สะระแหน่ Mint สมุนไพร ลักษณะของต้นสะระแหน่ คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่ สรรพคุณดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม โทษมีอะไรบ้าง

สะระแหน่ มินต์ สมุนไพร สรรพคุณของสะระแหน่

สะระแหน่ ( Mint ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะระแหน่ คือ Ment ha aruensis Linn สมุนไพร ลักษณะของต้นสะระแหน่ คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่ สรรพคุณของสะระแหน่ ดูแลช่องปาก เหงือกและฟัน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย แก้แมงสัตว์กัดต่อย

ต้นสะระแหน่มีแหล่งกำเนิดในแถบทวีปยุโรปตอนใต้และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งลักษณะของใบสะระแหน่จะคล้ายกับพืชตระกูลมิ้นต์ มีกลิ่นหอมคล้ายมะนาว รสชาติคล้ายตะไคร้ สามารถใช้ แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย แก้แมงสัตว์กัดต่อย นิยมนำมาทำอาหาร เพราะให้กลิ่นหอม สามารถสกัดเพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมยา

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่

สะระแหน่ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง พบว่าใบสะระแหน่ มีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย เมนทอล (Menthol) ไลโมนีน (Limonene) นีโอเมนทอล (Neomenthol) นักโภชนาการได้ศึกษาใบสะระแหน่ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 47 กิโลแคลอรี โปรตีน 3 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4 มิลลิกรัม วิตามิน บี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2 0.29 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม วิตามิน ซี 88 มิลลิกรัม เบต้า แคโรทีน 538 ไมโครกรัม

สะระแหน่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mentha aruensis Linn ชื่ออื่นๆของสะระแหน่ เช่น  สะระแหน่สวน หอมด่วน สะแน่ มักเงาะ เป็นต้น สะระแหน่ เป็นพืชล้มลุก ซึ่งมีลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมเลื้อยบนดิน ใบกลม ขอบใบหยัก สีเขียว มีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบสีขาว

ประโยชน์ของสะระแหน่

สะระแหน่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมของการทำอาหาร และนำมาทำเป็นยา ตามตำราของแพทย์แผนไทย นำมาใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด ขับผายลม แก้แน่น แก้ไอ ขับเสมหะ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศีรษะ ดมแก้ลม ทาแก้ฟกบวม ท้องเฟ้อ

  • นำสะระแหน่มาใช้รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น รักษาท้องร่วง หรือ อุจจาระเป็นเลือด  โดยนำ ใบสะระแหน่ มาต้มน้ำดื่มผสมเกลือ
  • นำสะระแหน่มารักษา อาการโดนแมลงสัตว์กัดต่อย โดย บดใบสะระแหน่ และนำมาพอกบริเวณที่โดนกัด
  • นำสะระแหน่มา ช่วยห้ามเลือดกำเดา โดยนำใบสะระแหน่มาคั้นน้ำ และนำหยอดที่รูจมูกใช้ห้ามเลือดได้ แก้ปวดหูโดย นำน้ำคั้นใบสะระแหน่มาหยอดหู

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสะระแหน่

  • รากและลำต้นของสะระแหน่ จะมีลักษณะลำต้นเลื้อยมีรากฝอย ขนาดเล็กและสั้น ลำต้นสูงประมาณ 15 – 30 ซม. ลำต้นสะระแหน่ จะทอดเลื้อยแผ่ไปตามดิน ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียวแกมม่วงน้ำตาล แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวมีสีเขียว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย พื้นใบขรุขระ มีกลิ่นหอมฉุน ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ
  • ใบสะระแหน่ ออกเป็น ใบเดี่ยว และออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกันบนกิ่ง ลำต้น ใบมีสีเขียว รูปทรงรี กว้างประมาณ 1.5 – 3.5 ซม. และยาวประมาณ 2 – 7 ซม. ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก ปลายใบมนหรือแหลม
  • ดอกสะระแหน่ ออกเป็นช่อ เหนือซอกใบบริเวณปลายยอด แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกมีสีชมพูอมม่วง ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอกที่เชื่อมติดกันเป็นกรวยตื้น 4 กลีบ ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะไม่ค่อยพบ
  • ผลสะระแหน่ มีสีดำ ขนาดเล็ก มีรูปผลเป็นรูปกระสวย เปลือกผลเกลี้ยงมัน ทั้งนี้ ผลสะระแหน่มักไม่ติดผลให้เห็นบ่อยนัก เพราะมีดอกที่เป็นหมันเป็นส่วนใหญ่

สรรพคุณของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนทั้งใบและลำต้น ซี่งสรรพคุณของสะระแหน่ มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยทำให้ลดลอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันครว
  • เป็นยาเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาน ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงสายตา ลดรอยคล้ำใต้ตา
  • ช่วยบรรเทาอาการเครียด รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไมเกรน ทำให้สมองปลอดโปร่ง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย
  • ช่วยรักษาไข้หวัด รักษาอาการไอ ลดน้ำมูก รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้กระปรี่กระเปร่า รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • บำรุงเหงือกและฟัน ระงับกลิ่นปาก บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาอาหารเจ็บปาก แก้เจ็บลิ้น รักษาแผลในปาก
  • ช่วยรักษาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด
  • ใช้ไล่ยุงและแมลงต่างๆ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้อักเสบ แก้ปวด
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

โทษของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสะระแหน่ มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • การใช้สะระแหน่ทาบริเวณผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น หลอดลมตีบ หายใจลำบาก ผื่นแดง ผิวหนังอักเสบ
  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินสะระแหน่จำนวนมาก เนื่องจากน้ำมันสะระแหน่หากตกตัวในลำไส้ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก

หอมใหญ่ หอมหัวใหญ่ สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมใหญ่ คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของหอมหัวใหญ่

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สรรพคุณหอมหัวใหญ๋

หอมหัวใหญ่ ( Onion ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมใหญ่ คือ Allium cepa L. ต้นหอมใหญ่ มีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียกลาง บ้างก็บอกว่ามีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และสำหรับแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศอินเดีย โดยจัดเป็นพืชล้มลุก

พืชมหัสจรรย์ ทำอาหารก็อร่อย สรรพคุณของหอมใหญ่ ช่วยรักษาเบาหวาน รักษาโรคหัวใจได้ ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยละลายลิ่มเลือด บำรุงระบบโลหิตได้ดี ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ป้องกันมะเร็งได้ ขับสารพิษในร่างกาย ช่วยผ่อนคลาย แก้การนอนไม่หลับ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดความดับโลหิต ช่วยขับเสมหะ ในหอมหัวใหญ่พบว่ามีวิตามินซีสูง และสารอื่น ๆ เช่น สารเคอร์ซีทิน สามารถช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ป้องกันโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมใหญ่ มีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายหัวหอม ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกนอกบาง ๆ สีม่วงแดงหุ้มอยู่ แต่เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • ใบหอมใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ มีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด
  • ดอกหอมใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่

สำหรับการบริโภคหอมหัวใหญ่นิยมรับประทานหัวหอมใหญ่ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวหอมใหญ่ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี 1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

คุณประโยชน์ของหอมหัวใหญ่ เราได้รวบรวมมาให้เป็นความรู้ ดังนี้

การรับประทาน หัวหอมใหญ่ สามารป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ เพราะ ว่า หอมหัวใหญ่ มีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยแก้การนอนไม่หลับได้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของอัมพาต ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยในการขยายหลอดเลือด ช่วยทำให้เลือดไม่ไปอุดตันในหลอดหลอด ช่วยในการสลายลิ่มเลือดปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ลดความอ้วน ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต แก้ความดันโลหิตสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยรักษาไข้หวัด แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอมหืด คุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยแก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลมพิษ ลดอาการปวดอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยรักษาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกได้

วิธีปลูกหอมหัวใหญ่

สามารถปลูกได้จากการเพาะต้นกล้า โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วแปลงกล้า รดน้ำให้ทั่ว หลังจากที่เมล็ดงอกประมาณ 10-15 วัน ใช้หญ้าแห้งคลุมดินอย่าให้แปลงชื้น หรือร้อนเกินไป เมื่อกล้าอายุได้ 45 วัน ก็ย้ายเพื่อลงแปลงปลูก จัดเป็นแถว ห่างกัน 10 – 15 เซ็นติเมตร หมั่นพรวนดิน และกำจัดวัชพืช หลังจากย้ายกล้าลงแปลงปลูกประมาณ 90-100 วัน ก็ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับการรับประทานหอมหัวใหญ่ มีข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่ ดังนี้

  • แม้ว่าสรรพคุณหัวหอมใหญ่จะมีอยู่มากมาย แต่เนื่องจากหอมใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่นและมีรสเผ็ด การนำมาใช้ในแต่ละบุคคล ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและโรคของผู้ป่วยด้วย ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวสามารถช่วยขับความเย็น ทำให้หยางทะลุทะลวงไปยังส่วนต่าง ๆ ช่วยกำจัดพิษและปัจจัยที่กระทบจากภายนอกเนื่องจากความเย็นได้ดี แต่ไม่มีฤทธิ์ในการบำรุงหยางในร่างกาย เมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจจะทำให้ร่างกายเสียพลังได้ง่าย เช่น ในกรณีผู้ป่วยหอบหืดที่มีพลังอ่อนแออยู่แล้ว แทนที่จะมีอาการหอบดีขึ้น แต่กลับจะทำให้อาการหอบหืดกำเริบมากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น ดังนั้นจึงควรรู้ถึงข้อดีและข้อเสียเพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมด้วย จึงจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสูงสุด
  • การรับประทานหัวหอมใหญ่ในปริมาณมากหรือรับประทานติดต่อกันนานเกินไป อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ลืมง่าย ความจำเสื่อม มีอาการตามัว พลังและเลือดถูกทำลาย ทำให้เส้นเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้โรคต่าง ๆ ที่เป็นอยู่หายช้าและเรื้อรัง และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศ
  • เมื่อคุณมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียดหรือจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ มีคำแนะนำว่าไม่ควรจะรับประทานหัวหอมใหญ่
  • อย่างไรก็ตามไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่สดในขณะที่ท้องว่าง เพราะอาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้เยื่อบุในกระเพาะเกิดการอักเสบได้
  • สำหรับผู้ที่ถูกสัตว์มีพิษมีเขี้ยวกัด ไม่ควรรับประทานหอมใหญ่ เพราะการรับประทานหัวหอมใหญ่จะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น ทำให้พิษแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
  • สิ่งที่คุณควรรู้อีกเรื่องนั้นก็คือ หอมใหญ่เป็นหนึ่งในอาหารที่มีกลิ่นแรงและทำให้เกิดกลิ่นปาก
  • สำหรับผู้ที่มีกลิ่นตัวแรงอยู่แล้ว การรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรงยิ่งขึ้น
  • ว่ากันว่าในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ไม่ควรรับประทานหอมหัวใหญ่ เพราะจะทำให้อาการหอบหืดรุนแรงมากขึ้น

ต้นหอมหัวใหญ่ ภาษาอังกฤษ เรียก Onion เป็นพืชชนิดหัว (bulb) สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดที่มีการระบายน้ำและอากาศดี เจริญได้ดี หอมหัวใหญ่ปลูกได้ในช่วงฤดูหนาว หอมหัวใหญ่มีชื่อ วิทยาศาสตร์ ว่า Allium cepa L. หอมใหญ่ หอมหัวใหญ่ สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำหัวหอมใหญ่มาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมใหญ่เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหอมใหญ่ สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ เช่น บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของหอมหัวใหญ่มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove