พยาธิในช่องคลอด ภาวะติดเชื้อปรสิตที่ระบบสืบพันธ์ของสตรี อาการคันหี ช่องคลอดเหม็น ตกขาวเป็นสีเขียว ตกขาวมีฟอง ปวดเวลาฉี่ แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

ตกขาวสีเขียวมีฟอง พยาธิช่องคลอด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคพยาธิในช่องคลอด ( Trichomoniasis ) คือ โรคจากภาวะติดเชื้อโรคที่ระบบสืบพันธ์เพศหญิง เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ซึ่งอาการที่สำคัญ คือ คันอวัยวะเพศ อวัยวะเพศมีกลิ่นเหม็น ตกขาวผิดปรกติ และ ปวดแสบเวลาปัสสาวะ สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนมากเกิดกับสตรี โรคนี้สามารถกลับมาติดเชื้อซ้ำได้หลังจากรักษาหายแล้ว

สาเหตุของโรคพยาธิในช่องคลอด

โรคนี้เกิดจาก เชื้อโรคโปรโตซัว ชื่อ Trichomonas Vaginalis เป็นพยาธิที่สามารถพบในช่องคลอด หรือ น้ำอสุจิ เชืื้อโรคจะสามารถแพร่จากผู้ป่วยที่มีเชื้อสู่คนอื่นๆได้ จากการมีเพศสัมพันธ์ ซี่งเชื้อโรคจะทำให้เกิดความผิดปรกติที่ระบบสืบพันธ์ ทั้งในช่องคลอดและท่อปัสสาวะ โดยกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงการเกิดโรค มีดังนี้

  • กลุ่มคนที่อายุเกิน 40 ปี
  • กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมชอบมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช้สามีหรือภรรยาของตนเอง
  • กลุ่มคนที่ไม่สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  • กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับบริการทางเพศต่างๆ

อาการของผู้ป่วยโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับคที่ติดพยาธิในช่องคลอด ในระยะแรกของการติดเชื้อ 30 วันแรก ไม่แสดงอาการ แต่หลังจากนั้น ผู้ป่วยจะแสดงอาการผิดปรกติต่างๆ ดังนี้

  • ตกขาวมากผิดปกติ
  • ตกขาวเป็นฟอง ซึ่งตกขาวมีสีต่างๆ เช่น สีขาว สีเทา สีเหลือง หรือ สีเขียว
  • ตกขาวมีมีกลิ่นเหม็นคาวปลา
  • เลือดออกจากช่องคลอด
  • อวัยวะเพศบวม แดง
  • คันที่อวัยวะเพศ
  • ปัสสาวะบ่อยผิดปรกติ
  • ปวดเวลาปัสสาวะ
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์

การตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับการวินิจฉัยโรค เมื่อเกิดอาการผิดปรกติที่ช่องคลอด แพทย์จะทำการวินิจฉัย จากการซักประวัติ และ สังเกตุอาการต่างๆ จากนั้นตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อการโรคต่างๆ เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบ โรคหูด โรคเริม หนองใน เป็นต้น และ ทำการตรวจภายใน เก็บตัวอย่างน้ำเมือกจากการตกขาว เพื่อตรวจหาพยาธิ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้อง

การรักษาโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นหลัก และ การดูแลตนเอง ไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ โดยแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • ให้ยา เมโทรนิดาโซล หรือ ทินิดาโซล ให้รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • ช่วงการรักษาห้ามดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
  • ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการรักษา
  • สำหรับหญิงมีครรภ์ หรือ อยู่ในระหว่าการให้นมบุตร ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาทุกชนิด

การป้องกันโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับการป้องกันโรคพยาธิในช่องคลอด โรคนี้สาเหตุจากการติดเชื้อโรคจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโรค ดังนั้นการป้องกันโรคต้องป้องกันที่สาเหตุของการเกิดโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่มีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอน
  • สวมถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคจากการมีเพศสัมพันธ์
  • หากมีอาการผิดปรกติจากการตกขาว หรือ ปัวสาวะแสบ ให้ปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

พยาธิในช่องคลอด การติดเชื้อปรสิตที่ระบบสืบพันธ์ มีอาการคันหี ช่องคลอดเหม็น ตกขาวเป็นสีเขียว ตกขาวมีฟอง และ ปวดเวลาฉี่ โรคนี้รักษาอย่างไร และ การป้องกันต้องทำอะไรบ้าง

แคนดิไดอะซิส ภาวะการติดเชื้อราแคนดิดาเป็นยีสต์ที่พบทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค

โรคแคนดิไดอะซิส โรคติดเชื้อ ติดเชื้อราที่ช่องปาก โรคติดต่อ

เชื้อชนิดนี้พบได้ตามเยื่อเมือกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร อวัยวะเพศหญิง ยีสต์กลุ่มนี้จะไม่ทำให้เกิดโรค แต่ความอับชื้นทำให้ ยีสต์ชนิดนี้มีความรุนแรงจนก่อให้เกิดเป็นโรค โรคแคนดิไดอะซิสพบได้บ่อยเกิดได้ทั่วโลก พบในทุกเพศ ทุกวัย และ พบทารกแรกเกิด และ ผู้สูงอายุ มากที่สุด จากรายงานของโรคพบว่า ร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อมักติดเชื้อที่คอหอย

สาเหตุของการติดเชื้อแคนดิไดอะซิส

โรคแคนดิไดอะซิสเกิดจากติดเชื้อราช่ือแคนดิดา เป็นเชื้อราที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ แต่เชื้อราเกิดการเจริญเติบโตรวดผิดปกติ จนเกิดภาวะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคผิดปกติ โดยมักเกิดกับอวัยวะที่มีความชื้นสูง เช่น ช่องคลอด ช่องปาก โรคนี้สามารถแพร่จากคนสู่คน จากการสัมผัสเชื้อโรค และ เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคแคนดิไดอะซิส ได้แก่ กลุ่มคนต่างๆเหล่านี้

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเอดส์ เด็กทารก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีอวัยวะเพศอับชื้น
  • กลุ่มคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สุขอนามัยไม่ดี
  • กลุ่มคนที่ใช้ยาบางประเภทอย่างต่อเนื่อง เช่น ยาปฏิชีวนะ และ ยากลุ่มCorticosteroid
  • กลุ่มคนใส่ฟันปลอม

อาการของโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับอาการของโรคแคนดิไดอะซิส สามารถแบ่งอาการของโรค 3 ลักษณะ คือ การติดเชื้อเฉพาะที่ การติดเชื้อในกระแสเลือด และ การติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยรายละเอียดของโรคแคนดิไดอะซิส มีดังนี้

  • อาการติดเชื้อเฉพาะที่ จะติดเชื้อบริเวณอวัยวะที่มีเยื่อเมือก เช่น ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร ช่องคลอด อวัยวะเพศ โดยอาการของโรคจะแสดงอาการ คือ เกิดเนื้อเยื้อสีขาวข้น ผิวเรียบ เป็นมันเหมือนไขนม รอบๆของเนื้อเยื่อ จะมีลักษณะ แดง เจ็บ แสบ และ คัน  ซึ่งอาการอื่นๆที่พบ คือ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาการมักไม่รุนแรง รักษาให้หายได้
  • อาการติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลืือด ซึ่งภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีความรุนแรง อันตรายทำให้เสียชีวิตได้ โดยพบว่ามีการติดเชื้อ ที่หัวใจ สมอง ตับ ไต ร่วมด้วย อาการตอดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะแสดงอาการ คือ มีไข้สูง  อ่อนเพลีย อวัยวะต่างๆอักเสบ ปวดตัว อาการเหล่านี้มักพบคนที่มีภูมิคุ้มต้านทานโรคต่ำ
  • อาการติดเชื้อจากการใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตผิดปรกติจนเกิดโรค อาการนี้ขึ้นกับภูมิต้านทานโรคของแต่ละบุคคล

การรักษาโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคแคนดิไดอะซิส คือ การรักษาที่สาเหตุของการเกิดโรค เช่น การใช้ยาต้านเชื้อรา การหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงการประคับประครองอาการของโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยาต้านเชื้อรา ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และ อาจเป็นการใช้ยาทาเฉพาะที่ ยากิน หรือ ยาฉีด
  • สำหรับสาเหตุของโรคจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ให้ทำการหยุดการใช้ยาที่เป็นสาเหตุของโรค
  • การรักษาโรคด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การใช้ยาแก้ปวด เพื่อลดอาการปวดจากอวัยวะอักเสบ

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับผู้ป่วนโรคแคนดิไดอะซิส ควรมีแนวทางการดูแลตนเอง ดังต่อไปนี้

  • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้อยู่ในสภาพที่ดี
  • ไม่ควรอยู่ในสถานที่เสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค

การป้องกันการติดเชื้อโรคแคนดิไดอะซิส

สำหรับการป้องกันโรคแคนดิไดอะซิส มีแนวทางการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • รักษาความสะอาดของอวัยวะที่มีโอกาสติดเชื้อ เช่น อวัยวะเพศ ช่องปาก
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
  • ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะ หรือ ยาสเตียรอยด์ เพื่อใช้เอง

โรคแคนดิไดอะซิส ( Candidiasis ) ภาวะการติดเชื้อแคนดิดา เป็นยีสต์ที่พบได้ทั่วไป ติดเชื้อที่ช่องปาก คอหอย หลอดอาหาร และ กระเพาะอาหาร กลุ่มเสี่ยงที่ติดโรค อาการของโรค และ การรักษาโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove