โรคท้องมาน ภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไรโรคท้องมาน โรคท้องโต โรคท้องบวม โรคตับ

ความหมายของโรคท้องมาน จากพจนานุกรมราชบัณฑิตย์สถาน พ.ศ. 2542 ท้องมาน ท้องบวม หมายถึง ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง มีอาการให้ท้องโตเหมือนสตรีมีครรภ์ ภาวะที่เกิดมีน้ำคั่งในช่องท้องมากผิดปกติ จนเป็นสาเหตุให้ท้องขยายใหญ่โตขึ้น

ชนิดของโรคท้องมาน

โรคท้องมาน นั้นโดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) และ ascites neutrophil โดยแบ่งจากปริมาณน้ำในท้องและสาเหตุของการท้องโต รายละเอียด ดังนี้

  • Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนแอลบูมินในน้ำที่ขังนช่องท้อง เปรียบเทียบกับระดับของโปรตีนแอลบูมินในเลือด
  • ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง และหากสงสัยว่ามีมะเร็งหรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่มำให้เกิดโรคท้องมาน

การเกิดภาวะน้ำขังในช่องท้องนั้น สามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ทั้งชนิด B และ C
  • การดื่มสุราบ่อย จนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โระมะเร็ง และ โรคไต
  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน

จากปัจจัยของการเกิดโรค เราจึงสามามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคท้องมาน ได้ดังนี้

  • โรคตับ ร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมาน จะมีภาวะป่วยโรคตับแข็ง น้ำในช่องท้องมีผลมาจากความดันเลือดในตับสูงขึ้น ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยโรคตับแข็ง มีภาวะโรคท้องมาน 10 ปี มีอาการท้องบวม เท้าบวม มีน้ำในช่องอก มีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • โรคมะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ หรือ เชื้อมะเร็งที่กระจายเข้าสู่ช่องท้อง เป็นต้น ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคท้องมาน เป็นโรคมะเร็ง
  • มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เป็นผุ้ป่วยโรคไต
  • ขาดสารอาหาร มีภาวะขาดแอลบูมิน เป็น โปรตีนจากไข่ขาว
  • เกิดภาวะการอักเสบที่ช่องท้อง เช่น ติดเชื้อวัณโรค โรคภูมิแพ้
  • เกิดภาวะโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มสุรา หรือ การเกิดอุบัติเหตุกระทยที่ตับอ่อน
  • การอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ที่ตับ

อาการโรคท้องมาน

สำหรับความรุนแรงของโรคท้องมาน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เรียกว่า Grading of ascites โดยรายละเอียดดังนี้

  • ระดับที่ 1 ( Grade 1) มีอาการของโรคท้องมานเพียงเล็กน้อย สามารถตรวจพบได้โดยการอัลตร้าซาวน์
  • ระดับที่ 2 ( Grade 2) มีอาการของโรคปานกลาง การตรวจร่างกายประจำปี สามารถพบได้
  • ระดับที่ 3 ( Grade 3) มีอาการหนัก มีภาวะท้องตึงแน่น

ผู้ป่วยโรคท้องมาน สามารถสังเกตุอาการของโรคได้ โดยมีลักษณะของโรค ดังนี้

  • ท้องโต แน่นท้อง อาจทำให้หนังท้องปริและมีน้ำซึมออกมาได้ ในบางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
  • มีอาการเหนื่อยหอบและหายใจติดขัด
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อาการของป่วยจากตับ เช่น ดีซ่าน นมโต ฝ่ามือแดง เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยดรคแพทยืจะทำการ ตรวจร่างกาย และ สอบถามประวัติการเกิดโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ ดูดน้ำในช่องท้องออกมาตรวจ อัลตราซาวน์ช่วยในการเจาะดูดสารน้ำในช่องท้อง

การรักษาโรคท้องมาน

การรักษาโรคท้องมาน ต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรค ก่อนและรักษาที่สาเหตุของโรค โดยแนวทางการรักษาโรคท้องมาน การรักษาเพื่อลดระดับน้ำในท้องทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น ช่วยรักษาสมดุลของเกลือ และช่วยในการปรับละดับน้ำในร่างกายและหลอดเลือดมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาอาการท้องมานขึ้นกับโรคที่เป็นสาเหตุ
  • ถ้าเกิดจากโรคมะเร็งแพร่กระจาย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดและเคมีบำบัด
  • ปรับเรื่องการกินอาหาร ลดอาหารที่มีโซเดียม และ อาหารที่มีรสเค็ม
  • รักษาโรคตับ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากโรคตับแข็ง ให้จำกัดปริมาณโซเดียมในร่างกาย
  • ให้ยาขับปัสสาวะ โดยขนาดของยาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการตอบสนอง แลเต้องให้ยาโดยหลีกเลี้ยงการปัสสาวะในเวลากลางคืน
  • เจาะช่องท้องเพื่อระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ถึง 5 ลิตรต่อครั้ง
  • ผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำในช่องท้อง
  • ผ่าตัดเปลี่ยนตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะรุนแรง หรือมีภาวะตับวาย

โรคท้องมาน ความผิดปรกติของร่างกายจากภาวะมีน้ำขังอยู่ในช่องท้องปริมาณมาก โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ โรคหัวใจล้มเหลว โรคไต เป็นต้น การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไร ท้องบวม โรคท้องโตผิดปรกติ

 

ท้องเสีย ภาวะการถ่ายอุจจาระเหลว เกิน 3 ครั้งในหนึ่งวัน ลักษณะอุจจาระเป็นน้ำ มีมูกเลือก สาเหตุจากการติดเชื้อโรค การป้องกันและรักษาอาการท้องร่วงต้องทำอย่างไรท้องเสีย ท้องร่วง อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ

อาการท้องร่วงนั้น หากโดยอาจถ่ายเป็นน้ำหรือเป็นมูกเลือด จะเรียกว่าเป็น โรคบิด หากมีอาการท้องเสียอย่างรวดเร็วใน 14 วันจะเรียก ท้องเสียเฉียบพลัน และหากท้องเสียแบบต่อเนื่องนาน 30 วันจะเรียกว่า ท้องเสียต่อเนื่อง และหากท้องเสียนานเกิน 30 วันจะเรียก ท้องเสียเรื้อรัง

ลักษณะอาการของโรคท้องร่วง

อาการสำคัญของโรคท้องร่วง คือ การถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้ง จะมีอาการ คือ ปวดอุจจาระ ถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลว อ่อนเพลีย อาจมีอาการ มีไข้ และปวดเมื่อยตามตัวด้วย ซึ่งสามารถเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อไวรัส เราสามารถสรุปอาการสำคัญได้ดังนี้

  • มีอาการกระหายน้ำ
  • ปัสสาวะน้อย ลักษณะปัสสาวะมีสีเหลืองเข็ม
  • ปากแห้ง
  • ลิ้นแห้ง
  • ผิวแห้ง
  • หากเกิดอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงจะเกิดอาการ วิงเวียนศรีษะ มึนงง กระสับกระส่าย และอาจเกิดอาการช็อกได้

สาเหตุของการเกิดอาการท้องร่วง

เราสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดท้องร่วงได้ คือ จากการเกินอาหารไม่สะอาดจนเกิดอาหารเป็นพิษ การติดเชื้อโรคทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โดยราลยะเอียดของสาเหตุการเกิดโรคท้องร่วงมี ดังนี้

  • อาหารเป็นพิษ เกิดจากอาหารที่ปรุงสุกแต่ทิ้งไว้นานจนเกิดเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย เจริญเติบโตในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เชื้อโรคสามารถสร้างสารพิษออกมาได้ ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ปวดท้องแบบบิดๆ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • เกิดจากการติดเชื้อโรค มักเกิดกับเด็กๆอายุต่ำกว่า 2 ปี มักเกิดในฤดูร้อน เชื้อโรคจะทำลายเยื่อบุลำไส้เล็ก ทำให้ลำไส้ลดการหลั่งน้ำย่อย แบคทีเรียในลำไส้สลายเกิดเป็นกรด และทำให้อุจจาระร่วงมากขึ้น
  • อหิวาตกโรค โรคนี้ปัจจุบันไม่พบบ่อย คนไข้จะมีอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง โรคนี้เกิดจากการกินน้ำหรืออาหารที่ไม่สะอาด ที่มีเชื้อโรคเจือปน

อาการอุจจาระเป็นมูกเลือด เกิดจากสาเหตุ 2 กลุ่ม คือ ติดเชื้อแบคทีเรีย และ ติดเชื้ออะมีบา

อาการของโรคท้องร่วง

ลักษณะที่เด่นชัดของโรคท้องร่วง คือ ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำครั้งละมากๆ และหลายครั้ง ในบางคนจะถ่ายอุจจาระมีลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว ซึ่งการถ่ายเหลว ทำให้ผู้ป่วยเสียน้ำในร่างกายอย่างรวด ส่งผลต่อความดันโลหิตต่ำ จนเกิดอาการช็อก และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรค มีทั้งยาฉีดและยากิน แต่ไม่แนะนำให้ใช้ ยกเว้นคนที่จะเดินทางไปในประเทศที่มีโรคนี้ชุกชุม เช่น อินเดีย บังคลาเทศ สามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้

การรักษาอาการท้องร่วง

สำหรับการรักษาอาการท้องร่วง ให้ป้องกันอาการร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง ด้วยการดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ สำหรับการรักษาให้แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ คนที่อายุต่ำกว่า 2 ปี และ คนที่อายุเกิน 2 ปี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ดื่มครั้งละ ครึ่งแก้ว โดยการใช้ช้อนป้อนไม่ควรให้ดูดจากขวดนม เนื่องจาก เด็กจะกระหายน้ำและดื่มน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้น้ำที่ดื่มดูดซึมเข้าสู่ร่างกายไม่ทัน ควรให้อาหารเหลว เช่น น้ำข้าวต้ม น้ำแกงจืด และนมแม่
  • หากผู้ป่วยเป็นเด็กอายุมากกว่า 2 ปี ควรให้ดื่มน้ำเกลือแร่ครั้งละ 1 แก้ว โดยให้จิบทีละน้อยแต่บ่อยๆ หากมีอาการดีขึ้นก็ให้หยุดดื่มน้ำเกลือแร่ และให้กินอาหารที่อ่อนๆ เพื่อให้ลำไส้ฟื้นตัวเร็วจากการติดเชื้อ

การดูแลตนเอเมื่อท้องร่วง

ข้อปฏิบัตตนเมื่ออยู่ในภาวะท้องเสีย ให้ทำตัวดังนี้

  • ให้พักผ่อนให้เพียงพอ หากทำงานให้หยุดทำงาน หากรียนหนังสือให้หยุดเรียน
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ หรือ ดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียไป
  • ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ รสจืด
  • ควรรีบพบแพทย์เมื่อ มีอาการท้องเสียและไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ปวดท้องมาก คลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลืองและตาเหลือง มีไข้สูง อุจจาระเป็นมูกเลือด อุจจาระมีสีดำและเหนียวเหมือนยางมะตอย

ป้องกันอาการท้องร่วง

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • กินอาหารสุกและปรุงใหม่เสมอ
  • ดื่มน้ำสะอาด ไม่ควรกินน้ำแข็ง
  • ล้างมือให้สะอาดเสมอโดยเฉพาะก่อนกินอาหาร
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย เช่น วัคซีนโรคตับอักเสบ

ท้องเสีย คือ ภาวะการถ่ายอุจจาระเหลว เกิน 3 ครั้งในหนึ่งวัน ลักษณะอุจจาระเป็นน้ำ หรือ มีมูกเลือก สาเหตุจาก อาหารเป็นพิษ ติดเชื้อโรค หรือ อหิวาตกโรค การป้องกันและการรักษาท้องร่วงทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove