กระถิน สมุนไพร ไม้ยืนต้น สรรพคุณของกระถิน เช่น บำรุงกระดูก ช่วยขับลม ลักษณะของต้นกระถินเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน โทษของกระถิน เป็นอย่างไรกระถิน สรรพคุณของกระถิน ประโยชน์ของกระถิน สมุนไพร

ต้นกระถิน ( White popinac ) พืชสมุนไพรในเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบทวีปอเมริกา และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ขยายพันธุ์ได้ง่าย จัดเป็นไม้พุ่ม ไม้ต้นขนาดเล็ก นิยมรับประทาน ยอดอ่อน และ ฝักอ่อน สรรพคุณของกระถิน เช่น บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจ ช่วยขับลม เป็นต้น โทษของกระถินมีอะไรบ้าง

กระถิน ( White popinac ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระถิน คือ Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit  จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของกระถิน คือ กะเส็ดโคก กะเส็ดบก กะตง กระถินน้อย กระถินบ้าน ผักก้านถิน ผักหนองบก กระถินไทย กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก ตอเบา สะตอเทศ สะตอบ้าน กระถินยักษ์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของยอดกระถินอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานสูงถึง 62 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 8.4 กรัม ไขมัน 0.9 กรัม กากอาหาร 3.8 กรัม น้ำ 80.7 กรัม วิตามินเอ 7,883 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.33 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 137 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 9.2 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นกระถิน

ต้นกระถิน สามารถขยายพันธุ์ ด้วยการใช้เมล็ด และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย สำหรับลักษณะของต้นกระดิน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ต้นกระถิน มีความสูงประมาณไม่เกิน 10 เมตร ลักษณะทรงต้นเป็นเรือนยอดรูปไข่ เปลือกมีสีเทา มีปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป
  • ใบกระถิน เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน แกนกลางใบประกอบมีขน เรียงตรงข้ามกัน ส่วนใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของโคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบมีขน
  • ดอกกระถิน ดอกของกระถินจะมีสีขาว ออกอดช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี ดอกมีลักษณะเป็นช่อ แบบกระจุกแน่น ออกดอกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ลักษณะเป็นรูประฆัง
  • ฝักกระถิน ลักษณะแบน ปลายฝักแหลม เมื่อฝักแก่จะแตกตามยาว ภายในฝักกระถินจะมีเมล็ดเรียงตามขวางจำนวนมาก และจะออกผลช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนมกราคมของทุุกปี
  • เมล็ดกระถิน สำหรับเมล็ดของกระถิน จะอยู่ภายในฝักกระถิน มีลักษณะเป็นรูปไข่ แบน สีน้ำตาล และ มัน

สรรพคุณของกระถิน

สำหรับต้นกระถินสามารถใช้ประโยชน์ได้ในทุกส่วน ตั้งแต่ ลำต้น เปลือก ใบ ดอก เมล็ด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของกระถิน มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับระดู
  • เมล็ดแก่ของกระถิน มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้นอนหลับ ช่วยขับลม ช่วยขับระดูขาวของสตรี ช่วยบำรุงไต
  • เมล็ดของกระถิน มีสรรพคุณ บำรุงกระดูก เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ฝักอ่อนของกระถิน มีสรรพคุณ บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ยอดอ่อนของกระถิน มีสรรพคุณ บำรุงกระดูก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ดอกของกระถิน มีสรรพคุณช่วยแก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา ช่วยบำรุงตับ
  • เปลือกของกระถิน มีสรรพคุณช่วยห้ามเลือด

โทษของกระถิน

ในใบของกระถิน มีสารชนิกหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นพิษ ชื่อ สารลิวซีนีน ( Leucenine ) หากกินไปมากๆ อาจทำให้ขนร่วงและเป็นหมันได้  กระถินเป็นพืชที่มีคุณสมบัติ ช่วยดูดธาตุซีลีเนียมจากดินได้มาก จึงอาจทำให้เกิดพิษเนื่องจากธาตุนี้ได้

ต้นหม่อน มัลเบอรรี่ พืชท้องถิ่น สมุนไพร สรรพคุณของหม่อน เช่น ลดไข้ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ต้นหม่อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน โทษของหม่อนมีอะไรบ้างหม่อน มัลเบอรรี่ สมุนไพร ใบหม่อน

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ ภาษาอังกฤษ เรียก Mulberry  ชื่อวิทยาศาสตร์ของหม่อน คือ  Morus alba Linn เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับขนุน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของหม่อน คือ มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ ซางเย่ เป็นต้น ต้นหม่อนในประเทศไทยนิยมนำมาใช้เลี้ยงตัวไหม สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นไหม

ชนิดของหม่อน

ต้นหม่อน นั้นมี 2 ชนิด คือ ต้นหม่อนสำหรับใช้รับประทานผล เรียก Black Mulberry และ ต้นหมอนสำหรับนำมาเลี้ยงไหม เรียก White Mulberry

  • black mulberry ผลจะโตเป็นช่อ ,uสีดำ มีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทานและทำอาหารแปรรูป เช่น แยม เป็นต้น
  • White Mulberry มีใบขนาดใหญ่ ใช้เป็นอาหารของตัวไหมได้ดี ส่วนผลสุกมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ครับ แต่ไม่เป็นที่นิยม

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี เป็นพืชที่มีอายุนานถึง 100 ปี หากไม่ถูกทำลายจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง หรือ ศัตรุพืช สามารถเจริญได้ดีตั้งแต่เขตอบอุ่นจนถึงเขตร้อน

ลักษณะของต้นหม่อน

ต้นหม่อน จัดเป็น พืชพื้นเมืองของประเทศจีน ทางตอนใต้ในแถบเทือกเขาหิมาลัย จากนั้นได้มีการนำเอามาเลี้ยงและกระจายพันธ์สู่ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้พุ่ม มีขนาดกลาง พบได้ทั่วไปในป่าดิบในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ลำต้นหม่อน ลำต้นจะตั้งตรง ความสูงประมาณ 250 เซ็นติเมตร บางสายพันธุ์สามารถสูงถึง 700 เซ็นติเมตร เปลือกของลำต้นมีลักษณะ เรียบ มีสีน้ำตาลแดง หรือ สีขาวปนสีน้ำตาล หรือ สีเทาปนขาว
  • รากหม่อน มีเปลือกรากสีน้ำตาลแดง หรือ สีเหลือแดง มีเส้นร้อยแตกที่เปลือกผิว
  • ใบหม่อน มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ใบรูปทรงไข่ ปลายแหลมยาว โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเว้า
  • ดอกหม่อน จะดอกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดเล็ก วงกลีบเป็นสีขาวหม่น ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวได้ประมาณ 2 เซนติเมตร ขอบมีขน
  • ผลหม่อน เกิดจากช่อดอก ผลออกเป็นกระจุกเดียวกัน ออกตามซอกใบ ลักษณะของผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีสีเขียว ส่วนผลสุกเป็นสีม่วงแดง เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ และมีรสหวานอมเปรี้ยว

คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน

ในใบหม่อนมีคุณค่าทางอาหารสูง ประกอบด้วย โปรตีน 22.60 % คาร์โบไฮเดรต 42.25 % และ ไขมัน 4.57 %  ยังมีกรดอะมิโน 18 ชนิด อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะแคลเซียมที่สูงเป็นพิเศษ มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีพีนอลรวม เควอซิติน เคม-เฟอรอล และรูติน

สรรพคุณของหม่อน

สำหรับหม่อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ผล และราก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบหม่อน มีสรรพคุณ เป็นยาระงับประสาท ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับลมร้อน ช่วยขับเหงื่อ แก้ไอ บำรุงสายตา แก้ริดสีดวงจมูก ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเลือด ใช้ทาแก้แมลงกัด ใช้รักษาแผลกดทับ
  • รากของหม่อน มีสรรพคุณมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขับน้ำในปอด ช่วยขับพยาธิ ยาขับปัสสาวะ ช่วยลดอาการบวมน้ำที่ขา ช่วยแก้แขนขาหมดแรง
  • ผลของหม่อน มีสรรพคุณช่ยวบำรุงหัวใจ เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยดับร้อน ทำให้ชุ่มคอ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการท้องผูก ยาระบายอ่อน ๆ ช่วยบำรุงตับ ช่วยบำรุงไต แก้โรคปวดข้อ ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ
  • กิ่งของหม่อน มีสรรพคุณ ช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี ช่วยลดความร้อนในปอด ช่วยรักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง
  • เมล็ดหม่อน มีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร

ประโยชน์ของใบหม่อน

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ชื่อ Anthyocyanin ซึ่งเป็นสารสีม่วงแดง ช่วยป้องกัน โรคหัวใจ และป้องกันโรคมะเร็ง
  • มีวิตามินบี 6 ช่วยบำรุงเลือด บำรุงตับ บำรุงไต ลดการเกิดสิว ลดอาการปวดประจำเดือน
  • ป้องกันและยับยั้งการเกิดลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดแตก
  • มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคปอด
  • มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก บำรุงเหงือกและฟัน สร้างภูมิให้ระบบหายใจ บำรุงผิว ลดการอักเสบของสิว
  • มีกรดโฟลิค หรือวิตามินเอ็ม ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันทารกพิการ ช่วยการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หญิงแรกตั้งครรภ์เดือนแรกต้องการกรดโฟลิค
  • ช่วยแก้อาการเมาค้าง ผ่อนคลายความเครียด
  • ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำป้องกันผมหงอกก่อนวัย
  • ใช้แก้อาการเวียนศีรษะ หูอื้อ ใจสั่น นอนไม่หลับ เบาหวาน ท้องผูก

โทษของหม่อน

สำหรับข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากหม่อนและโทษของหม่อน มีดังนี้

  • ใบหม่อนสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่กำลังผ่าตัด ควรงดการกินใบหม่อน เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลเสียต่อการห้ามเลือด
  • ใบหม่อน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยภาวะความดันต่ำ ไม่ควรบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากใบหม่อน

ต้นหม่อน มัลเบอรรี่ คือ พืชท้องถิ่น สมุนไพร สรรพคุณของหม่อน เช่น ลดไข้ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ลักษณะของต้นหม่อน เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน โทษของหม่อน มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove