ลูกสมอไทย สมุนไพรไทย ราชาสมุนไพร ต้นสมอไทยเป็นอย่างไร สรรพคุณของสมอไทย ขับสารพิษ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ ขับพยาธิ บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของสมอไทยลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทย

สมอไทย ( Chebulic Myrobalans ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมอไทย Terminalia chebula Retz. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของ สมอไทย เช่น หมากแน่ะ ม่าแน่ สมออัพยา ลูกสมอ เป็นต้น ต้นสมอไทย เป็นพืชท้องถิ่น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย โดยเฉพาะ การขับสารพิษในร่างกาย

ฉายา ราชาสมุนไพร คือ ฉายาของสมอไทย ด้วยสรรพคุณพิเศษช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย และ สามารถรักษาโรคได้หลายโรค ที่สำคัญยังมี วิตามินและแร่ธาตุ หลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี ธาตุแคลเซียม และ ธาตุฟอสฟอรัส ต้นสมอไทย คือ พืชท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียใต้ ผลสมอไทย ค่อนข้างกลมในผลมีเมล็ด สมอไทย สามารถนำมาทำยาได้หลายส่วน เช่น ใบ ดอก ผล เปลือกลำต้น เป็นต้น

ลักษณะของต้นสมอไทย

ต้นสมอไทย เป็นไม้พื้นเมือง ไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือ ตามทุ่งหญ้า ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง ประมาณ 1000 เมตร สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์  มีระบบรากแก้วแข็งแรง ลักษณะของต้นสมอไทย เป็นอย่างไร

  • ลำต้นสมอไทย ลักษณะลำต้นตั้งตรง ไม้เนื้อแข็ง ความสูงประมาณ 20 เมตร ผิวของเปลือกลำต้นขรุขระ สีเทา เนื้อด้านในเปลือกสีเหลืองอ่อน มีน้ำยางสีแดง
  • ใบสมอไทย ลักษณะเป็นเดี่ยว สีเขียว ลักษณะรีปลายใบแหลม ใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเป็นมันเงา มีขนคล้ายไหม
  • ดอกสมอไทย ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ดอกสมอไทยออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสมอไทยออกทุกเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลสมอไทย เจริญเติบโตมาจากดอกสมอไทย ลักษณะของผลกลมรี ผลอ่อนมีสีเขียว เปลือกของผลลักษณะมัน แข็ง ผิวเกลี้ยง ผลแก่สีเขียวอมเหลือง หรือ น้ำตาลแดง ผลสมอไทย ออกประมาณเดือนกันยายนถึงธันวาคมของทุกปี
  • เมล็ดสมอไทย ลักษณะรียาว อยู่ในผลสมอไทย เมล็ดสมอไทยแข็ง ในหนึ่งผลมีหนึ่งเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของสมอไทย

ผลสมอไทย มีสารเคมีหลากหลาย องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญของลูกสมอไทย มีสารเคมีน่าสนใจ ประกอบด้วย

  • กรดแกลลิก ( gallic acid ) เป็นกรดที่มีสรรพคุณช่วยต่อต้านออกซิเดชัน
  • สารกลุ่มฟิโนลิกส์ ( phenolics ) คืิอสารที่มีคุณสมบัติช่วยต่อต้านเซลล์การเจริญเติบโตของมะเร็ง ได้แก่ กรดเคบูโลนิก ( chebulonic acid )
  • สารคอริลาจิน ( corilagin ) คือสารที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาหารเจ็บปวด

นอกจากนี้ในลูกสมอไทย ยังมีสารอื่นๆน่าสนใจ เช่น terchebin glucogallin ellagic acid sennoside A chebulin catechol และ tannic acid

สรรพคุณของสมอไทย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากสมอไทย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผลสมอไทย เมล็ดสมอไทย ใบ และ เปลือกของลำต้น สรรพคุณของสมอไทย มีดังนี้

  • ผลและเมล็ดสมอไทย มีรสเปรี้ยวอมฝาด สรรพคุณช่วยการเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้ไอ รักษาแผลในปาก แผลร้อนใน รักษาอาการท้องเสีย แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม เป็นยาระบาย บรรเทาโรคหอบหืด ช่วยขับพยาธิ บำรุงตับ บำรุงผิวพรรณ ช่วยขัดผิว ลดรอยหมองคล้ำ รักษากระ รักษาฟ้า ทำให้ผิวพรรณดูสดใส ช่วยขับสารพิษ แก้อาการวิงเวียนศรีษะ ลดอาเจียน – ช่วยบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ปวดตามข้อ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหัว ช่วยในการผ่อนคาย ลดอาการเครียด ทำให้นอนหลับง่าย ช่วยรักษาโรคฟันผุ ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใบสมอไทย สรรพคุณช่วยแก้ท้องเสีย รักษาผดผื่นคัน ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงสายตา ช่วยห้ามเลือด รักษาแผลสด แก้ท้องอืด ช่วยขับสารพิษ บำรุงไต
  • เปลือกลำต้นและแก่นไม้สมอไทย สรรพคุณแก้ท้องร่วง แก้ปวดท้อง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคเชื้อราที่ผิวหนัง

โทษของสมอไทย

จากการการศึกษาทางพิษวิทยาสมอไทย มีการทำลองการใช้สมอไทย กับหนู ซึ่งผลการศึกษาพบความเป็นพิษจากสมอไทย อย่างชัดเจน แต่การใช้ประโยชน์จากสมอไทย ต้องใช้ประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ใช้มากเกินไป จะไม่ทำให้เกิดโทษ

ลูกสมอไทย สมุนไพรไทย สรรพคุณมหัศจรรย์ ราชาสมุนไพร ลักษณะของต้นสมอไทย สรรพคุณของสมอไทย เช่น ขับสารพิษ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ ขับพยาธิ บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของสมอไทย มีอะไรบ้าง

ต้นนุ่น ต้นงิ้ว นิยมนำเนื้อจากผลแห้งทำปุยนุ่น ทำเครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ต้นนุ่นเป็นอย่างไร สรรพคุณของนุ่น บำรุงกำลัง ลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ โทษของนุ่นมีอะไรบ้าง

นุ่น สมุนไพร

ต้นนุ่น ( White silk cotton tree ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของนุ่น คือ Ceiba pentandra (L.) Gaertn. ต้นนุ่นเป็นพืชตระกลูเดียวกับชบา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของนุ่น เช่น ง้าว งิ้วสาย งิ้วสร้อย งิ้วน้อย งิ้ว ปั้งพัวะ ต่อเหมาะ เป็นต้น

ลักษณะของต้นนุ่น

ต้นนุ่น ไม้ยืนต้น ลักษณะของต้นสูงใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ โดยจะผลัดใบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนของทุกปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ชื่อท้องถิ่น คือ ต้นงิ้ว มีหนามแหลมคมที่ลำต้น เป็นเอกลักษณ์ของต้นงิ้ว ลักษณะของต้นนุ่น เป็นอย่างไร

  • ลำต้นงิ้ว ลักษณะลำต้นสูงใหญ่ ตั้งตรง ความสูงประมาณ 10 เมตร ลักษณะของต้นเป็นพุ่มกว้าง ลำต้นมีสีเขียว มีหนามขึ้นทั่วบริเวณโคนต้น
  • ใบนุ่น เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามลำต้น ปลายใบแหลม คล้ายรูปหอก ขอบใบเรียบ ใบมีสีเขียว
  • ดอกนุ่น ลักษณะของดอกนุ่นเป็นช่อ ออกตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก ลักษณะของดอกคล้ายรูปถ้วย กลีบดอกสีขาว มีขน ดอกนุ่นจะออกช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ของทุกปี
  • ผลนุ่น เจริญเติบดตมาจาดอกนุ่น ลักษณะผลรียาว ปลายและโคนแหลม เปลือกผลแข็ง เมื่อผลแก่และแห้งเนื้อผลจะเป็นใยนุ่นสีขาว ลักษณะนุ่มซับน้ำได้ดี และ มีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดนุ่น อยู่ภายในผลนุ่น ลักษณะกลม สีดำ และ แข็ง

สรรพคุณของนุ่น

สำหรับการใช้ประโยชน์ของนุ่น ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ราก ยางไม้ เปลือก ใบ ดอกแห้ง น้ำมันเมล็ดนุ่น รายละเอียดของสมุนไพร สรรพคุณนุ่น มีดังนี้

  • รากนุ่น สรรพคุณบำรุงกำลัง รักษาเบาหวาน แก้ไอ แก้อาเจียน แก้ท้องเสีย รักษาลำไส้อักเสบ แก้ปวดท้อง ช่วยขับปัสสาวะ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ยางไม้นุ่น สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ไอ แก้ท้องร่วง แก้ระดูขาว
  • เปลือกนุ่น สรรพคุณแก้ร้อนใน ลดไข้ แก้ไอ แก้อาเจียน แก้หืด แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำหนััด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ดอกแห้งนุ่น สรรพคุณลดไข้ แก้ไอ
  • ใบนุ่น สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ไอ รักษาท่อปัสาวะอักเสบ รักษาโรคเรื้อน รักษาแผลฝี แก้ฟกช้ำ แก้ปวด
  • เมล็ดนุ่น สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
  • น้ำมันเมล็ดนุ่น สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของนุ่น

ต้นนุ่น หรือ ต้นงิ้ว เป็นพืชที่มีหนามแหลมตามกิ่งก้านลำต้น ซึ่งหนามแหลมเหล่านี้ เป็นอันตรายต่อร่างกายหากตำร่างกาย ทำให้เกิดอาการเจ็บ และ อักเสบได้ ปุยนุ่น ก็มีลักษณะนุ่มและเป็นฝุ่น หากหายใจเข้าไปอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจอุดตัน หรือ ระคายเคือง การหายใจได้

นุ่นในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย ต้นงิ้ว หรือ ต้นนุ่น อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน คนไทยนิยมปลูกต้นนุ่นตามบ้านเรือน และ สวนใกล้บ้าน เพื่อการใช้ประโยชน์ต่างๆ ข้อมูลทางสถิติ ศึกษานุ่นในปี พ.ศ. 2531 ประเทศไทยสามารถส่งออกปุยนุ่นมากถึง 37,000 ตัน จัดว่าเป็นประเทศที่ส่งออกนุ่นมากที่สุดในโลก นอกจากนี้ มีการนำเปลือกนุ่น มาใช้ทำยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ โดยนำเปลือกมาต้มดื่มเป็นยาขับปัสสาวะและเป็นยาบำรุงเพศ เป็นเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

ฝักอ่อนของนุ่น สามารถนำมาทำอาหาร เช่น แกง เมี่ยง หรือกินเป็นผักสด ใยนุ่นในมาใช้ยัดหมอน ใช้เป็นเชื้อไฟ  นุ่น เป็นพืชที่มีประโยชน์หลากหลาย คู่ควรต่อการเป็นพืชที่อู่คู่ครัวเรือน

ต้นนุ่น ต้นงิ้ว คือ พืชชนิดหนึ่ง นิยมนำปุยนุ่น มาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม ลักษณะของต้นนุ่น เป็นอย่างไร สรรพคุณของนุ่น เช่น บำรุงกำลัง ลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ โทษของนุ่น มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove