โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เพิ่มน้ำอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะสำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง โทษของโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ประฌยชน์ของโด่ไม่รู้ล้ม

ว่านโด่ไม่รู้ล้ม เป็น พืชสมุนไพร ที่มี สรรพคุณ เสริมสมรรถภาพทางเพศ ช่วยบำรุงกำลัง ลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่มคุณภาพอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะ สำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม ควรหลีกเลี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ โด่ไม่รู้ล้ม ทางเภสัชศาสตร์ พบว่า โด่ไม่รู้ล้ม มี สรรพคุณ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ต้านความเป็นพิษต่อตับ สามารถช่วยลดไข้ ลดอักเสบ ลดความดันเลือด บำรุงลำไส้เล็ก กระตุ้นการทำงานของมดลูก เพิ่มคุณภาพน้ำอสุจิในเพศชาย เพิ่มขนาด และ ความแข็งแรงของอวัยวะเพศ

โด่ไม่รู้ล้ม ภาษาอังกฤษ เรียก Prickly-leaved elephant’s foot มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elephantopus scaber L. เป็น พืชตระกูลเดียวกันกับทานตะวัน ชื่อเรียกอื่นๆของโด่ไม่รู้ล้ม อาทิ เช่น ขี้ไฟนกคุ่ม , คิงไฟนกคุ่ม , หนาดมีแคลน ,  หญ้าปราบ , หญ้าไก่นกคุ่ม , หญ้าไฟนกคุ้ม , หญ้าสามสิบสองหาบ เป็นต้น

ลักษณะของต้นโด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม เป็น พืชล้มลุก คล้ายหญ้า ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด ชอบดินทราย สามารถพบได้ตาม ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบ และ ป่าสนเขา ในประเทศเขตร้อน มีลักษณะของต้นว่านโด่ไม่รู้ล้ม ดังนี้

  • ลำต้น สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นสั้น ลักษณะกลม อยู่ระดับผิวดิน
  • ใบของโด่ไม่รู้ล้ม เป็นใบเดี่ยว ขึ้นบนเหง้า ใบขึ้นเป็นกระจุก เหมือนดอกกุหลาบ ใบ เป็นรูปหอกหัวกลับ ใบกว้าง ขอบใบหยัก เนื้อใบหนาและสาก ผิวของใบมีขนเล็กๆ ท้องใบจะมีขนมากกว่าหลังใบ และไม่มีก้านใบ
  • ดอกโด่ไม่รู้ล้ม   ออกดอกเป็นช่อ ออกมาจากลำต้น ดอก เป็นรูปหลอดสีม่วง หลอดกลีบดอกยาว ไม่มีขน ปลายแหลม ฐานเป็นติ่งแหลม แต่ละช่อย่อยจะอยู่รวมกันเป็นช่อกระจุกกลมที่ปลายก้านดอก
  • ผลของโด่ไม่รู้ล้ม ผลจะเป็นผลแห้ง และไม่แตก ซึ่งลักษณะของผล จะเล็ก เรียว เป็นรูปกรวย ผลมีขน

สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม

ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สามารถใช้ประโยชน์ ทาง การรักษาโรค ได้ทุกส่วน ทั้งต้น ใบ และ ราก ซึ่งรายละเอียด ประโยชน์ทางยาของว่านโด่ไม่รู้ล้ม มี ดังนี้

  • รากของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษามาลาเรีย ช่วยลดไข้ เป็นยาแก้ไอ แก้ไข้หวัด แก้อาเจียน เป็นยาแก้วัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยแก้อาการตาแดง ช่วยรักษาแผลในช่องปาก แก้ปวดฟัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับระดูขาวของสตรี เป็นยาบีบมดลูก ใช้ต้มอาบหลังคลอดของสตรี ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด ใช้เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยแก้อาการอักเสบ ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดแดง
  • ใบของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาโรคมาลาเรีย ใช้ลดไข้ เป็นยาแก้ไอ ใช้รักษาวัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ รักษาตาแดง ช่วยรักษาแผลในช่องปาก บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก แก้อาการท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยคลายเส้น แก้อาการปวดเมื่อย
  • ลำต้นของโด่ไม่รู้ล้ม ใช้ เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้กษัย ช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาไข้มาลาเรีย ลดไข้  เป็นยาแก้ไอ แก้วัณโรค ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ แก้ตาแดง ช่วยรักษาอาการต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ช่วยห้ามเลือดกำเดา บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก แก้อาการท้องเสีย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยขับของเสีย ช่วยรักษาฝี ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

ประโยชน์อื่นๆของต้นโด่ไม่รู้ล้ม

  • ใช้เป็น ไม้ประดับ ปลูกประจำบ้าน เพื่อความสวยงาม
  • เป็น ต้นไม้มงคล เชื่อว่า การปลูกว่านโด่ไม่รู้ล้ม ช่วยป้องกันเสนียดจัญไร
  • นำไป แปรรูปเป็นยาสมุนไพร เช่น ผงสำเร็จรูป ยาดองเหล้า ยาแคปซูล เป็นต้น

ข้อควรระวังสำหรับการใช้โด่ไม่รู้ล้ม

สำหรับสตรีมีครรภ์ ห้ามใช้ รวมถึงคนทั่วไปที่มีปัญหาเมื่อเจออากาศหนาว คนที่ชอบดื่มของร้อน เป็นต้น

โด่ไม่รู้ล้ม พืชสมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยเพิ่มน้ำอสุจิ กระตุ้นมดลูก เหมาะสำหรับคนมีบุตรยาก ว่านโด่ไม่รู้ล้ม สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยง โทษของโด่ไม่รู้ล้ม

เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์และสรรพคุณบำรุงกำลัง คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม

เห็ดหอม สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของเห็ดหอม

ต้นเห็ดหอม เป็น สมุนไพร ในแถบประเทศที่มีอากาศเย็น อย่าง ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ซึ่ง เห็ดหอม ถือเป็น อาหารชั้นเลิศ ที่มี สรรพคุณทางยาสูง มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดีต่อสุขภาพ เห็ดหอม  นั้น นำมาทำอาหาร ก็แสนอร่อย คุณค่าทางอาหาร และ สรรพคุณ เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด เป็น ยาอายุวัฒนะ ช่วยต้านมะเร็ง ชะลอวัย วันนี้เรามา ทำความรู้จักกับเห็ดหอม กันให้มากขึ้น

เห็ดหอม เป็น เชื้อราชนิดหนึ่ง เห็ดหอม ภาษาอังกฤษ เรียก Shitake Mushroom ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดหอม คือ Lentinus edodes ( Berk.) Sing ชื่อเรียกอื่นๆ ของ เห็ดหอม อาทิเช่น ไชอิตาเกะ , โบโกะ , เฮียโกะ , ชิชิ-ชามุ , เห็ดดำ เป็นต้น

มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ใน เห็ดหอม มี สารสำคัญ หลายตัว เช่น เลนติแนน ( Lentinan ) สารตัวนี้มีส่วนใน การกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันโรค ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง  กรดอิริทาดีนีน ( Eritadenine ) เป็น กรดอะมิโน ที่ ช่วยลดไขมัน และ ลดคอเลสตรอรอลในเส้นเลือด จะ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โรคเกี่ยวกับระบบเลือด ได้ดี สารเออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol ) เป็นสารที่ ช่วยในการบำรุงกระดูก และ ทำให้กล้ามเนื้อให้แข็งแรง  ป้องกันโรคกระดูกผุ และ โรคโลหิตจาง ได้ดี

ลักษณะของเห็ดหอม

เห็ดหอม จะ มีลักษณะหมวกเห็ดกลม มีผิวสีน้ำตาลอ่อน จนถึง น้ำตาลเข้ม มีขน สีขาว ลักษณะหยาบๆ กระจายทั่วหมวกเห็ด ก้านดอกเห็ด และ โคนของเห็ดหอม มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อของเห็ดหอม จะนุ่ม สามารถรับประทานได้ มีกลิ่นหอม เป็น เอกลักษณ์ ที่เฉพาะตัว จึงถูกเรียกว่า เห็ดหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษา คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม สด และ เห็ดหอมแห้ง ซึ่ง พบว่า ใน เห็ดหอมสดขนาด 100 กรัม สามารถ ให้พลังงานร่างกาย 387 กิโลแคลอรี โดยมี สารอาหารที่มีประโยชน์ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8 กรัม กากใยอาหาร 8 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม เหล็ก 8.5 มิลลิกรัม และมีการศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอมแห้ง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ พลังงาน แก่ร่างกาย 375 กิโลแคลอรี และมี สารอาหาร ที่ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม กากใยอาหาร 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม เหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าใน เห็ดหอม ไม่ว่าจะเป็น แห็ดหอมแห้ง หรือ เห็ดหอมสด ก็ให้ คุณค่าทางอาหาร ที่ใกล้เคียงกัน แต่ การรับประทานเห็ดหอม มี ข้อควรระวัง อยู่บ้าง ซึ่ง

ข้อควรระวังในการรับประทานเห็ด คือ การรับประทานเห็ดหอม ไม่ควรรับประทานในสตรีหลังคลอดบุตร และ ผู้ป่วยที่พึ่งฟื้นไข้ รวมถึง คนที่เป็นหัด เนื่องจาก เห็ดหอม มีพวกจุลินทรีย์  ทำให้เกิดแก๊สในท้อง สำหรับสตรีหลังคลอด ระบบภายในยังไม่ดี อาจเกิด อันตรายต่อคุณแม่หลังคลอด รวมถึงจะ ส่งผลต่อน้ำนม ที่ ทำให้ลูกท้องอืด หากรับประทานนมแม่ที่กินเห็ด

สรรพคุณทางสมุนไพรของเห็ดหอม

สำหรับ การรับประทานเห็ดหอม ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคหวัด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยบำรุงระบบหัวใจ ช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับเลือด ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงระบบสมอง ช่วยบำรุงระบบประสาท ช่วยชะลอวัย ช่วยให้นอนหลับสบาย

เห็ดหอม ( Shitake Mushroom ) สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร พบได้ในแถบประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เห็ดหอม อาหารชั้นเลิศ สรรพคุณทางยาสูง ประโชยน์ของเห็ดหอม สรรพถคุณของเห็ดหอม เป็นยาบำรุงกำลังชั้นยอด คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหอม โทษของเห็ดหอม


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove