กระทือ พืชท้องถิ่น สมุนไพรไม้ประดับ นำมารับประทานได้ สรรพคุณของกระทือ ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ บำรุงน้ำนม ขับน้ำคาวปลา โทษของกระทือเป็นอย่างไร

กระทือ สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของกระทือ

ต้นกระทือ( Shampoo Ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระทือ คือ ingiber zerumbet Smith. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระทือ เช่น หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน เฮียงแดง เป็นต้น กระทือ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ต่อมาภายหลังได้แพร่กระจายมายังทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย จัดเป็นสมุนไพรท้องถิ่น พืชตระกูลขิงและข่า สามารถนำมาทำเป็นไม้ประดับได้ สามารถนำมารับประทานเหง้าของกระทือได้ สรรพคุณของกระทือ เช่น แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร ขับประจำเดือน ขับเสมหะ บำรุงน้ำนม

ประโยชน์ของกระทือ

ส่วนใหญ่แล้วนิยมปลูกกระทือเป็นไม้ประดับ  แต่สามารถรับประทานกระทือเป็นอาหารได้ โดยหน่ออ่อน ใช้รับประทานสดหรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ส่วนใบกระทือนำมาใช้ห่อข้าว ห่อของ ห่อปิ้งอาหาร ลำต้นนำมาทำเป็นเชือกรัดของได้ และที่สำคัญน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระทือ มีประโยชน์ใช้ฆ่าตัวอ่อนของแมลงและลูกน้ำ สามารถลดการวางไข่ของด้วงถั่วเขียวได้

ลักษณะของต้นกระทือ

ต้นกระทือ เป็นพืชล้มลุก อายุข้ามปี ลักษณะคล้ายต้นขิง ต้นข่า มีหัว หรือ เหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ในที่ที่มีความชื้นพอสมควร และ มีแสงแดดส่องตลอดวัน พบขึ้นมากทางภาคใต้ ตามป่าดงดิบ ริมลำธารหรือชายป่า ลักษณะของต้นกระทือ มีดังนี้

  • ลำต้นกระทือ ลำต้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ลำต้นเหนือดิน และ ลำต้นใต้ดิน โดยลำต้นเหนือดิน เป็นไม้เนื้ออ่อน มีแกนเป็นเส้นใยในแนวตั้งตรง มีลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะกลม ส่วนลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า หรือ หัว ลักษณะกลมมีรากแขนงแทงลึกลงดิน เหง้าอ่อนมีกาบหุ้มหน่อสีม่วง เนื้อเหง้ามีสีขาว
  • ใบกระทือ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบและแผ่นใบเรียบ ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ใบกว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ที่ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
  • ดอกกระทือ ออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากเหง้าขึ้นมา (รูปแรกด้านบนสุด) ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีกลีบดอกสีขาวนวลออกเหลือง (รูปที่ 1 ด้านล่าง) มีใบประดับขนาดใหญ่สีเขียวแกมแดงเรียงซ้อนกันหนาแน่นและเป็นระเบียบ (รูปที่ 2 ด้านล่าง) โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกจะบานไม่พร้อมกัน
  • ผลกระทือ ผลมีลักษณะเป็นเมล็ดสีดำ ผลค่อนข้างกลม ผลแห้งแตก ติดอยู่ในประดับ และมีเนื้อสีขาวบางหุ้มเมล็ดอยู่

การปลูกกระทือ

ต้นกระทือ ปลูกง่าย สามารถขึ้นได้ตามธรรมชาติ การขยายพันธุ์ใช้การแตกหน่อ การปลูกกระทือนั้นนิยมขุดเหง้าจากเหง้าแม่ แล้วนำปลูกลงแปลง ซึ่งดินที่เหมาะสำหรับการปลูกกระทือ ควรเป็น ดินเหนียวปนทราย หรือ ดินร่วนปนทราย ควรปลูกใกล้กับบริเวณที่มีความชื้นตลอด เช่น ข้างบริเวณล้างจาน หรือ หลังห้องน้ำ เป็นต้น

สรรพคุณของกระทือ

การนำเอากระทือ มาใช้ประโยชน์ทางการรักษาโรคนั้น สามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพร ได้ทั้ง ลำต้น ดอก ใบ และเหง้า โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • เหง้ากระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน บำรุงน้ำนม ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนม แก้โรคบิด ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ รักษาแผลฝี
  • รากกระทือ สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยขับปัสสาวะ และ แก้อาการเคล็ดขัดยอก
  • ลำต้นกระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดไข้ และ บรรเทาอาการไอ
  • ใบกระทือ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยประจำเดือน ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ดอกกระทือ สรรพคุณช่วยลดไช้ ช่วยขับลม และ บำรุงร่างกาย

โทษของกระทือ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือ เนื้อจากกระทือมีรสเผ็ดร้อน จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

กระเทียม พืชเศรษฐกิจ สมุนไพรกลิ่นฉุน ลักษณะของต้นกระเทียม คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเทียม เช่น ลดความดัน รักษาแผลสด ฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด เป็นต้น  

กระเทียม สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. สำหรับชื่อเรียกอื่นไของกระเทียม เช่น กระเทียมขาว กระเทียมจีน ปะเซ้วา หอมขาว หอมเทียม หัวเทียม เป็นต้น การปลูกกระเทียมในประเทศไทย นิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระเทียมที่มีคุณภาพดีต้องกระเทียมศรีสะเกษ

กระเทียมในประเทศไทย

กระเทียม เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในการทำอาหาร ทั้งการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก อาหารไทย นิยมมีกระเทียมเป็นส่วนผสมของอาหาร ซึ่งกระเทียมสามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย แต่นิยมปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีสภาพดินและสภาวะอากาศที่เหมาะสมมากกว่าภาคอื่นๆ ทำให้กระเทียมเจริญเติบโตได้ดี ได้ผลผลิตสูงและมีรสชาติที่ดีกว่า

ลักษณะของกระเทียม

กระเทียม เป็นพืชล้มลุก ที่มีกลิ่นแรง ลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเทียม มีลักษณะดังนี้

  • หัวกระเทียม มีลักษณะกลมแป้น ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ เนื้อของกระเทียมมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุนจัด
  • ใบกระเทียม เป็นใบเดี่ยว ลักกษณะแบนยาว ขึ้นมาจากดินและเรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ ปลายใบแหลม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อย ๆจางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ
  • ดอกกระเทียม ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกรูปใบหอกปลายแหลม สีขาวหรือขาวอมชมพู
  • เมล็ดกระเทียม อยู่ที่ดอกแก่ ลักษณะเมล็ดเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆรูปไข่ เมล็ดขนาดเล็กสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม สามารถรับประทานทั้งใบและหัวกระเทียม ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารสำคัยประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

สารสำคัญที่พบในกระเทียม พบว่ามีสารประกอบกำมะถัน ( Organosulfur ) เช่น อัลลิซาติน (Allisatin) อะโจอีน (Ajoene) ไดแอลลิล ซัลไฟด์ (Diallyl Sulfide) อัลเคนีล ไตรซัลไฟด์ (Alkenyl trisulfide) และ สารกลุ่มฟลาวานอยด์ เช่น เควอซิทิน (Quercetin) ไอโซเควอซิทิน (Isoquercitrin) เรย์นูทริน (Reynoutrin) แอสตรากาลิน (Astragalin)

สรรพคุณของกระเทียม

สำหรับการนำกระเทียมมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม ซึ่งสรรพคุณของกระเทียม มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวหนัง ทำให้มีสุขภาพผิวดี
  • ช่วยการเจริญอาหาร ทำให้อยากกินอาหาร เพิ่มความแข็งแรงจของร่างกาย
  • มีเบต้าเคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  • บำรุงร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย รักษาโรคหวัด รักษาอาการไอ รักษาน้ำมูกไหล ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ
  • ช่วยระงับการเจริญเติบดตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยระงับกลิ่นปาก รักษาเชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ รักษาฝีหนอง รักษาคออักเสบ รักษาปอดบวม รักษาเชื้อวัณโรค เป็นต้น
  • บำรุงเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  • ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะและปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
  • บำรุงเส้นผม มีประโยชน์ด้านผมและหนังศีรษะโดยช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
  • ช่วยขับพิษและสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ช่วยไล่ยุงได้

โทษของกระเทียม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเทียม หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้ไม่เกิดโทษ ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระเทียม มีดังนี้

  1. การบริโภคกระเทียม เนื่องจากกลิ่นฉุนของกระเทียมหากบริโภคมากเกินไปจะเสียรสชาติของอาหาร การใช้กระเทียมในการบริโภคสดให้ใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
  2. สารอาหาร จำพวกอาหารเสริมที่เป็นสารสกัดมาจากกระเทียม จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดถึงปริมาณในการบริโภคที่เหมาะสมต่อร่างกาย

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove