กานพลู ( clove tree ) สมุนไพร สรรพคุณใช้บำรุงเหงือกและฟัน ดูแลช่องปาก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ลดกรดในกระเพาะอาหาร ขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยขับน้ำคาวปลา

กานพลู สมุนไพร สรรพคุณของกานพลู

ต้นกานพลู เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร กานพลู เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชอบความชื้นสูง พบได้ตามป่าดงดิบ ประเทศฟิลิปปินส์มีกานพลูเป็นพืชประจำท้องถิ่น กานพลู ภาษาอังกฤษ เรียก clove tree มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า SyZagium aromaticum ชื่ออื่นๆของกานพลู เช่น จันจี่ ดอกจัทร์

ลักษณะของต้นกานพลู

ต้นกานพลู เป็นพืช ชนิดไม้ยืนต้น ความสูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด

กานพลู เป็นพืช ชนิดไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 10-15 เมตร มีลำต้นตั้งตรง ใบของกานพลู เป็นใบเดียวเรียงตรงแตกกิ่งก้านสาขา ผิวมัน สีเขียว ดอกและผลของกานพลู ช่อดอกจะออกตามซอกใบ ดอกกานพลูจะมีน้ำมัน มีกลิ่นหอมและรสชาติเผ็ด ทรงกรวยยาว

คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกานพลู พบว่ามี แคลเซียม ฟอสฟอรัส ในปริมาณสูง ในดอกของการพลูสามารถสกัดน้ำมัน มีน้ำมันหอมระเหยประมาณ 20 % มีกรดแกลโลแทนนิค(gallotannic acid) ประมาณ 10% และสารโครมีนส์ (chromenes) สารคารีโอไฟลีน (caryophylline)  และกรดไตรเตอฟีน(triterpene acid) ในน้ำมันประกอบด้วย ยูยูจีนอลอะซีเตท (eugenolacetate) จีนอล (eugenol)  เป็นต้น

 

สรรพคุณของกานพลู

ประโยชน์ของกานพลู เราสามารถนำกานพลูมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ดอก ใบ รายละเอียด ดังนี้

  • ดอกของกานพลู สามารถนำมาใช้แก้โรครำมะนาด แก้ปวดฟัน ช่วยละลายเสมหะ แก้หอบหืด บรรเทาเลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดท้อง แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาเหน็บชา ขับน้ำคาวปลา แก้ท้องอืด
  • ใบของกานพลู สามารถนำมารักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้ นำมาต้มเป็นน้ำใช้อาบแก้ผื่นคันได้ ใบของกานพลูมีรสชาติเย็นและจืด แก้ปวดมวน
  • น้ำมันกานพลู ดอกของกานพลูมีน้ำมันสามารถนำมาสกัดใช้เป็นยา ช่วยในการขับ บรรเทาการชักกระตุก แก้ปวดท้อง แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคหลายชนิด ใช้เป็นยาไล่ยุง ตลอดจนนำมาแต่งกลิ่นอาหาร เป็นส่วนผสมของ เครื่องดื่ม ขนม สบู่ และยาสีฟัน
  • เปลือกต้นกานพลู  สามารถใช้ แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ
  • ผลของกานพลู ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม

วิธีใช้กานพลูรักษาอาการปวดฟัน สามารถทำได้โดย ใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลู หยดในรูฟันที่มีอาการปวด หรือใช้ฟันที่ปวดคาบสำลีที่ชุบน้ำมันกานพลูไว้ ก็สามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้ดี

วิธีใช้กานพลูมากำจัดกลิ่นปาก โดย ดอมดอกกานพลูประมาณ 1-2 นาที และบ้วนทิ้ง ก็สามารถลดกลิ่นปากได้

วิธีใช้กานพลู รักษาอาการท้องอืด สามารถทำได้โดย นำดอกกานพลูมาบด และต้มน้ำรับประทาน จะช่วยให้ถ่ายง่ายขึ้น และขับลมได้ด้วย

ตะไคร้ พืชล้มลุก สมุนไพรไทย ต้นตะไคร้มีกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยตะไคร้มีประโยชน์มากมาย ลักษณะของต้นตะไคร้ สรรพคุณบำรุงผิว ช่วยขับลม บำรุงระบบประสาท โทษของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ( Lemongrass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf สมุนไพร นิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของตะไคร้ ยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลมในลำไส้ แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง บำรุงผิว บำรุงระบบประสาท เป็นต้น

ต้นตะไคร้ Lemongrass )  เป็นพืชตระกูลหญ้า เป็นพืชล้มลุก ใบของตะไคร้เป็นเรียวยาว ใบมีขน ทั้งต้นตะไคร้มีกลิ่นฉุน สามารถขยายพันธ์โดยแตกหน่อ เราสามารถแบ่งตะไคร้ได้เป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งตะไคร้เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

การศึกษาของตะไคร้ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม เส้นใย 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม และ เถ้า 1.4 กรัม

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • ทั้งต้นของตะไคร้  นิยมใช้เป็นยา ใช้รักษาโรคหอบหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยทำเป็นยาทานวด นำมารับประทาน ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อได้
  • หัวของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยา ใช้รักษากลากเกลื้อน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะขัด รักษานิ่ว บำรุงไฟธาตุ เป็นยาแก้อาเจียน ยาลดความดันโลหิตสูง แก้กษัยเส้น และแก้ไข้ เป็นต้น
  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

ตะไคร้ ชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้มีประโยชน์ เป็นทั้งยารักษาโรค และมีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณอื่นๆของตะไคร้ เช่น ช่วยไล่แมลง ล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยซ่อมแซมและบำรุงระบบประสาท ช่วยรักษาอาการอักเสบ ช่วยบำรุงผิว

โทษของตะไคร้

พิษของน้ำมันตะไคร้ ปริมาณน้ำมันตะไคร้ ที่ทำให้หนูขาวตายที่ครึ่งหนึ่งของจำนวนหนูขาวทั้งหมด ด้วยการให้ทางปาก  ที่ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และการให้น้ำมันหอมระเหยทางกระเพาอาหารแก่กระต่ายที่ทำให้กระต่ายตายที่ครึ่งหนึ่ง พบว่า มีปริมาณความเข้มข้นเดียวกันกับการให้แก่หนูขาว

พิษเฉียบพลันของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ที่ความเข้มข้น 1,500 ppm ในระยะเวลา 60 วัน กลับพบว่า หนูขาวที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มที่ไม้ได้รับ และค่าทางเคมีของเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove