นิ่วที่ถุงน้ำดี เรียกหลายชื่อ นิ่วน้ำดี เกิดก้อนิ่วขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี ทำให้ปวดท้อง ท้องอืดง่าย เจ็บที่ลิ้นปี่และชายโครงขาว ตัวเหลือง ตาเหลืองนิ่วถุงน้ำดี นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วที่ถุงน้ำดี รักษานิ่วถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี ภาษาอังกฤษเรียก Gallstone หรือ Cholelithiasis คือ ภาวะขาดความสมดุลของสารประกอบในน้ำดี จึงทำให้เกิดการตกผลึกเป็นก้อนนิ่ว ขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี โดยทั่วไปโรคนี้ไม่รุนแรงสามารถรักษาได้ เป็นโรคของผู้ใหญ่ พบมากในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป อัตราการเกิดโรคผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

ข้อสังเกตุสัญญาณว่าเรามีโอกาศเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี มีข้อสังเกตุ ดังนี้

  1.  มีอาการปวดท้อง จุกเสียด และแน่น บริเวณลิ้นปีี่หรือใต้ชายโครงด้านขวา
  2. มีอาการอาหารไม่ย่อย และ อิ่มง่าย หลังจากกินอาหารที่มีความมัน
  3. มีอาการคลี่นไส้และอาเจียน พร้อมกับมีไข้
  4. มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง

สาเหตุของการเกินนิ่วในถุงน้ำดี

ถุงน้ำดี จะเป็นอวัยวะที่ทำงานร่วมกับตับ ซึ่งตับจะสร้างน้ำดี และนำไปเก็ยที่ถุงน้ำดี เมื่อร่างกายต้องการน้ำดีเพื่นนำไปย่อยไขมัน ถุงน้ำดีจะส่งน้ำดีผ่านทางท่อน้ำดี ไปยังลำไส้เพื่อทำหน้าที่ย่อยอาหาร การเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี เกิดจากการสะสมสารประกอบในน้ำดีที่ไม่สมดุล จึงทำให้เกิดการตกผลึก เป็นนิ่ว และเข้าไปอุดตันทางเดินของน้ำดี ทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี

ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเกิดก้อนนิ่วที่ถุงน้ำดี มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะคอเล็สเตอรัลสูง ในคนอ้วนทำให้ความสามารถการบีบตัวของถุงน้ำดีน้อยลง
  • การได้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ระดับคอเลสเตอรัลในน้ำดีสูง
  • ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • เพศ ซึ่งพบว่าเพศหญิงมีโอกาสการเกิดโรคสูงกว่าเพศชาย เนื่องจากการตั้งครรถ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้คอเรสเตอรัลสูง
  • อายุที่มากขึ้น ทำให้การสะสมคอเรสเตอรัลมีมากขึ้น
  • การกินยาลดไขมัน
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป

ชนิดของนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี สามารถแบ่งชนิดของนิ่วได้ 3 ชนิด คือ นิ่วในถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล นิ่วในถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • นิ่วถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล (cholesterol stones) สามารถพบได้ร้อยละ 80 ของสาเหตุการเกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี ลักษณะจะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือ เขียว เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลมากในน้ำดี และถุงน้ำดีไม่สามารถบีบออกได้มากพอ จนเกิดการสะสม
  • นิ่วถุงน้ำดีชนิดที่เกิดจากเม็ดสี หรือ บิลิรูบิน (pigment stones) พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง หรือ คนที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจาง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วนโรคนิ่วในถุงน้ำดี

สำหรับโรคนิ่วในถุงน้ำดี สามารถพบอาการของโรคได้ ดังนี้

  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง บริเวณช่วงท้องส่วนบน หรือ ชายโครงด้านขวา มีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณกระดูกสะบัก หรือ บริเวณไหล่ด้านขวา
  • มีอาการอาเจียน และ คลื่นไส้
  • มีอาการด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนที่ยอดอก มีลมในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่หลังรับประทานอาหารมัน
  • มีไข้
  • มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม

การรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดี

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้ มีแนวทางการรักษา คือ การผ่าตัดถุงน้ำดี การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง  การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อนในกรณีที่มีนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • การรักษาเริ่มต้นด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การลดกรดในกระเพราอาหาร ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียของถุงน้ำดี และให้ผู้ป่วยงดการรับประทานอาหารมัน ๆ
  • การใช้ยาละลายนิ่วในถุงน้ำดี การใช้ยาสามารถรักษาได้ผลกับนิ่วบางชนิดเท่านั้น และผู้ป่วยยังต้องกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • การสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ( Extracorporeal shock wave lithotripsy – ESWL )  เป็นการใช้คลื่นเสียงกระแทกนิ่วให้แตก แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ป่วยจะปวดท้อง และมีอัตราการรักษาสำเร็จไม่สูง การรักษาด้วยวิธีทนี้ปัจจุบันแพทย์ไม่นิยมใช้
  • การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ( Cholecystectomy ) เป็นการรักษาที่ทำให้หายขาด แต่มีผลข้างเคียง และ ต้องป้องกันและเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบันจะมี 2 วิธี คือ การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบเปิดหน้าท้อง (Open cholecystectomy) การผ่าตัดถุงน้ำดีโดยการส่องกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy)
  • การส่องกล้องเพื่อตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography – ERCP) ใช้สำหรับการรักษาในผู้ป่วยมีนิ่วในท่อน้ำดี เพื่อเอานิ่วออกจากท่อน้ำดี

การป้องกันการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี

  • ควบคุมอาหาร ลดการกินอาหารที่มีความมัน มีคอเสเตอรัลสูง รวมถึงอาหารหวาน เช่น น้ำอัดลม อาหารกระป๋อง เป็นต้น
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
  • ทานอาหารจำพวกแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชต่างๆ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

โรคนิ่วที่ถุงน้ำดี เรียกหลายชื่อ เช่น นิ่วน้ำดี นิ่วถุงน้ำดี หรือ นิ่วในถุงน้ำดี การเกิดก้อนิ่วขนาดเล็กจำนวนมากที่ถุงน้ำดี ทำให้ ปวดท้อง ท้องอืดง่าย เจ็บที่ลิ้นปี่ และ ชายโครงขาว ตัวเหลือง ตาเหลือง

มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma ) เนื้อร้ายที่ท่อทางเดินน้ำดี เกิดกับตับและอวัยวะภายในช่องท้อง พบมากในเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดดิบมะเร็งท่อน้ำดี โรคมะเร็ง ตัวเหลืองตาเหลือง กินปลาดิบ

โรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย

โรคนี้เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของสาเหตุการตายของคนไทยจากโรคมะเร็ง โรคนี้พบมากในภาคอีสาน เนื่องจากการนิยมการกินปลาดิบ จนเกิดจากการติดพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis viverrini ซึ่งเป็นปรสิตที่พบในปลาน้ำจืด ที่มีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลาขาว ปลาสร้อย ปลากะสูบ ปลาแม่สะแด้ง ปลาซิว ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา เป็นต้น

เมื่อคนกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆ ดิบๆ ตัวอ่อนของพยาธิจะเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในท่อน้ำดี และอยู่ได้นานถึง 20 ปี ดังนั้น โรคมะเร็งท่อน้ำดี เกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งท่อน้ำดี คือ คนอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีประวัติกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆดิบๆ การรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี หากพบในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึงร้อยละ 90

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีนั้น ยังไม่มีการศึกษาได้สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคอย่างชัดเจนนัก แต่พบว่าการเกิดการอักเสบแบบเรื้อรังที่ท่อน้ำดี มีผลทำให้เซลล์ของเยื่อบุผิวท่อน้ำดีเป็นเซลล์มะเร็งได้ โดยพบว่ามีโรค ดังต่อไปนี้ที่มีความเสี่ยงการเกิดอักเสบของท่อน้ำดี คือ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โรคพยาธิใบไม้ในตับ และ ความผิดปรกติของท่อน้ำดีจากกรรมพันธ์

ชนิดของมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับมะเร็งท่อน้ำดี นั้นสามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด ประกอบด้วย มะเร็งท่อน้ำดีในตับ และ มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งท่อน้ำดีในตับ ลักษณะของโรคคล้ายมะเร็งตับ การวินิจฉัยโรคมักถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับ เกิดจากเซลล์ของเยื่อบุท่อน้ำดีในตับและขยายออกสู่เนื้อตับข้างๆ
  • มะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ มะเร็งชนิดนี้จะทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดี จากการที่มีท่อน้ำดีขนาดใหญ่ตั้งแต่ขั้วตับจนถึงท่อน้ำดีส่วนปลาย ซึ่งผู้ป่วยมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีนั้น มีปัจจัยเสี่ยงการการกินอาหารที่มีให้เกิดผลกระทบต่อตับ สำหรับปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี มีดังนี้

  • การเกิดโรคภาวะท่อน้ำดีอักเสบแบบเรื้อรัง
  • การเกิดโรคที่ระบบทางเดินของท่อน้ำดี
  • การเกิดนิ่วที่ตับ
  • กรรมพันธุผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คือ ถุงน้ำดีผิดปกติในระบบทางเดินน้ำดี

ระยะของโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับระยะการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี นั้น มี 4 ระยะ คือ ระยะลุกลามเฉพาะท่อน้ำดี ระยะลุกลามออกนอกท่อน้ำดี ระยะลุกลามเข้าสู่หลอดเลือดขนาดเล็ก และ ระยะลุกลามเข้าสู่หลอดเลือกขอนาดใหญ่และกระแสเลือด

อาการของมะเร็งท่อน้ำดี

ลักษณะของอาการของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี อาการคล้ายกับผู้ป่วยโรคตับ ซึ่งในระยะแรกของโรคจะไม่แสดงอาการให้เห็น และ จะแสดงอาการเมื่อโรคเริ่มมีการลุกลามแล้ว โดยสามารถสังเกตุอาการของโรคได้ ดังนี้

  • มีอาการตัวเหลืองและตาเหลือง
  • มีอาการไม่สบายท้อง อึดอัดและแน่นท้อง
  • ปวดท้องส่วนบนบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • มีอาการปวดหลังและปวดไหล่
  • มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • คันตามตัวทั่วร่างกาย
  • อุจจาระมีสีซีด
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม
  • เหนื่อยง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีก้อนโตที่หน้าท้อง

การรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี นั้นการพิจารณารักษามีปัจจัยต่างๆ คือ ขนาดของมะเร็ง ตำแหน่งของมะเร็ง และ ลักษณะของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง และ การแพร่กระจายของมะเร็ง รวมถึงสุขภาพและกำลังใจผู้ป่วยด้วย โดยการรักษาใช้การผ่าดัด และเคมีบำบัด ควบคู่กันได

  • การผ่าตัด เป็นการรักษาหลักของโรคมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งจะผ่าตัดเนื้องอก และผ่าตัดระบายท่อน้ำดี ผู้ป่วยที่สามารถผ่าตัดเนื้องอกได้แต่ในขณะที่ผ่าตัดพบว่าระยะโรคไม่สามารถผ่าตัดออกได้ ควรได้รับการผ่าตัดระบายท่อน้ำดีเพื่อรักษาอาการคันและตัวเหลืองตาเหลือง
  • เคมีบำบัดและรังสีรักษา ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอามะเร็งออกได้หมด หรือใช้ในการรักษาหลังผ่าตัดเพื่อเพิ่มโอกาสการหายขาด

การป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดี ต้องลดโอกาสเกิดโรคที่ตับ เป็นหลัก โดยรายละเอียดดังนี้

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ
  • เลิกกินปลาน้ำจืด ที่ปรุงแบบสุกๆดิบๆ
  • คนที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่มีการระบาดของโรคพยาธิใบไม้ตับ ต้องระวังการติดเชื้อโรคและการติดพยาธิ
  • ควรพบแพทย์ขอรับการตรวจอุจจาระเพื่อตรวจหาไข่ของพยาธิใบไม้ตับ เป็นประจำทุกปี

มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma ) คือ ภาวะการเกิดก้อนเนื้อร้ายที่ท่อทางเดินน้ำดี เป็นโรคที่เกิดกับตับ และ ระบบอวัยวะภายในช่องท้อง โรคนี้พบมากในเพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดจากการรับประทานปลาน้ำจืดดิบๆ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove