หมามุ่ย หมามุ้ย ( Cowitch ) สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงประสาท รักษาพากินสัน ข้อควรระวังและโทษของหมามุ้ยมีอะไรบ้างหมามุ่ย หมามุ้ย สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย ภาษาอังกฤษ เรียก Cowitch ชื่อวิทยาศาสตร์ของหมามุ้ย คือ  Mucuna pruriens (L.) DC. สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของหมามุ้ย คือ บะเหยือง หม่าเหยือง ตำแย โพล่ยู กลออือแซ เป็นต้น

ต้นหมามุ้ย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน พบในทวีปแอฟริกา และ ทวีปเอเชีย เช่น ประเทศไทย อินเดีย จีน พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น สำหรับสายพันธ์หมามุ้ย มีหลายสายพันธ์ ที่รู้จักกันดี เป็น หมามุ้ยไทย และ หมามุ้ยอินเดีย

ความแตกต่างของหมามุ่ยไทยและหมามุ้ยอินเดีย

แตกต่างกับอย่างชัดเจน ที่ลักษณะรูปร่าง หมามุ้ยไทย หากสัมผัสโดย จะรู้สึกคันมาก แต่ หมามุ้ยอินเดีย ความคันจะน้อย ส่วนเรื่องของสรรพคุณทางสมุนไพร สรรพคุณของหมามุ้ยอินเดีย มีสูงกว่า หมามุ้ยไทย หมามุ้ยอินเดีย มีการนำมาศึกษาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น แคปซูลหมาหมุ่ย เป็นต้น

หมามุ่ย สมุนไพร ชนิดพืชเถา มีขนปกคลุมมากมาย ซึ่ง ขนของหมามุ่ย มีสารเคมีที่เป็นพิษ ชื่อ สารเซโรโทนิน ( Serotonin ) หากสัมผัสผิวกายของมนุษย์จะทำให้รู้สึกคัน เมล็ดหมามุ่ย มีสารเคมี ชื่อ สารแอลโดปา ( L-Dopa ) สารเคมีนี้มีประโยชน์ต่อระบบสืบพันธุ์ และ ระบบประสาท ช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ได้ด้วย ซึ่งมีการนำเอาเมล็ดของหมามุ้ยมาสกัดเป็นยา แต่เมล็ดหมามุ้ยไม่สามารถกินสดๆได้

ลักษณะของต้นหมามุ่ย

หมามุ้ย เป็น พืชล้มลุก ชนิดไม้เถา จัดเป็น สมุนไพรตระกลูถั่ว ลักษณะของต้นหมามุ่ย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของหมามุ่ย เป็นลักษณะเครือ มีความยาว 3 ถึง 10 เมตร มีสีน้ำตาล
  • ใบของหมามุ่ย รูปร่างคล้ายรูปไข่ โคนใบกลม ตัวใบบาง และ มีขนปกคลุมทั้งสองด้านของใบ
  • ดอกของหมามุ่ย ดอกมีกลิ่นฉุน สีม่วงอมดำ ดอกออกเป็นช่อ ออกดอกตามง่ามของใบ กลีบดอกเหมือนถ้วย มีสีน้ำตาล มีขนปกคลุม
  • ฝักของหมามุ่ย คือ ผลของหมามุ่ย ลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีขนอ่อนๆปกคลุม
  • ฝักแก่ของหมามุ่ย ขนของฝักแก่ของหมามุ่ยเป็นพืชที่มีพิษ เมื่อผิวหนังของคนสัมผัสกับขนพิษ จะทำให้ผิวหนังบวมแดง คันและ ปวดแสบปวดร้อน
  • เมล็ดของหมามุ่ย อยู่ในฝักแก่ของหมามุ่ย มี 4 – 7  เมล็ด ต่อ หนึ่งฝัก เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม หรือ สีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของหมามุ่ย

นักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาสารอาหารและสารสำคัญในเมล็ดหมามุ่ย พบว่า มี กรดอะมิโนที่จำเป็น ถึง 18 ชนิด และ แร่ธาตุ 8 ชนิด ได้แก่ แคลเซียม ทองแดง ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม และ สังกะสี คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดหมามุ่ย พบว่า มี โปรตีน 29.14% ไขมัน 5.05% และ กากใยอาหาร 8.68 %

สรรพคุณของหมามุ่ย

หมามุ้ย มีประโยชน์ทางการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย มากมาย สามารถใช้ประโยชน์จากหมามุ้ย ทั้ง เมล็ด ราก และ ใบ โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของหมามุ้ย ดังนี้

  • ใบของหมามุ้ย ใช้เป็นยาพอกรักษาแผล
  • เมล็ดของหมามุ่ย ใช้เป็น ยาบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยทำให้นอนหลับสบาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นการผลิตอสุจิ ช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำอสุจิ ช่วยให้มีลูก ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว ช่วยชะลอการหลั่ง ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศ ช่วยให้หน้าอกเต่งตึง ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ช่วยกระชับช่องคลอด ช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย
  • รากของหมามุ้ย ช่วยแก้ไอ แก้อาการคัน  ใช้ถอดพิษ

ข้อควรระวังในการบริโภคหมามุ่ย

  • การเก็บรักษาหมามุ้ย ให้เก็บฝักแก่ โดยฉีดน้ำให้เปียกก่อน และสวมถุงมือป้องกัน เก็บฝักหมามุ่ย เมื่อได้ ให้นำ เมล็ดหมามุ่ย มาคั่วไฟ และ ล้างน้ำ
  • การใช้ประโยชน์จากเมล็ดของหมามุ่ย ต้องนำเมล็ดหมามุ่ยไปคั่วให้สุกก่อน หากไม่นำมาทำให้สุก จะเป็นพิษ ทำให้ประสาทหลอน
  • การกินหมามุ้ย ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม ต้องไม่กินให้มากเกินไป เพราะจะเป็นพิษ
  • หมามุ่ยไม่ควรรับประทาน ใน เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และ ผู้ป่วยทางจิตเวช
  • ขนจากฝักหมามุ่ย มีพิษ ทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง ทำให้ เป็นผื่นแดง ปวด และ บวม
  • คนที่มีอาหารแพ้พืชตระกูลถั่ว ห้ามกินหมามุ่ย

หมามุ่ย หมามุ้ย ( Cowitch ) สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว คุณค่าทางโภชนาการของหมามุ้ย สรรพคุณของเมล็ดหมามุ้ย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงระบบประสาท รักษาโรคพากินสัน ข้อควรระวังในการบริโภคหมามุ้ย โทษของหมามุ้ย

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดงต้นเข็ม ต้นเข็มแดง ดอกเข็ม สรรพคุณของต้นเข็ม

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) ชื่อวิทาศาสตร์ของต้นเข็ม คือ Ixora lobbii Loudon พืชไม้พุ่ม สมุนไพร ประโยชน์ของต้นเข็ม สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเข็ม รากของต้นเข็ม ใช้บำรุงไฟธาตุ ลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิได้ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดง

ดอกเข็ม เป็นไม้มงคล ตามความเชื่อของคนไทย ดอกเข็มมีลักษณะแหลมเรียว แสดงความหมายของ สติปัญญาที่เฉียบแหลม ดอกเข็ม จึงเป็นดอกไม้ประจำวันไหว้ครู ใช้บูชาพระ และจัดแจกัน ตามงานพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ต้นเข็มแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ixora lobbii Loudon ชื่อเรียกอื่นๆของต้นเข็ม คือ จะปูโย, ตุโดบุโยบูเก๊ะ, เข็มดอกแดง เป็นต้น

ลักษณะของต้นเข็มแดง

ต้นเข็มแดง เป็นไม้พุ่ม อายุยืน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง หรือปักชำ  มีขนาดเล็ก ไม่เกิน 5 เมตร กลีบดอกย่อยสีแดง มีเกสรสีเหลืองแซมข้างกลีบ ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม หนาและแข็ง สีเขียว นิยมปลูกตามบ้าน ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดสระบุรี และมีขึ้นประปรายในจังหวัดต่าง ๆ โดยนิยมนำมาปลูกกันตามชนบท และต้นเข็มสามารถขึ้นได้เองตามป่าราบและป่าเบญจพรรณ ลักษณะของต้นเข็มแดงมีอะไรบ้าง

  • ต้นของเข็มแดง เป็นพุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลัษณะต้นนั้นจะคล้ายเข็มขาว กิ่งใบมีสีน้ำตาล ขนาดเล็ก เหนียว มีใบเกาะแน่นตามกิ่ง
  • ใบของเข็มแดง ใบมีลักษณะ หนา และแข็ง สีเขียวสด ปลายใบแหลม
  • ดอกของเข็มแดง มีสีแดง ออกดอกเป็นช่อ ดอกเข็มแดงจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเข็มขาว ไม่มีกลิ่นหอม
  • ผลของเข็มแดง มีลักษณะกลม ผลอ่อน มีสีเขียว ผลสุก มีสีม่วงดำ

สรรพคุณของเข็มแดง

การใช้ประโยชน์ของเข็มแดง ในการรักษาโรค จะใช้ รากของเข็มแดง ใบและดอก โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของเข็ม มีดังนี้

  • รากของต้นเข็ม รสเย็นหวาน แก้เสมหะและแก้กำเดา บำรุงธาตุไฟ แก้ตาพิการ สามารถนำมาทำเป็น ยาบำรุงร่างกาย แก้อาการบวม ลดการอักเสบ รักษาตาพิการ ใช้หยุดเลือดกำเดา ขับเสมหะ ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร ลดความดันโลหิต ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิ และ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของต้นเข็ม รสขื่น เป็นยาฆ่าพยาธิ
  • ดอกต้นเข็ม รสหวานเย็น แก้โรคตา

การปลูกต้นเข็ม

การปลูกต้นเข็มสามารถปลูกต้นเข็มได้ง่าย สามารถปลูกในกระถางต้นไม้ หรือปลูกลงดินก็ได้ โดยมีวิธีปลูกต้นเข็มแดง มีดังนี้

  • การปลูกต้นเข็มแดงในกระถาง ปลูกด้วยดินร่วน ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และ แกลบ โดยใช้อัตราส่วนเท่ากัน ให้ใช้กระถางทรงสูง 12 นิ้ว ให้เติมดิน หรือ เปลี่ยนดินทุกปี หรือ หากต้นมีขนาดใหญ่มากขึ้นให้เปลี่ยนกระถางให้ใหญ่มากขึ้น
  • การปลูกต้นเข็มแดงลงดิน ต้องขุดดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร โดยใช้ดินร่วน ผสมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วนที่เท่ากันต้นเข็มเมื่อโตขึ้น จะมีลักษณะจับกลุ่มกัน ให้ตัดแต่งทรงต้นเข็มให้สวยงาม ควรปลูกต้นเข็มทางทิศตะวันออกของบ้าน

การให้น้ำสำหรับต้นเข็ม ต้นเข็มต้องการน้ำเพียงสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ชอบแดดจัด ควรใส่ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก ทุกๆ 3 เดือน การขยายพันธุ์ต้นเข็มแดง สามารถขยายพันธ์ได้ทั้งการปักชำ ตอนกิ่ง หรือ การเพาะเมล็ด การใส่ปุ๋ยเร่งดอกให้ต้นเข็มแดง หากต้องการให้ต้นเข็มออกดอก ให้ใส่ได้เดือนละครั้ง

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) พืชไม้พุ่ม สมุนไพร ประโยชน์ของต้นเข็ม สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเข็ม รากของต้นเข็ม ใช้บำรุงไฟธาตุ ลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิได้ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove