ขิง ( Ginger ) สมุนไพรไทย พืชเศรษฐกิจ นิยมนำเหง้าขิงมาทำอาหาร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร แก้อาเจียน ลดไข้ขิง สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณขิง

เหง้าขิง ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ ขิงเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการของตลาดสูงมาก นิยมนำมาทำเป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร ใช้ในอุตสาหกรรมความงาม อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

ขิง เป็นพืชที่พบได้ในทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขิงมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า zingiber offcinale Roscoe ภาษาอังกฤษ เรียก Ginger ชื่ออื่นๆของขิง เช่น ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงดอกเดียว ขิงแดง ขิงแกลง ขิงเผือก เป็นต้น

ลักษณะของต้นขิง

ขิง เป็น พืชล้มลุก มีเหง้าลักษณะคล้ายมือ เปลือกเหง้าจะมีสีเหลืองอ่อน ขิงเป็นพืชชนิดเดียวกันกับ ข่า ขมิ้น ซึ่งขิงมีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ผลยิ่งแก่จะมีรสเผ็ดร้อนมากขึ้น ลำต้นเป็นกอมีความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ใบของขิง เป็นกาบหุ้มซ้อนกันเป็นใบเดี่ยวออกสลับเรียงกันเป็นสองแถว เหมือนใบไผ่ ปลายใบจะเรียวแหลม ดอกของขิง จะมีสีขาว ดอกมีลักษณะเป็นทรงพุ่มปลายดอกแหลม

คุณค่าทางโภชนาการของขิง

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของขิง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ และมี สารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม กากใยอาหาร 0.8 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้า-คาโรทีน 10 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม และไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม

สรรพคุณของขิง

การใช้ประโยชน์จากขิง ในด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย ขิง นิยมยมนำ เหง้าขิง หรือ หัวขิง มาใช้ประโยชน์โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ขิง ในตำราสมุนไพรไทยบอกว่าขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น และยังแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ
  • น้ำขิง มาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ทำอย่างไร แก้อาเจียน อาการเบื่ออาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะ รักษาไข้หวัดได้  ช่วยขับเหงื่อ ลดอาการไข้ ช่วยบรรเทาอาหารไอ อาการเจ็บคอ ช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือน แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง
  • ขิงเผาให้สุก และนำมาพอกแผล สามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบได้
  • ขิงแก่บดละเอียด และนำไปคั่วกับน้ำสารส้ม คั่วจนเกรียม นำมาพอกฟัน แก้ปวดฟันได้
  • เหง้าขิง รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด และยังเป็นสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ
  • ต้นขิง รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบขิง รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
  • ดอกขิง รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
  • รากขิง รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด
  • ผลขิง รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก่นขิง ฝนทำยาแก้คัน

“ ขิง ” ไม่ได้เป็นเพียง สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อการปรับสมดุลร่างกาย เท่านั้น แต่ยัง ช่วยแก้ปวดท้อง วิงเวียนศีรษะได้ด้วย ขิง จึงถือเป็น ยาจากธรรมชาติ ที่ให้ทั้งประโยชน์ และ บรรเทาเยียวยาอาการต่างๆได้ เรามักนิยมใช้ ขิงแก่ เพราะ ยิ่งแก่จะยิ่งให้ความเผ็ดร้อน จึงมี สรรพคุณทางยา ที่มากกว่า ขิงอ่อน และยัง มีใยอาหาร มากขึ้นตามไปด้วย แต่เนื่องจาก ขิงมีรสเผ็ด มี คุณสมบัติอุ่น จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือ มีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทาน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

โทษของขิง

เนื่องจากขิง เป็น สมุนไพร ซึ่ง สรรพคุณของขิง คือ มีฤทธ์ร้อน ทำให้ร่างกายอบอ่อน ไม่ควรกินสุรา หรือ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ร่วมกับขิง และ ในคนที่ป่วย หรือ มีอุณหภูมิร่างกายสูง การกินขิงอาจทำให้ร่างกายร้อนขึ้น

  • ขิงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับสตรีมีครรภ์
  • ขิง ทำให้เกิดแผลร้อนในภายในปากได้ สามารถเยื่อบุภายในช่องปากเกิดการอักเสบจนร้อนในได้
  • ขิง มีสพพรคุณช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด หากมีอาการเลือดออกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง

ขิง ( Ginger ) สมุนไพรไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ มีความต้องการของตลาดสูง นิยมนำเหง้าขิงมาทำอาหาร ประโยชน์ของขิง สรรพคุณของขิง ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร

เสาวรส ( Passionfruit ) กระทกรกฝรั่ง สมุนไพร สรรพคุณช่วยสมานแผล บำรุงผิว บำรุงสายตา ลดไขมันในเลือด ช่วยถ่ายพยาธิ แก้ไอ ขับเสมหะ นิยมนำมารับประทานผลเสาวรสเสาวรส กระทกรกฝรั่ง สมุนไพร สรรพคุณของกระทกรก

ต้นเสาวรส ภาษาอังกฤษ เรียก Passionfruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของเสาวรส คือ Passiflora edulis สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของเสาวรส เช่น กระทกรก สุคนธรส เป็นต้น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาใต้ พบในประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา

ต้นเสาวรส หรือเรียกอีกชื่อว่า กะทกรกฝรั่ง เป็นผลไม้ เพื่อสุขภาพที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกาใต้ ลักษณะของผลกลม มีสีเขียว เมื่อสุกจะมีหลายสี เช่น สีม่วง สีเหลือง สีส้ม เป็นต้น สำหรับเสวรสในประเทศไทยนิยมปลูก 3 สายพันธุ์ โดยในผลเสาวรสนั้นจะมีเมล็ดจำนวนมาก มีกลิ่นคล้ายฝรั่งสุก รสออกเปรี้ยวจัด แต่บางสายพันธุ์จะมีรสออกอมหวานด้วย

เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส

เสาวรส เป็นไม้เลื้อย ผลของเสาวรสจะมีทรงกลม ผลอ่อนของเสารสจะมีสีเขียว เมื่อสุกมื่อสุกจะมีหลายสี เช่น สีม่วง สีเหลือง สีส้ม กลิ่นคล้ายผลฝรั่งสุก มีรสเปรี้ยว แหล่งปลูกเสาวรสเพื่อการพาณิชย์มีหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา นิวซีแลนด์ ประเทศแถบทะเลแคริบเบียน บราซิล โคลอมเบีย โบลิเวีย เอกวาดอร์ อินโดนีเซีย เปรู เปอร์โตริโก สาธารณรัฐโดมินิกัน สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย แอฟริกาตะวันออก เม็กซิโก อิสราเอล คอสตาริกา แอฟริกาใต้ และ โปรตุเกส

เสาวรสในประเทศไทย

สำหรับเสาวรสในประเทศไทย เราพบว่ามีการปลูกเสาวรสอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ เสาวรสพันธุ์สีม่วง เสาวรสพันธ์สีเหลือง และ เสาวรสพันธ์ผสม สำหรับพันธ์สีม่วง เปลือกสีม่วง เนื้อในสีเหลืองอมหวาน แต่ไม่ค่อยทนโรคในเขตร้อน เสารสพันธุ์สีเหลือง หรือ เสาวรสสีทอง เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกในเขตร้อน ผลแก่สีเหลือง รสเปรี้ยวมาก  ส่วนเสาวรสพันธุ์ผสม ผลสุกเป็นสีม่วงอมแดง รสเปรี้ยวจัด และ กลิ่นแรง

ลักษณะของต้นเสาวรส

สำหรับต้นเสาวรส ไม้เลื้อย สามารถขยายพันธ์ โดยการปักชำและการเสียบยอด ลักษณะของต้นเสาวรส มีดังนี้

  • ลำต้นเสาวรส ลำต้นเป็นเถา ไม้เลื้อย มีหนามขนาดเล็ก เถาแตกมือเกาะบริเวณซอกใบ
  • ใบเสาวรส เป็นใบเดี่ยว ใบมีสีเขียว ปลายแฉกแหลม ใบหนา และ สากมือ
  • ดอกเสาวรส เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบและเถา ดอกสีเขียว ด้านในสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผลเสาวรส เป็นผลเดี่ยว ทรงกลม อวบน้ำ สีเปลือกแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์
  • เมล็ดเสาวรส ลักษณะรี เมล็ดด้านในสีดำ เยื่อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยวจัด เมล็ดของเสาวรส เป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ทำน้ำผลไม้บริโภค

คุณค่าทางโภชนาการของเสาวรส

สำหรับการบริโภคเสาวรสเป็นอาหาร นิยมบริโภคผลเสาวรส นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลเสาวรสขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 97 กิโลแคลอรี และ มีสารอาหารสำคัญมากมาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.38 กรัม น้ำตาล 11.2 กรัม กากใยอาหาร 10.4 กรัม ไขมัน 0.7 กรัม โปรตีน 2.2 กรัม วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 734 ไมโครกรัม วิตามินบี 2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 30 มิลลิกรัม วิตามินเค 0.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 68 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 348 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

ในเสาวรสมี ไลโคพีนในชั้นเพอริคาร์บ ผลเสาวรสสุก มีบีตา-แคโรทีน โพแทสเซียมและใยอาหารสูง ส่วนน้ำเสาวรส ให้วิตามินซีสูง ผลเสารสสีม่วง นิยมบริโภคสด

สรรพคุณของเสาวรส

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเสาวรสเพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ ยอด ราก ใบ ผล ซึ่งรายละเอียดของ ประโยชน์ของเสาวรส มีดังนี้

  • ยอดของเสาวรส นำมารับประทานเป็นผัดสด สามารนำไปทำแกง หรือลวก ทากับน้ำจิ้ม เนื้อไม้ของเสาวรส เป็นยาบำรุงธาตุขัน ใช้รักษาแผลได้
  • รากของเสาวรส หากนำมาต้ม สามารถใช้ รักษาผดผื่นคัน และกามโรคได้
  • ใบของเสาวรส หากนำมาบดละเอียดคั้นน้ำ สามารถทำเป็นยาถ่ายพยาธิได้
  • ดอกของเสาวรส สามารถใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
  • ผลของเสาวรส รับประทานเมล็ด นำมาคั้นเป็นน้้ำเสาวรส ดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำเสาวรสมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา และบำรุงผิวพรรณ น้ำเสารสมีวิตามินซีสูง ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน  นอกจากนั้นยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ก่อนเวลาอันควร สามารถกำจัดสารพิษในเลือด บำรุงไต รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สามารถลดไขมันในเลือดได้

สำหรับประโยชน์ของเสาวรสและสรรพคุณของเสาวรสนั้นก็มีมากมายหลายข้อ เพราะเสาวรสอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมอยู่หลายชนิด ซึ่งได้แก่ วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุโพแทสเซียม ธาตุสังกะสี และคาร์โบไฮเดรต โดยยังมีของแถมนั่นก็คือใยอาหารในปริมาณสูงรวมอยู่ด้วย ซึ่งนิยมนำมารับประทานเป็นผลไม้สด โดยเสาวรสที่ลักษณะดีนั้นต้องไม่เหี่ยว ผิวต้องเต่งตึง

โทษของเสาวรส

ห้ามรับประทานในส่วนของต้นสดเสารสเด็ดขาด เนื่องจาก ต้นเสาวรสมีสารพิษอันตราย อาจทำให้เสียชีวิตได้

เสาวรส ( Passion fruit ) กระทกรกฝรั่ง สมุนไพร สรรพคุณของเสาวรส ช่วยสมานแผล บำรุงผิว บำรุงสายตา ลดไขมันในเลือด ช่วยถ่ายพยาธิ แก้ไอ ขับเสมหะ นิยมนำมารับประทานเนื้อของผลเสาวรส น้ำมาทำอาหารต่างๆมากมาย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove