กระเทียม สมุนไพร นิยมทำเป็นเครื่องเทศ ใส่ในอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร สรรพคุณของกระเทียม คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม โทษของกระเทียม

กระเทียม สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม สมุนไพรไทย

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม คือ  หอมเทียม (เหนือ) กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม) หอมขาว (อุดรธานี) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวเทียม (ใต้) ซึง ปักทาง เสิง ฮวงซาง (จีน) เป็นต้น

กระเทียม เป็นพืชล้ม มีหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ และ เพาะเมล็ดพันธ์  หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร กระเทียมมีกลิ่นฉุน ให้ความหอมในอาหาร และมีรสหวานหากนำมาต้ม การบริโภคกระเทียมก็เหมือนการกินยา

กระเทียมในประเทศไทย

หัวกระเทียม เป็นวัตถุดิบหลักในอาหารไทย กระเทียมจึงเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป ในประเทศไทยแหล่งปลูกประเทียม คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งกระเทียมคุณภาพดี กลิ่นฉุน คือ กระเทียมจากจังหวัดศรีสะเกษ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าหัวปกระเทียมขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน มากถึง 149 กิโลแคลอรี

โดย ในหัวกระเทียมขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม  ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม  วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม  ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม  ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นกระเทียม 

ต้นกระเที่ยม เป็นพืชล้มลุก หัวของกระเทียมอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • รากและหัวของกระเทียม1 เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวกลม ภายในเป็นลักษณะกลีบ เนื้อมีกลิ่นฉุน ลำต้นอยู่เหนือดินทรงกระบอกยาวเนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย
  • ใบกระเทียม เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตรงจากลำต้น ใบกลม ใบยาวสีเขียว ผิวใบเรียบ และมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย นิยมรับประทานเป็นผักสด
  • ดอกกระเทียม ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากหัวและลำต้น ก้านดอกทรงกลม ยาว ด้านในเป็นรูกลวง ดอกตูมรูปทรงคล้ายระฆัง
  • ผลและเมล็ดกระเทียม เจริญเติบโตรวมกัน เป็นกลุ่ม ด้านในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดลักษณะกลม สีน้ำตาลอมดำ

สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวหนัง ทำให้มีสุขภาพผิวดี
  • ช่วยการเจริญอาหาร ทำให้อยากกินอาหาร
  • บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  • ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันอาการไอ ลดอาการน้ำมูกไหล ป้องกันไข้หวัด ช่วยแก้อาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคหลอดลม ช่วยขับเสมหะ
  • บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  • ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  • แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  • บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • บำรุงเส้นผม ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า รักษาเชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ
  • ช่วยขับพิษในเลือด ช่วยขับเหงื่อ
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • บำรุงทางเดินอาหาร ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ช่วยขับลม รักษาจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยต้านฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
  • บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม และ ใช้กระเทียมเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในใช้ประโยชน์จากกระเทียม โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมสด อาจทำให้ระคายเคืองช่องปาก เช่น แสบร้อนบริเวณปาก
  • หากกินกระเทียมมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นปาก และ ทำให้กลิ่นตัวแรง
  • สำหรับเด็กอ่อน กระเทียมสดๆอาจทำให้ผิวของเด็กเกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองได้
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสด เพราะ อาจทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียม หากสูดดมเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

ตังกุย สมุนไพร ตำรับยาไทย เรียก โกฐเชียง สรรพคุณกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยให้มีลูก เครื่องยาจีน รากตังกุยนำมาทำยา ต้นตังกุุยเป็นอย่างไร โทษของตังกุยเป็นอย่างไร

โกฐเชียง สรรพคุณของตังกุย ตังกุย สมุนไพร

ต้นตังกุย เป็นพืชชนิดสีน้ำตาล เนื้อเหนียว มีรอยแตกหักสีขาว รากเปลือกหนา เนื้อรากสีขาว กลิ่นหอม รสหวานและขม เล็กน้อย นำมาทำยาขับระดู รักษาโรคของสตรี กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และ ทำให้ลูกดก ต้นตังกุย ( Dong quai ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตังกุย คือ Angelica sinensis (Oliv.) Diels สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตังกุย เช่น โสมตังกุย โกฐเชียง เป็นต้น

ลักษณะของต้นตังกุย

ต้นตังกุย เป็นพืชล้มลุก ที่มีถื่นกำเนิดในประเทศจีน เป็นพืชที่ยายุยืนยาว มีกลิ่นเฉพาะตัวพบแพร่หลายในพื้นที่ป่าดิบในเขตเขาสูง นอกจากนี้ยังพบในประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศเกาหลี

  • รากตังกุย ลักษณะอวบ เป็นทรงกระบอก อยู่ใต้ดิน มีรากแขนงหลายราก ผิวด้านนอกของรากสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนเนื้อสีเหลืองและมีรูพรุน แกนเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมแรง รสหวานอมขม
  • ลำต้นตังกุย ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นหนา มีร่องเล็กน้อย มีเหง้าหรือรากอยู่ใต้ดิน
  • ใบตังกุย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีหยักลึก รูปทรงไข่ ใบมีก้านเห็นได้ชัดเจน ใบหยักเหมือนฟันเลื่อย โคนแผ่เป็นครีบแคบๆ ใบสีเขียวอมม่วง
  • ดอกตังกุย ลักษณะเป็นช่อ ออกช่อตามยอดของลำต้น และ ง่ามใบ ดอกเป็นสีขาวหรือสีแดงอมม่วง ดอกตังกุยออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี
  • ผลตังกุย ลักษณะของผลเป็นผลแห้ง ขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ดอกด้านข้างมีปีกบางๆ และมีท่อน้ำมันตามร่อง ผลของตังกุยให้ผลประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ของทุกปี

สรรพคุณของตังกุย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตังกุย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากตังกุย ส่วนราก ซึ่ง สรรพคุณของตังกุย มีรายละเอียด ดังนี้

  • บำรุงหัวใจ ตับ และ ม้าม ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
  • บำรุงเลือด เป็นยาบำรุงเลือด ฟอกเลือด รักษาโรคโลหิตจาง รักษาภาวะเลือดพร่อง ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก และช่วยสลายเลือดคั่ง
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยเพิ่มความเปล่งปลั่งของผิว ทำให้ผิวมีน้ำมีนวล
  • บำรุงร่างกาย บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  • บำรุงสมอง บำรุงตับ แก้ปวดหัว แก้เวียนหัว ช่วยเรื่องความจำ ไม่ให้หลงลืมง่าย
  • แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ แก้หอบหืด แก้ปวดท้อง แก้ปวดข้อ
  • ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องผูก แก้บิด แก้อาการถ่ายเป็นเลือด
  • แก้ปวดประจำเดือน ลดอาการปวดท้องจากประจำเดือน ช่วยควบคุมรอบเดือนให้ปกติ แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด ทำให้ช่องคลอดแห้ง ช่วยเสริมฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ แก้อาการตกเลือด
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
  • รักษาแผล รักษาแผลฟกช้ำ แผลฝีหนอง และ แผลเน่าเปื่อย

โทษของตังกุย

การใช้ประโยชน์จากตังกุย มีข้อควรระวัง โดยห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์ และ ผู้ป่วยที่มีระบบขับถ่ายไม่ดี ท้องเสียบ่อย ร้อนใน หรือ มีประวัติการอาเจียนเป็นเลือด

ตังกุย สมุนไพร ตำรับยาไทย เรียก โกฐเชียง สรรพคุณเด่นกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยให้มีลูก เครื่องยาจีน ใช้ รากตังกุยแห้ง นำมาทำยา ลักษณะของต้นตังกุุยเป็นอย่างไร สรรพคุณของตังกุบ โทษของตังกุย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove