ฟักข้าว Baby Jackfruit เบต้าเคโรทีนสูง ลักษณะของต้นฟักข้าว คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว สรรพคุณใช้ถอนพิษ แก้ปวดหลัง ลดน้ำตาลในเลือด โทษของฟักข้าว

ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว

ฟักข้าว ภาษาอังกฤษ เรียก Baby Jackfruit มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Momordica cochinchinensis (Lour) Spreng. ฟักข้าวมีชื่ออื่นๆ เช่น มะข้าว ขี้กาเครือ พุกู้ต๊ะ ผักข้าว เป็นต้น ต้นฟักข้าว มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า ไทย จีน ลาว เขมร บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย

ประโยชน์ของฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ซึ่งฟักข้าวมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน ช่วยป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยป้องกันและช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ (HIV) และยังช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งได้ทำการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฟักข้าวมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง ไวรัส ช่วยยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮานอยพบว่า น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ช่วยในการขับเสมหะ ใช้กลั้วคอช่วยลดอาการเจ็บคอหรืออาการอักเสบที่ลำคอ ฟักข้าวเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้นหรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ มีโรคประจำตัวหรือร่างกายอ่อนแอ รากฟักข้าวใช้แช่น้ำสระผม ช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น แก้ปัญหาผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค และช่วยฆ่าเหาได้อีกด้วย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ทำการศึกษาร่วมกันในเรื่องของการนำน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางสูตรลดเลือนริ้วรอย ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนได้รับรางวัล “IFSCC Host Society Award 2011” จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ ผลอ่อนฟักข้าวใช้ทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นนำไปต้มหรือนึ่งจิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปใส่แกงต่าง ๆ เช่น แกงส้มลูกฟักข้าว เป็นต้น ยอดฟักข้าวอ่อนใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย (กลิ่นจะคล้าย ๆ กับยอดหรือใบมะระ) เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก ฯลฯ ฟักข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล เป็นต้น

ลักษณะของต้นฟักข้าว

ต้นฟักข้าว เป็นพืชล้มลุก เป็นพืชชนิดเถาไม้เลื้อย สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การปักชำ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง ลักษณะของต้นฟักข้าว มีดังนี้

  • ลำต้นฟักข้าวลักษณะคล้ายกับต้นตำลึง ลำต้นกลม อ่อนอวบน้ำ ผิวขลุขละ สีเขียว
  • ใบของฟักข้าวเป็นใบเดี่ยว รูปร่างคล้ายกับหัวใจ ทรงรี ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก
  • ดอกของฟักข้าวจะออกตรงข้อต่อตามซอกใบ ลักษณะของดอกฟักข้าวเหมือนกับดอกตำลึงเลย มีกลีบดอกสีขาว ดอกของฟักข้าวจะมีสีเหลือง
  • ผลของฟักข้าวจะคล้ายรูปไข่เปลือกมีหนามเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกสีส้ม
  • เมล็ดของฟักข้าว จะอยู่ในผลของฟักข้าวเหมือนเมล็ดแตง

คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว

นักโภชนาการ ได้ศึกษา ฟักข้าว พบว่า ในผลอ่อนของผักข้าวขนาด 100 กรัม มีกากใยอาหาร 1 กรัม น้ำตาล 1.8 กรัม โปรตีน 0.98 กรัม มีวิตามินซี 0.04 มิลลิกรัม บีต้าแคโรทีน 91 มิลลิกรัม แคลเซียม 0.34 มิลลิกรัม ในฟักข้าวจะมีบีตาแคโรทีนมากกว่าแครอตถึง 10 เท่าตัว มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่าตัว

สรรพคุณของฟักข้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักข้าว ด้านกรบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถนำฟักข้าวมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ใบ ราก ผล เมล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฟักข้าว เรานำมาใช้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้ ช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ ใช้รักษาริดสีดวง แก้อาการปวดหลังได้ แก้กระดูกเดาะ ช่วยถอนพิษอักเสบ รักษาฝี รักษาหูด
  • รากของฟักข้าว เรานำมาใช้ ดื่มช่วยถอนพิษ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ แก้ปวดตามข้อ
  • ผลอ่อนของฟักข้าว ใช้ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน
  • เมล็ดของฟักข้าว ใช้ในการ รักษาฝีในปอด รักษาท่อน้ำดีอุดตัน ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการบวม รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง

โทษของฟักข้าว

สำหรับผลฟักข้าวสามารถรับประทานได้ แต่เมล็ดดิบของฟักข้าวมีความเป็นพิษ การรับประทานเมล็ดของฟักข้าวอาจทำให้เกิดอาการแพ้ มึนเมา อาเจียน เป็นอันตรายได้

ผักกระเฉด ( Water mimosa ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ลักษณะของผักกระเฉดเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ผักกระเฉดเจริญเติมโตได้ในน้ำ

ผักกระเฉด ผัก สมุนไพร สรรพคุณของกระเฉด

ผักกระเฉด ( Water mimosa ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเฉด คือ Neptumia oleracea Lour. FL. พืชผัก สมุนไพร สรรพคุณของกระเฉด บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ผักกระเฉดเจริญเติมโตได้ในน้ำ มีรากแตกเป็นกระจุกตามข้อ ปล้องแก่มีนวมเหมือนฟองน้ำ เรียกว่า “ นมกระเฉด ” หุ้มอยู่ตามปล้องกระเฉด มีคุณสมบัติทำให้ต้นลอยน้ำ ผักกระเฉด ผักพื้นบ้านที่รู้จักกันดี นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน

ต้นกระเฉด ภาษาอังกฤษ เรียก Water mimosa มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Neptumia oleracea Lour. FL. ชื่ออื่นๆ ของผักกระเฉด เช่น ผักหละหนอง ผักหนอง ผักรู้นอน ผัดฉีด ผักกระเสดน้ำ

ผักกระเฉด เป็นพืชไม้เลื้อย หากอยู่บนดินจะเป็นพืชคลุมดิน เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับผักบุ้ง เป็นพืชพื้นเมืองของไทยผักกะเฉดสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในน้ำและบนดิน รากของผักกระเฉดจะขึ้นตามข้อ เหมือน “หนวด” ใบของผักกระเฉด เป็นลักษณะเหมือนขนนกและออกตามข้อ ขอบใบจะเป็นสีม่วง ดอกและผลของผักกระเฉดจะออกดอกเป็นช่อลักษณะกลมสีเหลืองตามซอกใบ ผลของผักกระเฉดจะออกเป็นฝักลักษณะโค้งงอ มีเมล็ดอยู่ด้านในฝัก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ลำต้นผักกระเฉด จะขึ้นและเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เลื้อยยาวลอยบนน้ำ ลำต้นมีลักษณะกลม และเรียวยาว เป็นปล้อง ภายในตัน ไม่เป็นรูกลวง แต่ละปล้องมีนวมหุ้มสีขาว ที่เรียกว่า “นม” โดยหุ้มปล้องเว้นช่วงที่เป็นข้อของปล้อง นมสีขาวนี้ทำหน้าที่ช่วยพยุงลำต้นผักกระเฉดให้ลอยน้ำได้
  • รากผักกระเฉดเป็นรากฝอย แทงออกตามข้อจำนวนมาก โคนรากมีปมของเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียมเหมือนรากของพืชตระกูลถั่วบนบก
  • ใบผักกระเฉด เป็นใบประกอบ แทงออกบริเวณข้อของลำต้น มีก้านใบหลัก แต่ละก้านใบหลักประกอบด้วยก้านใบย่อย 4-6 ก้าน และแต่ละก้านใบจะมีใบ 15-20 คู่ ใบบนก้านใบย่อยจะมีรูปไข่ ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 ซม. ใบอ่อนมีสีเขียวอมม่วง หลังจากนั้นค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวสด
  • ดอกผักกระเฉด ออกเป็นช่อสีเหลือง แต่จะมองเห็นเป็นดอกเดี่ยวคล้ายดอกกระถิน ดอกมีก้านดอกยาวประมาณ 15-20 ซม. ตัวดอกกว้างประมาณ 2 ซม. มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ บนดอกที่มองเห็นจะประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ช่อละ 30-50 ดอก โดยดอกช่วงบนจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ส่วนดอกช่วงล่างจะเป็นหมัน
  • ผลของผักกระเฉด จะออกเป็นฝักขนาดเล็ก ฝักมีลักษณะแบนยาว ฝักยาวประมาณ 2.5 ซม. ภายในฝักมีเมล็ด 4-10 เมล็ด เมื่อฝักแก่ ฝักจะปริแตกตามร่องด้านข้างเพื่อปล่อยให้เมล็ดร่วงลงน้ำ

นักโภชนาการพบว่าในผักกระเฉดมี มีวิตามินซีสูงมาก มีแคลเซียม และธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มร่างกายกันทำงานปรกติ ช่วยบำรุงระบบสืบพันธ์ บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกพรุน ทำให้กล้ามเนื้อทำงานปรกติ บำรุงเลือด

สรรพคุณทางสมุนไพรของผักกระเฉด

ตามที่กล่าวมาข้างต้น ผักกระเฉดมีวิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็ก สูง บำรุงสายตา กระดูก และเลือด ได้ดี นอกจากนั้นแล้ว ผักกระเฉดเป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ถอนพิษเบื่อเมา ป้องกันโรคตับอักเสบ ประโยชน์ของผักกระเฉด ประกอบด้วย รายละเอียด ดังนี้

  1. ผักกระเฉดมีวิตามินเอซึ่งเป็นตัวช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี
  2. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  3. ผักกระเฉดมีธาตุเหล็ก ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยป้องกันโรคโลหิตจางได้อีกด้วย
  4. ช่วยเสริมสร้างกระบวนการเผาผลาญสารอาหารให้สร้างเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี
  5. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
  6. ช่วยบำรุงร่างกายและดับพิษ
  7. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  8. กระเฉดมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงช่วยดับพิษร้อนได้เป็นอย่างดี
  9. ผักกระเฉดมีสรรพคุณช่วยแก้พิษไข้
  10. ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ด้วยการนำผักกระเฉดมาตำผสมกับเหล้า แล้วหยอดในบริเวณฟันที่มีอาการปวด
  11. ช่วยขับเสมหะ
  12. ช่วยขับลมในกระเพาะ
  13. ช่วยรักษาโรคกามโรค
  14. ช่วยแก้อาการปวดแสบปวดร้อน
  15. ช่วยถอนพิษยาเบื่อยาเมา
  16. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบ
  17. ผักกระเฉดเป็นผักที่เหมาะอย่างมากสำหรับคนธาตุไฟและธาตุดิน ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลและไม่เจ็บป่วยได้ง่าย
  18. เมนูผักกระเฉด เช่น ยำวุ้นเส้นผักกระเฉด ผัดหมี่กระเฉด เส้นหมี่ผัดกระเฉดกุ้ง ผัดผักกระเฉดไฟแดง ผักกระเฉดผัดน้ำมันหอย ผักกระเฉดทอดไข่สามรส แกงส้มผักกระเฉดปลาช่อนทอด ฯลฯ หรือจะใช้รับประทานสดร่วมกับน้ำพริกก็ได้

ข้อควรระวังในการบริโภคผักกระเฉด

การรับประทานผักกระเฉดควรทำให้สุก ก่อนนำมารับประทาน เพราะมีความเสี่ยงต่อพยาธิตัวอ่อนที่อาจปะปนเข้ามา รวมไปถึง “ไข่ปลิง” ที่ทนความร้อนได้สูงมาก แอดมินไปอ่านเจอมาว่าต้องต้มด้วยความร้อนสูงถึง 500 องศาเซลเซียสและต้องต้มนานเป็นชั่วโมงเลยถึงจะรับประทานได้อย่างปลอดภัย และนอกจากนี้ยังอาจมีสารพิษจากยาฆ่าแมลง “คาร์โบฟูราน” ปลอมปนเข้ามาอีกด้วย ซึ่งสารพิษตัวนี้มีพิษร้ายแรงต่อร่างกายมนุษย์ มีผลต่อระบบประสาทและหัวใจ เป็นสารก่อมะเร็ง และอาจทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติได้ ซึ่งผักกระเฉดในบ้านเราก็เคยถูกอียูสั่งแบน ห้ามนำเข้าอย่างเด็ดขาดมาแล้วด้วยสาเหตุนี้เอง ถ้าไม่แน่ใจจริงก็รับประทานด้วยวิธีปรุงสุกจะดีกว่ารับประทานแบบประเภทยำ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove