โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มน้ำอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะสำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง โทษของโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม

ว่านโด่ไม่รู้ล้ม เป็น พืชสมุนไพร ที่มี สรรพคุณ เสริมสมรรถภาพทางเพศ ช่วยบำรุงกำลัง ลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่มคุณภาพอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะ สำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม ควรหลีกเลี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ โด่ไม่รู้ล้ม ทางเภสัชศาสตร์ พบว่า โด่ไม่รู้ล้ม มี สรรพคุณ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ต้านความเป็นพิษต่อตับ สามารถช่วยลดไข้ ลดอักเสบ ลดความดันเลือด บำรุงลำไส้เล็ก กระตุ้นการทำงานของมดลูก เพิ่มคุณภาพน้ำอสุจิในเพศชาย เพิ่มขนาด และ ความแข็งแรงของอวัยวะเพศ

โด่ไม่รู้ล้ม ภาษาอังกฤษ เรียก Prickly-leaved elephant’s foot มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elephantopus scaber L. เป็น พืชตระกูลเดียวกันกับทานตะวัน ชื่อเรียกอื่นๆของโด่ไม่รู้ล้ม อาทิ เช่น ขี้ไฟนกคุ่ม , คิงไฟนกคุ่ม , หนาดมีแคลน ,  หญ้าปราบ , หญ้าไก่นกคุ่ม , หญ้าไฟนกคุ้ม , หญ้าสามสิบสองหาบ เป็นต้น

ลักษณะของต้นโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม เป็น พืชล้มลุก คล้ายหญ้า ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด ชอบดินทราย สามารถพบได้ตาม ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบ และ ป่าสนเขา ในประเทศเขตร้อน มีลักษณะของต้นว่านโด่ไม่รู้ล้ม ดังนี้

  • ลำต้น สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นสั้น ลักษณะกลม อยู่ระดับผิวดิน
  • ใบของโด่ไม่รู้ล้ม เป็นใบเดี่ยว ขึ้นบนเหง้า ใบขึ้นเป็นกระจุก เหมือนดอกกุหลาบ ใบ เป็นรูปหอกหัวกลับ ใบกว้าง ขอบใบหยัก เนื้อใบหนาและสาก ผิวของใบมีขนเล็กๆ ท้องใบจะมีขนมากกว่าหลังใบ และไม่มีก้านใบ
  • ดอกโด่ไม่รู้ล้ม   ออกดอกเป็นช่อ ออกมาจากลำต้น ดอก เป็นรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอกยาว ไม่มีขน ปลายแหลม ฐานเป็นติ่งแหลม แต่ละช่อย่อยจะอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุกกลมที่ปลายก้านดอก
  • ผลของโด่ไม่รู้ล้ม ผลจะเป็นผลแห้ง และไม่แตก ซึ่งลักษณะของผล จะเล็ก เรียว เป็นรูปกรวย ผลมีขน

สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม

ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สามารถใช้ประโยชน์ ทาง การรักษาโรค ได้ทุกส่วน ทั้งต้น ใบ และ ราก ซึ่งรายละเอียด ประโยชน์ทางยาของว่านโด่ไม่รู้ล้ม มี ดังนี้

  • รากของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษามาลาเรีย ช่วยลดไข้ เป็นยาแก้ไอ แก้ไข้หวัด แก้อาเจียน เป็นยาแก้วัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยแก้อาการตาแดง ช่วยรักษาแผลในช่องปาก แก้ปวดฟัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับระดูขาวของสตรี เป็นยาบีบมดลูก ใช้ต้มอาบหลังคลอดของสตรี ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด ใช้เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยแก้อาการอักเสบ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดง
  • ใบของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาโรคมาลาเรีย ใช้ลดไข้ เป็นยาแก้ไอ ใช้รักษาวัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ รักษาตาแดง ช่วยรักษาแผลในช่องปาก บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก แก้อาการท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยคลายเส้น แก้อาการปวดเมื่อย
  • ลำต้นของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้กษัย ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาไข้มาลาเรีย ลดไข้  เป็นยาแก้ไอ แก้วัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ แก้ตาแดง ช่วยรักษาอาการต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ช่วยห้ามเลือดกำเดา บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก แก้อาการท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ประโยชน์อื่นๆของต้นโด่ไม่รู้ล้ม

  • ใช้เป็น ไม้ประดับ ปลูกประจำบ้าน เพื่อความสวยงาม
  • เป็น ต้นไม้มงคล เชื่อว่า การปลูกว่านโด่ไม่รู้ล้ม ช่วยป้องกันเสนียดจัญไร
  • นำไป แปรรูปเป็นยาสมุนไพร เช่น ผงสำเร็จรูป ยาดองเหล้า ยาแคปซูล เป็นต้น

ข้อควรระวังสำหรับการใช้โด่ไม่รู้ล้ม

สำหรับสตรีมีครรภ์ ห้ามใช้ รวมถึงคนทั่วไปที่มีปัญหาเมื่อเจออากาศหนาว คนที่ชอบดื่มของร้อน เป็นต้น

โด่ไม่รู้ล้ม พืชสมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยเพิ่มน้ำอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะสำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง โทษของโด่ไม่รู้ล้ม

ผักคะน้า ( Kale ) นำมาทำอาหาร สมุนไพร สำหรับสตรีตั้งครรถ์ ต้นคะน้าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา

ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้า

ผักคะน้า ( Kale ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพร เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า คะน้ามีโฟเลตสูง มีวิตามินหลายชนิด แคลเซียมสูง ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดจากจีน ประโยชน์ของผักคะน้า สรรพคุณของผักคะน้า ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา

ผักคะน้า ชื่อของพืชชนิดนี้ คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี คะน้าเป็นผักสวนครัว ที่นิยมนำมาทำอาหาร ได้หลากหลายชนิด เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ เนื่องจากมีโฟเลต ช่วยสร้างสมองทารกใรครรถ์ ผักคะน้ามีถิ่นกำเนิดจากจีน คนจีนนำมาปลูกและนิยมนำมาทำอาหารทั้งเมนูต้ม ผัด แกง ทอด ประโยชน์ของผักคะน้า คือ มีวิตามินหลายชนิด และแคลเซียมสูง

คะน้า ภาษาอังกฤษ เรียก Kale ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra ชื่อเรียกอื่นๆของผักคะน้า เช่น ไก๋หลาน กำหนำ เป็นต้น ต้นคะน้า พืชล้มลุก ในตระกูลกะหล่ำปลี นิยมรับประทาน ใบและยอดของคะน้า มาทำความรู้จักกับผักคะน้าให้มากกว่านี้

สายพันธุ์ผักคะน้า

ผักคะน้า ที่นิยมปลูกในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 3 พันธุ์ โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • พันธุ์ใบกลม ได้แก่ พันธ์ฝางเบอร์1 พันธ์นี้มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็ก
  • พันธุ์ใบแหลม ได้แก่ พันธ์ PL20 พันธ์นี้มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ
  • พันธุ์ยอด ได้แก่ พันธ์แม่โจ้ ซึ่งพันธ์นี้มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า

ลักษณะของต้นผักคะน้า

ผักคะน้า เป็น พืชล้มลุก อายุสั้น ผักคะน้ามีอายุ 2 ปี อายุการเก็บเกี่ยวผักคะน้าอยู่ที่ 55 วัน โดยผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการปลูกผักคะน้ามากที่สุด คือ เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ของทุกปี

  • รากของผักคะน้า รากแก้วจะมีขนาดใหญ่ อยู่ติดจากลำต้น ลึกลงดินประมาณ 10 ถึง 30 เซ็นติเมตร รากฝอยจะเกาะตามรากแก้ว มีน้อย
  • ลำต้นของผักคะน้า ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบใหญ่ สีเขียว
  • ใบของผักคะน้า ใบกลม ลักษณะก้านใบยาว การแตกของใบจะแตกออกจากลำต้นเรียงสลับกัน ผิวของใบ คลืน ผิวมัน สีเขียว
  • ยอดและดอกของผักคะน้า ส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อน คล้ายดอกบัวตุม สีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของคะน้า

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า สดปริมาณ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม

คะน้า จะมีสารชนิดหนึ่ง เรียก กอยโตรเจน ( Goitrogen ) สารชนิดนี้ส่งผลต่อร่างกายทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ รวมถึงทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ทำให้เป็นดรคคอพอกได้ นอกจากนั้นทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง ดังนั้น การรับประทานผักคะน้าในปริมาณพอเหมาะ จะทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สรรพคุณของผักคะน้า

การรับประทานผักคะน้า ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้มีสรรพคุณทางสมุนไพร ดังนี้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ป้องกันการติดเชื้อ ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น ช่วยบำรุงสายตา  ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจก ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดอาการไมเกรน ช่วยชะลอความจำเสื่อม ช่วยลดความเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ป้องกันมะเร็งปอด ป้องกันมะเร็งเต้านม ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลม ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ป้องกันการเกิดตะคริว รักษาสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ควบคุมน้ำตาลในเลือดช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด

โทษของผักคะน้า 

สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) ที่อยู่ในผักคะน้า ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน และ ทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง การรับประทานผักคะน้าในปริมาณที่เหมาะสม

การปลูกผักคะน้า

  • การเพาะกล้าต้นกล้าผักคะน้า วิธีการหว่านเมล็ดในแปลง โดยแปลงให้ยกร่องสูง 30 เซนติเมตร พร้อมพรวนดิน และรดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกประมาณ 3 ถึง 5 วัน หลังจากเมล็ดงอกได้ 7 ถึง 10 วัน ให้คัดต้นกล้าแข็งแรงที่สด เพื่อดูแลต่อ และคัดต้นที่อ่อนแอออก
  • วิธีการปลูกผักคะน้า เมื่อต้นกล้าสูงได้ประมาณ 10 เซ็นติเมตร สังเกตุได้ว่ามีใบแท้ประมาณ 3 ถึง 5 ใบ อายุของต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็ให้ย้ายลงแปลงปลูก ให้ระยะห่างระหว่างต้น 20 เซ็นติเมตร
  • การดูแลผักคะน้า ให้น้ำสม่ำเสมอทุกวันเช้าเย็น ให้ปุ๋ยทุก 15 วัน  และกำจัดวัชพืช เป็นประจำทุกเดือน
  • การเก็บผลผลิตผักคะน้า สามารถเก็บผลผลิตได้ หลังตากเพาะต้นกล้า 60 วัน โดยไม่ควรใช้มือเด็ดหรือถอน ใช้มีดตัดออก และให้เด็ดใบแก่ติดโคนต้นออก และนำมาล้างทำความสะอาด

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove