ไตรั่ว ไตอักเสบเนโฟรติก ( nephrotic ) เนื้อไตหนาทำให้ไม่กรองโปรตีนไม่ได้ อาการปัสสาวะเป็นฟอง เท้าบวม ขอบตาบวม หน้าบวม ไขมันสูง ตัวบวม การรักษาโรคไตรั่วอย่างไรโรคไตรั่ว โรคไต ไตอักเสบเนโฟรติก โรคไม่ติดต่อ

โรคไตรั่ว หรือ โรคไตอักเสบเนโฟรติก ภาษาอังกฤษ เรียก nephrotic เกิดจาก การผิดปรกติของไต เนื่องจาก ไตขับโปรตีนออกทางปัสสาวะมากเกินไป ซึ่งเกิด หลอดเลือดที่ไตไม่สามารถกรองโปรตีน ได้

สาเหตุของโรคไตรั่ว

สาเหตุของโรคกลุ่มเนโฟตริก หรือไตรั่ว เกิดจาก 3 สาเหตุ หลักๆ คือ สาเหตุจากโรคไต สาเหตุ จาก โรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิด โรคไต และ การใช้ยา และ สารเคมีบางชนิด โดยรายละเอียดมี ดังนี้

  1. สาเหตุจาก โรคไต สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก คือ ไต จะไม่สามารถกรองโปรตีน ได้ เนื้อไตหนา ตัวหรือแข็ง ตัวเป็นแห่งๆ การติดเชื้อที่ไต
  2. สาเหตุจาก โรคอื่น  ที่มีผลต่อเป็น โรค กลุ่มโรคเนโฟตริก เช่น โรคหัวใจ ภาวะครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อ
  3. สาเหตุ จาก การใช้ยา หรือ สารเคมีบางชนิด เช่น เฮโรอิน ยารักษาโรคมะเร็ง ยาแก้ปวดข้อ ยาที่รักษาโรคกระดูกพรุน

อาการของโรคไตรั่ว

อาการของโรคไตรั่ว สามารถสังเกตุได้ ดังนี้ คือ ที่ขาหากกดจะยุบลงไป ปัสสาวะเป็นฟอง เท้าบวม ขอบตาบวม หน้าบวม ไขมันในเลือดสูง เนื่องจาก อาการของโรค เกิดจากการที่ ร่างกายขับโปรตีนทางปัสสาวะ ไต ที่ทำหน้าที่ กรองปัสสาวะ ทำให้มี ระดับโปรตีนในเลือดต่ำ จึงเกิด อาการตัวบวม ผู้ป่วยที่เป็น โรค นี้มักจะไม่รู้ตัว

อาการแทรกซ้อน ของผู้ป่วย โรคไตรั่ว คือ เกิดภาวะขาดสารอาหาร ขาดโปรตีน ผม และ เล็บเปราะ ผมร่วง ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ภาวะแคลเซียมต่ำ เป็นต้น ภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายต่ำ ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย

การรักษาโรคไตรั่ว

การรักษาโรคกลุ่มอาการเนโฟตริก ต้องทำ การตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อ ตรวจสอบระดับสารไข่ขาวในเลือด ระดับโคเลสเตอรอล และ ระดัยไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เป็นอย่างไร ซึ่งหลังจากทราบระดับสารในเลือดและปัสาวะแล้ว ก้จพทำให้รักษาได้ง่ายและตรงจุดขึ้น การรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคติดเชื้อ และให้ผู้ป่วยงดใช้ยาที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้ ให้ยาสเตียรอยด์ เช่น เพร็ดนิโซโลน ถ้าพบว่าในเลือดสารไข่ขาวในสูง แสดงว่าอาการดีขึ้น แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจให้ ยาขับปัสสาวะ เพิ่ม แต่ถ้าการให้ยาไม่ได้ผล จะต้องเจาะเนื้อไตไปตรวจ โรค นี้จะเป็น เรื้อรัง ผู้ป่วยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ในผู้ป่วยที่มีอาการร้ายแรง อาจเกิด ภาวะไตวาย แทรกซ้อน อันตรายถึงแก่ชีวิต ได้

การดูแลผู้ป่วยโรคไตรั่วหรือโรคไตอักเสบเนโฟรติก

เนื่องจาก โรคไตรั่ว ผู้ป่วยจะมี การเปลี่ยนแปลงระดับไขมัน น้ำ และ เกลือแร่ในร่างกาย ดังนั้น ผู้ป่วยต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควบคุมอาหาร โดย ลดอาหารแต่ละมื้อลง หลีกเลี่ยงอาหารทีมีไขมัน เลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอล  ให้รับประทาน คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 60 ของ พลังงานที่รับประทานทั้งหมด รับประทานผักและผลไม้ ที่ไม่หวาน ลดการกินอาการรสเค็ม ให้ รับประทานผักและผลไม้ เป็นหลัก รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยม ให้มากขึ้น

สมุนไพรที่มีแคลเซี่ยม เป็น สมุนไพรบำรุงกระดูก เราได้รวบรวม สมุนไพรบำรุงกระดูก มาให้เพื่อนๆ มีดังนี้

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะละกอ
ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สมุนไพรไทยส้มโอ
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชายกระชาย
กระเฉด สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัวผักกระเฉด

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคไตรั่ว

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วย โรคไตรั่ว คือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ งดอาหารเค็ม อาหารไขมัน อาหารหวาน เน้นการรับประทานผักและผลไม้ และ อาหารที่มีแคลเซียม

โรคไตรั่ว โรคไตอักเสบเนโฟรติก ( nephrotic ) คือ ภาวะของการอักเสบของไต จากการเกิดจากความผิดปรกติของไต ไม่สามารถกรองโปรตีนได้ จากเนื้อไตหนา ส่งผลให้เกิดอาการปัสสาวะเป็นฟอง เท้าบวม ขอบตาบวม หน้าบวม ไขมันในเลือดสูง ตัวบวม โรคไตอักเสบเนโฟรติก  ความผิดปรกติของไตแบบเรื้อรัง อาการของโรคไตรั่ว การรักษาโรคไตรั่ว โรคเรื้อรังของไต

 

โรคไตรั่ว หรือ โรคไตอักเสบเนโฟรติก ต้องทำอย่างไร แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรคไตรั่ว อาการของโรคไตรั่วเป็นอย่างไร สาเหตุของโรคไตอักเสบเนโฟรติกคืออะไร การรักษาโรคไตรั่ว โรคไตรั่ว หรือ โรคไตอักเสบเนโฟรติก เป็น ความผิดปรกติของไต โรคเรื้อรังของไต มาทำความรู้จักกับ โรค นี้กันว่าเป็นอย่างไร

ท่อน้ำลายอุดตัน ( Sialolithiasis ) เกิดจากนิ่วที่ต่อมน้ำลายอุดตันท่อน้ำลาย ทำให้ต่อมน้ำลายอักเสบ อาการปวดบวมที่ต่อมน้ำลาย การรักษานวดท่อน้ำลาย ดื่มน้ำ ผ่าตัดนิ่วต่อมน้ำลาย ท่อน้ำลายอุดตัน โรคในช่อปาก โรคไม่ติดต่อ

บทความเกี่ยวกับโรคท่อน้ำลายอุดตัน หรือ โรคนิ่วต่อมน้ำลาย เป็นโรคเกี่ยวกับช่องปาก โรคหู คอ จมูก ซึ่ง เราจะมาเรียนรู้ เกี่ยวกับน้ำลาย ต่อมน้ำลาย โรคนิ่วต่อมน้ำลาย การที่ท่อน้ำลายอุดตัน จะเกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุของการเกิดโรค อาการนิ่วต่อมน้ำลายเป็นอย่างไร การรักษาทำอย่างไร และ จะป้องกันอย่างไร สมุนไพรอะไรบ้างที่ช่วยลดภาวะการเกิดท่อน้ำลายอุดตัน

น้ำลาย เป็นของเหลวชนิดหนึ่งลักษณะใสๆ อยู่ในปาก น้ำลายพบในปากของสิ่งมีชีวิตทั่วไป ในคนหนึ่งคนจะสร้างน้ำลายประมาณ วันละ 1 ลิตร โดยน้ำลายเกิดจากการสร้างของต่อมน้ำลาย โดยต่อมน้ำลายหลักที่เป็นตัวสร้างน้ำลายจะมี 3 คู่ คือ ต่อมน้ำลายที่ใต้หู ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร และต่อมน้ำลายใต้ลิ้น แต่ต่อมน้ำลายไม่ได้มีแค่ 3 คู่ ต่อมน้ำลายจะกระจายอยู่ที่เยื่อบุช่องปากและคอหอย

ต่อมน้ำลายใต้หูสร้างน้ำลายชนิดใส ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรและต่อมน้ำลายใต้ลิ้น สามารถสร้างน้ำลายได้ทั้งชนิดใสและชนิดเหนียวข้น ในน้ำลายชนิดใสจะมีเอนไซม์แอลฟ่าอะไมเลส ซึ่งมีประโยชน์ช่วยย่อยแป้ง ในขณะที่น้ำลายชนิดข้นจะมีหน้าที่ช่วยหล่อลื่นอาหาร

น้ำลายของคนมีค่า PH ที่ประมาณ 7.0 มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ หน้าที่หลักของน้ำลาย คือ ช่วยย่อยอาหารและช่วยป้องกันอันตรายภายในช่องปาก ในน้ำลายมีเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารคาร์โบไฮเดรต ช่วยหล่อลื่นอาหาร และป้องกันการระคายเคืองจากอาหาร ในน้ำลายจะมีน้ำจำนวนมาก ซึ่งทำให้ปากชุ่มชื้นอยู่เสมอ

สาเหตุของต่อมน้ำลายอุดตัน

ต่อมน้ำลายจะอยู่ต่ำกว่าท่อน้ำลาย ซึ่งการเกิดตะกอนตกค้างในท่อน้ำลายสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการดื่มน้ำน้อย ทำให้น้ำลายเหนียวเกิดการตกตะกอนได้ง่าย และอาหารบางชนิดสามารถก่อนิ่วในท่อน้ำลายได้ ซึ่งอาหารจำนวก แคลเซียมสูง เนื่องจากแคลเซียมอาทำให้ผนังท่อน้ำลายหนาขึ้น แต่สาเหตุนี้ยังไม่เด่นชัดนัก แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดนิ่วที่ต่อมน้ำลาย เช่น การขาดน้ำ การใช้ยาบางชนิด รวมถึงการกระทบกระเทือน การได้รับบาดเจ็บของต่อมน้ำลาย ก็มีผลต่อการเกิดนิ่วต่อมน้ำลายได้ และเมื่อนิ่วเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำลายหรือท่อน้ำลาย ทำให้น้ำลายไหลออกมาจากท่อน้ำลายไม่ได้ เราอาจจะสรุปประเด็นสาเหตุเป็นข้อๆได้ ดังนี้

  1. ความผิดปกติของเมตะบอลิสมของแคลเซียม
  2. ภาวะขาดน้ำ ทำให้น้ำลายไหลน้อยลง
  3. เกิดการติดเชื้อในช่องปาก
  4. การปรับเปลี่ยนสารละลายประเภทเกลือที่ทำให้เกิดการตกตะกอนของแร่ธาตุ
  5. การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยาแก้แพ้ เป็นต้น ซึ่งยาเหล่านี้ ทำให้ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายได้น้อยลง
  6. การรับประทานอาหารไม่พอ ทำให้ความสามารถในการผลิตน้ำลายลดลง

อาการผู้ป่วยนิ่วต่อมน้ำลาย

ในผู้ป่วยที่มีอาการนิ่วที่ต่อมน้ำลาย เป็นอาการร่างกายไม่สามารถระบายน้ำลายออกมาทางท่อน้ำลายได้ เนื่องจากมีนิ่วไปอุดตัน ทำให้เกิดอาการปวดและบวมบริเวณต่อมน้ำลาย มีการอักเสบบริเวณต่อมน้ำลาย ผุ้ป่วยอาจมีไข้สูง มีหนองไหลออกมาปนกับน้ำลาย พบก้อนนิ่วในท่อน้ำลาย บวมใต้คาง ซึ่งอาการจะเป็นๆหายๆ อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับการติดเชื้อ ทำให้เกิดการอักเสบที่ผนังท่อน้ำลาย และเป็นฝีได้

การตรวจวินิจฉัยโรคนิ่วที่ต่อมน้ำลาย สามารถทำได้โดยการเอ็กเลย์ เพื่อดูว่ามีก้อนนิ่วหรือไม่

การรักษาโรคนิ่วที่ต่อมน้ำลาย

การรักษาสามารถทำการรักษาได้หลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับอาการของโรค รายละเอียดดังนี้

  1. ในกรณีที่ก้อนนิ่วเล็ก ใช้วิธีให้ดื่มน้ำให้มาก เพื่อให้การสร้างน้ำลายมากขึ้นและจะขับนิ่วออกเอง หรือให้กินอาหารหรือเครื่องดื่ม รสขมหรือรสเปรี้ยว เช่น มะนาว ส้ม ซึ่งจะช่วยให้หลั่งน้ำลายมากขึ้น และขับนิ่วออกมาเอง
  2. ใช้วิธีการนวดให้ก้อนนิ่วออก วิธีนี้ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ
  3. รักษาโดยใช้คลื่น ใช้คลื่นกระแทก ซึ่งภาษาอังกฤษเรียก Extracorporeal shock wave lithotripsy เรียกย่อๆว่า  ESWL
  4. ผ่าตัดต่อมน้ำลายเอานิ่วออก ซึ่งในกรณีผู้ป่วยที่เป็นบ่อย อาจต้องตัดท่อน้ำลายทิ้ง
  5. รักษาอาการติดเชื้อตามอาการ โดยใช้ยาปฏิชีวนะ

การป้องกันการเกิดนิ่วต่อมน้ำลาย

การป้องกันการเกิดนิ่วที่ต่อมน้ำลายสามารถทำได้โดย การรักษาความสะอาดภายในช่องปาก และให้ดื่มน้ำมากๆ เนื่องจากการดื่มน้ำทำให้น้ำลายสามารถสร้างออกมาได้มาก การอัดตันของท่อน้ำลายก้จะมีโอกาสเป็นไปได้น้อย

ท่อน้ำลายอุดตัน ( Sialolithiasis ) เกิดจากนิ่วที่ต่อมน้ำลายไปอุดตันทางเดินน้ำลาย ทำให้เกิดอาการอักเสบของต่อมน้ำลาย มีอาการปวด บวม ติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย การรักษารักษาท่อน้ำลายอุดตัน ใช้การนวดท่อน้ำลาย ดื่มน้ำมากๆ ผ่าตัดเอานิ่วออก โรคนิ่วต่อมน้ำลายป้องกันอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove