ข่อย ( Tooth brush tree ) สมุนไพร ไม้มงคล ต้นข่อยเป็นอย่างไร กิ่งข่อยใช้ทำแปรงสีฟันแบบโบราณ สรรพคุณของข่อยใช้แทนยาสีฟัน รักษาแผล เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของข่อย

ข่อย สมุนไพร สรรพคุณของข่อย ประโยชน์ของข่อย

ข่อย สมุนไพรพื้นบ้าน รู้จักกันดีในสังคมไทย เป็นไม้ดัด ไม้ประดับ กิ่งของต้นข่อยมีสรรพคุณใช้แทนยาสีฟันได้ ยางของข่อยนำมาทำเป็นยาฆ่าแมลงได้ เนื้อไม้ข่อย ก็นิยมนำมาทำกระดาษ สำหรับสังคมไทยมีความเชื่อว่าต้นข่อย เป็นพืชศิริมงคล สามารถช่วยไล่สิ่งชั่วร้ายอัปมงคลออกจากบ้านได้ สำหรับวันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ ข่อย สมุนไพรชนิดนี้ เป็นอย่างไร มีสรรพคุณด้านสมุนไพรอย่างไร บ้าง

ต้นข่อย เป็นพืชยืนต้น ชนิดหนึ่ง มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Tooth brush tree ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นข่อย คือ Streblus asper Lour ชื่อเรียกอื่นๆของต้นข่อยอาทิเช่น กักไม้ฝอย, ตองขะแหน่ , ส้มพอ , ซะโยเส่ , สะนาย , สมนาย เป็นต้น ข่อยจัดอยู่ในพืชตระกลูเดียวกันกับขนุน

มีการศึกษาสารเคมีที่อยู่ในต้นข่อย พบว่า มีสารต่างๆ ประกอบด้วย Asperoside (C31H48O9 ) ,trebloside(C31H46O10 ) , Kamaloside (C31H48O10 ) ,Indroside (C31H46O10 ) ,Strophalloside (C29H42O10.3H2O) ,Strophanolloside( C29H44O10.4H2O) , Glucokamaloside( C37H58O14 ) , Glucostrebloside (C37H56O15) , Sarmethoside (C30H46O10) Substance F (C31H48O10 ) , Substance G (C30H46O9 ) Substance H( C31H46O10 ), Di-o-acetyl derivative ,B-sitosterol , Glycoside , tannin

ลักษณะของต้นข่อย

ต้นข่อย เป็นพืช ไม้ยืนต้น ที่มีขนาดเล็ก ความสูงไม่เกิน 15 เมตร มีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศไทย สำหรับการขยายพันธ์ต้นข่อยนิยมใช้การปักชำ และการเพาะเมล็ด ซึ่งลักษณะของต้นข่อย มีดังนี้

  • ลำต้นข่อย ส่วนของลำต้นและกิ่งก้านของต้นข่อย สามารถคดงอ และสามารถดัดได้ มีความเหนียว เปลือกบางผิวขรุขระ ที่ต้นมียาง เป็นสีขาวข้น ลักษณะเหนียว จะซึมออกมาตามเปลือกของต้นและกิ่งก้าน ซึมออกมา
  • ใบของต้นข่อย เป็นใบเดี่ยว จะเรียงสลับตามกิ่งก้านของต้นข่อย ใบมีผิวสากๆ สีเขียว ใบหนา ลักษณะของใบจะรีและปลายแหลม
  • ดอกของต้นข่อย จะออกดอกเป็นช่อ ดอกจะมีสีขาวปนเหลือง ซึ่งดอกจะออกตามปลายกิ่ง และซอกใบ
  • ผลของต้นข่อย ผลมีลักษณะเหมือนไข่ ผลสดมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ด ขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย

สรรพคุณของต้นข่อย

สำหรับ ประโยชน์ของต้นข่อย สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้น ตั้งแต่ ราก เปลือก กิ่ง เนื้อไม้ และเมล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • กิ่งของต้นข่อย นำมาใช้แทนแปรงสีฟัน ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง ฟันไม่ผุ ไม่ปวดฟัน
  • เปลือกของต้นข่อย มีรสฝาดและขม สามารถช่วยรักษาแผล แก้ท้องร่วง ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ รักษาพยาธิที่ผิวหนัง
  • ยางของต้นข่อย มีสรรพคุณช่วยย่อยน้ำนม
  • รากของต้นข่อย มีรสฝาดและขม สามารถนำมารักษาแผล เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้โรคคอตีบ รักษาโรคกระดูก แก้ปวดเส้นประสาท แก้ปวดเส้นเอ็น ใช้ฆ่าพยาธิได้ รักษาอาการไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ รักษาเหงือก แก้ปวดฟัน
  • เนื้อไม้ของข่อย สามารถนำมารักษาริดสีดวงจมูก
  • ใบของข่อย มีรสฝาดและมีฤทธ์ทำให้เมาได้ เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน แก้โรคไต ขับน้ำนม แก้บิด ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาอาการไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ รักษาเหงือก แก้ปวดฟัน
  • เมล็ดของข่อย มีรสมัน มีฤทธิ์ทำให้เมา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาอาการไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ รักษาเหงือก แก้ปวดฟัน
  • ผลของต้นข่อย มีรสหวาน มีฤทธิ์ทำให้เมาและร้อน สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ แก้กระษัย ขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ข่อยด้านสมุนไพร

สารสกัดจากข่อยมีความเป็นพิษ หากถูกฉีดเข้าเส้นเลือด จะส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ และหัวใจ รวมถึงความดันของเลือด ทำให้เสียชีวิตได้ มีการสะกัดสารเคมีจากต้นข่อยและนำไปทดลองกับหนู พบว่าหนูมีอาการชัก และเสียชีวิต จากที่กล่าวมาข้างต้น ข่อยมีฤทธ์ทำให้เมา หากใช้ไม่ถูกวิธีก็เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ข่อย ( Tooth brush tree ) สมุนไพรพื้นบ้าน ไม้ประดับ กิ่งข่อย สรรพคุณใช้แทนยาสีฟัน ยางของข่อย ทำยาฆ่าแมลง ลักษณะของต้นข่อย เนื้อไม้ข่อย นำมาทำกระดาษ พืชมงคล ช่วยไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากบ้าน โทษของข่อย ต้นข่อย

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove