ส้มโอ ( Pomelo ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาและสรรพคุณช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงกระดูกและฟัน พบมากในจังหวัดนครปฐม วิตามินซีและแคลเซียมสูงส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของส้มโอ

ต้นส้มโอ ชื่อสามัญ Pomelo ( Pomelo มาจากคำว่า Pampelmoose ในภาษาดัตซ์ ซึ่งแปลว่า “ ส้มที่มีขนาดเท่าฟักทอง ” ) ส้มโอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus maxima (Burm.) Merr. จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE) ส้มโอ จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลายและยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคต่าง ๆ เพราะ อุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด โดยส่วนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ก็มีหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นผล เปลือก ใบ และเมล็ด ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกและผลซึ่งเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

ส้มโอในประเทศไทย

ส้มโอ นิยมรับประทานผลส้มโอเป็นอาหาร จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกส้มโอเชิงพาณิชย์เพื่อบริโภคภายในประเทศ สำหรับการปลูกส้มโอในประเทศไทยในช่วงแรกๆ มีการปลูกบริเวณที่ราบลุ่มรอบๆแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมากมีการแพร่กระจายการปลูกทั่วภาคกลาง สำหรับสายพันธ์ส้มโอที่นิยมปลูกทางการค้า มี 7 สายพันธ์ ประกอบด้วย ส้มโอทับทิมสยาม ส้มโอทองดี ส้มโอขาวน้ำผึ้ง ส้มโอขาวใหญ่ ส้มโอขาวพวง ส้มโอขาวแตงกวา ส้มโอท่าข่อย และ ส้มโอปัตตาเวีย

ส้มโอกับความเชื่อในสังคมไทย

ส้มโอ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ จึงมีการนำส้มโอมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชิวิต รวมถึงพิธีกรรมต่างๆในสังคม เช่น พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ส้มโอใช้แทนสัญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ เราจึงเห็นส้มโอเป็นเครื่องเซ่นไหว้สำคัญ

ลักษณะของต้นส้มโอ

ต้นส้มโอ เป็นไม้ยืนต้น สามารถขยายพันธ์ส้มโอสามารถใช้การเพาะเมล็ดพันธ์ การติดตา การตอนกิ่ง และ การเสียบกิ่ง ลักษณะของต้นส้มโอ มีขนาดสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นของส้มโอมีสีน้ำตาล ใบรูปมนรี ขอบใบเป็นคลื่น ปลายใบมน เหมือนโคนใบ ดอกของส้มโอออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบมีสีขาว ผลของส้มโอ กลม มีเปลือกหนา น้ำมันมาก ผลอ่อนของส้มโอจะมีสีเขียว เมื่อผลของส้มโอแก่จะเป็นสีเหลืองอ่อน

ประโยชน์ของส้มโอ

ส้มโอ จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลายและยังมีสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคต่าง ๆ เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซีซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก และยังมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆที่จำเป็นต่อร่างกายอีกหลายชนิด โดยส่วนที่จะนำมาใช้ประโยชน์ก็มีหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นผล เปลือก ใบ และเมล็ด ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกและผลซึ่งเป็นส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ

นักโภชนาการได้การศึกษาคุรค่าทางโภชนาการของส้มโอ ขนาด 100 กรัม พบว่า พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.62 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม ไขมัน 0.04 กรัม โปรตีน 0.76 กรัม วิตามินบี 1 0.034 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.22 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.036 มิลลิกรัม วิตามินซี 61 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.11 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.017 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 216 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ
ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

สรรพคุณของส้มโอ

สามารถนำมาใช้ ทั้งส่วน ผล เปลือกของผล ใบ เมล็ด ดอก รายละเอียด มีดังนี้

  • ผลสดของส้มโอ ใช้ขับลมในลำไส้ แก้อาการเมาค้างได้ ส้มโอมีวิตามินซี และแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันได้ดี
  • เปลือกของผลส้มโอ นำมาใช้ ขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก บรรเทาอาการไส้เลื่อน
  • ใบของส้มโอ นำมาต้มและพอกหัว บรรเทาอาการปวดหัว นำใบมาใช้เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ดอกของส้มโอ สามารถนำมาแก้อาการจุกสียดที่กระเพาะอาหาร
  • เมล็ดของส้มโอ สามารถใช้แก้ไข้หวัด แก้ไอ ปวดท้องน้อยและรักาาโรคกระเพาะอาหาร

โทษของส้มโอ 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากส้มโอ ด้านการรักษาโรคและการรับประทาน มีข้อควรระวัง ซึ่งโทษของส้มโอ มีดังนี้

  • เปลือกส้มโอมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งหากเข้าตา จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา และ ไม่ควรรับประทานเปลือกส้มโอแบบสดๆ เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียดศรีษะ อาเจียนได้
  • เมล็ดส้มโอ มีความขมมาก หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้อาเจียนได้

ส้มโอ ( Pomelo ) ผลไม้ สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ สรรพคุณของส้มโอ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงกระดูก และฟัน ส้มโอพบมาก ในจังหวัดนครปฐม ส้มโอมีวิตามินซีและแคลเซียมสูง

ตะไคร้ พืชล้มลุก สมุนไพรไทย ต้นตะไคร้มีกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยตะไคร้มีประโยชน์มากมาย ลักษณะของต้นตะไคร้ สรรพคุณบำรุงผิว ช่วยขับลม บำรุงระบบประสาท โทษของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ( Lemongrass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf สมุนไพร นิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของตะไคร้ ยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลมในลำไส้ แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง บำรุงผิว บำรุงระบบประสาท เป็นต้น

ต้นตะไคร้ Lemongrass )  เป็นพืชตระกูลหญ้า เป็นพืชล้มลุก ใบของตะไคร้เป็นเรียวยาว ใบมีขน ทั้งต้นตะไคร้มีกลิ่นฉุน สามารถขยายพันธ์โดยแตกหน่อ เราสามารถแบ่งตะไคร้ได้เป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งตะไคร้เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

การศึกษาของตะไคร้ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม เส้นใย 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม และ เถ้า 1.4 กรัม

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • ทั้งต้นของตะไคร้  นิยมใช้เป็นยา ใช้รักษาโรคหอบหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยทำเป็นยาทานวด นำมารับประทาน ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อได้
  • หัวของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยา ใช้รักษากลากเกลื้อน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะขัด รักษานิ่ว บำรุงไฟธาตุ เป็นยาแก้อาเจียน ยาลดความดันโลหิตสูง แก้กษัยเส้น และแก้ไข้ เป็นต้น
  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

ตะไคร้ ชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้มีประโยชน์ เป็นทั้งยารักษาโรค และมีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณอื่นๆของตะไคร้ เช่น ช่วยไล่แมลง ล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยซ่อมแซมและบำรุงระบบประสาท ช่วยรักษาอาการอักเสบ ช่วยบำรุงผิว

โทษของตะไคร้

พิษของน้ำมันตะไคร้ ปริมาณน้ำมันตะไคร้ ที่ทำให้หนูขาวตายที่ครึ่งหนึ่งของจำนวนหนูขาวทั้งหมด ด้วยการให้ทางปาก  ที่ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และการให้น้ำมันหอมระเหยทางกระเพาอาหารแก่กระต่ายที่ทำให้กระต่ายตายที่ครึ่งหนึ่ง พบว่า มีปริมาณความเข้มข้นเดียวกันกับการให้แก่หนูขาว

พิษเฉียบพลันของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ที่ความเข้มข้น 1,500 ppm ในระยะเวลา 60 วัน กลับพบว่า หนูขาวที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มที่ไม้ได้รับ และค่าทางเคมีของเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove