เนื้องอกในสมอง เนื้อเยื่อผิดปรกติที่สมอง ทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก มีปัญหาการพูดและการฟัง รวมถึงการมองเห็น กลายเป็นมะเร็งสมองได้โรคเนื้องอกในสมอง เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคระบบประสาทและสมอง

ชนิดของเนื้องอกที่สมอง

สำหรับการแบ่งชนิดของเนื้องอกที่สมองนั้น สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เนื้องอกที่เป็นเนื้อธรรมดา และ เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย ดดยรายละเอียดของเนื้องอก แต่ละประเภทมีรายละเอียด ดังนี้

  • เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อธรรมดา ( Benign Brain Tumors ) ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ ไม่อันตรายและเจริญเติบโตช้า สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อร้าย ( Malignant Brain Tumors ) ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ มีอันตรายเจริญเติบโตแบบผิดปกติ เป็น เซลล์มะเร็ง และจะลามเข้าสู่สมอง ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมอง

สำหรับการเกิดเนื้องอกที่สมองนั้น เราสามารถแยกสาเหตุของโรคได้ 2 สาเหตุ แยกตามชนิดของเนื้องอก คือ สาเหตุของเนื้องอกในสมองแบบธรรมดา และ สาเหตุของเนื้องอกในสมองแบบเนื้อร้าย โยรายละเอียดของการเกิดเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองแบบเนื้อธรรมดา พบว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตแบบผิดปกติ
  • สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองแบบเนื้อร้าย เกิดจากเซลล์มะเร็งก่อที่สมอง โดยเซลล์มะเร็งจากอวัยวะอื่นลามเข้าสู่สมอง ทางกระแสเลือด จนเกิดเนื้อร้าย โดยเนื้อร้ายจะเจริญเติบโตได้เร็ว และเป็นอันตรายต่อร่างกาย

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง มี 4 ระยะ เหมือนกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะไม่แบ่งระยะของมะเร็ง แต่จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่รักษาแล้วลับมาเป็นซ้ำ

อาการของผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง

เมื่อเกิดเนื้อร้ายขึ้นที่สมองนั้น จะแสดงอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดยลักษณะอาการของโรคเนื้องอกในสมอง เป็นอาการที่แสดงออกอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยได้รับความทรมาน โดยสามารถสรุปอาการของโรคได้ดังนี้

  • ปวดอย่างรุนแรง และ เพิ่มความปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการง่วงซึม
  • ประสิทธิภาพในการพูดลดลง พูดจาติดขัด
  • ประสิทธิภาพการฟังลดลง ไม่ได้ยินเสียง
  • ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง มองเห็นเป็นภาพเบลอๆ หรือ มองเห็นภาพซ้อน
  • มีอาการสับสน มึนงง
  • ความจำไม่ดี
  • ประสิทธิภาพการทรงตัวลดลง
  • มีอาการชัก
  • แขนขาอ่อนแรง
  • อัมพาตครึ่งซีก

อาการต่างๆเหล่านี้ บ่งบอกถึงความผิดปรกติของการทำงานของสมองที่เชื่อมต่อกับระบบประสาท หากว่ามีอาการลักษณะดังกล่าว มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ปัจจัยต่างๆที่ทำให้มีโอกาสเกิดเนื้องอกในสมองนั้น มีหลายปัจจัย สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม ในกรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติการเกิดเนื้องอกในสมอง พบว่าคนในครอบครัวเดียวกันมีโอกาสการเกิดเนื้องอกในสมอง สูงกว่าคนในครอบครัวที่ไม่มีประวัติ
  • การได้รับรังสีอันตรายเป็นเวลานาน เช่น รังสีจากไมโครเวฟ คลื่นโทรศัพท์ รังสีจากการฉายแสงรักษามะเร็ง รังสีจากระเบิดปรมาณู แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดเชื่อมโยงว่ารังสีเหล่านี้ แต่การได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย นั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกในสมองได้
  • อายุ ซึ่งจากสถิติการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง พบว่าเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย แต่อัตราการเกิดโรคของผู้ใหญ่มีสูงกว่าเด็ก

การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

เมื่อพบว่าระบบการทำงานของร่างกายผิดปรกติ ลักษณะคล้ายกับโรคเนื้องอกในสมอง นั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยการซักประวัติ และ อาการโดยเบื้องต้น จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยมีวิธีการตรวจร่างกาย ดังนี้

  • การทำการเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) หรือ การทำตรวจเอกซเรย์สมองทางคอมพิวเตอร์ (CT scan) จะทำให้แพทย์เห็นภาพเกี่ยวกับความผิดปรกติของสมองอย่างชัดเจน
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อตรวจให้ชัดเจนว่าเนื้องอกเป็นเนื้องอกชนิดใด
  • การตรวจเลือด เพื่อประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไปของผู้ป่วย
  • ตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอก ปอด และ การแพร่กระจายของโรคมะเร็งสู่ปอด

วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง นั้น มีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอก แบะ สภาพร่างกายของผู้ป่วย  โดยแนวทางการรักษาเนื้องอกในสมอง มีอยู่ 3 วิธีหลัก คือ การผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด และการให้ยารักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ

  • การผ่าตัดเพื่อรักษาเนื้องอกในสมอง สามารถทำได้หากจุดที่เกิดเนื้องอกไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อและเส้นประสาท ซึ่งการผ่าตันนั้แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกให้มากที่สุด
  • การฉายแสงเพื่อรักษาเนื้องอกในสมอง เป็นการใช้รังสีพลังงานสูง ทำลายเนื้องอกที่สมอง การฉายรังสีนั้นสามารถทำได้ทั้งวิธีการฉายรังสีจากภายนอก และ การฝังรังสี
  • การให้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาเพื่อทำบายเซลล์เนื้องอก โดยการให้เคมีบำบัดมีทั้งรูปแบบยากิน และ ยาฉีด ซึ่งการให้เคมีบำบัดนั้นต้องอยู่ในวินิจฉัยของแพทย์

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดเนื้องอกในสมอง

สิ่งที่ต้องระวังจากการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง คือ ภาวะแทรกซ้อน ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรคเนื้องอกในสมองมีความอันตรายถึงชีวิต โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • การตกเลือดที่สมอง ณ จุดที่มีเนื้องอกอยู่
  • ภาวะการอุดตันของน้ำไขสันหลัง ทำให้โพรงสมองคั่งน้ำ
  • ภาวะสมองเคลื่อนตัวจากฐานกะโหลก ทำให้ความดันสมองเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต
  • อาการชัก เมื่อเนื้องอกในสมองขยายตัว หรือ สมองมีอาการบวม เสี่ยงต่อการเกิดลมชัก แพทย์จะให้ทานยาต้านอาการชัก

การป้องกันการเกิดเนื้องอกในสมอง

เนื่องจากในปัจจุบัน การศึกษาทางการแพทย์ยังไม่ทราบยืนยันสาเหตุของการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้ แต่ปัจจัยการเกิดโรค คือ พันธุกรรม การรับรังสีอันตราย และ อายุของผู้ป่วยและภูมิต้านทานต่อโรคของแต่ละคน ดังนั้น ในปัจจัยการเกิดโรคบางอย่างสามารถป้องกันได้ โดยสามารถสมุนปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง ได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้รังสีอันตราย เป็นเวลานาน เช่น รังสีไมโครเวฟ รังสีปรมณู
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ที่มีควันบุหรี่ สถานที่สกปรกไม่ถูกหลักอนามัย
  • หมั่นตรวจร่างกาย คัดกรองโรค เพื่อให้สามารถรักษาโรคได้ทันท่วงที
  • หากมีอาการผิดปรกติ ปวดหัวรุนแรง ให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของโรค

โรคเนื้องอกในสมอง การเกิดเนื้อเยื่อผิดปรกติที่สมอง ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก มีปัญหาการพูดและการฟัง รวมถึงการมองเห็น สามารถกลายเป็นมะเร็งสมองได้ หากไม่ได้รับการรักษา

สมองฝ่อ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอทำให้เนื้อสมองหายไปบางส่วนจากการเสื่อมตามวัย ส่งผลกระทบต่อความจำและอารมณ์ พบบ่อยในคนอายุ 75 ปีขึ้นไป โรคผู้สูงวัยและครดื่มสุราจัดสมองฝ่อ โรคสมองฝ่อ สมองเสื่อม โรคคนแก่

สมองฝ่อ คือ ภาวะปริมาณเนื้อสมองลดลง เป็นการเสื่อมของอวัยวะในร่างกายตามธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นกับสมอง มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เซลล์สมองของมนุษย์ ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างพิเศษมีประมาณ 140,000 ล้านเซลล์ ซึ่งแต่ละเซลล์ก็มีการเชื่อมติดกันและทำงานประสานกัน ซึ่งการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทจะสร้างกระแสไฟฟ้า เพื่อส่งสัญญาณจากสารประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์ประสาทหนึ่งทั่วสมอง แต่เมื่อเซลล์บางส่วนถูกทำลายจึงทำให้เกิดการเสื่อมของสมอง

มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคสมองฝ่อ เราได้สรุป 5 พฤติกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคสมองฝ่อ มีดังนี้

  • การไม่รับปรทานอาหารเช้า เนื่องจากการไม่กินอาหารเช้าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้สมองขาดสารอาหารไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ทำให้สมองเสื่อมได้
  • การดื่มน้ำน้อย การที่ร่างกายของมนุษย์ขาดน้ำ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งในสมองมีน้ำมากถึงร้อยละ 85 เมื่อเราอยู่ในภาวะร่างกายขาดน้ำ เซลล์สมองก็จะเสื่อมลงได้ง่ายขึ้น
  • การกินแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งแป้งและน้ำตาลหากมีมากเกินไปทำให้ความสามารถการดูดซึมโปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญของร่างกาย หากขาดโปรตีนทำให้สมองเสื่อมง่าย
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • ความเครียด ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งส่งผลร้ายต่อร่างกายและสมอง

สาเหตุของการเกิดโรคสมองฝ่อ

สำหรับสาเหตุของโรคสมองฝ่อมีหลายสาเหตุ โดยมีปัจจัยของการเกิดโรคสมองฝ่อ มีดังนี้

  • การเสื่อมของสมองตามวัย
  • การเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะกระทบกระเทือนต่อสมอง
  • การการทานยากันชัก ไดแลนติน (Dilantin)
  • โรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคภูมิต้านตนเอง (SLE) โรคไตวาย โรคติดเชื้อในสมอง โรคสมองอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสมอง เช่น ความเครียด การพักผ่อนน้อย การไม่ทานอาหารเช้า การขาดสารอาหาร เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคสมองฝ่อ

สำหรับผู้ป่วยโรคสมองฝ่อ สามารถสรุปลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคสมองฝ่อได้ ดังนี้

  • มีอาการลืมสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ซึ่งต่อมาจะส่งผลกระทบในด้านการรับรู้ การเข้าใจ และเหตุผล ทำให้ขาดความสนใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นรอบตัว และในกรณีที่อาการหนักจะทำให้บุคลิกภาพของผู้สูงอายุเสียไป
  • มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขน และ ขา
  • ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองน้อยลง โดยมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็นความจำเสื่อม หลงลืม มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
  • ขี้หลงขี้ลืม เช่น พึ่งกินข้าวเสร็จ แต่บอกว่ายังไม่ได้กิน

การรักษาโรคสมองฝ่อ

สำหรับการรักษาโรคนี้นั้น ต้องรักษาตามอาการและต้องหาเหตุของโรคให้ชั้ดเจนเพื่อรักษาให้ตรงจุด โดยสามารถสรุปแนวทางการรักษาโรคสมองฝ่อ ได้ดังนี้

  • หากตรวจร่างกายแล้วพบว่าอยู่ในภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย ซึ่งมีโอกาศเสี่ยงการเกิดโรคสมองฝ่อ สามารถป้องกันและแก้ไขก่อนที่จะเกิดโรค รวมถึงการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่มีผลต่อการทำงานของสมอง
  • ในการรักษาโรคสมองฝ่อ อื่นๆให้รักษาและประคับประครองตามอาการที่พบ ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง ควรมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
  • ให้ปรับสภาพแวดล้อมให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย เช่น อาหารที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ขับถ่ายทุกวัน เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคสมองฝ่อ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคสมองฝ่อ สามารถป้องกันได้หากปรับพฤติกรรมให้เป็นประโยชน์ต่อสมอง ลดผลกระทบทุกอย่างที่มีโอกาสทำลายสมอง โดยรายละเอียดมี ดงันี้

  • หมั่นออกกำลังกายสมอง เช่น การฝึกคิด ฝึกการรับรู้ความรู้สึกให้สัมพันธ์กัน เช่น กระตุ้นการได้ยิน การมองเห็น การได้กลิ่น การรับรส เป็นต้น
  • การเล่นเกมส์หมากรุก
  • ฝึกคิดเลข
  • ท่องเที่ยวเพื่อพบเพื่อนใหม่ๆ
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารประเภทปลาทะเล ขิง ใบบัวบก เป็นต้น
  • ไม่ดื่มสุรา
  • งดสูบบุหรี่
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

โรคสมองฝ่อ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เนื้อสมองหายไปบางส่วนจากการเสื่อมตามวัย โรคผู้สูงอายุ ส่งผลกระทบต่อระบบความจำและอารมณ์ พบบ่อยในคนอายุ 75 ปีขึ้นไป สาเหตุหลักจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ รวมถึงดื่มสุรามากด้วย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove