ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมัน บำรุงผิวถั่วเขียว สมุนไพร สรรพคุณถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green Bean ถั่วเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม, ถั่วมุม, ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว เป็นพืชตระกลูถั่ว มีสรรพคุณสูง เหมาะสำหรับการลดความอ้วน ถั่วเขียวช่วยลดคอเรสเตอรัล บำรุงหัวใจ ช่วยกำจัดสารพิษ บำรุงผิวพรรณ ถั่วเขียวจัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ประโยชน์ของถั่วเขียว มากมาย แต่มีข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียวอยู่บ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเขียวอย่างละเอียด ว่าเป็นอย่างไร ใช้รักษาอะไรได้บ้าง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางอาหารของ ถั่วเขียว ทั้งใน ถั่วเขียวสด และถั่วเขียวต้ม พบว่า มีคุณค่าทางอาหารที่ใกล้เคียงกัน รายละเอียดดังนี้

ถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม นั้น ให้พลังงาน 105 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

ถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 347 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหาร ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม
น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม  วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม 28%

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียว เป็นพืชล้มลุกมีอายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นถั่วเขียว นั้นมีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเขียว เป็นระบบรากแก้ว มีรากแขนงมากมาย ถั่วเขียวจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความชื้น รากของถั่วเขียว เป็นแหล่งสะสมไนดตรเจนที่ดีสำหรับสารอาหารในดิน
  • ลำต้นของถั่วเขียว มีลักษณะลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้าน เป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลำต้นมีขนอ่อน
  • ใบของต้นถั่วเขียว เป็นใบเดียวแต่ในก้านหนึ่งก้านจะมีใบเดียว สามใบ
  • ดอกของต้นถั่วเขียว จะขึ้นบริเวณมุมใบ ปลายยอด และกิ่งก้าน ลักษณะดอกเป็นช่อ ความยาวประมาณ 2 ถึง 13 เซนติเมตร ดอกของถั่วเขียวมีหลายสี อาทิ เช่น สีเหลือง สีขาว และสีม่วง เป็นต้น
  • ฝักและเมล็ดของต้นถั่วเขียว ฝักจะยาวกลม งอเล็กน้อย ผิวเรียบ มีเมล็ดถั่วเขียวอยู่ด้านใน เมื่อฝักแก่เต็มที่ ก็สามารถเก็บเกี่ยวเอาเมล็ดถั่วเขียวมาใช้งานได้

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับในการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว นั้นนิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดยเฉพาะการกินทั้งแบบสดและแบบต้ม หรือ กินต้นอ่อน ที่เรารู้จักกันใน ถั่วงอก รายละเอียดของ สรรพคุณของถั่วเขียว มี ดังนี้

ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง รักษาไข้หวัด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน ช่วยคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้ บำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันช่วยถอนพิษ ช่วยกระตุ้นประสาท ทำให้ช่วยสมองทำงานได้ฉับไว ช่วยบำรุงเซลล์ประสาทและสมอง ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการตาพร่า รักษาตาอักเสบ ช่วยรักษาคางทูม ช่วยแก้อาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ ช่วยบำรุงตับ ช่วยแก้อาการไตอักเสบ ช่วยแก้ผดผื่นคัน ช่วยลดบวม ช่วยรักษาโรคข้อต่าง ๆ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากพืช แก้พิษจากสารหนู ช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารก

ข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเขียว

  • ถั่วเขียว มีฤทธิ์ทำให้ท้องอืด ผู้ที่มีอาการท้องอืดอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว เพราะจะทำให้ท้องอืดมากขึ้น
  • ถั่วเขียว จะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น สำหรับผู้ที่ระบบกระเพราะอาหารอ่อนแอ ในช่วยเวลานั้นๆ ควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเขียว
  • ถั่วเขียว เป็นคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันเมื่อร่างกายมนุษย์รับประทานเข้าไป การกินถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดไขมันสะสมมากเกินไปได้ ดังนั้น การกินถั่วเขียว ต้องกินให้อยู่ในริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย
  • ใน ถั่วเขียว มีสารชนิดหนึ่ง ชื่อ พิวรีน (Purine) มีผลการสะสมกรดยูริกในร่างกาย ทำให้เกิดเก๊าท์ได้ ผู้ที่เป็นเก๊าท์อยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยง หรือควบคุมปริมาณการกินถั่วเขียว

ถั่วเขียว ( Green Bean ) สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว ประโยชน์ของถั่งเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว ลดความอ้วน ช่วยลดคอเรสเตอรัล ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับไขมัน บำรุงผิวพรรณ ข้อควรระวังในการกินถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ดาวเรือง ( African Marigold ) พืชพื้นเมือง ดอกดาวเรืองกลิ่นหอม นิยมใช้ในกิจกรรมทางวัฒนธรรม ศาสนา ต้นดาวเรืองเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาเย็น บำรุงเลือด

ดาวเรื่อง สมุนไพร สรรพคุณของดาวเรือง

ต้นดาวเรือง ภาษาอังกฤษ เรียก African Marigold เป็นพืชที่รู้จักดีในสังคมไทย เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศเม็กซิโก นิยมนำมาใช้ในกิจกรรมทางวัฒนธรรม และศาสนา ดาวเรืองเป็นพืชประจำจังหวัดสมุนปราการ เป็นสมุนไพรไม้ประดับ มีกลิ่นหอม ชาวสวนนิยมใช้ไล่แมลง สำหรับดาวเรือง มีประโยชน์ทางสมุนไพรและการรักษาโรคมากมาย อาทิ เช่น เป็นยาเย็น บำรุงเลือด บำรุงสายตา เป็นยาระบาย ช่วยขับลม เป็นต้น ปลูกดาวเรืองของประเทศไทย ได้แก่ ลำปาง พะเยา ราชบุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี เป็นต้น เรามาทำความรู้จักกับดาวเรืองให้มากขึ้น

ต้นดาวเรือง มีชื่อสามัญหลายชื่อ เช่น African marigold, American marigold, Aztec marigold และ Big marigold ชื่อวิทยาศาสตร์ของดาวเรื่อง คือ Tagetes erecta L. เป็นพืชตระกลูเดียวกันกับต้นทานตะวัน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นดาวเรื่อง เช่น ดาวเรืองใหญ่ คำปู้จู้หลวง พอทู บ่วงซิ่วเก็ก ว่านโซ่วจี๋ว บ่วงลิ่วเก็ก เฉาหู่ย้ง กิมเก็ก ดาวเรืองอเมริกัน เป็นต้น

ดอกดาวเรือง มีการศึกษาพบว่าในดอกดาวเรืองมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย  Carotent, d-limonene, Flavoxanthin, Helenienm Nonanal, Ocimene, Tagetiin, Tagetone d-Terehienyl  ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ในใบอของต้นดาวเรือง มีสารชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์แก้อาการอักเสบ ห้ามเลือด สารชนิดนี้ ชื่อ คาเอมพ์เฟอริตริน ( Kaempferitrin )

ลักษณะของต้นดาวเรือง

ต้นดาวเรือง ดาวเรือง สามารถขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด โตเร็ว ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดด จัดอยู่ในพืชล้มลุก อายุประมาณ 365 วัน ลักษณะของต้นดาวเรือง มีดังนี้

  • ลำต้นของต้นดาวเรือง สูงประมาณไม่เกิน 1 เมตร แตกกิ่งก้านมาก ลำต้นสีเขียว มีกลิ่นแรง
  • ใบของต้นดาวเรือง ใบเป็นแบบใบประกอบ แบบขนนก เรียงตรงข้ามกัน มีใบย่อยใบย่อยเป็นรูปรี ปลายแหลม
  • ดอกของต้นดาวเรือง ดอกเป็นดอกเดี่ยว สีเหลือง สีส้ม กลบดอกมีขนาดใหญ่เรียงซ้อนกันเป็นวงกลม ปลายกลีบดอกเป็นฟันเลื่อย มีเกสรซ้อนกันแน่น
  • ผลของต้นดาวเรือง เมื่อดอกดาวเรืองแห้งจะเกิดผลปลายของผลจะมน

สรรพคุณด้านสมุนไพรของต้นดาวเรือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากดาวเรือง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารนำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ ราก ดอก ใบ ทั้งต้น ซึ่งรายละเอียดของสรรพคุณดาวเรือง มีดังนี้

  • ดอกของดาวเรือง มีรสขมมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยบำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ช่วยแก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยบำรุงสาย แก้ปวดตา แก้ตาบวม รักษาคางทูม แก้ร้อนใน แก้ไอเรื้อรัง ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน รักษาปากเปื่อย  เป็นยาแก้ปวด แก้หลอดลมอักเสบ รักษาระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ ช่วยขับลม ช่วยขับพยาธิ
  • ใบของดาวเรือง สามารถใช้แก้โรคตาลขโมย ขับลม รักษาแผลเน่าเปื่อย ช่วยรักษาแผลฝี
  • รากของดาวเรือง มีรสขมมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เป็นยาระบาย ใช้ขับพยาธิ แก้อักเสบ
  • ทั้งต้นของดาวเรือง ใช้ลดไข้ แก้เจ็บคอ แก้ปวดท้อง รักษาโรคไส้ตัน

ประโยชน์อื่นๆของดาวเรือง

  • ดอกดาวเรือง สามารถนำมาทำอาหารได้ เช่น การนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก ทำยำ
  • ดอกดาวเรือง มีสารเบต้าแคโรทีน ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้
  • น้ำที่สกัดจากดอกดาวเรือง สามารถนำมาใช้ป้องกันแมลงได้
  • ดอกดาวเรือง ใช้ในงานพิธีทางศาสนาต่าง ๆ
  • ดอกดาวเรือง สามารถนมาทำสีย้อมผ้าแบบะรรมชาติ
  • ดอกดาวเรืองแห้ง สามารถนำมาทำเป็นอาหารเสริมของไก่ ช่วยให้ไข่แดงสีเข้ม
  • ดอกดาวเรือง นำมาประดับบ้าน จัดใส่แจกัน เพิ่มความสวยงาม
  • ปลูกดาวเรือง ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช เนื่องจากดาวเรืองมีสารที่มีกลิ่นฉุนแมลงต่างๆไม่ชอบ

ดาวเรือง ( African Marigold ) พืชพื้นเมือง ดอกดาวเรือง มีกลิ่นหอม นิยมใช้ในกิจกรรมทางวัฒนธรรม ศาสนา ลักษณะของต้นดาวเรือง เป็นอย่างไร ประโยชน์ของดาวเรือง สรรพคุณของดาวเรือง เป็นยาเย็น ช่วยบำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ช่วยแก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยบำรุงสาย แก้ปวดตา แก้ตาบวม รักษาคางทูม แก้ร้อนใน แก้ไอเรื้อรัง ช่วยขับเสมหะ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove