โรควัวบ้า ( BSE ) โรคจากสัตว์ติดต่อสู่คนคน ส่งผลต่อสมอง ทำให้อารมณ์แปรปรวน ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ ตาบอด พูดไม่ได้ ความจำเสื่อม เสียชีวิตในที่สุดโรควัวบ้า โรคระบบประสาท โรคติดเชื้อ

โรควัวบ้า ภาษาอังกฤษ เรียก Bovine Spongiform Encephalopathy เรียกย่อว่า BSE เป็น โรค ชนิดหนึ่งที่เกิดกับ ระบบประสาท ในวัวและมนุษย์ ซึ่งเป็น ความผิดปรกติของโปรตีนในเยื่อสมอง เรียกว่า พรีออน (prion) ซึ่งเป็น สาเหตุของโรค โรค นี้พบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1986 ในสหราชอาณาจักร และมี การแพร่ระบาด ไปยังประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และ แคนาดา

โรควัวบ้า นี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลอง และพบว่า โรค นี้ไม่ได้ เกิดขึ้นในเฉพาะกับวัว แต่ในสัตว์อื่นๆ ก็สามารถพบได้ เช่น แพะ แกะ หมู หนู ลิง เป็นต้น การแพร่กระจาย เชื้อวัวบ้า เกิดจาก การที่สัตว์กินโปรตีนที่ผิดปรกติ ชื่อ พรีออน จากเนื้อและกระดูกของสัตว์ที่มีเชื้อวัวบ้า ซึ่ง เชื้อวัวบ้า สามารถ ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก ได้ โดยโรคนี้โดยปรกติจะอยู่นาน 2-8 ปี จึงจะส่งผล กระทบต่อระบบสมอง โดยจะมีอาการ ตัวสั่น เดินกระโผลกกระเผลก ส่ายตัวไปมา ดุร้าย และ คลั่ง และ อาจมีน้ำหนักลดลง โดยปรกติ วัวที่ติดเชื้อจะตายทุกตัว

การถ่ายทอดเชื้อ โรควัวบ้า สู่คน ก็เหมือนกับสัตวือื่นคือ การบริโภคเนื้อ ที่มีสารปนเปื้อนวัวบ้า โดยอาการ จะ เกิดความผิดปรกติของประสาท รับความรู้สึก จากนั้นการเคื่อนไหวจะผิดปรกติ ความจำเสื่อม และ เสียชีวิตในที่สุด ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคนี้ได้

การระบาดของโรควัวบ้า 

สำหรับการระบาดของโรควัวบ้า สามารถเกิดขึ้น 3 วิธี คือ การระบาดโดยไม่ทราบสาเหตุ การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก และ การได้รับเชื้อโปรตีนพรีออน เข้าสู่ร่างกาย

อาการของโรควัวบ้า

สำหรับอาการของโรควัวบ้า จะเริ่มจากผู้ป่วยง่วงนอน เบื่ออาหาร เมื่อยล้า ความจำเสีย ซึมเศร้า และ อารมณ์แปรปรวน การเคลื่อนไหวผิดปรกติ ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ ตาบอด ไม่สามารถพูดได้ ความจำเสื่อม และเสียชีวิตในที่สุด

การตรวจวินิจฉัยโรควัวบ้า

สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรควัวบ้า สามารถทำได้โดย เจาะไขสันหลัง เพื่อนำน้ำไขสันหลังไปตรวจ ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ตรวจ Computerized tomography ของสมอง

การป้องกันโรควัวบ้า

สามารถทำได้โดยการ รักษาสุขอนามัย ประกอบด้วย ล้างมือ ปิดแผล ป้องกันเชื้อโรค เข้าทางแผล สวมถุงมือ เมื่อต้องอยู่ในสถานที่เสียงต่อการติดโรค รับประทานอาหารที่สุก

โรควัวบ้า เป็น โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เราจึงรวบรวม สมุนไพรบำรุงสมอง มาเป็นความรู้เพิ่มเติมให้เพื่อนๆ มีดังนี้

คาเคา โกโก้ สรรพคุณของโกโก้ สมุนไพรคาเคา โกฐเชียง สรรพคุณของตังกุย ตังกุย สมุนไพรตังกุย
ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่
มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด

โรควัวบ้า เรียกย่อ BSE  คือ โรคติดต่อที่เกิดขึ้นกับวัว สาเหตุของโรควัวบ้า คือ สารจากโปรตีน พรีออน ( prion ) สามารถติดต่อมายังคนและทำให้สมองเสื่อม ส่งผลให้เกิดอาการ ง่วงนอน เบื่ออาหาร เมื่อยล้า ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ ตาบอด พูดไม่ได้ ความจำเสื่อม และเสียชีวิตในที่สุด

ไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) การติดเชื้อไวรัสHBVที่ตับ อาการของโรค มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่นไวรัสตับอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ โรคตับ

โรคไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอักเสบบี ( HBV ) ที่ตับ ส่งผลให้เกิดโรค เช่น ตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับได้ อาการของโรค คือ มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถตรวจสอบการติดเชื้อได้จากการ ตรวจเลือด และการตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจ

ไวรัสตับอักเสบบี โรคตับ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัส

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove