ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ( Urinary tract infection ) การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดเวลาปัสสาวะ เกิดขึ้นได้กับทุกคน รักษาอย่างไรท่อปัสสาวะอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคระบบขับถ่าย โรคไม่ติดต่อ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Urinary tract infection เรียกย่อๆว่า UTI เป็น โรค ที่ เกิดจากการติดเชื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ ระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ ผู้ป่วย มีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะ ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็น ระบบของอวัยวะของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับไต โดยตรง เมื่อ ไต ทำหน้าที่กรองของเสีย จะส่งต่อไปที่ ท่อปัสสาวะ และ ขับของเสีย ออกในรูปแบบ น้ำปัสสาวะ  การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ใน เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย

น้ำปัสสาวะของมนุษย์ 

โดยปกติ ประกอบไปด้วย น้ำ และ เกลือ ซึ่ง น้ำปัสสาวะ จะไม่มีเชื้อโรค แต่ การติดเชื้อโรคของทางเดินปัสสาวะ เกิดมาจากภายใน ทางระบบทางเดินอาหาร หรือ อุจาระ ทำให้ ท่อปัสสาวะอักเสบ มีโอกาสทำให้ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ได้ และหาก เชื้อโรคลามเข้าท่อไต จะทำให้ กรวยไตอักเสบ  การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ อาจเกิดจาก เชื้ออีโคไล หรือ การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์

ผู้ที่มีโอกาสเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ คือ ผู้ป่วย นิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วย โรคต่อมลูกหมากโต ผู้ป่วยที่ ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยประสาทไขสันหลังอักเสบ ในสตรีที่ใกล้คลอด

อาการของผู้ป่วยโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

อาการของผู้ป่วย โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ สามารถสังเกตุได้จากอาการต่างๆ ดังนี้ ปัสสาวะบ่อย รู้สึกเจ็บเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะมีหนองปน อยู่ บางราบมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะขุ่น

การวินิจฉัยโรคทางเดินปัสาวะอักเสบ

สำหรับการวินิจฉัย เพื่อตรวจหาดรค นั้น สามารถทำได้โดยการ นำปัสสาวะไปตรวจดูความบริสุทธ์ ตรวจหาเม็ดเลือดขาว และ เม็ดเลือดแดง และ เชื้อโรค  หรือ การส่องกล้องตรวจในกระเพาะปัสสาวะ

การรักษาผู้ป่วยทางเดินปัสสาวะอักเสบ

การรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ นั้น หากผู้ป่วยไม่มีอาการไข้ ปวดเอว ปวดเวลาปัสสาวะ แล้ว สามารถใช้ยารักษาได้ ซึ่ง การใช้ยารักษา โดยทั่วไปอาการจะหายในเวลา 1 ถึง 2 วัน แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมา อาการ มีไข้สูง ปวดเอว ต้องรักษาโดยการฉีดยาเข้าเส้น และในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิงมีอาการทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ นั้นต้องป้องกันโดย
รับประทานยา ไทรเมโทรพริม ( trimethoprim ) การรับประทานยาต้องรับประทานยานาน 6 เดือน

การป้องกันการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ

การป้องกันการเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ สามารถทำได้โดยให้ดื่มน้ำให้มาก ไม่ควรอั้นปัสสาวะ ให้ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ห้ามใช้สารหรือสิ่งอื่นใดกับช่องคลอด ในเพศชาย การคลิบอวัยวะเพศ จะ ช่วยลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ได้

การปัสสาวะ ช่วยลดการเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ ได้ ดังนี้ สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ จะ ช่วยป้องกันการเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ได้ รวมถึง โรคทางเพศสัมพันธ์บางโรค สมุนไพรช่วยขับปัสสาวะ มีดังนี้

กระดังงา สมุนไพร สรพคุณของกระดังงา ประโยชน์ของกระดังงากระดังงา
เดือย ลูกเดือย สมุนไพร ประโยชน์ของเดือยลูกเดือย
โหราเดือยไก่ สมุนไพร สรรพคุณของโหราเดือยไก่ ประโยชน์ของโหราเดือยไก่โหราเดือยไก่
ขี้เหล็กเทศ สมุนไพร ต้นขี้เหล็ก สมุนไพรบำรุงหัวใจขี้เหล็กเทศ

ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ( Urinary tract infection ) คือ ภาวะการติดเชื้อโรคที่ทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ ระบบทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดอาการ มีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะบ่อย ปวดเวลาปัสสาวะ การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย อาการของโรคเดินปัสสาวะอักเสบ การรักษา การป้องกัน

ไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) การติดเชื้อไวรัสHBVที่ตับ อาการของโรค มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่นไวรัสตับอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ โรคตับ

โรคไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอักเสบบี ( HBV ) ที่ตับ ส่งผลให้เกิดโรค เช่น ตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับได้ อาการของโรค คือ มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถตรวจสอบการติดเชื้อได้จากการ ตรวจเลือด และการตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจ

ไวรัสตับอักเสบบี โรคตับ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัส

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove