ขมิ้น สมุนไพร นิยมใช้เหง้านำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นขมิ้น คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น สรรพคุณของขมิ้น เช่น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม โทษของขมิ้นมีอะไรบ้าง

ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรบำรุงผิว

ต้นขมิ้น ( Turmaric ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn สมุนไพร สรรพคุณของขมิ้น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ลดไขมันในเลือด เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาฆ่าเชื้อรา รักษาฝี รักษาแผลไฟไหม้ บำรุงตับ ช่วยย่อยอาหาร ลดไขมันในตับ ขมิ้นเป็นพืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง

ต้นขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นที่หอม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว ซึ่งแทงออกมาจากเหง้า ดอกของขมิ้นออกเป็นช่อ มีก้านชช่อแทงออกมาจากเหง้า กลีบดอกของขมิ้นมีสีเหลืองอ่อน

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก  ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น

ขมิ้น มีวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งตับได้ ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร

ขมิ้นชัน อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

สรรพคุณทางสมุนไพรของขมิ้น

เรานิยมใช้เหง้าของขมิ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเหง้าของขมิ้นมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาฝี แผลพุพอง รักษาอาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย รายละเอียดการนำเอาขมิ้นมาใช้เป็นยาต่างๆ ดังนี้

  • ยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องอืด โดยใช้เหง้าขมิ้นแก่ มาขูดเปลือกออกล้างให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด และคั้นเอาแต่น้ำ รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ยาทาผิว ใช้แก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง แผลพุพอง ชันนะตุ และหนังศรีษะที่เป็นผื่น โดยใช้เหง้าแก่ มาบดเป็นผง ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นผื่นคัน
  • ยารักษาโรคกระเพาะ โดยใช้รับประทานเหง้าขมิ้น

ผลข้างเคียงจากการบิโภคขมิ้นชัน

การรับประทานขมิ้นเพื่อการรักษาโรคใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วรับประทานไปเรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริง แต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษเสียเอง ขมิ้นชันมีผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการดังกล่าว ควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อเรื่องโทษและข้อเสียของขมิ้นในแถบภาคใต้ว่า การรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง

อย่างไรก็ตาม คุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วย เนื่องจากอาการท้องเสียนั้นเป็นอาการข้างเคียงทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่นหรือจากภาวะของโรคที่เป็นอยู่แล้วร่วมด้วยก็เป็นได้ ดังนั้นคุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วยว่าเดิมกินยาอื่นแล้วไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ แต่เพิ่งมามีปัญหาเมื่อตอนรับประทานขมิ้นร่วมด้วย ก็ควรสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นผลข้างเคียงของขมิ้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ถ้าคิดว่าเป็นผลข้างเคียงของขมิ้น คุณก็อาจจะรับประทานขมิ้นต่อไปได้ ด้วยการรับประทานซ้ำ และค่อย ๆ ปรับขนาดยา จาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ก็อาจจะทำให้รับประทานขมิ้นต่อไปได้

ขมิ้นชันมีสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บเกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่างเคอร์คูมินในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน

ชะพลู พืชพื้นบ้าน นิยมรับประทานใบชะพลูเป็นอาหาร ลักษณะของต้นชะพลู คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู สรรพคุณช่วยขับลม ลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของชะพลู

ชะพลู สมุนไพร สรรพคุณของชะพลู

ชะพลู ( Wildbetal Leafbush ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพูล คือ Piper sarmentosum Roxb. สมุนไพร พืชล้มลุก สรรพคุณของชะพลู แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาหารปวดเมื่อย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ และขับเสมหะ ลักษณะเด่นของชะพลู คือ มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหาร เราจะพบบ่อย โดยนำใบชะพลูมาทำเป็น เครื่องเคียง ทานกับแหนมคลุก หรือน้ำพริก

ต้นชะพลู มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Piper sarmentosum Roxb. ชื่ออื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ ชื่อเรียกของชะพลูก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น ต้นชะพลู มักมีการจำสับสนกับพลูทั้งที่เป็นคนละชนิดกัน ซึ่งใบจะรสไม่จัดเท่ากับพลูและยังมีขนาดเล็กกว่า สำหรับสรรพคุณของชะพลูที่สำคัญนั้นก็ได้แก่ ช่วยบำรุงธาตุ ขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยในการขับเสมหะ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของชะพลู

นักโภชนาการได้ศึกษา ประโยชน์ทางโภชนาการของชะพลู พบว่า ในชะพลู 100 กรัม จะมี โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 2.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.2 กรัม แคลเซียม 298 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 กรัม วิตามินบี1 0.09 กรัม วิตามินบี2 0.2 กรัม ไนอาซีน 3.4 กรัม วิตามินซี 22 กรัม เบต้าแคโรทีน 414 ไมโครกรัม ใยอาหาร 6.9 กรัม

ลักษณะของต้นชะพลู

ต้นชะพลู เป็นพืชล้มลุกมีขนาดเล็ก เป็นเถาเลื้อยรวมกัน ใบชะพลูมีสีเขียวสดเป็นมัน ปลายใบชะพลูแหลม คล้ายรูปหัวใจ มีกลิ่นฉุน รสเผ็ดเล็กน้อย ดอกชะพลูมีสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อรูปทรงกระบอกยาว

สรรพคุณของชะพลู

เราพบว่าชะพลูสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ทุกส่วน รายละเอียด ดังนี้

  • ดอกของชะพลู นำมาอบแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
  • รากของชะพลู  ช่วยขับเสมหะ ขับลมในลำไส้
  • ลำต้นของชะพลู สามารถใช้ขับเสมหะได้
  • ใบชะพลู จะมีรสเผ็ดร้อน นำมารับประทาน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน มีสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้ป้องกันโรคมะเร็ง แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ บำรุงเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงสายตา ช่วยแก้ท้องอืด

ประโยชน์ของชะพลู

ใบชะพลูมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปูในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลาในใบมีออกซาเลทสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ

ชะพลูเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้

ข้อควรระวังในการบริโภคชะพลู

หากรับประทานในปริมาณมากหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน แคลเซียมที่มีอยู่ในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลต (Oxalate) ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ดังนั้นคุณจึงควรดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อให้สารออกซาเลตเจือจางลง

ชะพลูเป็นผักสมุนไพร ที่ใช้บริโภค ช่วยขับลมได้ดี เราได้รวมสมุนไพรอื่นๆที่ช่วยขับลมได้ มีดังนี้

ชะมวง สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง ประโยชน์ของชะมวงชะมวง
ส้มแขก สมุนไพร สรรพคุณของส้มแขก ประโยชน์ของส้มแขกส้มแขก
ว่านชักมดลูก สมุนไพร สรรพคุณของว่านชักมดลูก ประโยชน์ของว่านชักมดลูกว่านชักมดลูก
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชายกระชาย
สะเดา ผักสะเดา สมุนไพร สรรพคุณของสะเดาสะเดา
ดอกชมจันทร์ สมุนไพร สรรพคุณของชมจันทร์ ชมจันทร์
ว่านมหาหงส์ สมุนไพร สรรพคุณของว่านมหาหงส์ ประโยชน์ของว่านมหาหงส์ว่านมหาหงส์

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove