มะดัน ( Madan ) เป็นผลไม้รสเปรี้ยว วิตามินซีสูง กินผลสดได้ ต้นมะดันเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย แก้ไข้ทับระดู โทษของมะดัน

มะดัน ต้นมะดัน สรรพคุณของมะดัน ประโยชน์ของมะดัน

ต้นมะดัน ชื่อสามัญ คือ Madan ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะดัน คือ Garcinia schomburgkiana Pierre พืชตระกูลเดียวกับมังคุด ชื่อเรียกอื่นๆของมะดัน เช่น ส้มมะดัน  ส้มไม่รู้ถอย เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะดัน

ต้นมะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผัดใบ มีรสเปรี้ยว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน โดยเฉพาะประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของลำต้น ใบ ดอก ผล มีดังนี้

  • ลำต้นมะดัน มีความสูงประมาณ 7 – 10 เมตร ลักษณะแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกของลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ
  • ใบมะดัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบ โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบมะดันลักษณะเรียบลื่น
  • ดอกมะดัน ดอกของมะดันจะออกตามซอกใบ ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะเป็นกระจุก ซึ่งกระจุกหนึ่งจะมี 3 – 6 ดอก ดอกมะดันมีสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกคล้ายรูปไข่
  • ผลมะดัน มีลักษณะเป็นทรงรี ปลายของผลแหลม มีสีเขียว ผิวเรียบ มันลื่น ผลมะดันมีรสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด ผลละหนึ่งเมล็ด

คุณค่าทางโภชนากการของมะดัน

สำหรับการนำมะดันมาบริโภค นั้นนิยมบริโภคใบอ่อนและผลของมะนั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของผลมะดันและใบมะดัน โดยมีายละเอียด ดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของผลมะดัน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม กากใยอาหาร 0.4 มิลลิกรัม วิตามินเอ 431 หน่วยสากล วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินซี 5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบมะดันอ่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม วิตามินเอ 225 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 16 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 103 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของมะดัน

เนื่องจากมะดันมีวิตามิหลายชนิด และ มีวิตามินซีสูง มะดันจึงถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางค์บำรุงผิวพรรณ ทั้ง สบู่ ครีมบำรุงผิว โทนเนอร์ เป็นต้น นอกจากนั้นมะดันมีรสเปรี้ยว ดังนั้น จึงนิยมนำเอามะดันมาทำอาหาร ให้รสเปรี้ยวต่างๆ เช่น น้ำพริก ต้มยำ เป็นต้น ผลของมะดัน สามารถนำมาทำผลไม้แช่อิ่มได้

สรรพคุณของมะดัน

สำหรับมะดัน จัดเป็นพืชพื้นเมือง มีประโยชน์ต่อการดำรงค์ชีวิต ในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดย สรรพคุณของมะดัน มีการนำเอา รกมะดัน รากมะดัน ใบมะดัน ผลมะดัน เปลือกมะดัน ดอกมะดัน มาใช้ประโยชน์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกมะดัน มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก รักษามะเร็ง
  • ผลมะดัน มีรสเปรี้ยว สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้ชุ่มคอ แก้เจ็บคอ แก้กระษัย รักษาไข้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ขับประจำเดือน ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ระดูเสีย แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ
  • ใบมะดัน สรรพคุณ แก้กระษัย ช่วยขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ระดูเสียในสตรี แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยขับประจำเดือน
  • รกของมะดัน สรรพคุณแก้กระษัย ช่วยขับเลือด ฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ
  • รากของมะดัน สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ช่วนขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ
  • เปลือกของมะดัน สรรพคุณแก้กระษัย ช่วนขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ

ความเด่นของมะดัน คือ ความเปรี้ยว มีกรดอินทรีย์ วิตามินซีสูง ช่วยสร้างภูมิคุ้มโรคกรดอินทรีย์ในมะดัน สามารถนำมาใช้ในการดูแลผิวพรรณ ช่วยให้ผลัดเซลล์ผิว จึงนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเครื่องสำอาง ทั้ง สบู่ ครีมบำรุงผิว เป็นต้น

โทษของมะดัน

มะดันมีลักษณะเด่น ที่ รสเปรี้ยวมาก มีความเป็นกรดสูง แต่ก็มีวิตามินซี การใช้ประโยชน์และการบริโภคมะดัน จึงต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากมากเกินไปจะเกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยโทษของการกินมะดันมากเกินไป มีดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ไม่ความกินมะดัน ที่มีความเปรี้ยวในปริมาณมาก เนื่องจากกรดและความเปรีี้ยวของมะดันจะทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานหนักขึ้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคไต ควรงดการกินมะดัน เนื่องจากรสเปรี้ยวของมะดัน จะกระตุ้นให้ขับปัสสาวะมากขึ้น ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น
  • กรดจากอาหารที่มีรสเปรี้ยว จะกัดกร่อน ผิวเคลือบฟัน ทำให้ให้ฟันสึกหรอเร็ว ทำให้เสียวฟัน
  • การกินอาหารรสเปรี้ยวมากเกินไป ทำให้ ท้องเสีย ร้อนใน และ ระบบน้ำเหลืองในร่างกายมีปัญหา

มะดัน ( Madan ) คือ พืชไม้ยืนต้น เป็นผลไม้รสเปรี้ยว สามารถบริโภคผลสดได้ ต้นมะดันเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะดัน สรรพคุณของมะดัน เช่น ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย แก้ไข้ทับระดู แก้กระษัย โทษของมะดัน ผลมะดันมีวิตามินซีสูง มี เบตาแคโรทีน รวมถึงแร่ธาตุสำคัญ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นตัน

ย่านาง ( Bamboo grass ) จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดันย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านาง

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra ( Colebr. ) Diels สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของย่านาง เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ในพื้นที่อากาศชุ่มชื้น ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นย่านางสามารถขยายันธ์ได้ง่าย โดยใช้หัวใต้ดิน การปักชำยอด หรือ การเพาะเมล็ด

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง เป็นไม้เลื้อย เป็นเถา ซึงลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง เป็นเถาเกี่ยวพันกับไม้อื่น มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว มีสีเขียว และ เถาแก่มีสีเขียวเข้ม ผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง เป็นมีหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ ใบเหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบเป็นมัน
  • ดอกของย่านาง ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
  • ผลของย่านาง มีลักษณะกลมรี เล็ก สีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมแดง มีเมล็ดลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ แคลเซียม 1.42 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ประโยชน์ของใบย่านาง

สำหรับประโยชน์ของต้นย่านาง นั้น เป็นพืชที่ให้ออกซิเจน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีมลพิษสุง หากปลูกต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์หลักๆของย่านาง นิยมการนำใบย่านางมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร สำหรับการบริโภค และ นำมาทำน้ำใบย่านาง ใบย่านางช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ทำให้ผมดำ จึงมีการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น เพื่อรักษาอาการผมหงอก ใบย่านางสามารถช่วยต้านพิษกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ได้ จึงเห็นใบย่านางมักเป็นส่วนประกอบของอาหารที่มีหน่อไม้ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ แกงอ่อม แกงเห็ด แกงเลียง เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของย่านางนั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้ง ราก และ ใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของย่านาง มีรสขม สรรพคุณแก้ไข้ รักษาไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ขับพิษ
  • ใบของยางนาง มีรสขมจืด สรรพคุณแก้ไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงกำลัง ลดความอ้วน ปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิว แก้เวียนหัว ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยแก้ปวดตามกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้เสมหะเหนียว รักษาไซนัสอักเสบ ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ รักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง มีกลิ่นแรง กินยาก สำหรับคนที่ไม่ชินกับการกินน้ำใบย่างนาง อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต
  • การกินอาหารเสริมที่ได้จากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove