ข่า ( Galanga ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณช่วยดับคาว ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง โทษข่ามีอะไรบ้างข่า สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของข่า

ต้นข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ข่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Alpinia galanga (L.) Willd. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระชาย ขิง กระวาน ขมิ้น เป็นต้น สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ข่า พืชท้องถิ่น ปลูกง่าย นิยมปลูกในทุกครัวเรือนของบ้านในประเทศไทย ข่า เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สามารถหาซื้อได้ตามตลาด สำหรับอาหารไทยและอาหารอินโดนีเซีย นิยมใช้ข่ามาปรุงอาหาร ข่าเป็นหนึ่งในเครื่องเทศยอดนิยม เมนูอาหารอย่าง ต้มข่าไก่ หรือต้มยำกุ้ง น้ำพริกต่างๆ ต้องมีข่าเป็นส่วนผสม

ลักษณะของต้นข่า

ข่า จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ในดิน เหง้าจะมีข้อและปล้องมองเห้นได้ค่อนข้างชัดเจน ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ลำต้นมีสีเขียว ใบของข่า เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันที่ยอดของลำต้น ใบมีลักษณะรี ดอกของข่าจะออกที่ยอดลำต้น มีขนาดเล็ก สีขาว และผลของข่าจะเป็นทรงกลม สามารถมองเห็นได้เมื่อดอกแห้ง

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากข่า นิยมนำข่ามาบริโภค เหง้าอ่อนของข่า ซึ่งเป็นส่วนที่มีรสเผ็ด ช่วยขับลมได้ดี มีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

สำหรับการใช้ ประโยชน์ข่า ด้านการรักษาโรค และใช้ทำสมุนไพร นั้น นิยมใช้ หน่อ เหง้า ราก ดอก ผล และใบ เรียกได้ว่าทุกส่วนของข่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด รายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • เหง้าของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้บิด แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา เป็นยารักษาแผลสด ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยรักษากลากเกลื้อน ช่วยแก้โรคน้ำกัด ช่วยแก้ฟกช้ำ ช่วยแก้เหน็บชา ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยไล่แมลง
  • ใบของข่า สามารถนำมาช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • รากของข่า สามารถนำมาช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดปรกติ ช่วยขับเสมหะ
  • ดอกของข่า สามารถนำมาช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้ฝีดาษ
  • ผลของข่า สามารถนำมารักษาอาการปวดฟัน ช่วยรักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร
  • หน่อของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงธาตุไฟ ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก

โทษของข่า

ข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชน์จากข่า มีข้อควรระวังในการใช้ข่า ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษ หากบริโภคในปริมาณมากเกินไป ทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า ทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้มีอาการแสบร้อนผิวหนัง

ข่า ( Galanga ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. สมุนไพร พืชตระกูลกระชาย ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์ของข่า สรรพคุณของข่า ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ต้นข่าเป็นอย่างไร ต้นข่า เป็นพืชพื้นเมือง มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเขตร้อน สามารถพบได้ตามประเทศ ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และไทย เป็นต้น คนไทยมีความคุ้นเคยกับข่าเป็นอย่างดี ข่าสำหรับคนไทย นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ช่วยดับความอาหารได้เป็นอย่างดี แต่ข่ามีประโยชน์ด้านสมุนไพร มากมาย

การปลูกข่า

ข่าเป็นพืช เศรษฐกิจ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก ศัตรูพืชน้อย สำหรับการปลูกข่า นั้นมีเรื่องที่ต้องรู้ คือ การเตรียมดิน การปลูก การเก็บผลผลิต รายละเอียด ดังนี้

  1. การเตรียมดิน สำหรับปลูกข่า ข่าชอบดินร่วนซุย มีความชื้น แต่ไม่ชอบน้ำขัง สำหรับการเตรียมต้นพันธุ์ สำหรับปลูกข่า ให้ใช้ต้นพันธุ์อายุ 1 ปี ครึ่ง เนื่องจากอายุพันธุ์ข่า ขนาดนี้เหมาะสำหรับการนำมาปลูก เนื่องจากมีแข็งแรง และมีตามาก ทำให้การเจริญเติบโตจะดี
  2. การปลูกข่า ใช้วิธีการปักดำ นำเหง้าพันธ์ุข่ามาปักลงหลุมที่เตรียมดินไว้ สำหรับหลุมละ 3 เหง้า ระยะห่าง ประมาณ 1 เมตร ต่อหลุม ข่าสามารถแตกหน่อได้มากถึง 1500 กอ ให้ผลผลิตที่ดี
  3. การดูแลข่า ข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบน้ำขัง จึงต้องหมั่นตรวจสอบอย่าให้น้ำขัง รดน้ำเดือนละ 2 ครั้งก็เพียงพอสำหรับข่า หมั่นให้ปุ๋ย สามารถเก็บเกี่ยวข่าได้ตามต้องการ

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นข่า เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณของข่า เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง โทษของข่า มีอะไรบ้าง

บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับข่ากัน ว่า ข่าเป็นอย่างไร ประโยชน์ด้านยาของข่า การปลูกข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า และเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับข่า ต้มข่าไก่

หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางอาหาร สรรพคุณของหอมแดง ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงสมอง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ

หอมแดง ต้นหอม สมุนไพร สรรพคุณของหอมแดง

ต้นหอมแดง เป็น พืชเศรษฐกิจ เนื่องจากนิยมนำมาทำอาหาร และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดของประเทศไทย นิยมปลูกมากในภาคอีสาน จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งในหอมหัวแดงนั้น มีสารตัวหนึ่ง ชื่อ Allicin และ n-propyl disulphide ที่มีประโยชน์และมีกลิ่นฉุน วันนี้เราจามาทำความรู้จักกัน

หอมแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Shallot อ่านว่า ชาลอต หอมแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium ascalonicum L. หอมแดงเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลับพลึง สำหรับหอมแดง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ในหอมหัวแดงนั้นมีกลิ่นฉุ่น จากน้ำมันหอมระเหยจากตัวหอมหัวแดง ซึ่งสารต่างๆที่อยู่ในหอมหัวแดง ประกอบด้วย  Ethanol, Acetonc, methyl Ethyl, Methyl Disulfide, Methyl, Methyl Trisulfide, Methyl I-propyl Trisulfide, I-propyl Trisulfide, Ketone, I-propanol, 2 – propanol, Methanol, I-butanol, Hydrogen Sulfidc, I-propanethiol, I-propyl Disulfide, Thioalkanal-S-oxide, di-n- propyl Disulfide, n- propyl-allyl Disulfide, Diallyl Disulfide, Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc  น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง จะมีรสขม เผ็ดร้อน มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และเป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน แต่สารน้ำมันหอมระเหยนี้ ช่วยลดไขมัน และน้ำตาลกในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางอาหารของหอมแดง นั้น พบว่าในหอมแดงขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหาร ต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.6 กรัม กากใยอาหาร 0.6 กรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม วิตามินเอ 28 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.09 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.5 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5 มิลลิกรัม

ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร

สำหรับต้อนหอมแดง เป็นพืชล้มลุก หัวอยู่ในดิน ซึ่งหัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ การขยายพันธ์ุของหอมแดงใช้การแตกหน่อ จากหัวของหอมแดง ใบของหอมแดง เป็นลักษณะยาวกลม ผิวเรียบในตั้งตรงขึ้นฟ้า ความยาว 20 ถึง 30 เซ็นติเมตร แต่ละต้นจะมีใบประมาณ 5 ถึง 8 ใบต่อต้น รากของหอมแดง เป็นรากฝอยขึ้นบิเวณก้นของหัวหอม สำหรับหมอแดงมีหลายสายพันธ์ แต่สำหรับหัวหอมที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดง พันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดง พันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดง พันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดง พันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง นั้นจะใช้ประโยชน์จากหัวและใบของหอมแดง ซึ่งประโยชน์ของส่วนต่างๆของหอมแดง มีดังนี้ คือ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปรับสมดุลย์ของความดันเลือด ช่วยลดอาการเวียนหัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกำจัดไขมันเลวส่วนเกิน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หวัด แก้คัดจมูกได้ ช่วยขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้อาการปวดหู ช่วยทำให้อาเจียน แก้อาการท้องเสีย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้เป็นยาถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาแผล ช่วยบรรเทาอาการคัน ช่วยแก้พิษแมงมุมกัด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย หอมแดงรักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ บำรุงผิวพรรณ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

การปลูกหอมแดง

สำหรับการปลูกหอมแดง นั้น มี 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว ซึ่งรายละเอียด มีดังนี้

  • การเตรียมปลูกหอมแดง หอมแดงชอบดินร่วนซุย ต้องการความชื้นในดินสูง ชอบแสงแดด อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของหอมแดงอยู่ที่ 12 ถึง 23 องศาเซลเซียส ในการเตรียมดินสำหรับปลูก ให้ทำการยกแปลง สูงประมาณ 20 เซ็นติเมตร
  • วิธีการปลูกหอมแดง ให้นำหัวหอมแดง กดลงดินในแปลงปลูก ระยะห่าง หัวละ 15 ถึง 20 เซ็นติเมตร ก่อนนำหัวหอมลงไปดำในแปลงปลูก ควรทำให้ดินชื้นก่อน หญ้าแห้งหรือฟางคลุม เพื่อช่วยรักษาความชื้น และไม่ให้มีวัชพืชมาแย่งอาหารของหอมหัวแดง
  • วิธีการดูแลรักษาหอมแดง หลังจากปลูกได้ 2 สัปดาห์ จะช่วยให้การเจริญเติบโตของหอมแดง ดีขึ้น ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำให้ดินร่วนซุย อย่าปล่อยให้หน้าดินแห้ง  การให้น้ำนั้นต้องให้หลังจากการปลูกอย่างสม่ำเสมอ และงดการให้น้ำเมื่อหอมแดงเริ่มแก่
  • การเก็บเกี่ยวหอมแดง สำหรับการเก็บผลผลิต สามารถเก็บได้เมื่อหอมแดงอายุได้ 70 ถึง 110 วัน โดยให้สังเกตสีของใบ หากสีเขียวจางลงและเหลือง หมายความว่าหอมแดงแก่เพียงพอสำหรับพร้อมจะเก็บเกี่ยวแล้ว

หอมแดง ( Shallot ) เป็นพืช ที่คนไทยรู้จักกันดี เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ให้รสหวาน แต่ประโยชน์ของหอมหัวแดง มีมากมายเหลือเกิน ที่สำคัญคือ ช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด วันนี้ เราจึงแนะนำ สมุนไพรไทยในครัวเรือน ที่มีชื่อว่า หอมแดง หอมแดงเป็นอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง การใช้ประโยชน์ด้านยาของหอมแดง มีอะไรบ้าง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง เป็นอย่างไร บทความนี้จะให้ความรู้ รอบด้านเกี่ยวกับหอมแดง

หอมแดง ( Shallot ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ประโยชน์ของหอมหัวแดง ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove