ทับทิม ( Pomegranate ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณรักษาแผล ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องร่วง เป็นยาถ่ายพยาธิ ใบทับทิม ลักษณะของต้นทับทิม การขยายพันธุ์ มีอะไรบ้าง

ทับทิม ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณทับทิม

ต้นทับทิม เป็น ผลไม้ ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอิหร่าน และ อัฟกานิสถาน ผลไม้ ชนิดนี้จะ ชอบอากาศหนาวเป็นพิเศษ ยิ่งหนาวมากเท่าไหร่ เนื้อทับทิมนั้นจะมีสีแดงเข้มมากขึ้นเท่านั้น และยังเป็นผลไม้มงคลของคนจีนอีกด้วย ด้วยความที่ทับทิมมีเมล็ดมากจึงสื่อความหมายถึงการมีลูกชายมาก ๆ ด้วยนั่นเอง โดยกิ่งใบของทับทิมก็นำมาใช้ในพิธีการต่าง ๆ ที่มีน้ำมนต์ในการประกอบพิธีหรือนำมาใช้พรมน้ำมนต์เพราะเชื่อว่ามีไว้ติดตัวจะช่วยในเรื่องการคุ้มครองจากภัยอันตรายต่าง ๆ ได้ด้วย

ทับทิม เป็นผลไม้ ที่มีสรรพคุณทางสมุนไพร ที่มีรสชาติหอมหวาน ทับทิม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Punica granatum Linn ชื่ออื่นๆของทับทิม เช่น มะแก๊ะ มะก่องแก้ว พิลาขาว หมากลิง พิลา เจียะลิ้ว

คุณค่าทางโภชนาการของทับทิม

ทับทิม 100 กรัม มีพลังงาน 83 กิโลแคลอรี่ น้ำตาล 13.67 กรัม คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม  เส้นใย 4 กรัม โปรตีน 1.67 กรัม ไขมัน 1.17 กรัม  วิตามินบี2 0.053 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.293 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม วิตามินบี6 0.075 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.377 มิลลิกรัม  โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 10.2 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.6 มิลลิกรัม วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม แคลเซียม 10 มิลลิกรัม เหล็ก 0.3 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.119 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 12 มิลลิกรัมโพแทสเซียม 236 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม สังกะสี 0.35 มิลลิกรัม โซเดียม 3 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นทับทิม

ต้นทับทิม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก เปลือกลำต้นของทับทิมมีสีเทา กิ่งของทับทิมมีหนามแหลมยาว ใบของทับทิมมีลักษณะเป็นรูปยาวรี ปลายใบเรียวแหลมสั้น ผิวหลังใบเป็นมัน ดอกของทับทิมออกเป็นช่อ สีส้ม สีขาว หรือสีแดง ผลของทับทิมมีลักษณะกลม ผิวเปลือกนอกหนา ผลของทับทิมเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีเหลืองปนแดง ข้างในผลของทับทิมจะมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เป็นรูปเหลี่ยม มีสีชมพูสด การขยายพันธุ์ ทับทิม สามารถขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง หรือการใช้เมล็ด

สรรพคุณของทับทิม

สามารถใช้ทั้งส่วน เปลือกของลำต้น ใบ ดอก เปลือกผล เมล็ดและเปลือกราก รายละเอียดของ สรรพคุณของทับทิม มีดังนี้

  • ใบของทับทิม นำใบสดมาต้ม และกรองเอาน้ำใช้ล้างแผล ที่มีหนองเรื้อรังบนหัว หรือนำใบสอมาตำและพอกแผล
  • เปลือกของต้นทับทิม ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้ดี
  • เมล็ดของทับทิม นำมาบดให้ละเอียด กินเป็นยา รักษาโรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ทำให้เจริญอาหาร และแก้ท้องร่วง
  • เปลือกรากของทับทิม ใช้เปลือกรากแห้ง มาต้มกิน เป็นยา แก้ระดูขาว ตกเลือด ถ่ายพยาธิ หล่อลื่นลำไส้ แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรัง
  • ดอกของทับทิม ใช้ดอกแห้งมาต้มกรองเอาน้ำ ดื่มเป็นยา แก้หูอักเสบ หรือใช้ทาแผลที่มีเลือด ช่วยห้ามเลือดได้ดี
  • เปลือกของผลทับทิม นำเปลือกแห้งมาบดให้ละเอียดหรือต้มน้ำกิน ใช้เป็นยา แก้ท้องเสีย บิดเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายพยาธิตกขาว

ทับทิม ( Pomegranate ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทับทิม คือ Punica granatum Linn พืชลมลุก นิยมกินผล สมุนไพร ประโยชน์ของทับทิม สรรพคุณของทับทิม รักษาแผล ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องร่วง เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง ทับทิม ต้นทับทิม วิธีปลูก ใบทับทิม ลักษณะของแร่ทับทิม การขยายพันธุ์ ทับทิม ดอกทับทิม

ทับทิม ยังถือว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ โดย ประโยชน์ของทับทิม และ สรรพคุณของทับทิม นั้นมีมากมาย ด้วย ทับทิม นั้นเป็น ผลไม้ ที่มี รสหวานออกเปรี้ยว น้ำทับทิม จึงมีวิตามินซีสูงและยังประกอบด้วย เกลือแร่ ต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย อย่างเช่น บรรเทาอาการของโรคหัวใจ รักษาความดันโลหิตสูง ช่วยลดสภาวะการแข็งตัวขอเลือด รักษาโรคท้องเดิน โรคบิด เป็นต้น

ทับทิม ( Pomegranate ) พืชลมลุก สมุนไพร ประโยชน์ของทับทิม สรรพคุณของทับทิม รักษาแผล ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องร่วง เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ใบทับทิม ลักษณะของต้นทับทิม การขยายพันธุ์ มีอะไรบ้าง

กล้วยน้ำว้า ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษากระเพาะอักเสบ แก้ท้องเสีย ปลูกง่าย ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตามบ้านเรือนของไทยจะพบการปลูกกล้วยมากมายกล้วยน้ำว้า สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า ภาษาอังกฤษ เรียก Cavendish banana ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วยน้ำว้า คือ Musa sapientum Linn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกล้วยน้ำว้า เช่น กล้วยใต้ กล้วยนาก กล้วยมณีอ่อง กล้วยส้ม เจกซอ มะลิอ่อง เป็นต้น กล้วยน้ำว้า เป็น ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า ช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง

กล้วยน้ำว้ากับสังคมไทย

กล้วยกับสังคมไทยเป็นพืชคู่ครอบครัวทุกครัวเรือน งานแต่งงานในประเพณีไทย ต้องมีต้นกล้วยเป็นหนึ่งในเครื่องแต่งขันหมาก ทุกบ้านในประเทศไทยนิยมปลูกกล้วยเพื่อใช้ประโยชน์ ซึ่งกล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งต้นเลย ใบกล้วย หงวกกล้วย หัวปลี ผลกล้วย สำหรับด้านอาหาร กล้วยน้ำว้า สามารถแปรรูปได้หลากหลาย อย่างกล้วยน้ำว้าสุกสามารถใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่างๆ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยตาก ข้าวต้มมัด เป็นต้น

ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า เป็นไม้ล้มลุก กล้วยหนึ่งต้นจะให้ผลครั้งเดียวจากนั้นจะตาย การขยายพันธุ์ของกล้วย ใช้การแยกหน่อ ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • ลำต้นกล้วยน้ำว้า ลักษณะเป็นกาบ ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ อวบน้ำ
  • ใบกล้วยน้ำว้า ลัฏษณะเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดใหญ่ ยาว ผิวใบเรียบ เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
  • ดอกกล้วยน้ำว้า เรียก หัวปลี ก้านดอกแทงออกจากยอดของลำต้น ลักษณะตูมเหมือนดอกบัว ขนาดใหญ่ ภายในมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผลกล้วยต่อไป
  • ผลกล้วย ลักษณะเป็นเครือ ในหนึ่งเครือ มีกล้วยหลายหวี และ ในหนึ่งหวีมีผลกล้วยหลายผล ลักษณะผลกล้วยยาวเรียว ขนาดยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เนื้อในมีสีขาว ส่วนพอสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดกลมๆสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการบริโภคกล้วยเป็นอาหาร สามารถใช้ประโยชน์จากผลกล้วย และ ปลีกล้วย ซึ่งจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกล้วยน้ำว้า ขนาด 100 กรัม พบว่า สามารถให้พลังงาน 85 แคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 75.7 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม เถ้า 0.8 กรัม แคลเซียม (Ca) 8.0 กรัม เหล็ก (Fe) 0.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม (K) 370 มิลลิกรัม แมกนีเซียม (Mg) 33 มิลิกรัม วิตามินเอ 190 IU วิตามินซี 10 มิลลิกรัม ไทอามีน (Thiamine) 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) 0.06 มิลลิกรัม และไนอาซีน (Niacin) 0.7 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า เมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ 4-6 ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน 1 สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย การนำกล้วยน้ำว้ามาใช้ประโยน์ทางสมุนไพร สามารถนำ ผล หัวปลี และหยวกกล้วย มาใช้ได้ ดังนี้

  • ผลดิบของกล้วยน้ำว้า นำมารับประทาน แก้ท้องเสีย
  • ผลสุกของกล้วยน้ำว้า นำมารับประทาน เป็นยาระบาย
  • ยางของกล้วยน่ำว้า สามารถทำมาทาแผล ใช้เป็นยาสมานแผลห้ามเลือดได้ดี
  • หัวปลี นำมารับประทาน ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาเบาหวานได้

ประโยชน์ของกล้วย

  1. กล้วยก็สามารถนำมาทำเป็นมาส์กหน้าได้เหมือนกันนะ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว วิธีง่าย ๆ เพียงแค่ใช้กล้วยสุกหนึ่งผลมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  2. เปลือกกล้วยสามารถแก้ผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้ ด้วยการลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด อาการคันจะลดลงไปได้ระดับหนึ่ง
  3. เปลือกด้านในของกล้วยช่วยในการรักษาโรคหูดบนผิวหนังได้ โดยใช้เปลือกกล้วยวางบนลงบริเวณหูดแล้วใช้เทปกาวแปะไว้
  4. เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อที่เกิดจากบาดแผลได้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อแปะที่บาดแผลแล้วก็ควรจะเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมงด้วย
  5. ยางกล้วยสามารถนำมาใช้ในการห้ามเลือดได้
  6. ก้านใบตอง ช่วยลดอาการบวมของฝี แต่ก่อนใช้ต้องตำให้แหลกเสียก่อน
  7. ใบอ่อนของกล้วย หากนำไปอังไฟให้นิ่ม ก็ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้
  8. หัวปลีนำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งบำรุงและขับน้ำนมสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร
  9. ผลดิบนำมาบดให้ละเอียดทั้งลูกผสมกับน้ำสะอาด รับประทานเพื่อแก้อาการท้องเสีย
  10. ใบตอง อีกส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์กันอย่างมาก เช่น ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี บวงสรวงต่าง ๆ

โทษของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร ยางกล้วยมีความเป็นพิษ มีสารซิโตอินโดไซด์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์ ไม่ควรรับประทานยางกล้วย การรับประทานกล้วยมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ

กล้วยน้ำว้า ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า ช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง สมุนไพร พืชสารพัดประโยชน์ ปลูกง่าย สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตามบ้านเรือนของไทย จึงพบเห็นการปลูกกล้วยอยู่มากมาย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove