ผักคะน้า ( Kale ) นำมาทำอาหาร สมุนไพร สำหรับสตรีตั้งครรถ์ ต้นคะน้าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา

ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้า

ผักคะน้า ( Kale ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพร เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า คะน้ามีโฟเลตสูง มีวิตามินหลายชนิด แคลเซียมสูง ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดจากจีน ประโยชน์ของผักคะน้า สรรพคุณของผักคะน้า ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา

ผักคะน้า ชื่อของพืชชนิดนี้ คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี คะน้าเป็นผักสวนครัว ที่นิยมนำมาทำอาหาร ได้หลากหลายชนิด เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ เนื่องจากมีโฟเลต ช่วยสร้างสมองทารกใรครรถ์ ผักคะน้ามีถิ่นกำเนิดจากจีน คนจีนนำมาปลูกและนิยมนำมาทำอาหารทั้งเมนูต้ม ผัด แกง ทอด ประโยชน์ของผักคะน้า คือ มีวิตามินหลายชนิด และแคลเซียมสูง

คะน้า ภาษาอังกฤษ เรียก Kale ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra ชื่อเรียกอื่นๆของผักคะน้า เช่น ไก๋หลาน กำหนำ เป็นต้น ต้นคะน้า พืชล้มลุก ในตระกูลกะหล่ำปลี นิยมรับประทาน ใบและยอดของคะน้า มาทำความรู้จักกับผักคะน้าให้มากกว่านี้

สายพันธุ์ผักคะน้า

ผักคะน้า ที่นิยมปลูกในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 3 พันธุ์ โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • พันธุ์ใบกลม ได้แก่ พันธ์ฝางเบอร์1 พันธ์นี้มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็ก
  • พันธุ์ใบแหลม ได้แก่ พันธ์ PL20 พันธ์นี้มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ
  • พันธุ์ยอด ได้แก่ พันธ์แม่โจ้ ซึ่งพันธ์นี้มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า

ลักษณะของต้นผักคะน้า

ผักคะน้า เป็น พืชล้มลุก อายุสั้น ผักคะน้ามีอายุ 2 ปี อายุการเก็บเกี่ยวผักคะน้าอยู่ที่ 55 วัน โดยผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการปลูกผักคะน้ามากที่สุด คือ เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ของทุกปี

  • รากของผักคะน้า รากแก้วจะมีขนาดใหญ่ อยู่ติดจากลำต้น ลึกลงดินประมาณ 10 ถึง 30 เซ็นติเมตร รากฝอยจะเกาะตามรากแก้ว มีน้อย
  • ลำต้นของผักคะน้า ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบใหญ่ สีเขียว
  • ใบของผักคะน้า ใบกลม ลักษณะก้านใบยาว การแตกของใบจะแตกออกจากลำต้นเรียงสลับกัน ผิวของใบ คลืน ผิวมัน สีเขียว
  • ยอดและดอกของผักคะน้า ส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อน คล้ายดอกบัวตุม สีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของคะน้า

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า สดปริมาณ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม

คะน้า จะมีสารชนิดหนึ่ง เรียก กอยโตรเจน ( Goitrogen ) สารชนิดนี้ส่งผลต่อร่างกายทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ รวมถึงทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ทำให้เป็นดรคคอพอกได้ นอกจากนั้นทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง ดังนั้น การรับประทานผักคะน้าในปริมาณพอเหมาะ จะทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สรรพคุณของผักคะน้า

การรับประทานผักคะน้า ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้มีสรรพคุณทางสมุนไพร ดังนี้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ป้องกันการติดเชื้อ ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น ช่วยบำรุงสายตา  ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจก ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดอาการไมเกรน ช่วยชะลอความจำเสื่อม ช่วยลดความเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ป้องกันมะเร็งปอด ป้องกันมะเร็งเต้านม ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลม ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ป้องกันการเกิดตะคริว รักษาสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ควบคุมน้ำตาลในเลือดช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด

โทษของผักคะน้า 

สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) ที่อยู่ในผักคะน้า ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน และ ทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง การรับประทานผักคะน้าในปริมาณที่เหมาะสม

การปลูกผักคะน้า

  • การเพาะกล้าต้นกล้าผักคะน้า วิธีการหว่านเมล็ดในแปลง โดยแปลงให้ยกร่องสูง 30 เซนติเมตร พร้อมพรวนดิน และรดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกประมาณ 3 ถึง 5 วัน หลังจากเมล็ดงอกได้ 7 ถึง 10 วัน ให้คัดต้นกล้าแข็งแรงที่สด เพื่อดูแลต่อ และคัดต้นที่อ่อนแอออก
  • วิธีการปลูกผักคะน้า เมื่อต้นกล้าสูงได้ประมาณ 10 เซ็นติเมตร สังเกตุได้ว่ามีใบแท้ประมาณ 3 ถึง 5 ใบ อายุของต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็ให้ย้ายลงแปลงปลูก ให้ระยะห่างระหว่างต้น 20 เซ็นติเมตร
  • การดูแลผักคะน้า ให้น้ำสม่ำเสมอทุกวันเช้าเย็น ให้ปุ๋ยทุก 15 วัน  และกำจัดวัชพืช เป็นประจำทุกเดือน
  • การเก็บผลผลิตผักคะน้า สามารถเก็บผลผลิตได้ หลังตากเพาะต้นกล้า 60 วัน โดยไม่ควรใช้มือเด็ดหรือถอน ใช้มีดตัดออก และให้เด็ดใบแก่ติดโคนต้นออก และนำมาล้างทำความสะอาด

เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์และสรรพคุณบำรุงกำลัง คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม

เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอม

ต้นเห็ดหอม เป็น สมุนไพร ในแถบประเทศที่มีอากาศเย็น อย่าง ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่ง เห็ดหอม ถือเป็น อาหารชั้นเลิศ ที่มี สรรพคุณทางยาสูง มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดีต่อสุขภาพ เห็ดหอม  นั้น นำมาทำอาหาร ก็แสนอร่อย คุณค่าทางอาหาร และ สรรพคุณ เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด เป็น ยาอายุวัฒนะ ช่วยต้านมะเร็ง ชะลอวัย วันนี้เรามา ทำความรู้จักกับเห็ดหอม กันให้มากขึ้น

เห็ดหอม เป็น เชื้อราชนิดหนึ่ง เห็ดหอม ภาษาอังกฤษ เรียก Shitake Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดหอม คือ Lentinus edodes ( Berk.) Sing ชื่อเรียกอื่นๆ ของ เห็ดหอม อาทิเช่น ไชอิตาเกะ , โบโกะ , เฮียโกะ , ชิชิ-ชามุ , เห็ดดำ เป็นต้น

มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ใน เห็ดหอม มี สารสำคัญ หลายตัว เช่น เลนติแนน ( Lentinan ) สารตัวนี้มีส่วนใน การกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันโรค ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง  กรดอิริทาดีนีน ( Eritadenine ) เป็น กรดอะมิโน ที่ ช่วยลดไขมัน และ ลดคอเลสตรอรอลในเส้นเลือด จะ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โรคเกี่ยวกับระบบเลือด ได้ดี สารเออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) เป็นสารที่ ช่วยในการบำรุงกระดูก และ ทำให้กล้ามเนื้อให้แข็งแรง  ป้องกันโรคกระดูกผุ และ โรคโลหิตจาง ได้ดี

ลักษณะของเห็ดหอม

เห็ดหอม จะ มีลักษณะหมวกเห็ดกลม มีผิวสีน้ำตาลอ่อน จนถึง น้ำตาลเข้ม มีขน สีขาว ลักษณะหยาบๆ กระจายทั่วหมวกเห็ด ก้านดอกเห็ด และ โคนของเห็ดหอม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อของเห็ดหอม จะนุ่ม สามารถรับประทานได้ มีกลิ่นหอม เป็น เอกลักษณ์ ที่เฉพาะตัว จึงถูกเรียกว่า เห็ดหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษา คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม สด และ เห็ดหอมแห้ง ซึ่ง พบว่า ใน เห็ดหอมสดขนาด 100 กรัม สามารถ ให้พลังงานร่างกาย 387 กิโลแคลอรี โดยมี สารอาหารที่มีประโยชน์ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8 กรัม กากใยอาหาร 8 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม เหล็ก 8.5 มิลลิกรัม และมีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมแห้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ พลังงาน แก่ร่างกาย 375 กิโลแคลอรี และมี สารอาหาร ที่ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม กากใยอาหาร 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม เหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าใน เห็ดหอม ไม่ว่าจะเป็น แห็ดหอมแห้ง หรือ เห็ดหอมสด ก็ให้ คุณค่าทางอาหาร ที่ใกล้เคียงกัน แต่ การรับประทานเห็ดหอม มี ข้อควรระวัง อยู่บ้าง ซึ่ง

ข้อควรระวังในการรับประทานเห็ด คือ การรับประทานเห็ดหอม ไม่ควรรับประทานในสตรีหลังคลอดบุตร และ ผู้ป่วยที่พึ่งฟื้นไข้ รวมถึง คนที่เป็นหัด เนื่องจาก เห็ดหอม มีพวกจุลินทรีย์  ทำให้เกิดแก๊สในท้อง สำหรับสตรีหลังคลอด ระบบภายในยังไม่ดี อาจเกิด อันตรายต่อคุณแม่หลังคลอด รวมถึงจะ ส่งผลต่อน้ำนม ที่ ทำให้ลูกท้องอืด หากรับประทานนมแม่ที่กินเห็ด

สรรพคุณทางสมุนไพรของเห็ดหอม

สำหรับ การรับประทานเห็ดหอม ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคหวัด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยบำรุงระบบหัวใจ ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับเลือด ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงระบบสมอง ช่วยบำรุงระบบประสาท ช่วยชะลอวัย ช่วยให้นอนหลับสบาย

เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร พบได้ในแถบประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เห็ดหอม อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์ของเห็ดหอม สรรพถคุณของเห็ดหอม เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove