โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดไข้ ลดอาการอักเสบ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก ช่วยกระตุ้นมดลูก

ว่านโด่ไม่รู้ล้ม โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม

ต้นว่านโด่ไม่รู้ล้ม เป็นสมุนไพร มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Prickly-leaved elephant’s foot มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elephantopus scaber L. โด่ไม่รู้ล้ม มีชื่ออื่นๆ เช่น ขี้ไฟนกคุ่ม คิงไฟนกคุ่ม หนาดมีแคลน ตะชีโกวะ ติ๊ซิเควาะด๊ะ โน๊ะกะชอย่อตะ กาว่ะ เนาะดากวอะ เคยโป้ หนาดผา หญ้าปราบ หญ้าไก่นกคุ่ม หญ้าไฟนกคุ้ม หญ้าสามสิบสองหาบ ก้อมทะ เกดสะดุด ยาอัดลม จ่อเก๋ เป็นต้น

โด่ไม่รู้ล้ม มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อไวรัส ช่วยลดไข้ ลดอาการอักเสบ ช่วยต้านความเป็นพิษต่อตับ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และช่วยกระตุ้นมดลูก

สมุนไพรโด่ไม่รู้ล้ม เพิ่มความต้องการและการกระตุ้นทางเพศ นอกจาก ยังสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ต้านความเป็นพิษต่อตับ ลดไข้ ลดการอักเสบ ลดความดัน กระตุ้นมดลูก ช่วยขับปัสสาวะ ขับน้ำเหลืองเสีย แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้วัณโรค บำรุงหัวใจ ขับเหงื่อ ขับพยาธิตัวกลม แก้ปัสสาวะพิการ แก้กระษัย รักษาโรคดีซ่าน รักษาฝี รักษาแผลแมลงกัดต่อย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาแผลในช่องปาก

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของโด่ไม่รู้ล้ม

  • ต้นโด่ไม่รู้ล้ม เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสั้นและกลม ชี้ตรง มีความสูงราว 10-30 เซนติเมตรอยู่ในระดับพื้นผิวดิน ตามผิวลำต้นและใบจะมีขนละเอียดสีขาว สาก ห่าง ทอดขนานกับผิวใบ พืชชนิดนี้เมื่อถูกเหยียบหรือโดนทับก็จะดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้เหมือนปกติ (สมชื่อเลย) ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าโปร่งที่มีดินค่อนข้างเป็นทราย ในป่าเต็งรัง ป่าดิบ และในป่าสนเขาทั่วทุกภาคของประเทศไทย และประเทศในเขตร้อนทั่วโลก
    ต้นโด่ไม่รู้ล้ม
  • ใบโด่ไม่รู้ล้ม มีใบเป็นใบเดี่ยวอยู่บริเวณเหนือเหง้าติดกันเป็นวงกลม เรียงสลับชิดกันอยู่เป็นกระจุก คล้ายกุหลาบซ้อนที่โคนต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหัวกลับ แผ่นใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ขอบใบหยักหรือเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยห่าง ๆ มีเส้นแขนงของใบประมาณ 12-15 คู่ ส่วนของใบที่ค่อนไปทางปลายจะผายกว้าง แล้วสอบเป็นแหลมทู่ ๆ ส่วนโคนใบจะสอบแคบจนถึงก้านใบ มีเนื้อใบหนาสาก ผิวใบจะมีขนสากเล็ก ๆ ขนตรงห่างมีสีขาว และมีขนต่อมห่างอยู่ทั้งสองด้าน โดยท้องใบจะมีขนมากกว่าหลังใบ แผ่นใบมักแผ่ราบไปกับพื้นดิน ก้านใบยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร หรือไม่มีก้านใบ
  • ดอกโด่ไม่รู้ล้ม ออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากลำต้น ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปขอบขนาน มีดอกย่อยขนาดเล็ก 4 ดอก ยาวประมาณ 9-10 มิลลิเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดอกเป็นรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตร เกลี้ยง ส่วนปลายกลีบดอกยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ไม่มีขน ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลือง มีอับเรณูยาวประมาณ 2.2-2.3 เซนติเมตร ปลายแหลม ฐานเป็นติ่งแหลม ส่วนก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.5-1.7 เซนติเมตร และเกสรตัวเมียมีก้านเกสรยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ยอดเกสรยาว 0.5-0.6 มิลลิเมตร มีขนอยู่ปลายยอดและสิ้นสุดที่รอยแยก แต่ละช่อย่อยจะอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุกกลมที่ปลายก้านดอก ที่โคนกระจุกดอกจะมีใบประดับแข็งเป็นรูปสามเหลี่ยมแนบอยู่ด้วย 3 ใบ ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ขอบใบเรียบปลายเรียวแหลม ที่ผิวใบทั้งสองด้านมีขนตรงสีขาว ออกที่ปลายยอดแบบช่อแยกแขนง ก้านช่อดอกมีความยาวได้ถึง 8 เซนติเมตรและมีขนสาด ๆ อยู่ทั่วไป ส่วนฐานรองดอกจะแบนและเกลี้ยง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร วงใบประดับเป็นรูปขอบขนาน มี 2 ชั้น สูงราว 7-10 มิลลิเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ใบประดับคล้ายรูปหอก ผิวด้านนอกมีขนตรง ส่วนขอบใบมีขนครุย ชั้นนอกเป็นรูปใบหอกยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตรและกว้างประมาณ 0.5-1.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม ส่วนชั้นที่ 2 เป็นรูปขอบขนานกว้างประมาณ 1-2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 8-10 มิลลิเมตร ปลายแหลม สีขาว เป็นเส้นตรงแข็ง มี 5 เส้น เรียง 1 ชั้น ยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร
  • ผลโด่ไม่รู้ล้ม ผลเป็นผลแห้งและไม่แตก ลักษณะของผลเล็กและเรียว เป็นรูปกรวยแคบ ผิวด้านนอกผลมีขนหนาแน่น ยาวประมาณ 2.5-3 มิลลิเมตรและกว้างประมาณ 0.4-0.5 มิลลิเมตร ผลไม่มีสัน

สรรพคุณของว่านโด่ไม่รู้ล้ม

หากแยกสรรพคุณของว่านโด่ไม่รู้ล้ม สามารถแบ่งได้ ดังนี้

  • รากของว่านโด่ไม่รู้ล้ม สามารถช่วย แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ลดไข้ แก้อาเจียน แก้ท้องเสีย แก้บิด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับพยาธิ ช่วยขับระดูขาวของสตรี ช่วยบีบมดลูก ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงสมรรถภาพทางเพศ แก้ปวด แก้เมื้อย
  • ใบของว่านโด่ไม่รู้ล้มใช้ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย แก้ไอ แก้บิด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงสมรรถภาพทางเพศ รักษาโรคผิวหนัง
  • ทั้งต้น ของว่านโด่ไม่รู้ล้ม สามารถนำมาใช้ บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้กษัย ขับเหงื่อ ขับของเสียในร่างกาย ลดไข้ แก้ไอ รักษาวัณโรค รักษาหลอดลมอังเสบ รักษาตาแดง รักษาต่มทอนซิลอักเสบ รักษาแผลในช่องปาก บำรุงเหงือกและฟัน แก้ท้องเสีย แก้บิด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับพยาธิ ช่วยขับระดูขาวของสตรี ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยแก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ข้อควรระวังในการบริโภคว่านโด่ไม่รู้ล้ม

ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์ รวมไปถึงผู้ที่มีอาการกลัวหนาว แขนขาเย็น ชอบดื่มของร้อน ไม่กระหายน้ำ มีอาการปวดท้อง ท้องร่วง และปัสสาวะปริมาณมาก และมีชั้นฝ้าบนลิ้นขาวและหนา

ปัจจุบันนี้จะมีการพูดถึงการใช้สมุนไพรไทยเพื่อการดูแลสุขภาพกันมากยิ่งขึ้นโดยทั่วไปแล้วจะมีการใช้สมุนไพรกันอย่างหลากหลายซึ่งสมุนไพรที่จัดได้ว่ามีคุณสมบัติและสรรพคุณมากมายและรวมถึงผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมนั้นก็มีอยู่หลากหลายชนิดเช่นกันซึ่งโด่ไม่รู้ล้มก็เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีการใช้เพื่อการบำรุงร่างกายกันมาตั้งแต่โบราณนั่นเอง ต้นโด่ไม่รู้ล้มเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งเป็นพืชล้มลุกที่ขึ้นอยู่ทั่วไปตามพื้นป่าที่มีสภาพเป็นพื้นทราย โดยสามารถขึ้นทั่วไปบนพื้นป่าทุกภาคของประเทศไทย และมีการกระจายขยายพันธุ์ในป่าเขตร้อนอยู่ทั่วโลก

โด่ไม่รู้ล่มจัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้เพื่อการบำรุงและดูแลร่างการ ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะใช้เป็นสมุนไพรสำหรับการบำรุงร่างกายแก้อาการอ่อนเพลียและรวมถึงยังใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับแก้ไข้ อาการตัวร้อน ช่วยในการขับพิษไข้ และอาการไอเรื้อรังได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วโด่ไม่รู้ล้มยังถูกนำมาผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อใช้เป็นยาบำรุงกำหนัดและช่วยในการเสริมสร้างและบำรุงสุขภาพทางเพศได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการใช้เป็นส่วนผสมกลักที่ใช้สำหรับการทำยาดองเหล้า โดยเชื่อกันว่าจะช่วยให้สมรรถภาพทางเพศโดยเฉพาะเพศชายนั้นดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยจะช่วยให้มีความอึดทนและมีความคึกปึ๋งปั๋งอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

นอกจากนั้นแล้วโด่ไม่รู้ล้มยังเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อโรคและเชื้อแบคทีเรียจึงมีการนำมาใช้เพื่อช่วยลดอาการไข้ต่างๆที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และยังช่วยในการลดการอักเสบได้เป็นอย่างดีซึ่งรวมถึงลดอาการตับเป็นพิษและช่วยขับพิษออกจากร่างกาย ยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้รวมถึงช่วยในการกระตุ้นให้มดลูกกระชับได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากวิธีใช้จะใช้ในการดองเหล้าแล้วยังมีการนำมาผสมกับตัวยาอื่นๆและต้มน้ำดื่มได้อีกด้วย ต้นโด่ไม่รู้ล้มเป็นสมุนไพรที่ไม่มีอันตรายและไม่มีพิษต่อร่างกายจึงสามารถที่จะใช้ในการเป็นยาสมุนไพรเพื่อบำรุงร่างกายได้อย่างต่อเนื่องนั่นเองโดยไม่ก่อให้เกิดอากาศเป็นพิษและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว

ปัจจุบันนี้มีผู้ที่สนใจและใสใจในเรื่องของสุขภาพเริ่มหันมาสนใจสมุนไพรไทยกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีการปลูกต้นโด่ไม่รู้ล้มกันทั่วไป โดยใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสถานที่ทั่วไปเช่นอาคารบ้านเรือนเพื่อความสวยงาม อีกทั้งการปลูกต้นโด่ไม่รู้ล้มไว้ในบ้านก็เป็นความเชื่อของคนโบรานง่าจะช่วยสร้างความเป็นสิริมงคลและช่วยในการป้องกันเสนียดจัญไรได้เป็น สำหรับการแปรรูปต้นโด่ไม่รู้ล้มเป็นสมุนไพรในปัจจุบันนี้ก็มีการแปรูปกันหลากหลายชนิดเพื่อให้มีความง่ายต่อการใช้มากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะมีการทำให้รูปของการตากแห้ง และการบดเป็นผง รวมถุงบรรจุแคปซูลด้วย จึงนับได้ว่าเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณมากมายและมีการนำมาแปรรูปเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานที่หลากหลายนั่นเอง

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อไวรัส ช่วยลดไข้ ลดอาการอักเสบ ช่วยต้านความเป็นพิษต่อตับ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็ก และ ช่วยกระตุ้นมดลูก

ฝรั่ง ( Guava ) ผลไม้แสนอร่อย วิตามินซี่สูง สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยห้ามเลือด ระงับกลิ่นปาก รักษาฝี รักษาเหงือกบวม แก้ปวด บำรุงผิวพรรณ เป็นยาระบาย รักษาแผลพุพอง

ฝรั่ง สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณฝรั่ง

ต้นฝรั่ง เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง ที่คนไทยรู้จักกันดี ภาษาอังกฤษ เรียก Guava มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า psidium guajawa L ฝรั่งมีชื่อเรียก อื่นๆ เช่น จุ่มโป มะแกว มะกา มะมั่น มะปุ่น มะก้วย สีดา ชมพู่  ฝรั่งเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกากลาง คาดว่าเข้าสู่ประเทศไทยโดย พ่อค้าชาวโปรตุเกตและสเปน

ลักษณะของต้นฝรั่ง

ต้นฝรั่ง เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 3 – 8 เมตร ต้นเกลี้ยงมัน เปลือกต้นเรียบ มีเปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ใบของฝรั่ง เป็นใบเดี่ยว กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ยอดอ่อนมีขนสั้นๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอกของฝรั่ง เป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลของฝรั่งจะมีสีเขียว ผลเป็นผลสด ผลดิบสีเขียว กินได้ เมื่อสุกเป็นสีเหลือง

พันธุ์ของฝรั่งที่นิยมกินสดๆ เป็นพันธุ์ฝรั่งที่นิยมปลูกเพื่อการค้า นั้น มี 5 พันธ์ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ฝรั่งเวียดนาม ลูกใหญ่กว่าฝรั่งพื้นบ้าน ถึง 2 – 3 เท่า ถูกนำเข้าจากเวียดนามมาปลูกที่อำเภอสามพรานเมื่อ พ.ศ. 2521– 2523
  • ฝรั่งกิมจู เป็นฝรั่งไร้เมล็ด สีนวลสวย รสหวานกลมกล่อม กรอบ
  • ฝรั่งกลมสาลี่ เป็นพันธ์แรกๆที่นิยมปลูกกันมาก ต่อมามีพันธ์แป้นสีทองเข้ามา จึงปลูกน้อยลงเรื่อยๆ
  • ฝรั่งแป้นสีทอง ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ผลเมื่อโตเต็มที่จะขาว ฟู กรอบ เริ่มแรกปลูกที่อำเภอสามพราน ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่ว
  • ฝรั่งไร้เมล็ด ลักษณะลูกยาวๆ ไม่มีเมล็ด รสชาติด้อยกว่าฝรั่งแป้นสีทอง และกิมจู

คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่ง

ฝรั่ง เป็น ผลไม้ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงมาก ในฝรั่ง 100 กรัม พบว่ามี ให้พลังงาน 51 กิโลแคลอรี วิตามิน B1 0.06 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.13 มิลลิกรัม วิตามิน C 160 มิลลิกรัม วิตามิน A 89 มิลลิกรัม แคลเซี่ยม 13 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 11 กรัม โปรตีน 0.90 กรัม เส้นใยอาหาร 6 กรัม ไขมัน 0.11 กรัม ความชื้น 80.70% และมีสารเพคตินเป็นจำนวนมาก

เพคติน (pectin) เป็น พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ประเภท heteropolysaccharide ซึ่งมีหน่วยย่อย คือ กรด กาแล็กทูโรนิก เมทิลการแล็กทูโรเนต และน้ำตาล ทำหน้าที่ยึดเกาะผนังเซลล์ของร่างกายให้แน่น

สรรพคุณของฝรั่ง

เราสามารถนำฝรั่งมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ตั้งแต่ ใบ ผล ราก รายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฝรั่ง ใช้ในการ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน ใช้ห้ามเลือดในแผลสด ระงับกลิ่นปาก รักษาฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนอง และถอนพิษบาดแผล บรเทาอาการเหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวด
  • ผลอ่อนของฝรั่ง ใช้ในการแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก รักษาอาการบิด รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ
  • ผลสุก สามารถใช้เป็นยาระบายได้ดี
  • รากของฝรั่ง สามารถใช้ รักษาฝี รักษาแผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล

วิธีทำน้ำฝรั่ง

  1. เริ่มจากการคัดเเลือกผลฝรั่ง ที่สดๆ ก่อน การสังเกตุผลฝรั่งที่สด ดูจากผลฝรั่งแข็ง ไม่นุ่ม นำผลฝรั่งมาหั่นเป็นชิ้น เอาเมล็ดออก จากนั้นให้เตรียมน้ำเชื่อมโดย
  2. การเตรียมน้ำเชื่อม ให้นำน้ำสะอาดต้มสุก ใส่น้ำตาล และ เกลือลงไปต้ม ให้ได้รสชาติหวานแบบกลมกล่อม
  3. เมื่อเราได้น้ำเชื่อมและเนื้อฝรั่งแล้ว ก็เริ่ม โดยการ นำเนื้อฝรั่งมาใส่น้ำพอท่วมเนื้อฝรั่ง และ ปั่นให้ละเอียด เราจะได้น้ำฝรั่ง จากนั้น ให้ทำการกรองน้ำฝรั่ง เราจะได้น้ำสีเขียวของฝรั่ง
  4. นำน้ำฝรั่งมาปรุงรสกับน้ำเชื่อม ซึ่งขั้นตอนนี้ ความหวานของน้ำเชื่อมให้ใส่ได้ตามใจคนดื่มได้เลย
  5. จากนั้นให้นำน้ำฝรั่ง ที่เราปรุงรสเอาไว้แล้ว แช่เย็น เมื่อน้ำฝรั่งเย็นได้ที่ก็พร้อมสำหรับนำมาดื่มให้ความสดชื่นต่อร่างกาย

ฝรั่ง ( Guava ) ผลไม้ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี สรรพคุณของฝรั่ง คุณค่าทางสมุนไพรของฝรั่ง ใช้แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน ใช้ห้ามเลือดในแผลสด ระงับกลิ่นปาก รักษาฝี เป็นยาล้างแผล ใช้ดูดหนอง และถอนพิษบาดแผล บรรเทาอาการเหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวด รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ เป็นยาระบาย รักษาฝี รักษาแผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove