กานพลู ( clove tree ) สมุนไพร สรรพคุณใช้บำรุงเหงือกและฟัน ดูแลช่องปาก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ลดกรดในกระเพาะอาหาร ขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับน้ำคาวปลา

กานพลู สมุนไพร สรรพคุณของกานพลู

ต้นกานพลู เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร กานพลู เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชอบความชื้นสูง พบได้ตามป่าดงดิบ ประเทศฟิลิปปินส์มีกานพลูเป็นพืชประจำท้องถิ่น กานพลู ภาษาอังกฤษ เรียก clove tree มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า SyZagium aromaticum ชื่ออื่นๆของกานพลู เช่น จันจี่ ดอกจัทร์

ลักษณะของต้นกานพลู

ต้นกานพลู เป็นพืช ชนิดไม้ยืนต้น ความสูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด

กานพลู เป็นพืช ชนิดไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 10-15 เมตร มีลำต้นตั้งตรง ใบของกานพลู เป็นใบเดียวเรียงตรงแตกกิ่งก้านสาขา ผิวมัน สีเขียว ดอกและผลของกานพลู ช่อดอกจะออกตามซอกใบ ดอกกานพลูจะมีน้ำมัน มีกลิ่นหอมและรสชาติเผ็ด ทรงกรวยยาว

คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกานพลู พบว่ามี แคลเซียม ฟอสฟอรัส ในปริมาณสูง ในดอกของการพลูสามารถสกัดน้ำมัน มีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 20 % มีกรดแกลโลแทนนิค(gallotannic acid) ประมาณ 10% และสารโครมีนส์ (chromenes) สารคารีโอไฟลีน (caryophylline)  และกรดไตรเตอฟีน(triterpene acid) ในน้ำมันประกอบด้วย ยูยูจีนอลอะซีเตท (eugenolacetate) จีนอล (eugenol)  เป็นต้น

 

สรรพคุณของกานพลู

ประโยชน์ของกานพลู เราสามารถนำกานพลูมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ดอก ใบ รายละเอียด ดังนี้

  • ดอกของกานพลู สามารถนำมาใช้แก้โรครำมะนาด แก้ปวดฟัน ช่วยละลายเสมหะ แก้หอบหืด บรรเทาเลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดท้อง แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาเหน็บชา ขับน้ำคาวปลา แก้ท้องอืด
  • ใบของกานพลู สามารถนำมารักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ นำมาต้มเป็นน้ำใช้อาบแก้ผื่นคันได้ ใบของกานพลูมีรสชาติเย็นและจืด แก้ปวดมวน
  • น้ำมันกานพลู ดอกของกานพลูมีน้ำมันสามารถนำมาสกัดใช้เป็นยา ช่วยในการขับ บรรเทาการชักกระตุก แก้ปวดท้อง แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคหลายชนิด ใช้เป็นยาไล่ยุง ตลอดจนนำมาแต่งกลิ่นอาหาร เป็นส่วนผสมของ เครื่องดื่ม ขนม สบู่ และยาสีฟัน
  • เปลือกต้นกานพลู  สามารถใช้ แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ
  • ผลของกานพลู ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม

วิธีใช้กานพลูรักษาอาการปวดฟัน สามารถทำได้โดย ใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลู หยดในรูฟันที่มีอาการปวด หรือใช้ฟันที่ปวดคาบสำลีที่ชุบน้ำมันกานพลูไว้ ก็สามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้ดี

วิธีใช้กานพลูมากำจัดกลิ่นปาก โดย ดอมดอกกานพลูประมาณ 1-2 นาที และบ้วนทิ้ง ก็สามารถลดกลิ่นปากได้

วิธีใช้กานพลู รักษาอาการท้องอืด สามารถทำได้โดย นำดอกกานพลูมาบด และต้มน้ำรับประทาน จะช่วยให้ถ่ายง่ายขึ้น และขับลมได้ด้วย

กระเพรา ( Sacred Basil ) ผักสวนครัว สมุนไพร ใบมีกลิ่นหอม สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม คุณค่าทางโภชนาการของกระเพรา นิยมนำมาทำอาหาร เมนูผัดกระเพรา

กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา

กระเพรา ( Sacred Basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเพรา คือ Ocimum sanctum, Linn. ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของกระเพราแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคผิวหนัง ไล่แมลง แก้ไอ ขับเสมหะ คุณค่าทางโภชนาการของกระเพรา กระเพรา ถือเป็นผักสวนครัวที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากเป็นผักที่มีกลิ่นหอมหอม และให้รสเผ็ด จึงนิยมนำมาทำอาหาร เมนูผัดกระเพรา

คุณค่าทางโภชนาการของกระเพรา

นักโภชนาการ พบว่าในกระเพรา ประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร เหล็ก โปรตีน เบต้าแคโรทีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี1 วิตามินเอ วิตามินบี 2  ในใบของกะเพรา จะมีน้ำมันหอมระเหย อยู่หลายชนิด เช่น  โอวิมอล (ocimol) เมทิลคาวิคอล (methylchavicol) แคลิโอฟิลลีน (caryophyllene) ไลนาลูออล(linalool) บอร์มีออล (bormeol) ยูจีนอล (eugenol)  และแคมฟีน (camphene)

กะเพรา ต้นกระเพรา กระเพรา วิกิพีเดีย กระเพรา ภาษาอังกฤษ กระเพราหมู ข้าวกระเพรา กระเพราะ กระเพราไก่ กระเพรา พจนานุกรม กระเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ocimum sanctum, Linn. ชื่ออื่นๆ ของกระเพรา เช่น กระเพราแดง กระเพราขาว ก่ำก้อขาว ก่ำก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อด ห่อตูปลา ห่อกวอซู

ลักษณะของต้นกระเพรา

กะเพรา เป็น พืชล้มลุก ความสูงประมาณ 1-2 ฟุต โคนของลำต้น จะมีเนื้อไม้แข็ง มีขน มีกลิ่นหอม ใบของกระเพรามีสีเขียว มีขน ใบมีกลิ่นหอม กิ่งก้านเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนปลายของกิ่งจะอ่อน ดอกออกเป็นช่อ เมล็ดของกระเพรา เมื่อแก่เมล็ดจะเป็นสีดำ การขยายพันธุ์ของกระเพรา ใช้เมล็ด หรือลำต้น

  • ต้นกระเพรา เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30 – 60 ซม. โคนลำต้นค่อนข้างแข็ง ตามลำต้นมีขน มีกลิ่นหอม
  • ใบกระเพรา เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. ปลายแหลมหรือมน โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนโดยเฉพาะยอด ใบสีเขียว เรียกกะเพราขาว ใบสีแดงเรียกกะเพราแดง
  • ดอกกระเพรา เป็นแบบช่อฉัตร ออกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ยาว 8-10 ซม. ประกอบด้วยดอกเล็กๆ ออกเป็นวงรอบแกนช่อเป็นชั้นๆ ก้านดอกยาว 2-3 มม. และกางออกตั้งฉากกับแกนช่อ กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นรูปคล้ายระฆัง ปลายแยกเป็น ส่วน ส่วนบนมีกลีบเดียวค่อนข้างกลม ส่วนกลางแยกเป็น แฉก ปลายแหลมเรียว ด้านในเกลี้ยง ด้านนอกมีขนตามโคนกลีบ กลีบดอกสีขาว (กะเพราขาว) หรือชมพูปนม่วงแดง (กะเพราแดง) ด้านบนมี กลีบ ด้านล่างมี กลีบ ขนาดยาวกว่าด้านบน ตรงกลางกลีบเว้าตื้นๆ ปลายกลีบม้วนพับลง
  • ผลกระเพรา แห้งแล้วแตกออก
  • เมล็ดกระเพรา  รูปไข่สีน้ำตาลมีขนาดเล็ก  มีจุดสีเข้มเมื่อนำไปแช่น้ำเปลือกหุ้มเมล็ดพองออกเป็นเมือกเมื่อแก่หรือแห้ง เมล็ดจะเป็นสีดำอยู่ข้างในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยง 

สรรพคุณของกระเพรา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเพรา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถนำมาใช้ ทั้งส่วน ใบ เมล็ด และราก รายละเอียด ของสรรพคุณของกระเพรา มีดังนี้

  • ใบสดของกระเพรา จะมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบไปด้วย ไลนาลูออล(linalool) และ เมทิลคาวิคอล (methylchavicol) สามารถนำมาใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
  • ใบแห้งของกระเพรา นำมาบดใช้ชงดื่มเป็นชา สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด
  • เมล็ดของกระเพรา นำเมล็ดไปแช่น้ำ เมล็ดจะพองเป็นเมือกสีขาว นำไปพอกในบริเวณตา จะไม่ทำให้ตาเราช้ำ
  • รากของกระเพรา ใช้รากแห้ง นำมาชงหรือต้มดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove