อบเชย เปลือกอบเชยมีกลิ่นหอมนำมาทำเครื่องเทศ อบเชย มี 5 ชนิด อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา อบเชยไทย สรรพคุณลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด ต้านเชื้อโรคต่างๆอบเชย สมุนไพร สมุนไพรในครัว ต้นอบเชย

อบเชย สมุนไพรเครื่องเทศ กลิ่นหอม อบเชยมีฤทธิ์ลดความดัน ลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ลดการหดเกร็งของหลอดลม ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และ กระเพาะอาหาร มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา แก้ปวดและช่วยทำให้แผลหายเร็ว อบเชยจะใช้เปลือกไม้ชั้นในที่แห้งแล้วนำมาใช้ประโยชน์

ต้นอบเชย นิยมใช้ทำเครื่องแกง เช่น พริกแกงกะหรี่ หรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้ก นำมาต้มน้ำแกง เช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น หรือใส่อบเชยในของหวาน บดละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม เป็นต้น อบเชย ภาษาอังกฤษ เรียก Cinnamon ชื่อวิทยาศาสตร์ของอบเชย คือ Cinnamomum spp. ชื่อเรียกอื่นๆของอบเชย เช่น บอกคอก พญาปราบ สะวง ฝักดาบ สุรามิด กระแจกโมง โมงหอม กระเจียด เจียดกระทังหัน อบเชยต้น มหาปราบ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของอบเชย

สำหรับอบเชยชนิดผงขนาด 10 กรัม ให้พลังงานถึง 24.7 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย ไขมัน 0.12 กรัม คาร์โบไฮเดรท 8.06 กรัม และ โปรตีน 0.4 กรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของอบเชย

อบเชย คือ เครื่องยาหรือเครื่องเทศ ได้จากเปลือกของอบเชย ลอกเปลือกชั้นในออกจากแก่นลำต้น และใช้มีดกรีดตามยาวของกิ่ง จากนั้นนำไปตากแดดประมาณ 5 วัน เปลือกของอบเชยจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนเหมือนสีสนิม มีรสสุขุม เผ็ด หวานเล็กน้อย และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สำหรับอบเชย มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กัน มี 5 ชนิด คือ อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวาและอบเชยไทย

ชนิดของอบเชย

สำหรับ ต้นอบเชย นั้นมีอยู่หลายชนิด โดยแต่ละชนิดก็มีคุณภาพที่แตกต่างกัน อบเชยญวนจะมีคุณภาพสูงสุด รองลงมา คือ อบเชยจีน และ อบเชยเทศ แต่อบเชยแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณทางยาที่ใกล้เคียงกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้ เราจะแนะนำอบเชย 5 ชนิด คือ อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา และ อบเชยไทย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อบเชยเทศ หรือ อบเชยลังกา อบเชยชนิดนี้มาจากประเทศอินเดียและศรีลังกา มีราคาแพงที่สุด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามลำต้น ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบหนา ผิวใบเรียบมัน สีเขียวเข้ม  ดอกอบเชยออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลเป็นสีดำ คล้ายรูปไข่ ผิวเปลือกเรียบ
  • อบเชยจีน ขนาดของลำต้นใหญ่กว่าอบเชยเทศ เปลือกหนาหยาบกว่า และ มีสีเข้มกว่าอบเชยเทศ รสชาติจะอ่อนที่สุดในบรรดาอบเชยทุกชนิด นิยมนำมาทำเป็นยาสมุนไพร
  • อบเชยญวน กลิ่นจะหอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และ ประเทศไทยส่งออกอบเชยชนิดนี้เป็นหลัก
  • อบเชยชวา มีกลิ่นหอมแต่น้อยกว่าอบเชยเทศ แต่เป็นอบเชยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
  • อบเชยไทย เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดระนอง

สรรพคุณของอบเชย

สำหรับประโยชน์ของอบเชย สามารถใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ เนื้อไม้ เปลือก ใบ ราก เมล็ด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เปลือกอบเชย สรรพคุณ คือ เป็นยาบำรุงร่างกาย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวดศีรษะ แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยชูกำลัง ยาบำรุงกำลัง บำรุงตำ บำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงหัวใจ  ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยสลายไขมัน ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยต้านมะเร็ง เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้สันนิบาต แก้อาการหวัด แก้อาการไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย  ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นยาถ่าย ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยขับน้ำคาวปลา  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตับอักเสบ  ช่วยแก้อาการปวด แก้ปวดหลัง
  • ใบอบเชย สรรพคุณ คือ แก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขับลม เป็นยาฆ่าเชื้อ ยาทาแผลถอนพิษของยางน่อง เป็นยาพอกแก้อาการปวดรูมาติสซั่ม
  • รากอบเชย สรรพคุณ คือ แก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด แก้อาการปวดฟัน รากนำมาต้มสำหรับสตรีกินหลังการคลอดบุตร ช่วยลดไข้หลังการผ่าตัด
  • เมล็ดอบเชย สรรพคุณ คือ ยาแก้ไอสำหรับเด็ก เป็นยาแก้บิดสำหรับเด็ก

โทษของอบเชย

การบริโภคอบเชยมีข้อควรระวังอยู่บ้าง เนื่องจากอบเชยเป็น สมุนไพรมีกลิ่นหอม มีน้ำมันหอมระเหย โดยข้อควรระวังในการบริโภคอบเชย มีดังนี้

  • อบเชยมีน้ำมันส่งผลให้อาการคลื่นไส้อาเจียน และเป็นอันตรายต่อไต สำหรับผู้ป่วยมีไข้ ตัวร้อน ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระแข็ง เป็นโรคริดสีดวงทวาร เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานอบเชย
  • สำหรับ อบเชยจีน เป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่อบเชยจีนมีสารคูมารินซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตับ และการได้รับสารนี้ในปริมาณมากเกินไปอาจมีปัญหาต่อตับ สำหรับคนที่ป่วยเกี่ยวกับโรคตับ ไม่ควรรับประทานอบเชย

อบเชย พืชท้องถิ่น เปลือกของอบเชยมีกลิ่นหอม นำมาทำเครื่องเทศ อบเชย มี 5 ชนิด คือ อบเชยเทศ อบเชยจีน อบเชยญวน อบเชยชวา และ อบเชยไทย สรรพคุณของอบเชย เช่น ลดความดัน ลดน้ำตางในเลือด ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

คื่นช่าย คื่นฉ่าย ขึ้นฉ่าย ( Celery ) สมุนไพรกลิ่นหอม ต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงสมอง บำรุงกระดูก มีวิตามินหลายชนิด โทษของคื่นฉายผักสมุนไพร ขึ้นฉ่าย คื่นฉ่าย สมุนไพร

ต้นขึ้นฉ่าย เป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน ขึ้นฉ่าย ภาษาอังกฤษ Celery หลายคนเขียนว่า คื่นช่าย คื่นฉ่าย หรือ คึ่นไช่ ผักขึ้นฉ่ายมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Apium graveolens L. เป็นพืชตระกุลเดียวกับผักชี ชื่อเรียกอื่นๆของคื่นฉ่าย เช่น ผักข้าวปีน  ผักปืน ผักปิ๋ม เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของขึ้นฉ่าย

จากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของคื่นฉ่าย ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม น้ำตาล 1.4 กรัม การใยอาหาร 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม น้ำ 95 กรัม วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.021 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.323 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 80 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของขึ้นฉ่าย

ต้นขึ้นฉ่าย ที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง และ ขึ้นฉ่ายจีน ซึ่งขึ้นฉ่ายฝรั่งลำต้นจะอวบใหญ่มากคื่นฉ่ายจีน ต้นขึ้นฉ่าย  เป็น พืชล้มลุก ลักษณะของต้นขึ้นฉ่ายมี ดังนี้

  • ลำต้นขึ้นฉ่าย ความสูงของต้นประมาณ 1 ฟุต ลำต้นมีลักษณะกลวง มีกลิ่นหอม อายุของขึ้นฉ่ายไม่เกิน 2 ปี
  • ใบของขึ้นฉ่าย ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก สีเขียวอมเหลือง ใบลักษณะเป็นรูปลิ่มหยัก ขอบใบหยักเป็นแฉก รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปห้าเหลี่ยม มีก้านใบยาวแผ่ออกจากกาบใบ
  • ดอกของขึ้นฉ่าย ดอกมีขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อ
  • ผลของขึ้นฉ่าย มีลักษณะกลมรี สีน้ำตาล ขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม

สรรพคุณของขึ้นฉ่าย

การใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรของขึ้นฉ่าย นิยมรับประทานสดๆ หรือนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์ของการรับประทานคื่นฉ่าย มีดังนี้

  • ช่วยเจริญอาหาร และกระตุ้นความอยากกินอาหาร
  • ช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยขยายตัวของหลอดเลือด และ ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
  • ช่วยปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด
  • ช่วยลดอาการอักเสบ
  • ช่วยให้นอนหลับสบาย กลิ่นหอมของคื่นฉ่ายช่วยให้ผ่อนคลาย
  • ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์
  • ช่วยลดอาการของโรคหอบหืด
  • ช่วยล้างพิษในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคซิลิโคซิส ( Silicosis ) โรคระบบทางเดินหายใจ ที่มีสาเหตุมาจากการสูดฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย
  • ช่วยลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันในเส้นเลือด
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • ช่วยแก้ปัญหาสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ แก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี
  • ช่วยบำรุงตับและไต
  • ช่วยรักษาโรคปวดข้อต่าง ๆ รวมถึงอาการปวดปลายประสาท ช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • รักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ลมพิษ ผดผื่นคันต่าง ๆ
  • ช่วยในการคุมกำเนิดเนื่องจากื่นแ่ายมีฤทธิ์ในการลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย สามารถช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ได้

ข้อควรระวังในการรับประทานผักขึ้นฉ่าย

  • เนื่องจากคื่นฉ่ายมี สรรพคุณในการลดปริมาณการสร้างอสุจิ สำหรับคนที่ต้องการมีบุตร ไม่ควรรับประทานมากเกินไป
  • คื่นฉ่ายเป็นผักที่มีกลิ่นแรง หากทานมากเกินไปอาจทำให้มีอาหารแพ้จนถึงขั้นรุนแรงได้
  • สารสกัดจากต้นคื่นฉ่าย มีสรรพคุณช่วยเร่งให้สีผิวเปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลมากขึ้น
  • ผักคื่นฉ่าย หากนำมาปรุงให้สุกเกินไป ผักจะเละและสูญเสียสารอาหารสำคัญ

คื่นช่าย คื่นฉ่าย หรือ ขึ้นฉ่าย ( Celery ) ผักสมุนไพรกลิ่นหอม ประโยชน์ของขึ้นฉ่ายมีอะไรบ้าง พืชสวนครัว สรรพคุณของขึ้นฉ่าย เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย บำรุงสมอง บำรุงกระดูก ผักขึ้นฉ่าย ประกอบด้วย วิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี และเบตาแคโรทีน เป็นต้น ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ดับกลิ่นคาวอาหาร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove