โลหิตเป็นพิษ ( Sepsis ) ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด เลือดมีความเป็นพิษ ทำให้อักเสบทั่วร่างกาย มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดตัว คลื่นไส้ อ่อนแรง โรคร้ายแรงต้องรีบรักษาโลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด โรคเลือด

ภาวะโลหิตเป็นพิษ หมายถึง การที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายติดเชื้อ หรือ สารพิษ ทำให้เกิดการอักเสบตามร่างกาย ซึ่งทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายเสียหาย ทำให้ความสามารถในการไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของเลือดลดลง  ส่งผลทำให้อาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง รุนแรงความดันโลหิตจะต่ำ ซึ่งอันตรายมาก

โลหิตที่เป็นพิษ ทำให้เกิดการอักเสบตามร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายเสียหาย ส่งผลทำให้อาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อลดลง รุนแรงความดันโลหิตจะต่ำ ซึ่งอันตรายต่อชีวิต

สาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด เราสามารถแบ่งสาเหตุตามอวัยวะที่ติดเชื้อ ได้ดังนี้

  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง ได้แก่ ไส้ติงอักเสบ ไส้ติ่งแตก ลำไส้ทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบ ช่องท้องอักเสบหรือเป็นหนอง  ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่ระบบประสาท ได้แก่ ไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การติดเชื้อที่ระบบหายใจได้แก่ ไซนัสอักเสบ ปอดบวม
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง ได้แก่ แผลติดเชื้อ หนองที่ผิวหนัง แผลเบาหวาน ฝี ผื่นแพ้ที่มี
  • การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กรวยไตอักเสบ

ปัจจัยที่สุงผลให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด มีหลายสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อสุ่กระแสเลือด ซึ่งจำแนกได้ ดังนี้

  • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันภายในร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ที่ป่วยโรคเอดส์ ผู้เป็นมะเร็ง
  • การรับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ผู้ผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ผู้ที่รับประทานยา steroid เรื้อรัง เป็นต้น
  • ทารก ซึ่งเด็กยังไม่มีภูมคุ้มกันในร่างกายมากนัก
  • ผู้สูงอายุ ซึ่งร่ายกายเริ่มเสื่อมลงตามอายุไข
  • ผู้ป่วยที่ต้องใส่สายต่างๆเข้าร่ายกาย เช่น สายสวนปัสสาวะ สายสำหรับป้อนอาหาร ท่อช่วยหายใจ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • คนที่มีแผลตามผิวหนัง เช่น แพ้ยา หรือน้ำร้อนลวก

อาการของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อในกระแสโลหิต จะมีอาการปวดตามอวัยวะที่ติดเชื้อ มีไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ซึม ปัสสาวะได้น้อย ที่ผิวจะอุ่นและมีสีแดง ตัวซีด ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาภาวะติดเชือในกระแสเลือด แบ่งออกเป็น 3 แนวทางรักษาหลักๆ ได้แก่ การรักษาโดยการให้ยา การรักษาโดยการจัดการที่ต้นเหตุ และ การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการ เริ่มจากการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ จากนั้นใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีว สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าเป็นเชื้อโรคชนิดใด
  • กำจัดต้นเหตุของการติดเชื้อ เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก เปลี่ยนเส้นใหม่ เป็นต้น
  • ให้ออกซิเจนและการเพิ่มความดันโลหิต โดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
  • ให้น้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้ความดันเลือดอยู่ภาวะปรกติ
  • เติมเลือดเข้าไปในร่างกาย
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรด

การรักษาอาการโลหิตเป็นพิษ

  • การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยจะต้องให้ให้เร็วที่สุดก่อนที่ผลเพาะเชื้อจะออก แพทย์จะเริ่มให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดโดยครอบคลุมเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุ โดยพิจารณาจากอายุ โรคประจำตัวของผู้ป่วย แหล่งต้นเหตุของการติดเชื้อ รวมทั้งพิจารณาว่าเป็นการได้รับเชื้อจากภายในโรงพยาบาล หรือจากภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อผลการเพาะเชื้อสามารถระบุชนิดเชื้อ และความไวของเชื้อต่อชนิดยาปฏิชีวนะได้แล้ว แพทย์ก็จะเปลี่ยนชนิดยาให้เหมาะสมต่อไป
  • การกำจัดต้นเหตุที่มีการติดเชื้อ และทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก ถ้าจำเป็นต้องใส่ ก็ต้องเปลี่ยนเส้นใหม่ หรือหากมีการติดเชื้ออักเสบเป็นหนองในบริเวณไหน ก็ต้องเจาะระบายเอาหนองออก เป็นต้น
  • การให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ การเพิ่มความดันโลหิตโดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
  • การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ เมื่อได้สารน้ำอย่างเพียงพอแล้วหากความดันโลหิตไม่เพิ่มจะต้องได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต
  • การเติมเลือดในกรณีที่ความเข็มของเลือดต่ำกว่า 30
  • การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปรกติ
  • การใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาประคับประคอง ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรดป้องกันภาวะเลือดออกจากความเครียด

การป้องกันติดเชื้อในกระแสเลือด

สำหรับโรคนี้แนวทางการป้องกันโรค คือ การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในทุกช่องทาง แนวทางการป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด มีดังนี้

  • พยายามดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

โลหิตเป็นพิษ ( Sepsis ) ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด เลือดมีเชื้อโรคมีความเป็นพิษต่ออวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายอักเสบทั่วร่างกาย อาการมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดทั่วร่างกาย ต้องหาสาเหตุของเชื้อโรค เพื่อรักษา โรคร้ายแรง

โรคหูดับ การติดเชื้อไวรัสที่หูจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้สูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน โรคหูดับมีอาการสูญเสียการได้ยินข้างเดียว เกิดได้ทุกเพศทุกวัยโรคหูดับ โรคหู โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ

ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหูดับSudden Hearing Loss : SHL ) มักเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ช่วงอายุ 30-60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมากๆ เช่น ดารา นักแสดง พิธีกร นักร้อง หรือคนที่ใช้ชีวิตอยู่ตามสถานบันเทิงที่มีเสียงดัง รวมถึงผู้ที่ใส่หูฟังและเปิดเพลงเสียงดังๆ

หู เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย เป็นที่ตั้งของอวัยวะรับเสียงเพื่อการได้ยิน เป็นอวัยวะเพื่อการทรงตัว ถ้าเราไม่สามารถได้ยินชัดเจน มีอาการหูอื้อ เราจะไม่อาจพูดคุยติดต่อสื่อสารและเข้าสังคมได้ตามปกติ ถ้ามีอาการเวียนหัว บ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน หรือหูดังมีเสียงรบกวนด้วยจะยิ่งทรมาน การหาสาเหตุของโรคและการให้การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ สาเหตุของโรคอาจเป็นจากหูเอง หรือจากประสาทเกี่ยวข้อง หรือโรคทางสมอง หรืออาจมาจากโรคทางกายหลายๆอย่างที่เป็นต้นเหตุก็ได้ ถ้าเด็กเกิดใหม่มีการเสียการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด ถ้าเป็นรุนแรงจะไม่อาจพูดได้ ทำให้ไม่อาจพัมนาตนเองและไม่อาจศึกษาเล่าเรียนได้อย่างเด็กปกติ และอาจเป็นใบ้

สาเหตุของการเกิดโรคหูดับ

สำหรับสาเหตุของการเกิดหูดับ พบว่ามีสาเหตุ 4 ประการ หลักๆ คือ

  1. เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด โรคหูดับเกิดจากเชื้อไวรัส พบว่ามี 60% เป็นโรคหูดับจากติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสจะทำให้หูชั้นในอักเสบ ไวรัสที่ทำให้เป็นโรคหูดับ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ type B ไวรัสซัยโตเมกาโล ไวรัสคางทูม รูบิโอลา ไวรัสอีสุกอีใส ไวรัสงูสวัส
  2. การขาดเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน หากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในเกิดอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็สามารถทำให้เกิดโรคหูดับ ได้
  3. ผู้ป่วยโรคออโตอิมมูน เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดับ โรคในกลุ่มออโตอิมมูน เช่น โรคลูปัส อาจจะเกิดจากสภาวะร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อในร่างกายตัวเอง
  4. การฉีกขาดของเยื่อหูชั้นใน การได้ยินเสียงดังมาก ๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่าในบางรายเป็นโรคหูดับ จากความเครียดพักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการของผู้ป่วยโรคหูดับ

สำหรับอาการที่พบสำหระบอาการหูดับ ในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนศีรษะ โดยอาการของโรคหูดับนั้น สามารถสังเกตุได้ดังนี้

  • ไข้สูง ผู้ป่วยอาจมี
  • อาการจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด)
  • อุจจาระร่วง/ท้องเสีย
  • มีอาการจากการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองทำให้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาจมีอาการติดเชื้อชนิดเป็นหนองที่ข้อ
  • มักมีประสาทหูอักเสบจนหูดับ/หูหนวกทั้งสองข้าง

การรักษาโรคหูดับ

สามารถรักษาได้ด้วยการพักผ่อน เพื่อฟื้นฟูประสาทหูให้กลับมาโดยเร็ว ระหว่างการพักผ่อนห้ามฟังเสียงดังๆ อาการของผู้ป่วยโรคหูดับ หายได้เองประมาณ 70 เปอร์เซ็นของผู้ป่วยทั้งหมด หากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ก็ให้ยาต้านไวรัส อะซัยโคลเวีย (Acyclovir) และยาแก้อักเสบ กลุ่มสเตียรอยด์

การป้องกันโรคหูดับ

โรคหูดับสามารถการป้องกันได้โดย หลีกเลี่ยงการฟังเสียงดัง หลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังๆ สำหรับการป้องกันโรคหูดับนั้นควรปฏิบัติ ดังนี้

  • สวมรองเท้าบู๊ต สวมถุงมือ สวมเสื้อผ้าที่รัดกุม ระหว่างปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหมู/สุกรทุกขั้นตอน จะป้องกันการแพร่เชื้อจากสุกรมาสู่คนได้
  • ล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัวให้สะอาดหลังการสัมผัสสุกร และเนื้อสุกร
  • เมื่อเกิดแผลต้องระวังในการสัมผัสสุกร
  • กำจัดเชื้อจากฟาร์ม โดยการเลี้ยงหมูตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของหมู
  • ไม่รับระทานเนื้อหมูที่ไม่สุกดี เช่น จิ้มจุ่มที่ต้มไม่สุกพอ หรือ ลาบสุกๆดิบๆ เป็นต้น
  • ไม่กินหมูที่ป่วย หรือหมูตายจากโรค

ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis ) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ( Zoonotic infectious disease ) ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมู/สุกรสู่คน ไข้หูดับ เป็นโรคพบได้ประปรายทั่วโลก โดยมักพบในประเทศที่มีการเลี้ยงหมูเป็นอุตสาห กรรม และในปี พ.ศ. 2548 พบมีการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศจีน มีผู้ติดเชื้อทั้งหมดประมาณ 100 คน ซึ่งในชั้นต้นของการระบาดครั้งนี้ มีการเสียชีวิตมากกว่า 20 คน

โรคหูดับ ภาวะติดเชื้อไวรัสที่หู เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดภาวะการสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน ส่วนมากโรคหูดับจะมีอาการสูญเสียการได้ยินเพียงข้างเดียว เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมากๆ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove