พลูคาว Plu Kaow สมุนไพร คอลาเจนสูง ต้นพลูคาวเป็นอย่างไร ประโยชน์ของพลูคาว สรรพคุณของพลูคาว ต้านมะเร็ง รักษากามโรค ช่วยเลือดไหลเวียนดี โทษของพลูคาวมีอะไรบ้างต้นพลูคาว พลูคาว สรรพคุณของพลูคาว ประโยชน์ของพลูคาว

ต้นพลูคาว ชื่อสามัญ คือ Plu Kaow ชื่อวิทยาศาสตร์ของพลูคาว คือ Houttuynia cordata Thunb. ชื่อเรียกอื่นๆของพลูคาว เช่น ผักคาวตอง คาวทอง ผักก้านตอง ผักคาวปลา ผักเข้าตอง เป็นต้น เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณมากมาย พลูคาว มีสาร เควอซิทิน ( Quercetin ) ที่มีฤทธิ์ในการป้องกันอาการอักเสบ ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส ช่วยเลือดไหลเวียนโลหิตได้ดีขึ้น

พลูคาว คือ พืชล้มลุก ที่สามารถพบได้ทั่วไป ตามแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงไทย เวียดนาม มีการนำพลูคาวมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคหลากหลาย รวมถึงมีการแปรรูป ให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ การวิจัยและพัฒนา พบวา พลูคาว คือ สุดยอดสมุนไพรต้านมะเร็ง

ลักษณะของต้นพลูคาว

ต้นพลูคาว เป็นพืชล้มลุก ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปตามภาคเหนือ มีถิ่นกำเนิดตามแถบเทือกเขาหิมาลัย ลักษณะของต้นพลูคาว มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของพลูคาว มีกลิ่นคล้ายกลิ่นคาวปลา ลักษณะกลม อวบน้ำ เปลือกเรียบ สีเขียว ลำต้นเลื้อยตามพื้นดิน มีรากออกตามข้อ
  • ใบของพลูคาว เป็นใบเดี่ยว ออกใบตามข้อของลำต้น ใบขึ้นสลับกันตามข้อของลำต้น ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียว ท้องใบสีม่วง
  • ดอกของพลูคาว ดอกพลูคาวออกเป็นช่อ ออกดอกที่ปลายยอด ลักษณะดอกเป็นทรงกระบอก สีขาว
  • ผลของพลูคาว มีขนาดเล็ก ด้านในมีเมล็ดรูปทรงรี จำนวนมาก

สรรพคุณของพลูคาว

สำหรับประโยชน์ของพลูคาวด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ จาก ราก ทั้งต้น  และ ใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของพลูคาว มีรสจืดคาว สรรพคุณขับปัสสาวะ
  • ทั้งต้นของพลูคาว มีรสเผ็ดคาว สรรพคุณรักษากามโรค รักษาโรคผิวหนัง รักษาฝี รักษาแผล ฆ่าเชื้อโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ขับปัสสาวะ แก้โรคบิด บำรุงกระดูก รักษาหูชั้นกลางอักเสบ แก้ปวดหู รักษาโรคมาลาเรีย รักษาคางทูม รักษาต่อมทอนซิลอักเสบ รักษาปอดอักเสบ บรรเทาอาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ ลดอาการบวม ลดอักเสบ รักษาริดสีดวงทวาร รักษานิ่ว ขับระดูขาว สำหรับสตรีหลังคลอด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย  บำรุงผิว
  • ใบของพลูคาว มีรสเผ็ดคาว สรรพคุณรักษาริดสีดวงทวาร รักษากามโรค รักษาโรคหัด มีฤทธิ์ในการช่วยต่อต้านมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นยาระบาย ขับพยาธิ รักษาหนองใน บำรุงไต  รักษาโรคข้อ
  • ดอกพลูคาว สรรพคุณใช้ขับทารกตายในท้อง

โทษของพลูคาว

สำหรับต้นพลูคาวมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ มีดังนี้

  • พลูคาวมีฤทธิ์ทำให้หายใจสั้นและถี่ขึ้น อาจทำให้อาเจียน ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม
  • สำหรับคนที่มีอาการหนาวง่าย ปวดท้อง ท้องเสียบ่อยๆ และแขนขาเย็น ไม่ควรกินพลูคาว
  • พลูคาวสามารถใช้รักษาโรคผิวหนังได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้มากจนเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้

พลูคาว ( Plu Kaow ) สมุนไพร พืชล้มลุก ต้นพลูคาวเป็นอย่างไร ประโยชน์ของพลูคาว สรรพคุณของพลูคาว เช่น ต้านมะเร็ง รักษากามโรค ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี โทษของพลูคาว มีอะไรบ้าง

รากสามสิบ ( Shatavari ) สมุนไพร เขตร้อน ต้นรากสามสิบเป็นอย่่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดความดัน ลดไขมันในเลือด บำรุงกำลัง ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก โทษรากสามสิบรากสามสิบ ต้นรากสามสิบ สรรพคุณของรากสามสิบ ประโยชน์ของรากสามสิบ

รากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ คือ Asparagus racemosus Willd. พืชตระกูลเดียวกับหน่อไม้ฝรั่ง ชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ เช่น สามร้อยราก ผักหนาม ผักชีช้าง จ๋วงเครือ เตอสีเบาะ พอควายเมะ ชีช้าง ผักชีช้าง จั่นดิน ม้าสามต๋อน สามสิบ ว่านรากสามสิบ ว่านสามสิบ ว่านสามร้อยราก สามร้อยผัว สาวร้อยผัว ศตาวรี เป็นต้น

รากสามสิบ เจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน พบมากในเขตป่าร้อนชื้น ป่าเขตร้อนแห้งแล้ง เขาหินปูน ป่าผลัดใบ และ ป่าโปร่ง มีต้นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารอาหารในรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีองค์ประกอบทางเคมีสารที่สำคัญ ประกอบด้วย ได้แก่ asparagamine cetanoate daucostirol sarsasapogenin shatavarin racemosol rutin alkaloid steroidal และ saponins

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ เป็น ไม้เถา จัดเป็นไม้เนื้อแข็ง การขยายพันธุ์ของรากสามสิบ ใช้ เหง้า หน่อ และ เมล็ด การปลูกรากสามสิบให้ปลูกในช่วงฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด ปลูกเป็นไม้ประดับ โดยลักษณะของต้นรากสามสิบมีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นเป็นเถา ไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว หรือ สีขาวแกมเหลือง เถาของรากสามสิบมีขนาดเล็ก เรียบ เรียว ลื่น และ มีลักษณะผิวมัน ตามข้อเถามีหนามแหลม
  • ใบรากสามสิบ มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว แข็ง มีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปเข็มขนาดเล็ก ปลายใบแหลม
  • ดอกรากสามสิบ ดอกของรากสามสิบออกดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายกิ่ง และ ตามซอกใบ รวมถึง ข้อของเถา ดอกมีสีขาวและ ดอกมีกลิ่นหอม ดอกของรากสามสิบจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะของผลกลม ผิวเรียบ ลักษณะมัน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดงอมม่วง ภายในผลมีเมล็ดสีดำ ผลของรากสามสิบจะออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี

ประโยชน์ของรากสามสิบ

สำหรับประโยชน์ของต้นรากสามสิบนั้น โดยหลักๆนั้นนำมาทำเป็นยาบำรุงร่างกายและรักษาโรค ซึ่งจะกล่าวในส่วนของสรรพคุณของรากสามสิบ นอกจากนั้น สามารถทำมาทำอาการ เป็นผักสดนำมาลวกกินเป็นเครื่องเคียง สามารถนำทำทำอาหารแปรรูปจากรากสามสิบ เช่น รากสามสิบแช่อิ่ม รากสามสิบเชื่อม เป็นต้น รากสามสิบสามารถนำมาทำสบู่ และ ใช้ซักเสื้อผ้า รากสามสิบช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินชุ่มน้ำ

สรรพคุณของรากสามสิบ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของรากสามสิบในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ได้ทั้งตน ใบ ผล และ รากของรากสามสิบ โดยรายละเอียดของสรรพคุณของรากสามสิบ มีดังนี้

  • ใบรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับน้ำนม ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ทั้งต้นของรากสามสิบ นำมาต้มกับน้ำดื่มใช้รักษาโรคคอพอก แก้อาการตกเลือด
  • ผลของรากสามสิบ เป็นยาแก้พิษไข้ รักษาอาการบิดเรื้อรัง
  • รากของรากสามสิบ สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้กระษัย กระตุ้นระบบประสาท แก้วิงเวียนศรีษะ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคคอพอก แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาการติดเชื้อที่หลอดลม ช่วยขับลม ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้อาการอาหารไม่ย่อย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องเสีย รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการประจำเดือนผิดปกติ แก้อาการตกเลือด รักษาภาวะหมดประจำเดือน  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตกขาว ทำให้มีบุตร กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยบำรุงครรภ์ บำรุงน้ำนม ป้องกันการแท้ง แก้พิษจากแมลงป่องกัดต่อย ช่วยถอนพิษฝี แก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการปวดข้อและปวดคอ

ข้อควรระวังในการใช้รากสามสิบ

รากสามสิบมีช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย เป็นยาสมุนไพรที่ไม่ปลอดภัยนักต่อเพศหญิง มีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในมดลูก หรือ ก้อนเนื้อที่เต้านม เป็นต้น ดังนั้นการใช้สมุนไพรรากสามสิบต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน

น้ำรากสามสิบ

ส่วนผสมของน้ำรากสามสิบ ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม และ น้ำเปล่า 10 ลิตร วิธีทำน้ำรากสามสิบ นำรากสามสิบไปล้างให้สะอาด ปอกเปลือก และ ดึงไส้ของรากออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เคี่ยวประมาณ 3 ชั่วโมง เติมน้ำตาลเพิ่มรสชาติให้ทานง่าย

รากสามสิบแช่อิ่ม

ส่วนผสมสำหรับทำรากสามสิบแช่อิ่ม ประกอบด้วย รากของรากสามสิบ 2.5 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1.5 กิโลกรัม น้ำเปล่า 5 ลิตร วิธีทำรากสามสิบแช่อิ่ม นำรากสามสิบล้างให้สะอาด ปอกเปลือกและดึงไส้ออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มในน้ำเดือด เติมน้ำตาลทรายลงไป เคี่ยวจนน้ำตาลทรายละลายหมด เคี่ยวจนรากสามสิบเป็นสีเหลืองทอง

รากสามสิบ ( Shatavari ) คือ สมุนไพร ลดความดัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงกำลัง กระตุ้นระบบประสาท ต้นรากสามสิบ ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน นิยมนำรากมาใช้ประโยชน์ ว่านสาวร้อยผัว สามร้อยราก ประโยชน์และสรรพคุณของรากสามสิบ โทษของรากสามสิบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove