรน่า เกิดจากการสัมผัสหรือสูดดมสารคัดหลั่งจากผู้ที่มีเชื้อโรค เช่น การพูดคุยในระยะใกล้ การอยู่ในพื้นที่ที่คนมี่เชื้อโรคตะโกน การสัมผัสหรือสูดดมละอองฝอยจากการไอจาม การรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารคัดหลั่งจากละอองฝอยสารคัดหลั่ง เป็นต้น

3. การใช้ชีวิตแบบปรกติมีความเสี่ยงการติดโควิทหรือไม่

เชื้อไวรัสโคโรน่าอยู่ในละอองฝอย สามารถอยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมอย่างปรกติ ซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นเชื้อโรคได้ การใช้ชีวิตแบบปรกติ มีการเดินทางไปทำงาน ออกนอกบ้าน สื่อสารกับคนทั่วไปแบบปรกติ โดยไม่มีการใส่เครื่องป้องกัน มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อได้ ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง

4. ลักษณะของอาการโควิท-19 เป็นอย่างไรบ้าง

ผู้ติดเชื้อโควิทบางรายไม่แสดงอาการป่วย เนื่องจากมีร่างกายที่แข็งแรง แต่ถึงแม้ร่างกายไม่แสดงอาการแต่สามารถแพร่เชื้อได้ สำหรับการแสดงอาการของโรค คือ มีไข้สูง ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เหนื่อยหอบ หายใจเร็ว เป็นต้น

5. Covid-19 รักษาได้หรือไม่ ถ้าติดเชื้อโคโรน่ารักษาอย่างไร

แนวทางการรักษาโควิท ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรค การรักษาใช้การรักษาประคับประครองตามอาการของโรค แต่ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคและรักษาตัวเองได้ และสามารถหายได้เอง โอกาสในการรักษาหายมีมากกว่าการเสียชีวิต

6. ยารักษาโคโรน่ามีหรือยัง

ยังไม่มีการยืนยันว่ามียาใดสามารถรักษาโควิทได้โดยตรง แต่มีการใช้ยาบางชนิดที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการหนักไวรัสลงปอด โดยใช้ยาฟาพิลาเวียร์ ( Favilavir ) แต่มีผลข้างเคียงจากการใช้ยามาก หากไม่มีอาการหนัก แพทย์จะไม่เลือกใช้ยาชนิดนี้ในการรักษา

7. เชื้อไวรัสโคโรน่าสามารถอยู่ในสภาพปรกติได้นานเท่าใด

มีการศึกษาไวรัสโคโรน่า พบว่าไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวโลหะ แก้ว หรือพลาสติก ได้นานถึง 9 วัน หากอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส จะอยู่ได้อย่างน้อย 28 วัน แต่หาก 30 องศาเซลเซียส ขึ้นไป จะมีชีวิตอยู่ได้น้อยลง และสามารถทความร้อนได้มากถึง 70 องศาเซลเซียส เชื้อไวรัสตัวนี้จะตายเมื่ออยู่ในอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป การใช้แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70-90% รวมทั้งสารลดแรงตึงผิวต่าง ๆ เช่น สบู่ ผงซักฟอก

8. แอลกอฮอล์สามารถฆ่าเชื้อโควิทได้หรือไม่

เอทิลแอลกอฮอล์หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70 – 90% สามารถทำลายโคโรนาไวรัสได้ นอกจากแอลกอฮอล์การล้างมือด้วยน้ำสะอาดและการถูสบู่อย่างถูกวิธี ก็สามารถทำลายไวรัสดควิทได้เหมือนกัน

9. การเดินทางจากพื้นที่เสี่ยงโรคต้องทำอย่างไร

หากไม่จำเป็นต้องเดินทางในพื้นที่ที่มีเชื้อไวรัสแพร่ระบาด ควรพักการเดินทางก่อน แต่หากจำเป็นต้องป้องกันการติดเชื้อ ใส่เครื่องป้องกันต่างๆ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และ เมื่อกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง ให้อาบน้ำล้างตัว และ ล้างรองเท้า ซักผ้า และ ต้องกักตัว 14 วัน เพื่อดูอาการของตนเอง

10 การกักตัว 14 วัน ต้องทำอย่างไร

ต้องแยกตัวยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งคนเดียว ที่อยู่แยกจากคนในครอบครัว หากจำเป็นต้องสื่นสารให้ใช้โทรศัพท์ หรือ การสื่อสารในระยะไกลๆ ในระหว่างที่กักตัวห้ามออกมาจากพื้นที่กักตัว

11 พฤติกรรมใดเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิท

การอยู่ในพื้นที่แออัดที่ต้องใช้เสียงโดนการตะโกน เช่น สนามกีฬา สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สถานบันเทิง รถบริการสาธารณะ นอกจากนี้ พฤติกรรมต่างๆ เช่น การทักทายด้วยการสัมผัสหน้า หรือ ตัว การกอด การจูบ การหอมแก้ม การสัมผัสใบหน้า ขยี้ตา แคะจมูก แคะหู ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น การใช้จานช้อนร่วมกัน เป็นต้น

12 หากสงสัยว่าติดเชื้อโควิทต้องทำอย่างไร

หากมีประวัติเดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือ ใกล้ชิดกับบุคคลกลุ่มเสี่ยง และ มีอาการคือ มีไข้สูง ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัยไว้ตลอดเวลา แล้ว โทร. 1422 รถพยาบาลมารับถึงที่พัก

13 หน้ากากอนามัย หรือ หน้ากากผ้า ป้องกันโควิทได้หรือไม่

การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า สามารถช่วยป้องกันละอองฝอยเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ผู้ป่วย ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือผู้ที่ต้องเข้าพื้นที่ชุมชนใส่หน้ากากอนามัย ส่วนหน้ากากผ้า สามารถซักแล้วใช้ซ้ำได้

คำแนะนำสำหรับหน้ากากอนามัย ควรใส่วันเดียวแล้วทิ้ง แต่หากไม่ได้ป่วย อาจใส่ซ้ำได้อีกวัน

14 สัตว์เลี้ยง หมา หรือ แมว สามารถแพร่เชื้อได้หรือไม่

ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าสุนัขหรือแมว สามารถแพร่เชื้อโคโรนาไวรัสสู่คนได้

15 การจับธนบัตรมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิทหรือไม่

ธนาบัตรอาจปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิท เมื่อสัมผัสธนาบัตร ควรล้างมือให้สะอาด หรือ เลือกการใช้เงินแบบิอื่น เช่น Wallet หรือ Mobile banking เป็นต้น

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนักของไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ หรือ Covid-19 มีคำถามต่างๆมากมาย เช่น โควิท-19คืออะไร อาการโควิท การรักษาโควิท แนวทางการกักตัว 14 วัน เป็นต้น เรารวบรวมคำถามต่างๆ 15 คำถามสำหรับ Covid-19

ปอดบวม ภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ติดจากสารคัดหลั่งของผู้มีเชื้อโรค ทำให้เจ็บหน้าอก ไอ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย ทำให้ร่างกายขาดอ๊อกซิเจน อาจเสียชีวิต รักษาอย่างไร

โรคปอดบวม โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ

ภาวะปอดอักเสบ เป็นภาวะอันตรายทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากปอดอักเสบ ส่งผลกระทบต่อระดับออกซิเจนในร่างกาย ซึ่งปอดจะมีอาการบวม มีน้ำในถุงลม และ ปอดมีหนอง เกิดจากการติดเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้มักอาศัยอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย เกิดการแพร่กระจายจากการไอ การจาม เป็นต้น

สาเหตุของโรคปอดบวม

สำหรับสาเหตุของโรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ มี 2 สาเหตุหลักๆ คือ ปอดอักเสบจากการติดเชื้อโรค และ ปอดอักเสบจากการไม่ติดเชื้อโรค โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุของปอดบวมที่พบมากที่สุด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ปอด ทำให้เกิดการอักเสบของปอดและถุงลมในปอด
  • ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุขากการสูดอากาศทึ่มีมลพิษ ก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดทำให้ปอดอักเสบได้

โรคปอดบวม ( Pneumonia ) เกิดจากเชื้อโรค เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือ พยาธิ ซึ่งเชื้อโรคมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย โดยแพร่กระจายได้โดยการไอหรือจาม  นอกจากนี้พบว่ามีสารเคมี เช่น ไนโตรเจน แอมโมเนีย ไดออกไซด์ สามารถทำให้เกิดโรคปอดบวม 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม

โรคปอดอักเสบสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งสำหรับปอดอักเสบที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อโรค มักพบบ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และ ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังพบได้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอีก ดังต่อไปนี้

  • อายุ ในเด็กเล็กๆและในผู้สูงอายุ เพราะร่างกายมีความบกพร่องในการป้องกันและกำจัดเชื้อโรค
  • การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และ/หรือรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษาโรคมะ เร็ง (ยาเคมีบำบัด) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค และการกำจัดเชื้อโรค
  • การมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฟันผุ และเหงือกเป็นหนอง โรคไตเรื้อรัง ฯลฯ
  • การไม่รักษาสุขภาพและอนามัย เช่น การขาดอาหาร สุขภาพทรุดโทรม อยู่อาศัยในสถานที่ที่ไม่มีการถ่ายเทอากาศที่ดีพอ ในที่ที่มีมลภาวะที่ต้องหายใจและสูดมลภาวะเข้าไปในปอด

อาการของโรคปอดบวม

สำหรับการแสดงอาการของโรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ เนื่องจากปอดเป็นแหล่งของออกซิเจนในร่างกาย นอกจากการแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจโดนตรงและ ผู้ป่วยจะมีอาการทั่วร่างกาย เช่น เหนื่อยง่าย ปวดตัว มีไข้ หรือ ตัวอุ่นๆ สำหรับลักษณะอาการของโรคปอดบวม สามารถสรุปลักษณะของอาการ ได้ดังนี้

  • ไอมีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ
  • หายใจเร็ว หายใจหอบ หายใจลำบาก
  • มีไข้ เหงื่อออก หนาวสั่น
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย
  • สำหรับผู้สูงอายุ อาจมีอาการซึม ความรู้สึกสับสน อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
  • สำหรับเด็กเล็ก อาจมีอาการท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ

การรักษาโรคปอดบวม

สำหรับแนวทางการรักษาโรคปอดบวม สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค รวมกับการประคับประครองตามอาการของโรค และ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค โดยรายละเอียดของการรักษาโรคปอดบวม มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ หากในรายที่เป็นไม่มากและไม่มีอาการแทรกซ้อนอาจให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกด้วยยาชนิดรับประทาน กรณีนอกจากนี้การรักษาควรให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดแบบผู้ป่วยใน
  • การรักษาประคับประคองตามอาการทั่วๆไปเช่น การให้ยาลดไข้ การให้สารน้ำทางหลอดเลือด การให้ออกซิเจน การให้อาหารเหลวทางสายให้อาหารลงกระเพาะอาหารในรายที่รับประทานอาหารเองไม่เพียงพอ ฯลฯ
  • การรักษาอาการแทรกซ้อนเช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจในรายที่เหนื่อยและหายใจเองไม่เพียงพอ การให้ยาเพิ่มความดันโลหิตหากมีความดันโลหิตลดต่ำลง ฯลฯ

การป้องกันโรคปอดบวม

แนวทางการป้องกันโรคปอดบวม สามารถทำได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และ ดูแลสุขอนามัยให้สะอาดถูกหลักอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค ซึ่งสามารถป้องกันโรค ได้ดังนี้

  • ดูแลสภาพแวดล้อมต่างๆให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • นอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • การงดและเลิก บุหรี่ สุรา และยาเสพติด
  • หากท่านมีโรคประจำตัวอยู่ ให้รักษาตามแผนและคำแนะนำของการรักษาโรคนั้นๆอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว
  • หากจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงเกิดโรค ให้ป้องกันการรับเชื้อโดยการปิดปากและจมูกเมื่อต้องสัมผัสผู้ป่วยที่ไอ หรือจาม และผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม ควรป้องกันการแพร่กระจายฝอยละอองไปยังผู้อื่น ด้วยการปิดปากและจมูกด้วยกระดาษหรือผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัย
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้ได้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ยาเคมีบำบัด ฯลฯ ควรพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำปีทุกปี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove