ต้นเตย ลักษณะเป็นอย่างไร พืชให้กลิ่นหอม ใบเตยนิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของใบเตย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน กินใบเตยสดๆความหอมของใบเตยทำให้อ้วกได้

ใบเตย สมุนไพร ใบเตย สรรพคุณของเตย

ต้นเตย หรือ เตยหอม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Pandan leaves เตยมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Pandanus amaryllifolius Roxb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของต้นเตย อาทิ เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง เป็นต้น จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตามลำต้น เราสามารถนำใบเตยมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง เป็นพืชที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน

ต้นเตยในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยใบเตยหอม เป็นวัตถุดิบหนึ่งในอาหารไทย ใบเตยเป็นเครื่องแต่งกลิ่นและสีของอาหาร จึงจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ทุกท้องถิ่นของประเทศไทยจะมีใบเตยขายตามตลาด ปัจจุบันการส่งออกใบเตย มีขายในรูปใบแช่แข็ง ซึ่งส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา ตลาดใบเตยหอมอยู่ทั่วดลกที่มีคนไทยอาศัยอยู่

ชนิดของเตย

ปัจจุบันต้นเตยในประเทศไทย สามารถพบเห็นต้นเตยได้ 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม ซึ่งรายละเอียดของเตยแต่ละชนิด มีดังนี้

  • เตยหนาม หรือ ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ไม่นิยมนำใบมาประกอบอาหาร และนิยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน เป็นต้นเตยที่ออกดอก และ ดอกมีกลิ่นหอม
  • เตยไม่มีหนาม หรือ เตย หรือ เตยหอม นิยมนำใบมาแต่งกลิ่นอาหารและให้สีเขียวผสมอาหาร ลักษณะของเตยไม่มีหนาม คือลำต้นเล็ก ไม่มีดอก

ลักษณะของต้นเตย

ต้นเตย เป็นพืชที่เป็นพุ่มขนาดเล็ก ลักษณะเป็นกอ สามารถขยายพันธ์โดยการแยกกอ และ การแตกหน่อ ใบเตยนิยมนำมาทำสีผสมอาหาร ให้สีเขียว ลักษณะของต้นเตย มีดังนี้

  • ลำต้นเตย ความสูงของลำต้นประมาณ 60 – 100 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นกลม เป็นข้อๆ ลำต้นโผล่ออกจากดิน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุน
  • ใบเตย ลักษณะเรียวยาว ปลายใบแหลม ใบผิวเรียบปลายใบแหลม เป็นสีเขียว ใบแตกออกจากด้านข้างรอบลำต้น เรียงสลับวนเป็นเกลียว ใบมีกลิ่นหอม

คุณค่าทางอาหารของใบเตย

สำหรับการรับประทานใบเตย นั้นนิยมนำมาคั้นน้ำเพื่อเพิ่มความหอมและสีสันของอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบเตยขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 35 กิโลแคลอรี่ โดยมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 85.3 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม แคลเซียม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2,987 ไมโครกรัม วิตามินเอ 498 RE ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 1.2 มิลลิกรัม ไนอาซีน 3 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 100 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย ประกอบไปด้วยสารสำคัญหลายชนิด ประกอบด้วย เบนซิลแอซีเทต ( benzyl acetate ) แอลคาลอยด์ ( alkaloid ) ลินาลิลแอซีเทต ( linalyl acetate ) ลินาโลออล ( linalool ) และ เจอรานิออล ( geraniol ) ซึ่งสารจากน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอม คือ คูมาริน ( coumarin ) และ เอทิลวานิลลิน ( ethyl vanillin )

สรรพคุณของเตย

การใช้ประโยชน์จากเตย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถเตยมาสมุนไพร ได้ ตั้งแต่ ราก ลำต้น น้ำมันหอมระเหย และ ใบ ซึ่ง สรรพคุณของเตย มีรายละเอียดดังนี้

  • รากเตย สรรพคุณใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ลำต้นเตย สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ รักษาโรคเบาหวาน ทำให้คอชุ่มชื่น แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่วในไต รักษาหนองใน แก้กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
  • ใบเตย สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ลดอาการอาหารไม่ย่อย แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ ช่วยบำรุงหัวใจ ลดการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ นิยมนำมาน้ำผสมกับขนมไทย ให้เกลิ่นหอมและมีสีเขียว
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย สรรพคุณช่วยแก้อาการหน้าท้องเกร็ง แก้ปวดตามข้อและกระดูก ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการดปวดหัว แก้โรคลมชัก ลดอาการเจ็บคอ ลดอาการอักเสบในลำคอ

โทษของใบเตย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากใบเตย ความหอมของใบเตยมาจากน้ำมันหอมระเหยในใบเตย การบริโภคเตยปลอดภัย มีข้อมูลทางการแพทย์น้อยมากว่าการบริโภคเตยมีอันตราย ซึ่งหากนำมาต้มจะให้กลิ่นและรสชาติที่รู้สึกสดชื่น แต่ การรับประทานใบแบบสดๆ อาจทำให้อาเจียนได้ ต้องนำมาต้มหรือคั้นน้ำออกมา

ต้นเตย ลักษณะเป็นอย่างไร พืชให้กลิ่นหอม ใบเตยนิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของใบเตย เช่น ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ รักษาเบาหวาน กินใบเตยสดๆความหอมของใบเตยทำให้อ้วกได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

สับปะรด ผลไม้แสนอร่อย พืชเศรษฐกิจ มีประโยชน์ด้านสมุนไพร ต้นสับปะรดเป็นอย่างไร สรรพคุณของสับปะรด บำรุงร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก โทษของสับปะรดมีอะไรบ้าง

สับปะรด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของสับปะรด

ต้นสับปะรด ภาษาอังกฤษ เรียก Pineapple ชื่อวิทยาศาสตร์ของสับปะรด คือ Ananas comosus (L.) Merr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของสับปะรด เช่น มะนัด มะขะนัด บ่อนัด บักนัด ย่านัด ขนุนทอง เป็นต้น สับปะรด มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกาใต้ ลักษณะพิเศษของต้นสับปะรด คือ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี

สับปะรด เป็น พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมรับประทานผลสุกของสับปะรด การรับประทานผลสับปะรดมีประโยชน์หลากหลาย เนื่องจากอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี เป็นต้น นอกจากนั้นสับปะรดสามารถดัดแปลงเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย

สับปะรดในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย ผลสับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ทั้งรับประทานภายในประเทศ และ เป็นอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋อง แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของประเทศไทย เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด ภูเก็ต พังงา ชุมพร และ จังหวัดริมแม่น้ำโขง ซึ่งสายพันธ์สับปะรดที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 5 สายพันธ์ ประกอบด้วย สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย สับปะรดพันธุ์อินทรชิต สับปะรดพันธุ์ขาว สับปะรดพันธุ์ภูเก็ตและ สับปะรดพันธุ์น้ำผึ้ง รายละเอียด ดังนี้

  • สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ในประเทศไทยรู้จักกันในนาม สับปะรดศรีราชา ซึ่งเป็นสับปะรดที่นิยมปลูกเพื่อส่งเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม และ ขายผลสด ซึ่งแหล่งปลูกสับปะรดพันธ์ปัตตาเวีย คือ ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี เพชรบุรี และ ลำปาง
  • สับปะรดพันธุ์อินทรชิต สายพันธ์นี้นิยมปลูกมากในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง ผลมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย รสหวานอ่อน เปลือกผลเหนียวแน่นทนทานต่อการขนส่ง เหมาะสำหรับบริโภคผลสด
  • สับปะรดพันธุ์ขาว เป็นสับปะรดสายพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะของผลเป็นทรงกระบอก มีตาลึก เนื้อผลสีเหลืองทอง รสหวานอ่อนแหล่งปลูกที่สำคัญ คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา เข้าใจว่าจะกลายพันธุ์มาจากพันธุ์อินทรชิต นิยมปลูกร่วมกับสับปะรดพันธุ์อินทรชิต
  • สับปะรดพันธุ์ภูเก็ต เป็นสับปะรดที่นิยมปลูกทางภาคใต่ แหล่งปลูกสำคัญ คือ ภูเก็ต ชุมพร นครศรีธรรมราช และ ตราด ลักษณะเด่น มีกลิ่นหอม เนื้อหวานกรอบสีเหลืองเข้ม เยื่อใยน้อย เหมาะสำหรับบริโภคสด
  • สับปะรดพันธุ์น้ำผึ้ง ลักษณะเด่น เปลือกและรสหวานจัด มีเยื่อใยน้อย นิยมปลูกมากในจังหวัดเชียงราย เหมาะสำหรับบริโภคผลสด

ลักษณะของต้นสับปะรด

สำหรับต้นสับปะรด จัดเป็นพืชล้มลุก ทนความแล้งได้ดี สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ และ แยกหน่อ ลักษณะของสับปะรด มีดังนี้

  • ลำต้นสับปะรด ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน ไม่แตกกิ่งก้าน มีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น
  • ใบของสับปะรด ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ไม่มีก้านใบ โคนใบเป็นกาบหุ้มที่ลำต้น ปลายของใบสับปะรดจะแหลมและขอบใบมีหนาม
  • ผลของสับปะรด ลักษณะกลมรี ผลสุกจะมีสีเหลือง ภายในฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว
  • ดอกสับปะรด จะออกเป็นช่อ แทงออกมาจากกลางลำต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรด

สำหรับการบริโภคสับปะรด เป็นอาหาร สามารถรับประทานผลของสับปะรดได้ โดยนักโภชนาการได้ศึึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลสับปะรด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง พลังงาน 50 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 13.12 กรัม น้ำตาล 9.85 กรัม กากใยอาหาร 1.4 กรัม ไขมัน 0.12 กรัม โปรตีน 0.54 กรัม วิตามินบี1 0.079 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.032 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.5 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.213 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.112 มิลลิกรัม วิตามินบี9 18 ไมโครกรัม โคลีน 5.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 47.8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.927 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 109 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม

ผลของสับปะรด มี เอนไซม์บรอมีเลน ( bromelain ) สรรพคุณช่วยย่อยโปรตีนไม่ให้ตกค้างในลำไส้ รวมถึงในผลสับปะรดมีเกลือแร่ และ วิตามินซี มีการศึกษาน้ำคั้นจากสับปะรด พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สามารถฤทธิ์ต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ และ ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง ช่วยย่อยอาหาร ในปัจจุบันมีการพัฒนาเอนไซม์บรอม เป็นยา เช่น ยาช่วยย่อยอาหาร และ ยารักษาอาการอักเสบ รักษาอาการบวมของเนื้อเยื่อ เป็นต้น

สรรพคุณของสับปะรด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสับปะรด ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลสับปะรด ใบสับปะรด และ รากสับปะรด โดย สรรพคุณของสับปะรด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลสุกสับปะรด สรรพคุณช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยรักษาหวัด ช่วยบำรุงเลือด ช่วยให้การไหลเวียนเลือดได้ดี บำรุงเหงือก ช่วยให้สุขภาพช่องปากแข็งแรง แก้กระหาย แก้ท้องผูก ช่วยย่อยอาหา ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ขับนิ่ว บำรุงไต ช่วยรักษาไตอักเสบ รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคหลอดลมอักเสบ แก้ปวดท้อง รักษาโรคบิด ช่วยลดอาการบวมน้ำ ช่วยรักษาแผลเป็นหนอง แก้ส้นเท้าแตก ช่วยลดการอักเสบ ช่วยโรคผิวหนัง
  • ผลดิบสับปะรด สรรพคุณช่วยห้ามเลือด ช่วยขับประจำเดือน
  • ใบสับปะรด สรรพคุณช่วยฆ่าพยาธิ
  • รากสับปะรด สรรพคุณบำรุงไต แก้กระษัย
  • หนามของสับปะรด สรรพคุณช่วยแก้พิษฝี

โทษของสับประรด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสับปะรด หากใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสมจะเกิดประโยชน์อย่างสูงสด ซึ่งหากใช้มากเกินไป อาจทำให้เกิดโทษ ซึ่งโทษของสับปะรด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลดิบสับปะรด สรรพคุณช่วยขับประจำเดือน สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานผลดิบสับปะรด อาจทำให้แท้งได้
  • การรับประทานสับปะรดหลังมื้ออาหารจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร แต่อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองภายในปาก ริมฝีปาก และ ลิ้นได้
  • ไม่รับประทานสับปะรดในขณะท้องว่าง เนื่องจากสับปะรดมีความเป็นกรด และ มีเอนไซม์บรอมมีเลน จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้

สับปะรด ผลไม้แสนอร่อย พืชเศรษฐกิจ มีประโยชน์ด้านสมุนไพร ลักษณะของต้นสับปะรด สรรพคุณของสับปะรด เช่น บำรุงร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ แก้ท้องผูก โทษของสับปะรด เป็นอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove