ฝีคัณฑสูตร ฝีทวารหนัก  ( Fistula in ano ) อักเสบที่ทวารหนักจนเกิดรูจากการติดเชื้อ ปวดและบวมที่รอบๆรูทวารหนัก มีหนองเลือดปน คันรอบๆฝี การรักษาต้องผ่าตัดดูดหนองฝีคัณฑสูตร ฝีทวารหนัก โรคระบบขับถ่าย โรคติดเชื้อ

ฝีคัณฑสูตร หรือ ฝีที่ทวารหนัก ภาษาอังกฤษ เรียก Fistula in ano โรคนี้ถือเป็นโรคที่เกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคหนึ่ง ซึ่งโรคฝีที่ทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อของต่อมชนิดหนึ่งบริเวณทวารหนัก ต่อมนี้ทำหน้าที่สร้างเมือกหล่อลื่นเพื่อช่วยการขับถ่าย เมื่อต่อมชนิดนี้อับเสบและติดเชื้อ จะเกิดฝีที่ทวารหนักได้  ฝีที่ทวารหนักมักจะเริ่มเกิดที่บริเวณระหว่าง หูรูด และการติดเชื้อนั้นจะขยายไปรอบ ๆของทวารหนัก

โรคฝีคัณฑสูตร คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบที่ทวารหนักจนเกิดรู สาเหตุหลักของการเกิดฝีที่ทวารหนัก พบได้ในคนทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ และทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายมีโอกาสเกิดมากกว่าผู้หญิง 2 เท่าตัว และเกิดมากในคนอายุ 35 ปีขึ้นไป

สาเหตุของโรคฝีทวารหนัก

สำหรับ โรคฝีคัณฑสูตรมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อที่ต่อมภายในทวารหนัก เช่น เชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นของเสียที่อุจาระ และ ของเสีย สาเหตุของการติดเชื้อนั้น สามารถแบ่งเป็นสาเหตุได้ ดังนี้

  • เกิดจากเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิด Crohn disease ulcerative colitis
  • เกิดจากการมีแผลที่ขอบทวารหนัก
  • เกิดจากโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี
  • เกิดจากโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อซิฟิลิส
  • เกิดจากโรคแทรหซ้อนจากการติดเชื้อวัณโรค
  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น Actinomycosis Chlamydia
  • เกิดจากเนื้อร้าย มะเร็งทวารหนัก หรือโรคมะเร็งผิวหนัง
  • เกิดจากการมีประวัติเคยเข้ารับการรักษา โดยการฉายรังสีรักษาบริเวณท้องน้อยและทวารหนัก
  • เกิดจากการมีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณทวารหนักหรือเคนเข้ารับการผ่าตัดที่ทวารหนัก
  • เกิดจากโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อหนองใน

อาการของผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตร

ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่เป็นฝีที่ทวารหนักนั้น จะมีอาการปวดและบวมที่แก้มก้น รวมถึงรอบๆรูทวารหนัก มีน้ำเหลืองซึมออกมาจากรูที่ผิวหนัง มีเลือดปน มีหนอง คันรอบๆรูฝี ในกรณีเกิดการติดเชื้อและเกิดการอุดตัน ทำให้เกิดเป็นฝีหนอง ผู้ป่วยจะปวดมากขึ้น รวมถึงมีไข้ ฝีจะค่อยๆใหญ่ขึ้นจนเห็นผิวหนังบวมอย่างชัดเจนมากขึ้น ตามการอักเสบ

รักษาผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตร

สำหรับ การรักษาฝีที่ทวารหนัก นั้น หรือ การรักษาโรคฝีคัณฑสูตร ใช้การผ่าฝี เพื่อระบายหนองออกจากแผล และให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาลดไข้ เพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ รวมถึงดูแลทำความสะอาดบริเวณทวารหนัก เพื่อป้องกันการติดเชื้อมากขึ้น สำหรับการรักษาโดยการผ่าตัด มีหลายเทคนิคและวิธีในการรักษา ประกอบด้วย

  • Fistulotomy ใช้ยาชาฉีดเข้าไขสันหลัง หรือการดมยาสลบ ทำโดยการใส่ตัวนำทาง Probe เข้าไปที่รูเปิดที่ผิวหนังจนกระทั่งไปโผล่ออกที่รูเปิดภายในทวารหนัก แล้วใช้มีดกรีดเปิดเส้นทางเชื่อมต่อออกสู่ภายนอก แล้วจี้ทำลายตลอดความยาวของ tract เปิดแผลไว้ โดยปกติแล้วจะหายเองภายใน 5 สัปดาห์ วิธีนี้ใช้กับฝีคัณฑสูตรชนิด intersphincteric fistula แต่อาจมีปัญหาด้านกลั้นผายลมได้ไม่ดี
  • Seton ligation วิธีนี้ทำเหมือนวิธี Fistulotomy แต่เนื่องจากมีการ involve external sphincter ด้วยจึงต้องใช้วิธีรัดส่วนของ external sphincter แล้วค่อยๆตัดให้ขาด วิธีนี้ฝีที่ทวารหนักจะหายในเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ วิธีนี้เหมาะสำหรับฝีชนิด Complex fistulas
  • Fistulectomy วิธีนี้การรักษาใช้วิธีการรักษาคล้ายกับ Fistulotomy แต่จะตัดส่วนของเส้นทางเชื่อมต่อ Fistula tract ออกไปด้วย แล้วใช้เนื้อเยื่อบางส่วนของลำไส้มาปิดแผลและเย็บซ่อมกล้ามเนื้อหูรูด

ในการณีที่เกิดฝีหนองกำเริบ ให้รักษาฝีหนองให้หายก่อน ด้วยการกรีบหนองออกและใช้ยาปฏิชีวนะช่วย เมื่อหายอักเสบแล้วจึงค่อยผ่าตัดเอาฝีออก

การป้องกันโรคฝีทวารหนักหรือโรคฝีคัณฑสูตร

สำหรับ การป้องกันโรคฝีคัณฑสูตร นั้นสามารถป้องกันการเกิดฝีได้ดังต่อไปนี้

  • ป้องกันการเกิดแผลที่ทวารหนัก
  • รับประทานอาหารจำพวก ผัก และผลไม้ ที่มีกากใยอาหารมาก ป้องกันการเกิดท้องผูก
  • ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ป้องกันอาการท้องผูก
  • ทำความสะอาดก้นหลังจากการถ่ายอุจจาระให้สะอาดทุกครั้ง ป้องกันสิ่งสกปรก ทำให้เกิดการติดเชื้อ
  • หากมีแผลที่ปากทวารหนัก ให้รักษาความสะอาดเป็นพิเศษ ป้องกันการติดเชื้อ

โรคฝีคัณฑสูตร ฝีทวารหนัก  ( Fistula in ano ) การอักเสบที่ทวารหนักจนเกิดรู จากการติดเชื้อ อาการปวดและบวมที่แก้มก้น รวมถึงรอบๆรูทวารหนัก มีน้ำเหลืองซึมออกมาจากรู มีเลือดปน มีหนอง คันรอบๆรูฝี การรักษาต้องผ่าตัด ดูดหนอง

ข้ออักเสบ ( Septic arthritis ) ติดเชื้อแบคทีเรียที่ข้อกระดูก อากาของโรคปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก มีหนองที่ข้อกระดูก แนวทางการรักษาและดูแลอย่างไร

โรคข้ออักเสบ โรคข้อ โรคกระดูก โรคข้อและกระดูก

หากท่านมี อาการปวดข้อกระดูก มี อาการแดง ร้อน ตามข้อกระดูกแล้ว อย่าพึ่งคิดว่าเป็น โรคเก๊าท์ อาการปวดข้อกระดูก มีหลายโรค ซึ่ง โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ เป็นอีก โรคที่มีอาการปวดตามข้อ รวมอยู่ด้วย และความอันตรายของโรคก็มีมาก หากไม่รักษาอาจพิการถึงเสียชีวิตได้

โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ภาษาอังกฤษ เรียก Septic arthritis โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ คือ ภาวะการอักเสบของข้อกระดูกต่างๆ ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่พบส่วนใหญ่ เป็นเชื้อแบคทีเรีย ( Bacteria ) อาการที่พบ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก และจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อมีความเสี่ยงต่อการทุพลภาพสูง หากสงสัยว่าเรากำลังมีอาการปวดข้อ เป็นข้ออักเสบจากการติดเชื้อแล้ว ให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษา

ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ โรคข้ออักเสบชนิดติดเชื้อ กัน โรคนี้เป็นโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูก รวมถึงโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ มาทำความรู้จัก สาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ อาการของโรคเป็นอย่างไร การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้วินิจฉัยจากอะไร การรักษาโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ รวมถึงการป้องกันและการดูแลผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

สาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

โรคข้ออักเสบติดเชื้อ จะมีอาการปวดข้อกระดูก เนื่องจากมีหนอง ซึ่งเราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุใหญ่ คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย และการติดเชื้อหนองใน มาดูรายละเอียดของสาเหตุต่างๆ ดังนี้

  1. สาเหตุของข้ออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรีย สามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้ 3 ช่องทาง คือ ติดเชื้อจากแผลจากผิวหนังและกระแสเลือด  ติดเชื้อจากภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ และติดเชื้อจากระบบทางเดินปัสสาวะ
  2. สาเหตุของข้ออักเสบติดเชื้อหนองในแท้ เชื้อโรคจากโรคหนองในแท้ มีอันตรายสูง เป็นอันตราย หากเกิดการติดเชื้อโรคหนองในที่ข้อกระดูก อัตราการตายและการทุพพลภาพสูง กลุ่นคนที่ต้องระวังการติดเชื้อจากหนองใน คือ ผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้มีประจำเดือน ผู้ขาดคอมพลีเมนต์  และผู้ป่วยที่เป็นโรคเอสแอลอี

อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

เราจะแยกอาการของ โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ตามสาเหตุของการติดเชื้อ เป็น อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทั่วไป และ อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อหนองใน รายละเอียดของอาการต่างๆ มีดังนี้

  • อาการผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียทั่วไป คือ มีอาการปวด บวม แดงและร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก ซึ่งข้อที่พบบ่อย คือ ข้อหัวเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า ข้อมือและข้อศอก นอกจากอาการปวด บวม แล้ว ผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่นด้วย แต่อาการนี้จะหายเองภายใน 45 วัน
  • อาการผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อหนองใน คือ มีอาการปวด บวม แดงและร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก ลักษณะของอาการปวดจะย้ายที่ไปเรื่อยๆ ข้อกระดูกที่พบว่าปวด คือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้าและข้อนิ้วมือ เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ นั้น โดยเริ่มต้นสามารถทำได้โดย การสอบถามอาการของผิดปรกติจากผู้ป่วย และประวัติต่างๆ หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการเหมือนโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อแล้ว เพื่อให้เกิดความแน่ใจ สามารถทำได้โดยการตรวจเชื้อโรค จากการเจาะน้ำข้อกระดูกไปตรวจ การเจาะCBC และการตรวจทางรังสีวิทยา โดยรานละเอียด ดังนี้

  1. การเจาะน้ำที่ข้อกระดูกไปตรวจ ดูระดับน้ำตาล หากมีระดับน้ำตาลต่ำ มีโอกาสเจอเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการอักเสบ
  2. การเจาะ CBC เพื่อดูค่าเม็ดเลือดขาว
  3. การตรวจทางรังสีวิทยา เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของกระดูกรอบ ๆ ข้อ หากพบว่าบางลงหลังการติดเชื้อได้ 7 วันและจะพบว่าช่องว่างระหว่างข้อแคบลงหลังจากติดเชื้อได้ 14 วัน แสดงว่ามีการติดเชื้อ

การรักษาโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

การรักษาภาวะข้ออักเสบจากการติดเชื้อโรคนั้น สามารถทำการรักษาโดยการดูดหนองออกจากข้อกระดูกให้หมดและใช้ยาปฏิชีวนะ และรักษาโดยการประคับประครองอาการแทรกซ้อน ตามลำดับ รายละเอียดของการรักษา มีดังนี้

  • เจาะข้อกระดูก เพื่อทำการระบายหนองออกจากข้อกระดูก การเจาะจะง่ายหากเป็นข้กระดูกหัวเข่า แต่ถ้าเป็นข้อกระดูกอื่นๆ เช่น ข้อสะโพก หรือหัวไหล จะเจาะยาก ต้องใช้การเจาะด้วยการส่องกล้อง
  • จากนั้นใช้ยาปฏิชีวนะ การเจาะหนองอาจไม่หมด ซึ่งเชื้อโรคสามารถเจิญเติบโตต่อได้ โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ ในระยะแรกจะให้ยาโดยการฉีด จากนั้นหลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ จะให้ยา เพื่อฆ่าเชื้อให้หมดและไม่กลับมาเจริญเติบโตในข้อกระดูก
  • จากนั้นเป็นระยะเวลาของการประคับประคองการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น การใช้ยาแก้ปวด เฝ้าระวังการช็อกจากการขาดน้ำ

การป้องกันการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

  • ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นจากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน ดังนั้น ต้องระวัง และป้องกัน หากต้องมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโรคหนองใน
  • โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อนั้น เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายและเข้าสู่กระแสเลือดทางแผล ดังนั้น หากเกิดแผลต้องระวังการติดเชื้อ ทำความสะอากแผลให้สะอาด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการพักผ่อนที่เพียงพอทำให้ภูมิต้านทานโรคของร่างกายทำงานปรกติ และร่างกายแข็งแรง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

อาการปวดทำให้ผู้ป่วย โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ทรมาน การแก้อาการปวด ช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการของโรคได้ เราจึงของแนะนำ สมุนไพร ช่วยแก้ปวด มีดังนี้

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศกระเทียม
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทยหญ้าคา
ไมยราบ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกไมยราบ

โรคข้ออักเสบ ( Septic arthritis ) คือ ภาวะการอักเสบของข้อกระดูกจากการติดเชื้อ เชื้อแบคทีเรีย อาการโรคข้ออักเสบ คือ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆจากการติดเชื้อ มีหนองที่ข้อกระดูก โรคระบบข้อและกระดูก สาหตุ อาการ รักษาอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove