มะตูม สมุนไพร ไม้มงคล พืชประจำจังหวัดชัยนาท ต้นมะตูมเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเลือด คุณค่าทางอาหารของมะตูม โทษของมะตูมมะตูม ต้นมะตูม สรรพคุณของมะตูม ประโยชน์ของมะตูม

ต้นมะตูม ( Beal ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะตูม คือ Aegle marmelos (L.) Corrêa เป็นพืชตระกูลส้ม ชื่อเรียกอื่นๆของมะตูม เช่น มะปิน ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร หมากตูม เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะตูม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะตูมสุก ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 61.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 34.7 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม กากใยอาหาร 2.9 กรัม วิตามินเอ 92 มิลลิกรัม วิตามินบี1 1.3 มิลลิกรัม วิตามินบี2 1.19 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1.1 มิลลิกรัม แคลเซียม 85 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะตูม

ต้นมะตูม ถิ่นกำเนิดของมะตูมมาจากประเทศอินเดีย เป็นพันธ์ไม้มงคล ไม้ผลยืนต้น เติบโตได้ดีในป่าดิบ และ ตามเนินเขา ลักษณะของต้นมะตูม มีดังนี้

  • ลำต้นของมะตูม ความสูงประมาณ 18 เมตร เปลือกของต้นมะตูม ผิวเรียบ มีร่องตื้น สีเทา เนื้อไม้แข็ง สีขาวแกมเหลือง ไม้มะตูมมีกลิ่นหอม
  • ใบมะตูม ลักษณะของใบเหมือนขนนก คล้ายรูปไข โคนใบมน ปลายใบแหลม ใบเป็นสีเขียวเข้ม ลักษณะมัน
  • ดอกมะตูม มีสีขาว ขนาดเล็ก ดอกมะตูมออกตามซอกใบ และ ปลายกิ่ง ดอกมะตูมมีกลิ่นหอม
  • ผลมะตูม มีลักษณะกลม เปลือกผิวเรียบ ผลสดมีสีเขียว เปลือกแข็ง ผลมะตูมแก่ มีสีเขียวอมเหลือง เนื้อด้านในของผลมะตูมมีสีส้ม รสหวาน เนื้อนิ่ม มีกลิ่นหอม และ มียางเหนียวข้น ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

ประโยชน์ของมะตูม 

สำหรับมะตูมสามารถใช้ประโยน์นำมาทำเป็นอาหารบริโภค ซึ่งสรรพคุณของมะตูมเป็นยารักษาโรคมากมาย นิยมนำผลสุกแห้ง มาต้มเป็น น้ำมะตูม

สรรพคุณของมะตูม

สำหรับมะตูมสามารถนำมามใช้ประโยชน์ทางการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค ได้ทั้งส่วน ผลดิบ ผลสุก ใบ เปลือก และ ราก โดยยรายละเอียดของ สรรพคุณของมะตูม มีดังนี้

  • ผลดิบของมะตูม สรรพคุณ ช่วยควบควบคุมน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องเดิน แก้ท้องอืด ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ผลสุกของมะตูม สรรพคุณ บำรุงระบบลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบาย ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ลดไขมันในเส้นเลือด แก้งท้องร่วง แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงสมอง รักษาอัลไซล์เมอร์ ช่วยขับพยาธิ
  • ใบของมะตูม ใบอ่อนของมะตูม สรรพคุณ ช่วยขับลม รักษาอาการท้องเสีย ลดไข้ รักษาตาอักเสบ ลดอาการตาบวม
  • เปลือกของมะตูม สรรพคุณ แก้ท้องเสีย ช่วยรักษาลำไส้อักเสบ
  • รากของมะตูม สรรพคุณ ลดอาการตกเลือดสำหรับสตรีหลังคลอด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด รักษาโรคกระเพาะ

โทษของมะตูม

สำหรับมะตูม ไม่ได้มีประโยชน์ทุกอย่าง แต่การบริโภคมะตูมในปริมาณที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดโทษได้ โดยโทษของมะตูม มีดังนี้

  • การกินมะตูมมากเกินไป ทำให้ท้องผูกได้ เนื่องจากมะตูมมีสรรพคุณต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • สตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอดบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนำมะตูมมาใช้รักษาอาการป่วย
  • สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การกินมะตูมอาจทำให้น้ำตาลในเลือกต่ำเกินไปได้
  • การกินมะตูมก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 14 วัน อาจส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงระหว่างและหลังการผ่าตัด

มะตูม สมุนไพรกลิ่หอม ไม้มงคล พืชประจำจังหวัดชัยนาท ลักษณะของต้นมะตูมเป็นอย่างไร โทษของมะตูม ประโยชน์ของมะตูม สรรพคุณของมะตูม เช่น บำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร คุณค่าทางอาหารของมะตูม มากมาย

อบเชย เปลือกอบเชยมีกลิ่นหอมนำมาทำเครื่องเทศ อบเชย มี 5 ชนิด อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา อบเชยไทย สรรพคุณลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด ต้านเชื้อโรคต่างๆอบเชย สมุนไพร สมุนไพรในครัว ต้นอบเชย

อบเชย สมุนไพรเครื่องเทศ กลิ่นหอม อบเชยมีฤทธิ์ลดความดัน ลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ลดการหดเกร็งของหลอดลม ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และ กระเพาะอาหาร มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา แก้ปวดและช่วยทำให้แผลหายเร็ว อบเชยจะใช้เปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วนำมาใช้ประโยชน์

ต้นอบเชย นิยมใช้ทำเครื่องแกง เช่น พริกแกงกะหรี่ หรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้ก นำมาต้มน้ำแกง เช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น หรือใส่อบเชยในของหวาน บดละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม เป็นต้น อบเชย ภาษาอังกฤษ เรียก Cinnamon ชื่อวิทยาศาสตร์ของอบเชย คือ Cinnamomum spp. ชื่อเรียกอื่นๆของอบเชย เช่น บอกคอก พญาปราบ สะวง ฝักดาบ สุรามิด กระแจกโมง โมงหอม กระเจียด เจียดกระทังหัน อบเชยต้น มหาปราบ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของอบเชย

สำหรับอบเชยชนิดผงขนาด 10 กรัม ให้พลังงานถึง 24.7 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย ไขมัน 0.12 กรัม คาร์โบไฮเดรท 8.06 กรัม และ โปรตีน 0.4 กรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของอบเชย

อบเชย คือ เครื่องยาหรือเครื่องเทศ ได้จากเปลือกของอบเชย ลอกเปลือกชั้นในออกจากแก่นลำต้น และใช้มีดกรีดตามยาวของกิ่ง จากนั้นนำไปตากแดดประมาณ 5 วัน เปลือกของอบเชยจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนเหมือนสีสนิม มีรสสุขุม เผ็ด หวานเล็กน้อย และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สำหรับอบเชย มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กัน มี 5 ชนิด คือ อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวาและอบเชยไทย

ชนิดของอบเชย

สำหรับ ต้นอบเชย นั้นมีอยู่หลายชนิด โดยแต่ละชนิดก็มีคุณภาพที่แตกต่างกัน อบเชยญวนจะมีคุณภาพสูงสุด รองลงมา คือ อบเชยจีน และ อบเชยเทศ แต่อบเชยแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณทางยาที่ใกล้เคียงกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้ เราจะแนะนำอบเชย 5 ชนิด คือ อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา และ อบเชยไทย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อบเชยเทศ หรือ อบเชยลังกา อบเชยชนิดนี้มาจากประเทศอินเดียและศรีลังกา มีราคาแพงที่สุด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามลำต้น ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบหนา ผิวใบเรียบมัน สีเขียวเข้ม  ดอกอบเชยออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลเป็นสีดำ คล้ายรูปไข่ ผิวเปลือกเรียบ
  • อบเชยจีน ขนาดของลำต้นใหญ่กว่าอบเชยเทศ เปลือกหนาหยาบกว่า และ มีสีเข้มกว่าอบเชยเทศ รสชาติจะอ่อนที่สุดในบรรดาอบเชยทุกชนิด นิยมนำมาทำเป็นยาสมุนไพร
  • อบเชยญวน กลิ่นจะหอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และ ประเทศไทยส่งออกอบเชยชนิดนี้เป็นหลัก
  • อบเชยชวา มีกลิ่นหอมแต่น้อยกว่าอบเชยเทศ แต่เป็นอบเชยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
  • อบเชยไทย เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดระนอง

สรรพคุณของอบเชย

สำหรับประโยชน์ของอบเชย สามารถใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ เนื้อไม้ เปลือก ใบ ราก เมล็ด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เปลือกอบเชย สรรพคุณ คือ เป็นยาบำรุงร่างกาย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวดศีรษะ แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยชูกำลัง ยาบำรุงกำลัง บำรุงตำ บำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงหัวใจ  ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยสลายไขมัน ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยต้านมะเร็ง เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้สันนิบาต แก้อาการหวัด แก้อาการไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย  ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นยาถ่าย ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยขับน้ำคาวปลา  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตับอักเสบ  ช่วยแก้อาการปวด แก้ปวดหลัง
  • ใบอบเชย สรรพคุณ คือ แก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขับลม เป็นยาฆ่าเชื้อ ยาทาแผลถอนพิษของยางน่อง เป็นยาพอกแก้อาการปวดรูมาติสซั่ม
  • รากอบเชย สรรพคุณ คือ แก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด แก้อาการปวดฟัน รากนำมาต้มสำหรับสตรีกินหลังการคลอดบุตร ช่วยลดไข้หลังการผ่าตัด
  • เมล็ดอบเชย สรรพคุณ คือ ยาแก้ไอสำหรับเด็ก เป็นยาแก้บิดสำหรับเด็ก

โทษของอบเชย

การบริโภคอบเชยมีข้อควรระวังอยู่บ้าง เนื่องจากอบเชยเป็น สมุนไพรมีกลิ่นหอม มีน้ำมันหอมระเหย โดยข้อควรระวังในการบริโภคอบเชย มีดังนี้

  • อบเชยมีน้ำมันส่งผลให้อาการคลื่นไส้อาเจียน และเป็นอันตรายต่อไต สำหรับผู้ป่วยมีไข้ ตัวร้อน ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระแข็ง เป็นโรคริดสีดวงทวาร เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานอบเชย
  • สำหรับ อบเชยจีน เป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่อบเชยจีนมีสารคูมารินซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตับ และการได้รับสารนี้ในปริมาณมากเกินไปอาจมีปัญหาต่อตับ สำหรับคนที่ป่วยเกี่ยวกับโรคตับ ไม่ควรรับประทานอบเชย

อบเชย พืชท้องถิ่น เปลือกของอบเชยมีกลิ่นหอม นำมาทำเครื่องเทศ อบเชย มี 5 ชนิด คือ อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา และ อบเชยไทย สรรพคุณของอบเชย เช่น ลดความดัน ลดน้ำตางในเลือด ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove