ต้นหม่อน มัลเบอรรี่ พืชท้องถิ่น สมุนไพร สรรพคุณของหม่อน เช่น ลดไข้ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ต้นหม่อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน โทษของหม่อนมีอะไรบ้างหม่อน มัลเบอรรี่ สมุนไพร ใบหม่อน

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ ภาษาอังกฤษ เรียก Mulberry  ชื่อวิทยาศาสตร์ของหม่อน คือ  Morus alba Linn เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับขนุน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของหม่อน คือ มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ ซางเย่ เป็นต้น ต้นหม่อนในประเทศไทยนิยมนำมาใช้เลี้ยงตัวไหม สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นไหม

ชนิดของหม่อน

ต้นหม่อน นั้นมี 2 ชนิด คือ ต้นหม่อนสำหรับใช้รับประทานผล เรียก Black Mulberry และ ต้นหมอนสำหรับนำมาเลี้ยงไหม เรียก White Mulberry

  • black mulberry ผลจะโตเป็นช่อ ,uสีดำ มีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทานและทำอาหารแปรรูป เช่น แยม เป็นต้น
  • White Mulberry มีใบขนาดใหญ่ ใช้เป็นอาหารของตัวไหมได้ดี ส่วนผลสุกมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ครับ แต่ไม่เป็นที่นิยม

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี เป็นพืชที่มีอายุนานถึง 100 ปี หากไม่ถูกทำลายจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง หรือ ศัตรุพืช สามารถเจริญได้ดีตั้งแต่เขตอบอุ่นจนถึงเขตร้อน

ลักษณะของต้นหม่อน

ต้นหม่อน จัดเป็น พืชพื้นเมืองของประเทศจีน ทางตอนใต้ในแถบเทือกเขาหิมาลัย จากนั้นได้มีการนำเอามาเลี้ยงและกระจายพันธ์สู่ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้พุ่ม มีขนาดกลาง พบได้ทั่วไปในป่าดิบในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ลำต้นหม่อน ลำต้นจะตั้งตรง ความสูงประมาณ 250 เซ็นติเมตร บางสายพันธุ์สามารถสูงถึง 700 เซ็นติเมตร เปลือกของลำต้นมีลักษณะ เรียบ มีสีน้ำตาลแดง หรือ สีขาวปนสีน้ำตาล หรือ สีเทาปนขาว
  • รากหม่อน มีเปลือกรากสีน้ำตาลแดง หรือ สีเหลือแดง มีเส้นร้อยแตกที่เปลือกผิว
  • ใบหม่อน มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ใบรูปทรงไข่ ปลายแหลมยาว โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเว้า
  • ดอกหม่อน จะดอกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดเล็ก วงกลีบเป็นสีขาวหม่น ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวได้ประมาณ 2 เซนติเมตร ขอบมีขน
  • ผลหม่อน เกิดจากช่อดอก ผลออกเป็นกระจุกเดียวกัน ออกตามซอกใบ ลักษณะของผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีสีเขียว ส่วนผลสุกเป็นสีม่วงแดง เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ และมีรสหวานอมเปรี้ยว

คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน

ในใบหม่อนมีคุณค่าทางอาหารสูง ประกอบด้วย โปรตีน 22.60 % คาร์โบไฮเดรต 42.25 % และ ไขมัน 4.57 %  ยังมีกรดอะมิโน 18 ชนิด อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะแคลเซียมที่สูงเป็นพิเศษ มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีพีนอลรวม เควอซิติน เคม-เฟอรอล และรูติน

สรรพคุณของหม่อน

สำหรับหม่อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ผล และราก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบหม่อน มีสรรพคุณ เป็นยาระงับประสาท ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับลมร้อน ช่วยขับเหงื่อ แก้ไอ บำรุงสายตา แก้ริดสีดวงจมูก ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเลือด ใช้ทาแก้แมลงกัด ใช้รักษาแผลกดทับ
  • รากของหม่อน มีสรรพคุณมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขับน้ำในปอด ช่วยขับพยาธิ ยาขับปัสสาวะ ช่วยลดอาการบวมน้ำที่ขา ช่วยแก้แขนขาหมดแรง
  • ผลของหม่อน มีสรรพคุณช่ยวบำรุงหัวใจ เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยดับร้อน ทำให้ชุ่มคอ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการท้องผูก ยาระบายอ่อน ๆ ช่วยบำรุงตับ ช่วยบำรุงไต แก้โรคปวดข้อ ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ
  • กิ่งของหม่อน มีสรรพคุณ ช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี ช่วยลดความร้อนในปอด ช่วยรักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง
  • เมล็ดหม่อน มีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร

ประโยชน์ของใบหม่อน

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ชื่อ Anthyocyanin ซึ่งเป็นสารสีม่วงแดง ช่วยป้องกัน โรคหัวใจ และป้องกันโรคมะเร็ง
  • มีวิตามินบี 6 ช่วยบำรุงเลือด บำรุงตับ บำรุงไต ลดการเกิดสิว ลดอาการปวดประจำเดือน
  • ป้องกันและยับยั้งการเกิดลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดแตก
  • มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคปอด
  • มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก บำรุงเหงือกและฟัน สร้างภูมิให้ระบบหายใจ บำรุงผิว ลดการอักเสบของสิว
  • มีกรดโฟลิค หรือวิตามินเอ็ม ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันทารกพิการ ช่วยการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หญิงแรกตั้งครรภ์เดือนแรกต้องการกรดโฟลิค
  • ช่วยแก้อาการเมาค้าง ผ่อนคลายความเครียด
  • ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำป้องกันผมหงอกก่อนวัย
  • ใช้แก้อาการเวียนศีรษะ หูอื้อ ใจสั่น นอนไม่หลับ เบาหวาน ท้องผูก

โทษของหม่อน

สำหรับข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากหม่อนและโทษของหม่อน มีดังนี้

  • ใบหม่อนสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่กำลังผ่าตัด ควรงดการกินใบหม่อน เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลเสียต่อการห้ามเลือด
  • ใบหม่อน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยภาวะความดันต่ำ ไม่ควรบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากใบหม่อน

ต้นหม่อน มัลเบอรรี่ คือ พืชท้องถิ่น สมุนไพร สรรพคุณของหม่อน เช่น ลดไข้ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ลักษณะของต้นหม่อน เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน โทษของหม่อน มีอะไรบ้าง

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) สมุนไพรรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ต้นพริกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นน้ำย่อย โทษของพริกพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริก

พริก หากกล่าวถึงพริก เป็นพืชสวนครัว ที่รู้จักกันทั่วโลก พริกให้รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงอาหารให้รสเผ็ด เรามาทำความรู้จักกับพริก ว่าลักษณะทางพฤษศาสตร์ของพริก ประโยชน์ สรรพคุณของพริก  และข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากพริก เป็นอย่างไร พะแนงเนื้อ แกงเลียง

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจ พริกในทางการค้าและอุตสาหกรรม มีการนำเอาสีของพริก ที่มีความหลากหลาย เช่น พริกสีเขียว พริกสีแดง พริกสีเหลือง พริกสีส้ม พริกสีม่วง และพริกสีงาช้าง มาใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการใช้สีสันของพริก และการปรุงอาหาร ซึ่งพริกสามารถปลูกได้ดีในประเทศเขตร้อนชื้น ที่มีแสงแดด

ซึ่งปัจจุบัน เทรนในการอนุรักษ์ธรรมชาติมีมากขึ้นทุกวัน การใช้สีที่ได้มาจากธรรมชาติจึงมีต้องการมากขึ้น พริกเป็นพืชอายุสั้น ที่สามารถให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ทั้งใช้บริโภคพริกสดและแปรรูปพริกให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก น้ำพริก เครื่องพริกแกง น้ำจิ้มแบบต่าง ๆ รวมถึงยารักษาโรค

ประโยชน์ของพริกมีมากมายขนาดนี้ ไม่มาทำความรู้จักกับพริกได้อย่างไร

พริก ภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers หรือ chili คำคำนี้มาภาษาสเปน ว่า chile ส่วน พริกขี้หนูสวน เรียก Bird pepper หรือ Chili pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum annuum L. พริกจัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับมะเขือ พริกขี้หนู มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก ที่เรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง หมักเพ็ด ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกมะต่อม ปะแกว มะระตี้ ดีปลี ครี ลัวเจียะ ล่าเจียว มือซาซีซู, มือส่าโพ เป็นต้น

มีการนำพริกมาศึกษาสารเคมีในพริก พบว่ามีสารสำคัญ คือ Capsaicin  เป็นสารเคมีที่ให้ฤทธิ์เผ็ดร้อน นอกจากนั้นมีสารเคมีอื่นในพริก ประกอบด้วย Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin และ Homocapsaicin

สำหรับสารเคมี Capsaicin ที่อยู่ในพริกนั้นมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งทำให้ประสาท เกิดความรู้สึกร้อนไหม้ กระตุ้นให้เกิดเมือกเพื่อป้องกันการระคายเคือง รวมถึงกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย

นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถค้นพบสารเคมีในพริก ชื่อ แคโรทีนอยด์ มีสรรพคุณต้านมะเร็งได้ สำหรับสารแคโรทีนอยด์ เป็นรูปแบบหนึ่งของสารแคโรทีน นักวิทยาศาสตร์ ได้นำเอาสารชนิดนี้มาสกัดทำอาหารเสริม ซึ่งในปัจจุบัน เป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ในพริกนอดจากมีสารเคมีสำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยังมีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงผิว แต่หากกินมากเกินไป จะทำให้ปวดท้อง และทำให้ท้องเสียได้

ชนิดของพริก

พริกมีหลากหลายพันธ์ เช่น พริกขี้หนูสวน พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง สำหรับการปลูกพริกใช้บริโภคในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ พริกรสหวาน เช่น พริกหยวก พริกชี้ฟ้า เป็นต้น และ พริกรสเผ็ด เช่น พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกขี้หนู

พริกขี้หนู เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้พุ่ม อายุสั้น ประมาณไม่เกิน 3 ปี เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา เมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้ ลักษณะของพริกมีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริก ความสูงของต้นพริกประมาณไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะมีการแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมากมาก กิ่งมีสีเขียว และสีน้ำตาล
  • ใบของพริกขี้หนู เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวใบเรียบ
  • ดอกของพริกขี้หนู ออกเป็นช่อ ลักษณะดอกจะกระจุกตามซอกใบ มีช่อละ 2 ถึง 3 ดอก และดอกจะเปลี่ยนเป็นผลพริก
  • ผลของพริกขี้หนูสวน ลักษณะของผลพริกจะยาวรี ปลายแหลม ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของพริกขี้หนู

พริกขี้หนูมีการนำเอาพริกมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ในทุกส่วนของพริก ทั้ง ต้น ผล ใบ ซึ่งเราได้แยกสรรพคุณขอพริกตามส่วนต่างๆ ของพริกมาให้ ดังนี้

  • ใบของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม  ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยผ่อนคลาย รักษาไข้หวัด แก้อาการปวดหัว  ช่วยแก้อาการคัน  ใช้รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก
  • ผลพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคพยาธิในลำไส้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นลือด ช่วยบำรุงเลือด ช่วยรักษาโรคความดัน ช่วยสลายลิ่มเลือด ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยขับเสมหะ ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ รักษาการอาเจียน ใช้ขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอด สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอด  ช่วยรักษาโรคหิด รักษากลากเกลื้อน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย  ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก
  • รากของพริก ช่วยบำรุงเลือด ช้วยฟอกเลือด  เป็นยารักษาโรคเก๊าท์ ช่วบลดอาการปวด
  • ลำต้นพริก นำมาทำยาแก้กระษัย เป็นยาขับปัสสาวะ  แก้เท้าแตก

การปลูกพริก

  • การเตรียมดิน สำหรับปลูกพริก ให้ไถพรวน แล้วรดน้ำตาม เพื่อปรับสภาพดินและป้องกันกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคในพริก กำจัดวัชพืชในแปลงพริก
  • การเพาะกล้า ให้แช่เมล็ดพริกในน้ำ เพื่อเร่งการงอกของราก จากนั้นหว่านเมล็ดลงบนแปลงเพาะ หรือถาดหลุม จากนั้นอีกประมาณ 30 วัน ให้ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก
  • การบำรุงต้นพริกและผลพริก เพื่อความสะดวกและการประหยัดค่าใช้จ่าย ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นให้พริกเจริญเติบโตออกดอก ให้ผลดก การให้ปุ๋ย หลังย้ายต้นกล้าลงแปลงปลุก ประมาณ 5 วันแล้ว ให้เริมให้ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เมื่อต้นพริกอายุได้ 50 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งดอก
  • โรคและแมลงศัตรูพืชของพริก มีน้อยมาก ถ้าให้ปุ๋ยชีวภาพอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง มักจะพบปัญหา ยอดหงิก ซึ่งมาจากเพลี้ยไฟ ให้ถอนและทำลายต้นทิ้ง

ข้อควรระวังในการรับประทานพริกขี้หนู

  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระเพราะอาหารและลำไส้ ไม่ควรกินพริก เนื่องจากพริกจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น
  • หากเด็กกินพริกเข้าไป จะมีอาการแสบร้อนมากกว่าผู้ใหญ่ ให้แก้ด้วยการให้ดื่มนมตา ในน้ำนมจะมีสาร Casein ช่วยให้อาการเผ็ด แสบร้อนลดลงได้
  • พริกทำให้ให้เกิดสิวได้ เนื่องจากพริกมีฤทธ์ให้ขับของเสียออกจากร่างกาย และของเสียจะถูกขับออกมาทางผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวหนังมีอาการอักเสบมากขึ้น
  • สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินเผ็ด ความเผ็ดของพริกจากมากกว่าปรกติ ให้ระมัดระวังในการรับประทาน

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) พืชสวนครัว รสเผ็ดร้อน สมุนไพร นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นพริก เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย ข้อควรระวังในการกินพริก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove