พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) สมุนไพรรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ต้นพริกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นน้ำย่อย โทษของพริกพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริก

พริก หากกล่าวถึงพริก เป็นพืชสวนครัว ที่รู้จักกันทั่วโลก พริกให้รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงอาหารให้รสเผ็ด เรามาทำความรู้จักกับพริก ว่าลักษณะทางพฤษศาสตร์ของพริก ประโยชน์ สรรพคุณของพริก  และข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากพริก เป็นอย่างไร พะแนงเนื้อ แกงเลียง

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจ พริกในทางการค้าและอุตสาหกรรม มีการนำเอาสีของพริก ที่มีความหลากหลาย เช่น พริกสีเขียว พริกสีแดง พริกสีเหลือง พริกสีส้ม พริกสีม่วง และพริกสีงาช้าง มาใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการใช้สีสันของพริก และการปรุงอาหาร ซึ่งพริกสามารถปลูกได้ดีในประเทศเขตร้อนชื้น ที่มีแสงแดด

ซึ่งปัจจุบัน เทรนในการอนุรักษ์ธรรมชาติมีมากขึ้นทุกวัน การใช้สีที่ได้มาจากธรรมชาติจึงมีต้องการมากขึ้น พริกเป็นพืชอายุสั้น ที่สามารถให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ทั้งใช้บริโภคพริกสดและแปรรูปพริกให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก น้ำพริก เครื่องพริกแกง น้ำจิ้มแบบต่าง ๆ รวมถึงยารักษาโรค

ประโยชน์ของพริกมีมากมายขนาดนี้ ไม่มาทำความรู้จักกับพริกได้อย่างไร

พริก ภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers หรือ chili คำคำนี้มาภาษาสเปน ว่า chile ส่วน พริกขี้หนูสวน เรียก Bird pepper หรือ Chili pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum annuum L. พริกจัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับมะเขือ พริกขี้หนู มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก ที่เรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง หมักเพ็ด ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกมะต่อม ปะแกว มะระตี้ ดีปลี ครี ลัวเจียะ ล่าเจียว มือซาซีซู, มือส่าโพ เป็นต้น

มีการนำพริกมาศึกษาสารเคมีในพริก พบว่ามีสารสำคัญ คือ Capsaicin  เป็นสารเคมีที่ให้ฤทธิ์เผ็ดร้อน นอกจากนั้นมีสารเคมีอื่นในพริก ประกอบด้วย Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin และ Homocapsaicin

สำหรับสารเคมี Capsaicin ที่อยู่ในพริกนั้นมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งทำให้ประสาท เกิดความรู้สึกร้อนไหม้ กระตุ้นให้เกิดเมือกเพื่อป้องกันการระคายเคือง รวมถึงกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย

นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถค้นพบสารเคมีในพริก ชื่อ แคโรทีนอยด์ มีสรรพคุณต้านมะเร็งได้ สำหรับสารแคโรทีนอยด์ เป็นรูปแบบหนึ่งของสารแคโรทีน นักวิทยาศาสตร์ ได้นำเอาสารชนิดนี้มาสกัดทำอาหารเสริม ซึ่งในปัจจุบัน เป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ในพริกนอดจากมีสารเคมีสำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยังมีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงผิว แต่หากกินมากเกินไป จะทำให้ปวดท้อง และทำให้ท้องเสียได้

ชนิดของพริก

พริกมีหลากหลายพันธ์ เช่น พริกขี้หนูสวน พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง สำหรับการปลูกพริกใช้บริโภคในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ พริกรสหวาน เช่น พริกหยวก พริกชี้ฟ้า เป็นต้น และ พริกรสเผ็ด เช่น พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกขี้หนู

พริกขี้หนู เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้พุ่ม อายุสั้น ประมาณไม่เกิน 3 ปี เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา เมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้ ลักษณะของพริกมีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริก ความสูงของต้นพริกประมาณไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะมีการแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมากมาก กิ่งมีสีเขียว และสีน้ำตาล
  • ใบของพริกขี้หนู เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวใบเรียบ
  • ดอกของพริกขี้หนู ออกเป็นช่อ ลักษณะดอกจะกระจุกตามซอกใบ มีช่อละ 2 ถึง 3 ดอก และดอกจะเปลี่ยนเป็นผลพริก
  • ผลของพริกขี้หนูสวน ลักษณะของผลพริกจะยาวรี ปลายแหลม ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของพริกขี้หนู

พริกขี้หนูมีการนำเอาพริกมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ในทุกส่วนของพริก ทั้ง ต้น ผล ใบ ซึ่งเราได้แยกสรรพคุณขอพริกตามส่วนต่างๆ ของพริกมาให้ ดังนี้

  • ใบของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม  ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยผ่อนคลาย รักษาไข้หวัด แก้อาการปวดหัว  ช่วยแก้อาการคัน  ใช้รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก
  • ผลพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคพยาธิในลำไส้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นลือด ช่วยบำรุงเลือด ช่วยรักษาโรคความดัน ช่วยสลายลิ่มเลือด ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยขับเสมหะ ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ รักษาการอาเจียน ใช้ขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอด สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอด  ช่วยรักษาโรคหิด รักษากลากเกลื้อน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย  ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก
  • รากของพริก ช่วยบำรุงเลือด ช้วยฟอกเลือด  เป็นยารักษาโรคเก๊าท์ ช่วบลดอาการปวด
  • ลำต้นพริก นำมาทำยาแก้กระษัย เป็นยาขับปัสสาวะ  แก้เท้าแตก

การปลูกพริก

  • การเตรียมดิน สำหรับปลูกพริก ให้ไถพรวน แล้วรดน้ำตาม เพื่อปรับสภาพดินและป้องกันกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคในพริก กำจัดวัชพืชในแปลงพริก
  • การเพาะกล้า ให้แช่เมล็ดพริกในน้ำ เพื่อเร่งการงอกของราก จากนั้นหว่านเมล็ดลงบนแปลงเพาะ หรือถาดหลุม จากนั้นอีกประมาณ 30 วัน ให้ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก
  • การบำรุงต้นพริกและผลพริก เพื่อความสะดวกและการประหยัดค่าใช้จ่าย ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นให้พริกเจริญเติบโตออกดอก ให้ผลดก การให้ปุ๋ย หลังย้ายต้นกล้าลงแปลงปลุก ประมาณ 5 วันแล้ว ให้เริมให้ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เมื่อต้นพริกอายุได้ 50 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งดอก
  • โรคและแมลงศัตรูพืชของพริก มีน้อยมาก ถ้าให้ปุ๋ยชีวภาพอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง มักจะพบปัญหา ยอดหงิก ซึ่งมาจากเพลี้ยไฟ ให้ถอนและทำลายต้นทิ้ง

ข้อควรระวังในการรับประทานพริกขี้หนู

  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระเพราะอาหารและลำไส้ ไม่ควรกินพริก เนื่องจากพริกจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น
  • หากเด็กกินพริกเข้าไป จะมีอาการแสบร้อนมากกว่าผู้ใหญ่ ให้แก้ด้วยการให้ดื่มนมตา ในน้ำนมจะมีสาร Casein ช่วยให้อาการเผ็ด แสบร้อนลดลงได้
  • พริกทำให้ให้เกิดสิวได้ เนื่องจากพริกมีฤทธ์ให้ขับของเสียออกจากร่างกาย และของเสียจะถูกขับออกมาทางผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวหนังมีอาการอักเสบมากขึ้น
  • สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินเผ็ด ความเผ็ดของพริกจากมากกว่าปรกติ ให้ระมัดระวังในการรับประทาน

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) พืชสวนครัว รสเผ็ดร้อน สมุนไพร นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นพริก เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย ข้อควรระวังในการกินพริก

ถั่วเหลือง ( soybean ) สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงกระดูก ป้องกันโลหิตจาง โทษของถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง สมุนไพร พืชตระกลูถั่ว ประโยชน์ของถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ เรียก soybean ชื่อวิทยาศาสตร์ของ ถั่วเหลือง เรียก Glycine max (L.) Merr. จัดเป็นพืชตระกลูถั่ว สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเหลือง อาทิเช่น ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วแม่ตาย มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง โชยุ โซยาบีน อึ่งตั่วเต่า เฮ็กตั่วเต่า เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของถั่วเหลือง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 446 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารต่างๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม น้ำ 8.54 กรัมถั่วงอกหัวโต น้ำตาล 7.33 กรัม เส้นใย 9.3 กรัม ไขมัน 19.94 กรัม ไขมันอิ่มตัว 2.884 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 4.404 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 11.255 กรัม โปรตีน 36.49 กรัม ทริปโตเฟน 0.591 กรัม ทรีโอนีน 1.766 กรัม ไอโซลิวซีน 1.971 กรัม ลิวซีน 3.309 กรัม ไลซีน 2.706 กรัม เมทไธโอนีน 0.547 กรัม ซิสทีน 0.655 กรัม ฟีนิลอะลานีน 2.122 กรัม ไทโรซีน 1.539 กรัม วาลีน 2.029 กรัม อาร์จินีน 3.153 กรัม ฮิสตามีน 1.097 กรัม อะลานีน 1.915 กรัม กรดแอสปาร์ติก 5.112 กรัม กลูตามิก 7.874 กรัม ไกลซีน 1.880 กรัม โพรลีน 2.379 กรัม ซีรีน 2.357 กรัม วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.874 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.87 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.623 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.793 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี9 375 ไมโครกรัม โคลีน 115.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.85 มิลลิกรัม วิตามินเค 47 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 277 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 15.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.517 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,797 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 4.89 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง เป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ ไม่เกิน 150 เซนติเมตร ลักษณะของต้นถั่วเหลือง มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของถั่วเหลือง เป็นระบบรากแก้ว ลึกประมาณ 45 เซนติเมตร มีรากแขนง
  • ใบของถั่วเหลือง เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่จนถึงเรียวยาว  ใบมีขน
  • ดอกของถั่วเหลือง ออกเป็นช่อ มีช่อดอกเป็นแบบกระจะ ดอกมีสีขาวหรือสีม่วง ดอกจะออกตามมุมของก้านใบหรือตามยอดของลำต้น
  • ฝักของถั่วเหลือง ฝักจะออกเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 2 ถึง10 ฝัก ฝักมีขนสีเทา ฝักยาวประมาณ 2 ถึง 7 เซนติเมตร ในฝักมีเมล็ด ฝักอ่อน จะมีสีเขียว ฝักสุกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดของถั่วเหลือง มีสีเหลือง สีเขียว สีน้ำตาล หรือสีดำ เมล็ดจะมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกัน

สรรพคุณของถั่วเหลือง

การใช้ถั่วเหลืองนั้นจะใช้เมล็ด ซึ่งใช้ทั้งกากเมล็ด เปลือกเมล็ด และเนื้อของเมล็ด ซึ่ง เราจะแยกเป็นรายละเอียดของสรรพคุณด้านสมุนไพรของถั่วเหลือง มีดังนี้ ใช้บำรุงโลหิต ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดการเกิดมะเร็งเต้านม ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวานได้ ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก ช่วยถอนพิษ ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง แก้อาการปวดหัว  ช่วยเจริญอาหาร ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้โรคบิด เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยปรับฮอร์โมนในสตรี บำรุงม้าม ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ช่วยรักษาแผลเปื่อย รักษาแผลเน่าเปื่อย ใช้ห้ามเลือด ช่วยแก้ปวด ใช้เป็นยารักษาต้อกระจก

ข้อควรระวังสำหรับการบริโภคถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองถึงจะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีข้อควรระวังอยู่บ้าง สำหรับข้อควรระวังในการกินถั่วเหลืองนั้นมีดังนี้

  • ในถั่วหลืองมีโปรตีนสูง สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนจากถั่วเหลือง ให้งดรับประทาน โดยอาการสามารถสังเกตุได้จาก อาการผื่นคัน
  • โปรตีนจากถั่วเหลืองจะทำให้เกิดอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ได้สำหรับเด็กและคนที่มีประวัติโรคหอบหืด
  • การดื่ม มมถั่วเหลือง ในเด็กทารก เพียงอย่างเดียว นั้นมีโอกาสทำให้ต่อมไทรอยด์จะทำงานผิดปกติได้ เนื่องจากนมถั่วเหลืองไม่มีสารไอโอดีน
  • ในนมถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน ในเพศชายหากรับประทานมากเกินไป จะทำใหเนมโต และจำนวนอสุจิลดลง
  • โปรตีนจากถั่วเหลือง ทำให้เนื้อเยื่อเต้านมหนาตัวยิ่งขึ้น อาจทำให้มีการสร้างน้ำนมที่ผิดปกติ
  • โปรตีนในถั่วเหลืองมีไฟเตตสูง ซึ่งจะเป็นตัวยับยั้งการดูดซึมเกลือแร่ในร่างกาย โดยเฉพาะกับแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี
  • ถั่วเหลืองมีสาร Hemagglutinin ที่เป็นตัวทำให้เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดต่ำลง
  • การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ อาการที่พบคือ เจ็บส้นเท้า อ่อนเพลีย อ้วน

ถั่วเหลือง ประโยชน์และโทษถั่วเหลือง สรรพคุณถั่วเหลือง  ถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ Soybean น้ำมันถั่วเหลือง สารสกัดจากถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง โปรตีนถั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว อันตรายจากถั่วเหลือง ในน้ำนมถั่วเหลือง มีสารไฟโตเอสโตรเจน ช่วยทำให้ระบบเลือดดีขึ้น แล้วยังช่วยทำให้สิวลดลงด้วย

ถั่วเหลือง นั้นเป็นธัญพืช เป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทย และชาวจีน อย่าง นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ น้ำมันถั่วเหลือง หรือแม้แต่ขนมหวาน จะมีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับถั่วเหลือง เป็นอย่างไร มีสรรพคุณอะไรบ้าง มีคุณค่าทางอาหารอย่างไร ข้อควรระวังในการกินถั่วเหลือง บทความนี้เราจะให้รู้จักกับถั่วเหลืองอย่างละเอียด

ถั่วเหลือง หรือ Soybean เป็นสมุนไพร ประเภทพืชเถา เป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถปลูกได้ในประเทศแถบร้อนและอบอุ่น แหล่งกำเนิดของ ถั่วเหลือง จะอยู่ที่ประเทศจีน ในปัจจุบันประเทศไทยมี การปลูกถั่วเหลือง ทางภาคกลางตอนบรและภาคเหนือ ประเทศที่มีการผลิตถั่วเหลืองมากที่สุดในโลก คือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาเป็น ประเทศบราซิล และจีน ตามลำดับ

ถั่วเหลือง ( soybean ) พืชตระกลูถั่ว สมุนไพร ประโยชน์ของถั่วเหลือง คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลืือง สรรพคุณของถั่วเหลือง บำรุงโลหิต ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โทษของถั่วเหลือง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove