เบาหวาน ( Diabetes Mellitus ) ฮอร์โมนอินซูลิน ( Insulin )ในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดน้ำตาลสะสมในเลือดสูง อาการสายตาพร่ามัว เป็นแผลเรื้อรัง ปวดและชาตามมือเท้าโรคเบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือกสูง โรคไม่ติดต่อ การรักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน ( Diabetes Mellitus ) ฮอร์โมนอินซูลิน ( Insulin )ในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดน้ำตาลสะสมในเลือดสูง อาการของโรคเบาหวาน คือ สายตาพร่ามัว เป็นแผลเรื้อรัง ปวดและชาตามมือเท้า ติดเชื้อที่ผิวหนัง ปาก หรือ กระเพาะปัสสาวะ ง่าย ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย การคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีความสำคัญกับผู้ป่วย การรักษาโรคเบาหวาน รักษาตามอาการ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ต้องระวังการกิน

โรคเบาหวาน เป็นเบาหวานนั้น การคุมเบาหวาน หรือ การคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีความสำคัญกับผู้ป่วย การรักษาโรคเบาหวาน เป็นการรักษาตามอาการที่เกิดจากเบาหวาน ซึ่งการรักษาโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน เป็นสิ่งที่สำคัญ โรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่เราก็สามารถควบคุมความรุนแรงของโรคให้อยู่ในระดับที่คงที่และบรรเทาเบาลงได้

เนื้อหาเกี่ยวกกับโรคเบาหวาน เป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ สามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้ โดยเราจะเสนอเนื้อหา ว่า อาการโรคเบาหวาน การรักษาโรคเบาหวาน การป้องกันโรคเบาหวาน การใช้สมุนไพรช่วยรักษาโรคเบาหวาน โรคเบาหวาน ภาษาอังกฤษ เรียกว่าอย่างไร  เบาหวาน สมุนไพร อาการแทรกซ้อนต่างของเบาหวาน เบาหวานขึ้นตา

โรคเบาหวาน เป็น โรคยอดฮิตของมนุษย์ เราพบว่าร้อยละ 10 ของประชากรประเทศไทย เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในทุกเพศ และทุกวัย และแนวโน้มจะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอีกได้ ซึ่งปัจจัยของการเกิดโรคเบาหวาน คือ พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการใช้ชิวิต และ กรรมพันธุ์ เป็นต้น ซึ่งการป่วยเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยบางคนไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคนี้ และจะป่วยหนัก เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่มีความรุนแรง ดังนั้น วันนี้เราจะมาให้ความรู้เรื่องโรคนี้อย่างจริงจัง

สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน

สาเหตุของเบาหวาน คือ การทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน(Insulin)ในร่างกายผิดปกติ ซึ่งโฮโมนอินซูลินนี้ มีหน้าที่นำน้ำตาลในกระแสโลหิตเข้าสู่เซลล์ต่างๆของร่างกาย เพื่อนำพลังงานไปใช้ การที่โฮโมนอินซูลินทำงานไม่ปรกติ จะทำให้เกิดน้ำตาลสะสมในกระแสเลือด ทำให้ส่งผลต่ออวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานผิดปรกติ เป็นสาเหตุของโรคแทกซ้อนจากการเป็นเบาหวาน สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน อาจเกิดได้จากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้เกิดน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้อธิบายไปแล้วว่า ฮอร์โมนอินซูลิน เป็นอย่างไร โดยแหล่งผลิดฮอโมนชนิดนี้ คือ ตับอ่อน หากจะแยกเป็นข้อๆ เกี่ยวกับ สาเหตุที่ทำให้เกิดเบาหวาน ได้ดังนี้

  • ความอ้วนจากการไม่ออกกำลังกาย
  • อายุที่มากขึ้น ทำให้ฮอร์โมนอินซูลินผลิตได้น้อยลง
  • ความผิดปกติของตับอ่อน
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด ที่มีผลต่อตับอ่อน
  • การใช้ยาบางชนิด ที่ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้นจากตับ และทำให้การตอบสนองของอินซูลินที่กล้ามเนื้อและเซลล์ไขมันทำได้ไม่ดี
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงที่มีฮอร์โมน ซึ่งมีผลต่อการยับยั้งการทำงานของอินซูลิน

ประเภทของโรคเบาหวาน

ซึ่ง เบาหวาน สามารถแบ่งได้ เป็น 4 ประเภท คือ เบาหวาน ประเภทที่1 เบาหวาน ประเภทที่ 2 เบาหวาน ที่เกิดจากการตั้งครรถ์ และ เบาหวาน ที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ โดยรายละเอียดของ เบาหวานแต่ละประเภท มี ดังนี้

  1. เบาหวาน ประเภทที่ 1 ภาษาอังกฤษ เรียก Type 1 Diabetes เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินเพื่อให้ร่างกายไปใช้งานไม่ได้ เนื่องจากเบตาเซลล์(beta cells) ของตับอ่อนถูกทำลาย ด้วยภูมิคุ้มกันของร่างกายตัวเอง โรคเบาหวานประเภทนี้ พบมากถึงร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 35 ปี จะเกิดโรคลักษณะเฉียบพลัน ซึ่งผู้ป่วยจะกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดลงเร็ว ทานอาหารบ่อย เหนื่อยง่าย และเกิดการคั่งสารคีโตน ผู้ป่วยเบาหวานประเภทนี้ต้องได้รับอินซูลินโดยการฉีดหรือใช้เครื่องปั๊มอินซูลิน
  2. เบาหวาน ประเภทที่ 2 ภาษาอังกฤษเรียก Type 2 Diabetes พบว่าประเภทนี้เป็นมากที่สุด พบมากถึงร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากตับอ่อนสามารถสร้างอินซูลินไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ประเภทนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยจะมีอาการตาพร่ามัว เป็นแผลแล้วหายช้า มีอาการชาตามมือและเท้า และติดเชื้อได้ง่าย ผู้ป่วยต้องควบคุมอาหาร และใช้อินซูลินชนิดฉีดเพิ่ม
  3. เบาหวาน ประเภทที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งสตรีที่ตั้งครรถ์มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ตั้งครรถ์ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิตขณะตั้งครรถ์ ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดจะกลับสู่ภาวะปกติ หลังจากการคลอดบุตร
  4. เบาหวาน ประเภทที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น พันธุกรรม โรคจากตับอ่อน โรคเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ซึ่งจะพบมากในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินกว่าปรกติ หรือ อ้วน นั้นเอง ซึ่งอาการของโรคจะไม่มีให้เห็นอย่างชัดเจน โดยจะค่อยๆเกิดขึ้น โดยให้สังเกตุอาการ ดังนี้ สายตาพร่ามัว เป็นแผลเรื้อรังหายช้า ปวดและมีอาการชาตามมือและเท้า ติดเชื้อที่ผิวหนัง ปาก หรือ กระเพาะปัสสาวะ ได้ง่าย ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย และอยากทานอาหารเพิ่ม

โรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นอันตรายที่เกิดจากโรคนี้ โรคเบาหวาน ส่งผลให้ เกิดโรคเกี่ยวกับ ตา หัวใจและหลอดเลือด ไต และระบบประสาท โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งหลอดเลือดจะถูกทำลาย ทำให้หลอดเลือดอุดตันได้ ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ซึ่งภาวะนี้สามารถทำให้ เกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลวได้ ซึ่งสิ่งนี้เกิดจากภาวะหัวใจและหลอดเลือดถูกทำลาย
  • โรคตา ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานในเวลานาน หลอดเลือดในจอตาที่เรียกว่า “เรตินา” ถูกทำลาย ทำให้การมองเห็น ได้รับผลกระทบ หากเป็นหนักมากจะส่งผลถึงการสูญเสียความสามารถในการมองเห็นหรือตาบอดได้
  • โรคไต โรคเบาหวานจะทำให้เกิดปัญหาที่ไตมากที่สุด ซึ่งไตทำหน้าที่ในการกรองเลือดและกำจัดของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ หากไตมีปัญหา จะทำให้การกรองของเสียและการขับของเสียออกจากร่างกายทำได้ไม่ดี เราเรียกว่าภาวะไตเสื่อม
  • โรคทางระบบประสาท เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดสูง น้ำตาลจะทำลายประสิทธิภาพการเป็นฉนวนของเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเหล่านั้นไม่ตอบสนอง ระบบประสาทจะถูกทำลายอย่างช้าๆ

การรักษาโรคเบาหวาน

สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชิวิต ลดการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลมาก ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ  และควบคุมการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ที่มีสาเหตุจากโรคเบาหวาน และการให้ฮอโมนอินซูลิน เพื่อช่วยกระตุ้นการนำน้ำตาลในเลือดไปใช้งาน เพื่อลดการสะสมน้ำตาลในเลือดนั้นเอง โรคนี้การรักษาที่ดีที่สุดคือการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย

นอกจาก การควบคุมอาหาร แล้วการรับประทานอาหารที่มีสรรพคุณใน การช่วยไขมันและน้ำตาลในเลือด ช่วยการขับของเสียออกจากร่างกายก็สามารถช่วย รักษาโรคเบาหวาน ได้เป็นอย่างดี เราจึงขอแนะนำ สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน มีดังนี้

เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย
ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง
ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพรชุมเห็ดเทศ มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก

ไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) การติดเชื้อไวรัสHBVที่ตับ อาการของโรค มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่นไวรัสตับอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ โรคตับ

โรคไวรัสตับอักเสบบี ( Hepatitis B ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอักเสบบี ( HBV ) ที่ตับ ส่งผลให้เกิดโรค เช่น ตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับได้ อาการของโรค คือ มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถตรวจสอบการติดเชื้อได้จากการ ตรวจเลือด และการตัดชิ้นเนื้อตับไปตรวจ

ไวรัสตับอักเสบบี โรคตับ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อไวรัส

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove