ต้นเข็มแดง ( Ixora ) สมุนไพร ประโยชน์และสรรพคุณลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดงต้นเข็ม ต้นเข็มแดง ดอกเข็ม สรรพคุณของต้นเข็ม

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) ชื่อวิทาศาสตร์ของต้นเข็ม คือ Ixora lobbii Loudon พืชไม้พุ่ม สมุนไพร ประโยชน์ของต้นเข็ม สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเข็ม รากของต้นเข็ม ใช้บำรุงไฟธาตุ ลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิได้ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดง

ดอกเข็ม เป็นไม้มงคล ตามความเชื่อของคนไทย ดอกเข็มมีลักษณะแหลมเรียว แสดงความหมายของ สติปัญญาที่เฉียบแหลม ดอกเข็ม จึงเป็นดอกไม้ประจำวันไหว้ครู ใช้บูชาพระ และจัดแจกัน ตามงานพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ต้นเข็มแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ixora lobbii Loudon ชื่อเรียกอื่นๆของต้นเข็ม คือ จะปูโย, ตุโดบุโยบูเก๊ะ, เข็มดอกแดง เป็นต้น

ลักษณะของต้นเข็มแดง

ต้นเข็มแดง เป็นไม้พุ่ม อายุยืน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง หรือปักชำ  มีขนาดเล็ก ไม่เกิน 5 เมตร กลีบดอกย่อยสีแดง มีเกสรสีเหลืองแซมข้างกลีบ ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม หนาและแข็ง สีเขียว นิยมปลูกตามบ้าน ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดสระบุรี และมีขึ้นประปรายในจังหวัดต่าง ๆ โดยนิยมนำมาปลูกกันตามชนบท และต้นเข็มสามารถขึ้นได้เองตามป่าราบและป่าเบญจพรรณ ลักษณะของต้นเข็มแดงมีอะไรบ้าง

  • ต้นของเข็มแดง เป็นพุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลัษณะต้นนั้นจะคล้ายเข็มขาว กิ่งใบมีสีน้ำตาล ขนาดเล็ก เหนียว มีใบเกาะแน่นตามกิ่ง
  • ใบของเข็มแดง ใบมีลักษณะ หนา และแข็ง สีเขียวสด ปลายใบแหลม
  • ดอกของเข็มแดง มีสีแดง ออกดอกเป็นช่อ ดอกเข็มแดงจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเข็มขาว ไม่มีกลิ่นหอม
  • ผลของเข็มแดง มีลักษณะกลม ผลอ่อน มีสีเขียว ผลสุก มีสีม่วงดำ

สรรพคุณของเข็มแดง

การใช้ประโยชน์ของเข็มแดง ในการรักษาโรค จะใช้ รากของเข็มแดง ใบและดอก โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของเข็ม มีดังนี้

  • รากของต้นเข็ม รสเย็นหวาน แก้เสมหะและแก้กำเดา บำรุงธาตุไฟ แก้ตาพิการ สามารถนำมาทำเป็น ยาบำรุงร่างกาย แก้อาการบวม ลดการอักเสบ รักษาตาพิการ ใช้หยุดเลือดกำเดา ขับเสมหะ ใช้ลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร ลดความดันโลหิต ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิ และ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของต้นเข็ม รสขื่น เป็นยาฆ่าพยาธิ
  • ดอกต้นเข็ม รสหวานเย็น แก้โรคตา

การปลูกต้นเข็ม

การปลูกต้นเข็มสามารถปลูกต้นเข็มได้ง่าย สามารถปลูกในกระถางต้นไม้ หรือปลูกลงดินก็ได้ โดยมีวิธีปลูกต้นเข็มแดง มีดังนี้

  • การปลูกต้นเข็มแดงในกระถาง ปลูกด้วยดินร่วน ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และ แกลบ โดยใช้อัตราส่วนเท่ากัน ให้ใช้กระถางทรงสูง 12 นิ้ว ให้เติมดิน หรือ เปลี่ยนดินทุกปี หรือ หากต้นมีขนาดใหญ่มากขึ้นให้เปลี่ยนกระถางให้ใหญ่มากขึ้น
  • การปลูกต้นเข็มแดงลงดิน ต้องขุดดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร โดยใช้ดินร่วน ผสมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วนที่เท่ากันต้นเข็มเมื่อโตขึ้น จะมีลักษณะจับกลุ่มกัน ให้ตัดแต่งทรงต้นเข็มให้สวยงาม ควรปลูกต้นเข็มทางทิศตะวันออกของบ้าน

การให้น้ำสำหรับต้นเข็ม ต้นเข็มต้องการน้ำเพียงสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ชอบแดดจัด ควรใส่ ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก ทุกๆ 3 เดือน การขยายพันธุ์ต้นเข็มแดง สามารถขยายพันธ์ได้ทั้งการปักชำ ตอนกิ่ง หรือ การเพาะเมล็ด การใส่ปุ๋ยเร่งดอกให้ต้นเข็มแดง หากต้องการให้ต้นเข็มออกดอก ให้ใส่ได้เดือนละครั้ง

ต้นเข็มแดง ( Ixora ) พืชไม้พุ่ม สมุนไพร ประโยชน์ของต้นเข็ม สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นเข็ม รากของต้นเข็ม ใช้บำรุงไฟธาตุ ลดอาการอักเสบ ลดความดันโลหิต ขับเสมหะ ช่วยเจริญอาหาร ทำให้นอนหลับ ช่วยถ่ายพยาธิได้ ทำความรู้จักลักษณะของต้นเข็มแดง

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) สมุนไพรรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ต้นพริกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นน้ำย่อย โทษของพริกพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริก

พริก หากกล่าวถึงพริก เป็นพืชสวนครัว ที่รู้จักกันทั่วโลก พริกให้รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงอาหารให้รสเผ็ด เรามาทำความรู้จักกับพริก ว่าลักษณะทางพฤษศาสตร์ของพริก ประโยชน์ สรรพคุณของพริก  และข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากพริก เป็นอย่างไร พะแนงเนื้อ แกงเลียง

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจ พริกในทางการค้าและอุตสาหกรรม มีการนำเอาสีของพริก ที่มีความหลากหลาย เช่น พริกสีเขียว พริกสีแดง พริกสีเหลือง พริกสีส้ม พริกสีม่วง และพริกสีงาช้าง มาใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการใช้สีสันของพริก และการปรุงอาหาร ซึ่งพริกสามารถปลูกได้ดีในประเทศเขตร้อนชื้น ที่มีแสงแดด

ซึ่งปัจจุบัน เทรนในการอนุรักษ์ธรรมชาติมีมากขึ้นทุกวัน การใช้สีที่ได้มาจากธรรมชาติจึงมีต้องการมากขึ้น พริกเป็นพืชอายุสั้น ที่สามารถให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ทั้งใช้บริโภคพริกสดและแปรรูปพริกให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก น้ำพริก เครื่องพริกแกง น้ำจิ้มแบบต่าง ๆ รวมถึงยารักษาโรค

ประโยชน์ของพริกมีมากมายขนาดนี้ ไม่มาทำความรู้จักกับพริกได้อย่างไร

พริก ภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers หรือ chili คำคำนี้มาภาษาสเปน ว่า chile ส่วน พริกขี้หนูสวน เรียก Bird pepper หรือ Chili pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum annuum L. พริกจัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับมะเขือ พริกขี้หนู มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก ที่เรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง หมักเพ็ด ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกมะต่อม ปะแกว มะระตี้ ดีปลี ครี ลัวเจียะ ล่าเจียว มือซาซีซู, มือส่าโพ เป็นต้น

มีการนำพริกมาศึกษาสารเคมีในพริก พบว่ามีสารสำคัญ คือ Capsaicin  เป็นสารเคมีที่ให้ฤทธิ์เผ็ดร้อน นอกจากนั้นมีสารเคมีอื่นในพริก ประกอบด้วย Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin และ Homocapsaicin

สำหรับสารเคมี Capsaicin ที่อยู่ในพริกนั้นมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งทำให้ประสาท เกิดความรู้สึกร้อนไหม้ กระตุ้นให้เกิดเมือกเพื่อป้องกันการระคายเคือง รวมถึงกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย

นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถค้นพบสารเคมีในพริก ชื่อ แคโรทีนอยด์ มีสรรพคุณต้านมะเร็งได้ สำหรับสารแคโรทีนอยด์ เป็นรูปแบบหนึ่งของสารแคโรทีน นักวิทยาศาสตร์ ได้นำเอาสารชนิดนี้มาสกัดทำอาหารเสริม ซึ่งในปัจจุบัน เป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ในพริกนอดจากมีสารเคมีสำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยังมีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงผิว แต่หากกินมากเกินไป จะทำให้ปวดท้อง และทำให้ท้องเสียได้

ชนิดของพริก

พริกมีหลากหลายพันธ์ เช่น พริกขี้หนูสวน พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง สำหรับการปลูกพริกใช้บริโภคในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ พริกรสหวาน เช่น พริกหยวก พริกชี้ฟ้า เป็นต้น และ พริกรสเผ็ด เช่น พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกขี้หนู

พริกขี้หนู เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้พุ่ม อายุสั้น ประมาณไม่เกิน 3 ปี เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา เมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้ ลักษณะของพริกมีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริก ความสูงของต้นพริกประมาณไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะมีการแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมากมาก กิ่งมีสีเขียว และสีน้ำตาล
  • ใบของพริกขี้หนู เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวใบเรียบ
  • ดอกของพริกขี้หนู ออกเป็นช่อ ลักษณะดอกจะกระจุกตามซอกใบ มีช่อละ 2 ถึง 3 ดอก และดอกจะเปลี่ยนเป็นผลพริก
  • ผลของพริกขี้หนูสวน ลักษณะของผลพริกจะยาวรี ปลายแหลม ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของพริกขี้หนู

พริกขี้หนูมีการนำเอาพริกมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ในทุกส่วนของพริก ทั้ง ต้น ผล ใบ ซึ่งเราได้แยกสรรพคุณขอพริกตามส่วนต่างๆ ของพริกมาให้ ดังนี้

  • ใบของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม  ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยผ่อนคลาย รักษาไข้หวัด แก้อาการปวดหัว  ช่วยแก้อาการคัน  ใช้รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก
  • ผลพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคพยาธิในลำไส้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นลือด ช่วยบำรุงเลือด ช่วยรักษาโรคความดัน ช่วยสลายลิ่มเลือด ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยขับเสมหะ ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ รักษาการอาเจียน ใช้ขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอด สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอด  ช่วยรักษาโรคหิด รักษากลากเกลื้อน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย  ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก
  • รากของพริก ช่วยบำรุงเลือด ช้วยฟอกเลือด  เป็นยารักษาโรคเก๊าท์ ช่วบลดอาการปวด
  • ลำต้นพริก นำมาทำยาแก้กระษัย เป็นยาขับปัสสาวะ  แก้เท้าแตก

การปลูกพริก

  • การเตรียมดิน สำหรับปลูกพริก ให้ไถพรวน แล้วรดน้ำตาม เพื่อปรับสภาพดินและป้องกันกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคในพริก กำจัดวัชพืชในแปลงพริก
  • การเพาะกล้า ให้แช่เมล็ดพริกในน้ำ เพื่อเร่งการงอกของราก จากนั้นหว่านเมล็ดลงบนแปลงเพาะ หรือถาดหลุม จากนั้นอีกประมาณ 30 วัน ให้ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก
  • การบำรุงต้นพริกและผลพริก เพื่อความสะดวกและการประหยัดค่าใช้จ่าย ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นให้พริกเจริญเติบโตออกดอก ให้ผลดก การให้ปุ๋ย หลังย้ายต้นกล้าลงแปลงปลุก ประมาณ 5 วันแล้ว ให้เริมให้ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เมื่อต้นพริกอายุได้ 50 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งดอก
  • โรคและแมลงศัตรูพืชของพริก มีน้อยมาก ถ้าให้ปุ๋ยชีวภาพอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง มักจะพบปัญหา ยอดหงิก ซึ่งมาจากเพลี้ยไฟ ให้ถอนและทำลายต้นทิ้ง

ข้อควรระวังในการรับประทานพริกขี้หนู

  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระเพราะอาหารและลำไส้ ไม่ควรกินพริก เนื่องจากพริกจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น
  • หากเด็กกินพริกเข้าไป จะมีอาการแสบร้อนมากกว่าผู้ใหญ่ ให้แก้ด้วยการให้ดื่มนมตา ในน้ำนมจะมีสาร Casein ช่วยให้อาการเผ็ด แสบร้อนลดลงได้
  • พริกทำให้ให้เกิดสิวได้ เนื่องจากพริกมีฤทธ์ให้ขับของเสียออกจากร่างกาย และของเสียจะถูกขับออกมาทางผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวหนังมีอาการอักเสบมากขึ้น
  • สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินเผ็ด ความเผ็ดของพริกจากมากกว่าปรกติ ให้ระมัดระวังในการรับประทาน

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) พืชสวนครัว รสเผ็ดร้อน สมุนไพร นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นพริก เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย ข้อควรระวังในการกินพริก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove