มะเขือพวง สมุนไพร สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน ผักพื้นบ้าน ประโยชน์ของมะเขือพวงมะเขือพวง สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง สมุนไพร คู่ครัวไทย เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสุขภาพ มากมาย สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน มะเขือพวง เป็นพืชผักสมุนไพร และนิยมปลูกจนกลายเป็นพืชผักสวน  นิยมนำผลมาประกอบอาหาร ผักพื้นบ้านของไทย

มะเขือพวง ภาษาอังกฤษ เรียก Pea Eggplant มะเขือพวง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Solanum torvum Sw. มะเขือพวง มีชื่ออื่นๆ อาทิ เช่น มะเขือละคร มะแว้งช้าง มะแคว้งกุลา หมากแข้ง เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง เป็นต้น ต้นมะเขือพวง เป็นพืชในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา เป็นพืชที่ทนต่อโรคสูง สำหรับประเทศไทย นิยมนำผลมะเขือพวงมาทำอาหาร ไม่ว่าจะเป็น แกงป่า แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก แกงเขียวหวาน น้ำพริกกะปิ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกไข่เค็ม ปลาร้าทรงเครื่อง ผัดเผ็ดต่างๆ เป็นต้น

มะเขือพวง มีสาร อยู่ 2 กลุ่ม ที่มีความสำคัญ เป็นสารในกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ และสารกลุ่มอัลคาลอยด์ มาทำความรู้จักกับสาร 2 กลุ่มนี้ ว่ามีประโยชน์อย่างไร

  • สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) สารอาหารเหล่านี้จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดีขึ้น  สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ สารสำคัญที่เป็นสารในกลุ่มนี้ คือ Torvoside และซาโปนิน เป็นสารที่ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด กระตุ้นให้ตับนำโคเลสเตอรอลในเลือดไปใช้มากขึ้น ยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอลในลำไส้ด้วย ป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด มีฤทธิ์ขับเสมหะ เป็นยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นด่าง รสขม ไม่มีสี มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท และอวัยวะต่างๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อัลคาลอยด์เป็นสารที่สลายตัวได้ง่าย ซึ่งหากนำมาผ่านความร้อนแล้ว สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย สารกลุ่มนี้มีสรรพคุณในการต้านโรคมะเร็ง ยับยั้งการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์มะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง

การศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเขือพวง ขนาด 100 กรัม พบว่า ผลมะเขือพวงให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ อาทิ เช่น คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม น้ำตาล 2.35 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.01 กรัม วิตามีนบี1 0.039 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.037 มิลลิกรัม สารไนอะซิน 0.649 มิลลิกรัม กรดแพนโทเทนิก 0.281 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.084 มิลลิกรัม กรดโฟเลต 22 ไมโครกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม สังกะสี 0.16 มิลลิกรัม และธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง เป็น พืชล้มลุก ลำต้นมีความสูง 1 ถึง 4 เมตร กิ่งก้านแตกสาขามากมาย เป็นลักษณะพุ่ม ใบมะเขือพวง ตรงข้ามกิ่งก้าน ใบเป็นมีรูปไข่ สีเขียว ดอกของมะเขือพวง ออกเป็นช่อ เป็นลักษณะรูปกรวย มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ดอกสีขาวหรือสีม่วง และเกสรสีเหลือง ผลของมะเขือพวง เป็นลักษณะกลม ขนาดของผลประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลอ่อนจะมีรสขม แต่ผลสุกจะเป็นสีเหลือง รสฝาด เปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะกลม แบน มีสีน้ำตาล

สรรพคุณของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ ประโยชน์ของมะเขือพวง ด้านสมุนไพร นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ทั้งต้น เมล็ด ผล ใบ และราก ประโยชน์ของมะเขือพวง มีรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของมะเขือพวง ช่วยแก้ปวดฟัน
  • ผลของมะเขือพวง ช่วยบำรุงไต ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลกระเพาะอาหาร รักษาท้องผูก ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ บำรุงสายตา บำรุงเลือด ช่วยให้นอนหลับสบาย รักษาความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยดูดซับไขมัน ช่วยขับเสมหะ ป้องกันมะเร็ง
  • ทั้งต้นมะเขือพวง ช่วยรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน รักษาฝี รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใบของมะเขือพวง ช่วยรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ใช้ห้ามเลือด รักษาโรคผิวหนัง แก้ฟกช้ำ แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้ ขับเหงื่อ ขับของเสียออกจากร่างกาย
  • รากของมะเขือพวง ช่วยรักษาแผล รักษาตาปลา รักษาเท้าแตก

การปลูกมะเขือพวง

การปลูกมะเขือพวง นั้นง่ายมาก การขยายพันธ์มะเขือพวงสามารถทำได้โดยเมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี เป็นผักที่ปลูกตามครัวเรือน มีเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิต รายละเอียดมีดังนี้

  • การเตรียมดิน มะเขือพวงชอบดินร่วน การเตรียมปลูกมะเขือพวง ให้ยกร่องเป็นแปลง ระยะห่างระหว่างต้น 2-3 เมตร
  • การปลูกมะเขือพวง มะเขือพวงสามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย และปลูกได้ตลอดปี สามารถเลือกการปลูกได้ตามต้องการ เช่น เมล็ดมะเขือพวง การปักชำลำต้น การปักชำราก การปักชำยอด การตอนกิ่ง หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำหรับการเพาะเมล็ด นั้น เพาะในกระบะ ในกระถางหรือในถุง อายุได้ 1 เดือน ก็สามารถย้ายลงแปลงที่เตรียมไว้ได้
  • การดูแลมะเขือพวง ให้หมั่นพรวนดิน รดน้ำสม่ำเสมอ หากบำรุงด้วยฮอร์โมน โดยการฉีดพ่นทางใบในทุกๆ 10 วัน ช่วยให้มะเขือพวงออกดอกดก ติดลูกดก
  • การเก็บเกี่ยวมะเขือพวง สามารถเก็บเกี่ยวหลังจากมะเขือพวง อายุ 120 วัน และหากบำรุงดีๆ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 3 ปี

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณช่วยดับคาว ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง โทษข่ามีอะไรบ้างข่า สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของข่า

ต้นข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ข่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Alpinia galanga (L.) Willd. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระชาย ขิง กระวาน ขมิ้น เป็นต้น สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ข่า พืชท้องถิ่น ปลูกง่าย นิยมปลูกในทุกครัวเรือนของบ้านในประเทศไทย ข่า เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สามารถหาซื้อได้ตามตลาด สำหรับอาหารไทยและอาหารอินโดนีเซีย นิยมใช้ข่ามาปรุงอาหาร ข่าเป็นหนึ่งในเครื่องเทศยอดนิยม เมนูอาหารอย่าง ต้มข่าไก่ หรือต้มยำกุ้ง น้ำพริกต่างๆ ต้องมีข่าเป็นส่วนผสม

ลักษณะของต้นข่า

ข่า จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ในดิน เหง้าจะมีข้อและปล้องมองเห้นได้ค่อนข้างชัดเจน ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ลำต้นมีสีเขียว ใบของข่า เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันที่ยอดของลำต้น ใบมีลักษณะรี ดอกของข่าจะออกที่ยอดลำต้น มีขนาดเล็ก สีขาว และผลของข่าจะเป็นทรงกลม สามารถมองเห็นได้เมื่อดอกแห้ง

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

สำหรับการใช้ประโยชน์จากข่า นิยมนำข่ามาบริโภค เหง้าอ่อนของข่า ซึ่งเป็นส่วนที่มีรสเผ็ด ช่วยขับลมได้ดี มีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

สำหรับการใช้ ประโยชน์ข่า ด้านการรักษาโรค และใช้ทำสมุนไพร นั้น นิยมใช้ หน่อ เหง้า ราก ดอก ผล และใบ เรียกได้ว่าทุกส่วนของข่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด รายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • เหง้าของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้บิด แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา เป็นยารักษาแผลสด ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยรักษากลากเกลื้อน ช่วยแก้โรคน้ำกัด ช่วยแก้ฟกช้ำ ช่วยแก้เหน็บชา ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยไล่แมลง
  • ใบของข่า สามารถนำมาช่วยฆ่าพยาธิ ช่วยรักษากลากเกลื้อน
  • รากของข่า สามารถนำมาช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดปรกติ ช่วยขับเสมหะ
  • ดอกของข่า สามารถนำมาช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยแก้ฝีดาษ
  • ผลของข่า สามารถนำมารักษาอาการปวดฟัน ช่วยรักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร
  • หน่อของข่า สามารถนำมาช่วยบำรุงธาตุไฟ ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก

โทษของข่า

ข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชน์จากข่า มีข้อควรระวังในการใช้ข่า ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษ หากบริโภคในปริมาณมากเกินไป ทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า ทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้มีอาการแสบร้อนผิวหนัง

ข่า ( Galanga ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. สมุนไพร พืชตระกูลกระชาย ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์ของข่า สรรพคุณของข่า ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ต้นข่าเป็นอย่างไร ต้นข่า เป็นพืชพื้นเมือง มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศเขตร้อน สามารถพบได้ตามประเทศ ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และไทย เป็นต้น คนไทยมีความคุ้นเคยกับข่าเป็นอย่างดี ข่าสำหรับคนไทย นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ช่วยดับความอาหารได้เป็นอย่างดี แต่ข่ามีประโยชน์ด้านสมุนไพร มากมาย

การปลูกข่า

ข่าเป็นพืช เศรษฐกิจ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก ศัตรูพืชน้อย สำหรับการปลูกข่า นั้นมีเรื่องที่ต้องรู้ คือ การเตรียมดิน การปลูก การเก็บผลผลิต รายละเอียด ดังนี้

  1. การเตรียมดิน สำหรับปลูกข่า ข่าชอบดินร่วนซุย มีความชื้น แต่ไม่ชอบน้ำขัง สำหรับการเตรียมต้นพันธุ์ สำหรับปลูกข่า ให้ใช้ต้นพันธุ์อายุ 1 ปี ครึ่ง เนื่องจากอายุพันธุ์ข่า ขนาดนี้เหมาะสำหรับการนำมาปลูก เนื่องจากมีแข็งแรง และมีตามาก ทำให้การเจริญเติบโตจะดี
  2. การปลูกข่า ใช้วิธีการปักดำ นำเหง้าพันธ์ุข่ามาปักลงหลุมที่เตรียมดินไว้ สำหรับหลุมละ 3 เหง้า ระยะห่าง ประมาณ 1 เมตร ต่อหลุม ข่าสามารถแตกหน่อได้มากถึง 1500 กอ ให้ผลผลิตที่ดี
  3. การดูแลข่า ข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นแต่ไม่ชอบน้ำขัง จึงต้องหมั่นตรวจสอบอย่าให้น้ำขัง รดน้ำเดือนละ 2 ครั้งก็เพียงพอสำหรับข่า หมั่นให้ปุ๋ย สามารถเก็บเกี่ยวข่าได้ตามต้องการ

ข่า ( Galanga ) สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นข่า เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของข่า ประโยชน์และสรรพคุณของข่า เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง โทษของข่า มีอะไรบ้าง

บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับข่ากัน ว่า ข่าเป็นอย่างไร ประโยชน์ด้านยาของข่า การปลูกข่า คุณค่าทางโภชนาการของข่า และเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับข่า ต้มข่าไก่


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove