มะลิ ดอกมะลิมีกลิ่นหอม นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์ ลักษณะของต้นมะลิเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ เช่น ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิ มีอะไรบ้าง

มะลิ ดอกไม้ สมุยไพร สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum  ชื่อเรียกอื่นๆ ของต้มมะลิ มีหลายชื่อ เช่น มะลิขี้ไก่ มะลิหลวง มะลิป้อม มะลิซ้อน มะลิมะลิลา เตียมูน ข้าวแตก บักหลี่ฮวย เซียวหน่ำเคี้ยง หม้อลี่ฮวา เป็นต้น ไม้พุ่ม มะลิมีประมาณ 200 ชนิด ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ดอกมะลิ มีกลิ่นหอม ไม้ประดับ เป็น สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรไทย สรรพคุณของมะลิ เช่น ขับประจำเดือน ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับ บำรุงสายตา

มะลิ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิด ดั้งเดิมอยู่ในแถบประเทศเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นทรงพุ่ม ใบแน่น ความสูงประมาณ 5 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ  คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน ซึ่งมะลิจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงในครอบครัว เพราะ ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความรักของลูกที่มีต่อแม่ คนไทยนิยมใช้ดอกมะลิร้อยเป็นพวงมาลัยแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ เพราะดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ ขาวสะอาด ซึ่งดอกมะลิใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระ

สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ เราสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างไรบ้าง ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกส่วน เช่น ดอกมะลิ ใบมะลิ และ รากของต้นมะลิ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกมะลิ สามารถนำมาทำเป็นน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ(jasmine oil) ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด บรรเทาอาการปวดหัว น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลินำมาใช้เป็นวัตถุดิบทำเครื่องสำอางค์ ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ สามารถใช้ทาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน หรือใส่ในอาหาร หรือ ขนม จะเป็นอันตรายมากในสตรีมีครรถ์
  • ดอกมะลิกับการทำอาหาร สามารถนำดอกมะลิมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร และ ขนมไทย เพื่อเพิ่มความหอมของอาหารและขนมไทย เช่น ซ่าหริ่ม ทับทิมกรอบ ลอดช่องน้ำกะทิ
  • ดอกมะลิแก่ นำมาเป็นส่วนผสมของยาหอม สรรพคุณ แก้หืดหอบและบำรุงหัวใจ
  • ใบของต้นมะลิ สามารถนำมาทำยา แก้อาการไข้ พอกแก้ฟกชำ ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย แผลเรื้อรัง บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย โรคผิวหนัง
  • รากของต้นมะลิ สามารถนำมาทำเป็นยา แก้ร้อนใน ขับประจำเดือน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ปวดเคล็ดขัดยอก

ต้นมะลิ ภาษาอังกฤษ เรียก Arabian jasmine ในหลายท้องที่ในประเทศไทย เรียก ต้นมะลิว่า ข้าวแตก เตียงมุน มะลิป้อม มะลิหลวง แต่ชื่อเหล่านี้ก็คือ ต้นมะลิแต่แตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น ต้นมะลิ เป็นพืช ที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นไม้พุ่ม ความสูงไม่เกิน 200 เซ็นติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม ต้นมะลิมีมากมายรวม 200 สายพันธ์

โทษของมะลิ

ต้นมะลิมีกลิ่นหอม ซึ่งมาจากน้ำมันหอมระเหยที่ออกมาจากดอกของมะลิ การนำเอามะลิมาใช้ประโยชน์นั้น ต้องใช้ในปริมาณที่พอดี จึงจะเกิดประโยชน์ โดยรายละเอียดของการข้อควรระวังการใช้ต้นมะลิมีดังนี้

  • รากของมะลิ หากรับประทานมาก ๆ อาจทำให้สลบได้
  • ดอกมะลิ นำมาใช้แต่งกลิ่น แต่ไม่ควรนำมารับประทานเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลต่อระบบประสาทและสมองได้
  • ดอกมะลิ มีฤทธิ์เป็นยาหอมเย็น แต่อย่าใช้มากเกินไป เพราะ อาจเกิดภาวะจุกเสียดแน่นท้องได้
  • การดื่มน้ำลอยดอกมะลิ นั้นในปัจจุบันการปลูกต้นมะลิเพื่อการค้าอาจมีสารเคมีปนเปื้อนได้ต้องล้างให้สะอาด แต่หากเป็นมะลิที่เชื่อได้ว่าไม่มีสารตกค้างหรือสารเคมี ก็สามารถนำมารับประทานได้

มะลิ คือ พืชท้องถิ่น ดอกมะลิ มีกลิ่นหอม นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์ ลักษณะของต้นมะลิเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ เช่น ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิ มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ตะขบ สมุนไพร พืชท้องถิ่น ผลตะขบสามารถรับประทานได้ รสหวาน ลักษณะของต้นตะขบเป็นอย่างไร สรรพคุณของตะขบ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับเงื่อ โทษของตะขบ มีอะไรบ้าง

ตะขบ สมุนไพร

ต้นตะขบ ภาษาอังกฤษ เรียก West Indian Cherry ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะขบ คือ Muntingia calabura L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะขบ มีหลากหลาย เช่น คนสุราษฏร์ธานี เรียก ครบฝรั่ง กะเหลี่ยงแดง เรียก หม่ากตะโก่เสะ ชาวม้ง เรียก ตากบ เมี่ยน เรียก เพี่ยนหม่าย ชาวภาคกลาง เรียก ตะขบฝรั่ง เป็นต้น

ต้นตะขบ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและผลไม้รับประทานผล ซึ่งตะขบมักพบตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่ง เนื่องจากลักษระของตะขนมีผลมาก และสามารถแพร่กระจายง่ายตามรอบๆของต้นตะขบ รวมถึงผลตะขบนิยมเป็นอาหารของนกและสัตว์ขนาดเล็ก

ลักษณะของต้นตะขบ

ต้นตะขบ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ปลูกง่าย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นตะขบ มีดังนี้

  • ลำต้นต้นตะขบ ความสูงได้ประมาณ 5 ถึง 7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านและแผ่ขนานกับพื้นดิน ลักษณะของเปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมทั่วกิ่งก้าน
  • ใบตะขบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะใบเป็นรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นหยักๆ ใบลักษณะหยาบ มีขนปกคลุม ใบมีสีเขียว
  • ดอกตะขบ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลตะขบ เจริญเติบโตจากดอกตะขบ ลักษณะผลกลม ผลสดสีเขียว และ ผลสุกสีแดง ภายในผลมีเมล็ด และ เนื้อผลมีรสหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของตะขบ

สำหรับตะขบมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะขบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 97 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ เช่น แคลเซียม 51.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 773 มิลลิกรัม โซเดียม 12.8 มิลลิกรัม และวิตามินกับสารอาหารต่างๆอีกมากมาย จากผลงานการวิจัยของ นพ.สมยศ ดีรัศมี พบว่าตะขบ สามารถช่วยดูดซับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ และ ป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้

สรรพคุณของตะขบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะขบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ดอก เนื้อไม้ ราก และ ใบ สรรพคุณของตะขบ มีดังนี้

  • ผลตะขบ สรรพคุณบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายสดชื่น แก้กระหายน้ำบำรุงสมอง ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้
  • ดอกตะขบ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดท้อง แก้อาการเกรงในทางเดินอาหาร ช่วยขัยระดูสตรี แก้ตับอักเสบ แก้ปวด แก้อักเสบ
  • เนื้อไม้ตะขบ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้หวัด ลดไข้  แก้ท้องเสีย ช่วยขับพยาธิ แก้ตานขโมย รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันตามตัว
  • ใบตะขบ สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ
  • รากตะขบ สรรพคุณขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันตามตัว
  • เปลือกตำต้น สรรพคุณเป็นยาระบาย

โทษของตะขบ

สำหรับการรับประทานผลตะขบเป็นอาหาร เนื่องจากผลตะขบมีรสหวาน สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวาน ควรรับประทานตะขบในปริมาณที่เหมาะสม และ เปลือกของลำต้นตะขบ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องท้องเสีย ไม่ควรรับประทานยาทีมีส่วนผสมของเปลือกลำต้นตะขบ

ตะขบ คือ พืชท้องถิ่น ผลตะขบสามารถรับประทานได้ รสหวาน ลักษณะของต้นตะขบเป็นอย่างไร สรรพคุณของตะขบ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับเงื่อ โทษของตะขบ มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove