กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณมีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศกุยช่าย สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของกุยช่าย

กุยช่าย ( Garlic chives ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว

ต้นกุยช่าย เป็นพืชสมุนไพร ในครัวเรือน นิยมนำใบและดอกกุยช่ายมาทำอาหาร สรรพคุณของกุยช่าย เช่น รักษาหวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ แก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ กุยช่ายที่รู้จักกันในท้องตลาด มี กุยช่ายขาว และกุยช่ายเขียว ซึ่งคือพืชชนิดเดียวกัน แต่เทคนิคด้านการผลิตพืช ทำให้ใบกุยช่ายสามารถเป็นสีขาวได้ ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งได้ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพร ชื่อ กุยช่าย กัน

กุยช่าย นิยมนำใบมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ตัวอย่างอาหารเมนูกุยช่าย เช่น ผัดเต้าหู้ ผัดหมูกรอบ ผัดหมี่ซั่ว ผัดหมีฮ่องกง เป็นต้น กุยช่ายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออก แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น กุยช่าย ภาษาอังกฤษ เรียก Garlic chives กุยช่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Allium tuberosum Rottler ex Spreng. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง สำหรับกุยช่ายมีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักไม้กวาด, ผักแป้น, กูไฉ่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย เป็นพืชตระกูบล้มลุก ความสูงของต้นกุยช่ายประมาณไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีเหง้าเล็กๆ และแตกกอ ลักษณะของต้นกุ่ยฉ่าย มีดังนี้

  • ใบของกุยช่าย เป็นใบแบน และยาว ขึ้นที่โคนต้นเหมือนต้นหญ้า
  • ดอกของกุยช่าย จะออกเป็นช่อ มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
  • ก้านของช่อดอกกุยช่าย มีความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร
  • ผลของกุยช่าย มีลักษณะกลม เมล็ดของกุยช่าย มีสีน้ำตาล ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบกุยช่ายและดอกกุยช่าย พบว่า ต้นกุยช่ายขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ มากมายประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบต้าแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ในการศึกษาดอกกุยช่ายขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบต้าแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัมและธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับ ประโยชน์ของกุยช่าย ด้านการรักษาโรคต่างๆ นั้่น สามารถใช้กุยช่าย ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก เมล็ด ดอก รายละเอียดของ สรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย ช่วยบำรุงกระดูก กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก เป็นยาแก้หวัด แก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาแผลริดสีดวงทวาร ช่วยแก้โรคนิ่ว รักษาหนองในได้ บำรุงไต แก้พิษแมลงกัดต่อย รักษาห้อเลือด รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลเป็นหนอง บำรุงน้ำนม ช่วยลดอักเสบ
  • รากกุยช่าย ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล แก้อาการอาเจียน มีฤทธิ์ในการช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด
  • เมล็ดของกุยช่าย ช่วยอุดฟัน ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาฆ่าแมลง
    ช่วยแก้อาเจียน ด้วยการใช้ต้นกุยช่ายนำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย หรือจะผสมกับน้ำขิงสักเล็กน้อยอุ่นให้
  • ต้นกุยช่าย ช่วยรักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้โรคนิ่ว ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี รักษาโรคหนองใน บำรุงน้ำนม ลดอาการอักเสบ

ข้อควรระวังในการบริโภคกุยช่าย

  • กุยช่ายมีสรรพคุณให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้ตัวร้อน และร้อนในได้
  • ไม่ควรดื่มสุรา ร่วมกับกุยช่าย เนื่องจากกุยช่ายทให้ร่างกายร้อนขึ้น และสุราก็มีฤทธิ์ร้อนเช่นกัน อาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • กุยช่ายกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ หากมีอาการท้องเสีย หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรกินกุยช่าย
  • กุยช่ายแก่ จะมีกากใยอาหารมาก ในการรับประทานกุยช่าย จะทำให้ระบบลำไส้ ทำงานหนักมากขึ้น

กุยช่าย ( Garlic chives ) สมุนไพร ผักสวนครัว ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของใบกุยช่าย ชนิดของกุยช่าย เช่น กุยช่ายขาว กุยช่ายเขียว สรรพคุณของกุยช่าย ประโยชน์ของกุยช่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงไต กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ

ยี่หร่า ( Tree Basil ) สมุนไพร สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงประสาท บำรุงผิว ต้นยี่หร่าเป็นอย่างไร ยี่หร่าใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม เครื่องดื่มยี่หร่า สมุนไพร สรรพคุณยี่หร่า ประโยชน์ของยี่หร่า

ยี่หร่า เป็น สมุนไพรท้องถิ่น มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ ว่า Tree Basil ยี่หร่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ocimum gratissimum L. ยี่หร่าเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระเพราและผักชี สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของยี่หร่า เช่น กะเพราญวณ จันทร์หอม เนียม จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น สะหลีดี หอมป้อม โหระพาช้าง กะเพราควาย หร่า เทียนขาว เป็นต้น

ต้นยี่หร่า เป็นอีกหนึ่ง สมุนไพร ที่นิยมนำมาใช้ทำอาหารรับประทาน สรรพคุณเด่นของยี่หร่า ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงระบบประสาท บำรุงผิวพรรณ ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ  มีฤทธิ์เผ็ดร้อน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับยี่หร่า กัน

ยี่หร่าในสังคมไทย

ยี่หร่า เป็น พืชที่มีความผูกพันกับสังคมไทยมาช้านาน ในกาบเห่เรือ ยังมีบทหนึ่ง “มัสมั่น หอมยี่หร่า รสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา” ยี่หร่าเป็นพืชล้มลุก มีกลิ่นแรง รสเผ็ดร้อน ซึ่งในใบของยี่หร่า จะมีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง เรียกว่า น้ำมันยี่หร่า นำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม น้ำหอม ทำเครื่องดื่ม

ถิ่นกำเนิดของยี่หร่า

ถิ่นกำเนิดของยี่หร่า นั้นอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย และจีน การนำเอายี่หร่ามาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ช่วยดับคาว จากนั้นสัตว์ ช่วยในการถนอมอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ ช่วยป้องกันไม่ให้อาหารเน่า และน้ำมันหอมระเหยของยี่หร่า ใช้แต่งกลิ่นอาหาร และใช้แต่งกลิ่นน้ำหอมต่างๆได้อีกด้วย

ต้นยี่หร่า

ต้นยี่หร่า เป็นไม้ประเภทล้มล้ก เป็นไม้พุ่ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง อาการถ่ายเทได้สะดวก ชอบอยู่กลางแจ้ง

  • ลำต้นของยี่หร่า มีความสูงไม่เกิน 80 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นยี่หร่า มีสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขา กิ่งก้านไม่ใหญ่
  • ใบยี่หร่า มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยัก สีเขียวสด ผิวใบสากๆ มีกลิ่นหอม
  • ดอกของยี่หร่า จะออกบริเวณปลายยอด มีลักษณะเป็นช่อ โดยแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก 
  • ผลของยี่หร่าหรือเมล็ดของยี่หร่า คือตัวเดียวกัน ผลของยี่หร่า มีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดเล็ก ผลอ่อนจะมีสีเขียว และผลแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีสีดำหรือสีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า

นักโภชนาการได้ทำการศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่า ในใบยี่หร่า 100 กรัม นั้น มี กากใยอาหาร 26.8 กรัม มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม วิตามินซี 0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม
และธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

สรรพคุณของยี่หร่า

ยี่หร่าในทางสมุนไพรและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ได้ทุกส่วน ของยี่หร่า ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก ผล ซึ่งรายละเอียดของสรรพคุณของยี่หร่า มีดังนี้

  • รากยี่หร่า สามารถช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้
  • ต้นยี่หร่า สามารถช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้
  • ผลของยี่หร่า สามารถช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
  • ใบยี่หร่า สามารถช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขัยของเสียออกจากร่างกาย แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด ขับลม ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน

โทษของยี่หร่า

สำหรับคนที่มีอาการแพ้ยี่หร่า อาจมีอาการระคายเคืองร่างกาย เกิดผื่นคัน หากพบว่ามีอาการแพ้ให้หยุดรับประทานทันที

ยี่หร่า ( Tree Basil ) สมุนไพร รสเผ็ดร้อน คุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า สรรพคุณของยี่หร่า ประโยชน์ของยี่หร่า ช่วยขับลม บำรุงระบบประสาท บำรุงผิวพรรณ ต้นยี่หร่าเป็นอย่างไร ชื่ออื่นๆของยี่หร่า ยี่หร่านำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม น้ำหอม และ เครื่องดื่ม


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove