เชื้อแบคทีเรีย MRSA ทำให้ภูมิต้านทานโรคบกพร่อง ส่งผลให้เกิด เช่น ฝี ปอดอักเสบ ผิวหนังอักเสบ หากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดจะทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบ อาจเสียชีวิตได้

MRSA  ฝี ปอดอักเสบ ผิวหนังอักเสบ

โรคที่เกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus เชื้อโรคชนิดนี้ เป็นเชื้อโรคที่สำคัญเชื้อโรคหนึ่ง พบในสัตว์จำพวก ม้า แมว หมู แกะ กระต่าย ซึ้งหากเชื้อโรคเข้าสู่มนุษย์ สามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ ทั้งโรคที่ไม่รุนแรงจนถึงโรครุนแรง เช่น ผิวหนังอักเสบ ฝี ระบบทางเดินอาหารเป็นพิษ เกิดปอดบวม ลิ้นหัวใจอักเสบ ข้อ ข้อติดเชื้อ เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดสามารถทำให้เสียชีวิตได้

ชนิดของเชื้อ MRSA

สำหรัยเชื้อแบคทีเรีย MRSA มี 2 ประเภท คือ HA-MRSA และ CA-MRSA โดยรายละเอียดของชนิดของ MRSA แต่ละชนิดมีดังนี้

  • HA-MRSA เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดในโรคพยาบาล มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ในสถานพยาบาล เช่น โรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้ป่วย หรือ ศูนย์ล้างไต เป็นต้น
  • CA-MRSA เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดในชุมชน มักเกิดเชื้อในโรงเรียนมัธยม สนามกีฬา ผู้ที่อาศัย คุก หรือ ค่ายทหาร จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ MRSA ที่สูงขึ้น โดยจะติดต่อผ่านทางการสัมผัส

สาเหตุของการติดเชื้อ MRSA

เกิดจากแบคทีเรีย Staphylococcus aureus เป็นเชื้อโรคที่ดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเมธิซิลิน เป็นเชื้อโรคที่มีความสามารถในการแพร่จากสัตว์สู่คน โดยการติดเชื้อสแตฟฟิโลคอกคัส พบได้บ่อยในคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เชื้อสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส ( S. aureus ) เป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ทั่วไปในผิวหนัง หรือใน โพรงจมูกของคนที่มีสุขภาพดี คนที่มีสุขภาพดีเหล่านี้เป็นพาหะแบคทีเรียโดยไม่แสดงลักษณะ หรือ อาการของการติดเชื้อ อย่างไรก็ตามบางครั้งแบคทีเรียอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง บาดแผล ระบบปัสสาวะ ปอด และกระแสเลือด รวมทั้งอาการอาหาร เป็นพิษ

การติดเชื้อสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียสส่วนมากสามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย ยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ตามเชื้อสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส จากการดื้อยาเมธิซิลิน ( MRSA ) เป็นสายพันธุ์เชื้อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียสที่สามารถทนต่อยาปฏิชีวนะต่าง ๆ รวมถึง ยาเมธิซิลิน และยาปฏิชีวนะอื่น ๆ ที่ใช้กันทั่วไป เช่น ออกซาซิลลิน เพนิซิลลิน อะม็อกซีซิลลิน และ เซฟาลอสปอรินส์ การใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมเป็นปัจจัย ที่ทำ ให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวาง

การติดเชื้อ MRSA ส่วนมากเกิดขึ้นในคนที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาศัยอยู่ภายใน บ้านพักดูแลผู้ป่วย หรือได้รับการรักษาในศูนย์อนามัยที่มีการจัดให้เป็นศูนย์ล้างไต เป็นต้น

กลุ่มคนที่มีโอกาสในการติดเชื้อแบคทีเรีย MRSA

เนื่องจากเชื้อนี้มักจะติดในโรงพยาบาล ผู้ที่ติดเชื้อมักจะได้จากในโรงพยาบาลโดยมากมักเป็นผู้ป่วยที่

  • นอน ICU
  • ผู้ป่วยที่ผ่าตัด
  • ผู้ที่ผ่าตัดทางโรคกระดูก
  • ผู้ที่ต้องล้างไต
  • ผู้ที่ติดยาเสพติด

เราจะทราบอย่างไรว่าติดเชื้อนี้ หากมีไข้แพทย์จะเจาะเลือดหรือนำสารคัดหลังที่สงสัยว่าจะเป็นแหล่งติดเชื้อนั้นไปเพาะเชื้อ และหาความไวของเชื้อโรคต่อยา หากพบว่าดื้อต่อMethicillin จึงจะเรียกว่า MRSA

อาการผู้ป่วยติดเชื้อ MRSA

เมื่อผู้ป่วยติดเชื้อ MRSA การเกิดตุ่มเล็กๆ เหมือนโดนแมลงสัตว์กัดต่อย ลักษณะแผลแดง บวม ปวด รู้สึกอุ่นๆที่แผล มีหนอง และ อาจมีไข้ร่วมด้วย หากมีอาการติดเชื้อโรค HA-MRSA จะแสดงอาการเจ็บหน้าอก ไอหรือหายใจลำบาก อ่อนเพลีย ไข้หนาวสั่น รู้สึกไม่มีแรง ปวดหัว มีผื่นขึ้น และเป็นแผลเรื้อรัง

การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ MRSA

การรักษาการติดเชื้อ Staphylococcus สามารถใช้ยากลุ่ม penicillin erythromycin การติดเชื้อMRSA ( Methicillin resistant Staphylococcus aureus ) เชื้อโรคตัว สามารถพบได้มากที่โรงพยาบาล ซึ่งเกิดจากการพัฒนาสายพันธ์ของเชื้อโรค ทำให้เกิดการดื้อยา ส่งผลต่อความยากลำบากในการรักษา

การป้องการติดเชื้อ MRSA

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น เพราะการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น ทำให้เกิดผลเสีย เนื่องจากอาจทำให้เชื้อโรคดื้อยา
  • ป้องกันการเกิดแผล หากเกิดแผลต้องรีบรักษา อย่างให้แผลติดเชื้อ รักษาแผลให้สะอาด
  • ไม่ใช้แก้วน้ำ หรือ ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน

มาตรการที่ตั้งเป้าไว้ก็เพื่อป้องกันการติดเชื้อ MRSA รวมถึงการติดเชื้อที่เกี่ยวข้อง MRSA ในชุมชนด้วย สำหรับการป้องกันการติดเชื้อชนิดที่สองนั้น สิ่งสำคัญ คือ การรักษาบ้านเรือนให้สะอาด และปราศจากฝุ่นละออง ควรซักล้าง ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆ (เช่น โถส้วม ห้องอาบน้ำ) ของเล่นเด็ก และผ้าปูที่นอน (ด้วยน้ำยาทำความสะอาดภายในบ้านแบบเจือจาง) เป็นประจำ

การติดเชื้อแบคทีเรีย MRSA ทำให้ภูมิต้านทางโรคบกพร่อง ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆได้ เช่น ฝี ปอดอักเสบ ผิวหนังอักเสบ หากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบ เสียชีวิตในที่สุด เชื้อโรคชนิดนี้สามารถพบได้ที่ผิวหนัง และ เยื่อบุจมูก เข้าสู่ร่างกายทางแผลบริเวณผิวหนัง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

โรคโบทูลินั่ม ( Botulism ) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หนังตาตก สามารถพบเชื้อโรคได้ในดินและน้ำ อาหาร สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผล การหายใจ

โบทูลิซึม Botulism ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย

โรคโบทูลิซึม ภาษาอังกฤษ เรียก Botulism เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Clostridium botulinum ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบอยู่ได้ทั่วไป ตามพื้นดิน ในน้ำจืด และในน้ำทะเล เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม คือ ในสภาพอากาศที่ไม่มีออกซิเจน แบคทีเรียจะแบ่งตัวสร้างสปอร์ (Spore) และปล่อยพิษออกมา เรียกพิษว่า Botulinum toxin

อาการของผู้ป่วยโรคโบทูลินั่ม

ผู้ป่วยจะไม่มีไข้ แต่หัวใจจะเต้นช้า ความดันเลือดปรกติ แต่ต่อมาผู้ป่วยจะเริ่ม อ่อนแรง เริ่มจากใบหน้า การกลืนอาหาร การหายใจ คอ แขน และขา ตามในเวลาต่อมา ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัด ปากแห้ง หนังตาตก ความรุนแรงของโรคอาจทำให้เสียชีวิตได้

การรักษาผู้ป่วยโรคโบทูลินั่ม

ต้องเฝ้าระวังระบบประสาท เรื่องการหายใจ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ล้างท้องเพื่อขับเชื้อและToxin ให้ออกจากร่างกายให้มากที่สุด  ทำความสะอาดแผลใช้ hydrogenperoxide ฟอกแผล และให้ยา Antitoxin แต่ต้องทดสอบก่อนว่าผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาหรือไม่

  • การให้ยาต้านพิษ ในผู้ป่วยที่ไม่ใช่เด็กทารก จะให้สารต้านพิษ Botulinum toxin ซึ่งผลิตจากเซรุ่มที่ได้จากม้า (Equine antitoxin) แต่สำหรับเด็กทารก แพทย์จะให้ยาสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี/Antibody) ซึ่งผลิตจากเซรุ่มของคน (Human botulism immune globulin) เนื่องจากการให้ Equine antitoxin พบว่าไม่สามารถรักษาได้ นอกจากนั้น การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum ก็พบ ว่า ไม่มีประโยชน์เช่นกัน
  • การรักษาแผล โดยจะรักษาในผู้ป่วยที่มีบาดแผล ปากของบาดแผลที่แคบจะต้องถูกเปิดให้กว้างขึ้น เพื่อให้ออกซิเจนเข้าไปสัมผัสกับบาดแผลให้ทั่วถึง ซึ่งจะทำให้เชื้อนี้ไม่ผลิตพิษขึ้นมาอีก และให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียนี้ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลด้วย แม้ว่าประ โยชน์ที่ได้รับยังไม่ชัดเจนก็ตาม
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องเฝ้าติดตามระ บบการหายใจ โดยหากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรง จนเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ก็ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก ก็ต้องใช้ยาระบาย/ยาแก้ท้องผูก หรือการสวนทวารช่วย หรือหากมีอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ก็ต้องใช้ยาลดอาการ หรือใส่สายให้อา หารและดูดเอาอากาศและน้ำย่อยออกมา หรือผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่ออก ก็ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคโบทูลินั่ม

  • ไม่แนะนำให้เด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี บริโภคน้ำผึ้ง ยกเว้นจะนำไปปรุงเป็นอาหารที่ผ่านความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 116 องศาเซลเซียส ร่วมกับการเพิ่มความกดอากาศขณะปรุง เช่น การตุ๋น หรือการอบ เพื่อทำลายสปอร์ของเชื้อโรคโบทูลิซึมที่อาจปนเปื้อน
  • หลีกเลี่ยงการหมัก การดองทั้งผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เนื้อปลาต่างๆ ด้วยตน เอง หากต้องการทำ ควรเตรียมอาหารและภาชนะที่จะใส่ ให้สะอาด ใส่กรดมะนาวที่ความเข้ม ข้นมากกว่า 0.65% หรือใส่เกลือแกงให้เข้มข้นมากกว่า 3% และเก็บรักษาอาหารไว้ในตู้เย็น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการซื้ออาหารหมักดองที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน หากจะบริโภค จะต้องนำของหมักดองเหล่านั้นไปต้มให้เดือด 100 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 10 นาที เพื่อทำลายพิษที่อาจมีอยู่
  • สำหรับการซื้ออาหารกระป๋อง รวมถึงนมผง หรืออาหารสำเร็จรูปที่พร้อมทาน ต้องเลือกจากบริษัทผลิตที่เชื่อถือได้ และดูจากฉลากว่ามีเครื่องหมาย อย. (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข) ที่ชัดเจน บริโภคก่อนวันหมดอายุที่ระบุบนฉลาก และไม่เลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีรอยบุบ รอยแตก รอยรั่ว บวม โป่ง เป็นสนิม
  • มีวัคซีนสำหรับฉีดป้องกันพิษ Botulinum toxin ซึ่งสามารถป้องกันพิษชนิดย่อย A ถึง E แต่ประสิทธิภาพยังไม่ชัดเจน และอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ (เช่น การแพ้ยา) การให้วัคซีนจึงจำกัดให้เฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคนี้เท่านั้น เช่น ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับพิษชนิดนี้ หรือในกรณีมีการปล่อยอาวุธเชื้อโรคที่เป็นพิษชนิดนี้

โรคโบทูลินั่ม ( Botulism ) โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หนังตาตก สามารถพบเชื้อโรคได้ในดิน น้ำสะอาด น้ำทะเล ฝุ่นบ้าน หรือ อาหาร รวมถึง สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ ทางบาดแผล การหายใจ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove