กระเทียม พืชเศรษฐกิจ สมุนไพรกลิ่นฉุน ลักษณะของต้นกระเทียม คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเทียม เช่น ลดความดัน รักษาแผลสด ฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด เป็นต้น  

กระเทียม สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. สำหรับชื่อเรียกอื่นไของกระเทียม เช่น กระเทียมขาว กระเทียมจีน ปะเซ้วา หอมขาว หอมเทียม หัวเทียม เป็นต้น การปลูกกระเทียมในประเทศไทย นิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระเทียมที่มีคุณภาพดีต้องกระเทียมศรีสะเกษ

กระเทียมในประเทศไทย

กระเทียม เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในการทำอาหาร ทั้งการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก อาหารไทย นิยมมีกระเทียมเป็นส่วนผสมของอาหาร ซึ่งกระเทียมสามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย แต่นิยมปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีสภาพดินและสภาวะอากาศที่เหมาะสมมากกว่าภาคอื่นๆ ทำให้กระเทียมเจริญเติบโตได้ดี ได้ผลผลิตสูงและมีรสชาติที่ดีกว่า

ลักษณะของกระเทียม

กระเทียม เป็นพืชล้มลุก ที่มีกลิ่นแรง ลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเทียม มีลักษณะดังนี้

  • หัวกระเทียม มีลักษณะกลมแป้น ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ เนื้อของกระเทียมมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุนจัด
  • ใบกระเทียม เป็นใบเดี่ยว ลักกษณะแบนยาว ขึ้นมาจากดินและเรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ ปลายใบแหลม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อย ๆจางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ
  • ดอกกระเทียม ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกรูปใบหอกปลายแหลม สีขาวหรือขาวอมชมพู
  • เมล็ดกระเทียม อยู่ที่ดอกแก่ ลักษณะเมล็ดเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆรูปไข่ เมล็ดขนาดเล็กสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม สามารถรับประทานทั้งใบและหัวกระเทียม ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารสำคัยประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

สารสำคัญที่พบในกระเทียม พบว่ามีสารประกอบกำมะถัน ( Organosulfur ) เช่น อัลลิซาติน (Allisatin) อะโจอีน (Ajoene) ไดแอลลิล ซัลไฟด์ (Diallyl Sulfide) อัลเคนีล ไตรซัลไฟด์ (Alkenyl trisulfide) และ สารกลุ่มฟลาวานอยด์ เช่น เควอซิทิน (Quercetin) ไอโซเควอซิทิน (Isoquercitrin) เรย์นูทริน (Reynoutrin) แอสตรากาลิน (Astragalin)

สรรพคุณของกระเทียม

สำหรับการนำกระเทียมมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม ซึ่งสรรพคุณของกระเทียม มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวหนัง ทำให้มีสุขภาพผิวดี
  • ช่วยการเจริญอาหาร ทำให้อยากกินอาหาร เพิ่มความแข็งแรงจของร่างกาย
  • มีเบต้าเคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  • บำรุงร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย รักษาโรคหวัด รักษาอาการไอ รักษาน้ำมูกไหล ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ
  • ช่วยระงับการเจริญเติบดตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยระงับกลิ่นปาก รักษาเชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ รักษาฝีหนอง รักษาคออักเสบ รักษาปอดบวม รักษาเชื้อวัณโรค เป็นต้น
  • บำรุงเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  • ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะและปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
  • บำรุงเส้นผม มีประโยชน์ด้านผมและหนังศีรษะโดยช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
  • ช่วยขับพิษและสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ช่วยไล่ยุงได้

โทษของกระเทียม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเทียม หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้ไม่เกิดโทษ ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระเทียม มีดังนี้

  1. การบริโภคกระเทียม เนื่องจากกลิ่นฉุนของกระเทียมหากบริโภคมากเกินไปจะเสียรสชาติของอาหาร การใช้กระเทียมในการบริโภคสดให้ใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
  2. สารอาหาร จำพวกอาหารเสริมที่เป็นสารสกัดมาจากกระเทียม จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดถึงปริมาณในการบริโภคที่เหมาะสมต่อร่างกาย

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ผักโขม สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ผักโขมเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงผิว ลดไขมันในเลือด โทษของผักโขมมีอะไรบ้างผักโขม สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักโขม

ต้นผักโขม ( Amaranth ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักโขม คือ Amaranthus blitum subsp. oleraceus (L.) Costea สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักโขม เช่น ผักโหม ผักหม ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ เป็นต้น ผักโขม จัดอยู่ในพืชตระกูลต้นบานไม่รู้โรย เป็นผักสวนครัว สามารถพบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ เช่น ริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง เทือกสวนไร่ชาวนา เป็นต้น เป็นพืชที่ขึ้นและเติบโตได้ง่าย

สายพันธ์ผักโขม

สำหรับสายพันธ์ผักโขม ที่นิยมปลูกในประเทศไทย มีอยู่หลายสายพันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ผักโขม ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ผักโขมบ้าน จะมีลักษณะใบกลมเล็ก มีลำต้นเล็ก ก้านของใบเป็นสีแดง ใบสีเขียวเหลือบแดง สมามรถนำมาใช้ ลดไข้ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ เมื่อต้มเอาน้ำมาอาบ มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี
  • ผักโขมหนามSpiny amaranth ) จะมีลักษณะลำต้นสูง มีใบใหญ่ มีหนาม ตามช่อของดอก หากจะนำผัดโขมหนามมาทำอาหาร เราจะนำมาใช้เฉพาะยอดอ่อน สามารถนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ลดไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าของเด็ก
  • ผักโขมสวนRed amaranth ) จะมีลักษณะใบสีเขียว  เส้นกลางของใบสีแดง
  • ผักโขมจีน ( Chinese Spinachจะมีลักษณะต้นใหญ่ ใบสีเขียว หยัก มีกลิ่นฉุน

ลักษณะของต้นผักโขม

ต้นผักโขม เป็นไม้พุ่มเตี้ย ชอบดินร่วนซุยและชุ่มชื้น ใบยาวเหมือนขนนกขนาดสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ลักษณะของต้นผักโขม มีดังนี้

  • ลำต้นผักโขม ความสูงประมาณ 30 ถึง 100 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบน้ำ สีเขียว แตกกิ่งก้านสาขามาก โคนลำต้นสีแดงอมน้ำตาล
  • ใบผักโขม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปสามเหลี่ยม ผิวใบเรียบ ขอบใบเรียบ ใบมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
  • ดอกผักโขม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีม่วงปนเขียว ดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง
  • เมล็ดผักโขม อยู่ที่ดอก เมล็ดมีลักษณะกลม ขนาดเล็ก สีน้ำตาลดำ

คุณค่าทางโภชนาการของผักโขม

ผักโขม นิยมรับประทานใบและลำต้นเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผักโขม โดยผักโขมขนาด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 23 กิโลแคลลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 5.2 กรัม ไขมัน 0.80 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.70 มิลลิกรัม แคลเซียม 341 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 76 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.10 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.37 มิลลิกรัม วิตามินซี 120 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.80 มิลลิกรัม และ เบต้าแคโรทีน 558.76 RE

สรรพคุณของผักโขม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักดขม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ลำต้น โดยสรรพคุณของผักโขม มีดังนี้

  • ทั้งต้นของผักโขม สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอวัย ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย แก้อาการบิด ลดอาการแน่นท้อง ช่วยขับถ่าย รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้อาการปวดท้องประจำเดือน แก้ผดผื่นคัน รักษาฝี รักษากลากเกลื้อน รักษาแผลพุพอง แก้อาการช้ำใน ลดความอ้วน บำรุงครรภ์ ช่วยบำรุงน้ำนม
  • รากผักโขม สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ใบสด สรรพคุณช่วยรักษาแผลสด

โทษของผักโขม

สำหรับการรับประทานผักโขม มีข้อควรระวัง เนื่องจากในผักโขมสดมีสารออกซาเลต ( Oxalate ) สูง ซึ่งเป็นสารที่ทำให้กิดนิ่ว และ ทำให้เกิดข้ออักเสบ โรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การรับประทานผักโขมควรทำให้สุกก่อน เพื่อให้สารออกซาเลตลดปริมาณลง

ผักโขม ผักสวนครัว สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของผักโขมเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักโขม บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา  บำรุงเลือด  บำรุงผิว ลดไขมันในเลือด มีเบต้าแคโรทีนสูง โทษของผักโขมมีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove