ต้นหม่อน มัลเบอรรี่ พืชท้องถิ่น สมุนไพร สรรพคุณของหม่อน เช่น ลดไข้ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ต้นหม่อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน โทษของหม่อนมีอะไรบ้างหม่อน มัลเบอรรี่ สมุนไพร ใบหม่อน

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ ภาษาอังกฤษ เรียก Mulberry  ชื่อวิทยาศาสตร์ของหม่อน คือ  Morus alba Linn เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับขนุน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของหม่อน คือ มอน ซึงเฮียะ ซึงเอียะ ซางเย่ เป็นต้น ต้นหม่อนในประเทศไทยนิยมนำมาใช้เลี้ยงตัวไหม สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นไหม

ชนิดของหม่อน

ต้นหม่อน นั้นมี 2 ชนิด คือ ต้นหม่อนสำหรับใช้รับประทานผล เรียก Black Mulberry และ ต้นหมอนสำหรับนำมาเลี้ยงไหม เรียก White Mulberry

  • black mulberry ผลจะโตเป็นช่อ ,uสีดำ มีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทานและทำอาหารแปรรูป เช่น แยม เป็นต้น
  • White Mulberry มีใบขนาดใหญ่ ใช้เป็นอาหารของตัวไหมได้ดี ส่วนผลสุกมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ครับ แต่ไม่เป็นที่นิยม

หม่อน หรือ มัลเบอร์รี เป็นพืชที่มีอายุนานถึง 100 ปี หากไม่ถูกทำลายจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง หรือ ศัตรุพืช สามารถเจริญได้ดีตั้งแต่เขตอบอุ่นจนถึงเขตร้อน

ลักษณะของต้นหม่อน

ต้นหม่อน จัดเป็น พืชพื้นเมืองของประเทศจีน ทางตอนใต้ในแถบเทือกเขาหิมาลัย จากนั้นได้มีการนำเอามาเลี้ยงและกระจายพันธ์สู่ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้พุ่ม มีขนาดกลาง พบได้ทั่วไปในป่าดิบในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ลำต้นหม่อน ลำต้นจะตั้งตรง ความสูงประมาณ 250 เซ็นติเมตร บางสายพันธุ์สามารถสูงถึง 700 เซ็นติเมตร เปลือกของลำต้นมีลักษณะ เรียบ มีสีน้ำตาลแดง หรือ สีขาวปนสีน้ำตาล หรือ สีเทาปนขาว
  • รากหม่อน มีเปลือกรากสีน้ำตาลแดง หรือ สีเหลือแดง มีเส้นร้อยแตกที่เปลือกผิว
  • ใบหม่อน มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ใบรูปทรงไข่ ปลายแหลมยาว โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเว้า
  • ดอกหม่อน จะดอกเป็นช่อ ตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดเล็ก วงกลีบเป็นสีขาวหม่น ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวได้ประมาณ 2 เซนติเมตร ขอบมีขน
  • ผลหม่อน เกิดจากช่อดอก ผลออกเป็นกระจุกเดียวกัน ออกตามซอกใบ ลักษณะของผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีสีเขียว ส่วนผลสุกเป็นสีม่วงแดง เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ และมีรสหวานอมเปรี้ยว

คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน

ในใบหม่อนมีคุณค่าทางอาหารสูง ประกอบด้วย โปรตีน 22.60 % คาร์โบไฮเดรต 42.25 % และ ไขมัน 4.57 %  ยังมีกรดอะมิโน 18 ชนิด อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะแคลเซียมที่สูงเป็นพิเศษ มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีพีนอลรวม เควอซิติน เคม-เฟอรอล และรูติน

สรรพคุณของหม่อน

สำหรับหม่อนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ผล และราก โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบหม่อน มีสรรพคุณ เป็นยาระงับประสาท ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับลมร้อน ช่วยขับเหงื่อ แก้ไอ บำรุงสายตา แก้ริดสีดวงจมูก ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเลือด ใช้ทาแก้แมลงกัด ใช้รักษาแผลกดทับ
  • รากของหม่อน มีสรรพคุณมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขับน้ำในปอด ช่วยขับพยาธิ ยาขับปัสสาวะ ช่วยลดอาการบวมน้ำที่ขา ช่วยแก้แขนขาหมดแรง
  • ผลของหม่อน มีสรรพคุณช่ยวบำรุงหัวใจ เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยดับร้อน ทำให้ชุ่มคอ ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการท้องผูก ยาระบายอ่อน ๆ ช่วยบำรุงตับ ช่วยบำรุงไต แก้โรคปวดข้อ ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ
  • กิ่งของหม่อน มีสรรพคุณ ช่วยทำให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้ดี ช่วยลดความร้อนในปอด ช่วยรักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง
  • เมล็ดหม่อน มีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร

ประโยชน์ของใบหม่อน

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ชื่อ Anthyocyanin ซึ่งเป็นสารสีม่วงแดง ช่วยป้องกัน โรคหัวใจ และป้องกันโรคมะเร็ง
  • มีวิตามินบี 6 ช่วยบำรุงเลือด บำรุงตับ บำรุงไต ลดการเกิดสิว ลดอาการปวดประจำเดือน
  • ป้องกันและยับยั้งการเกิดลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดแตก
  • มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคปอด
  • มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก บำรุงเหงือกและฟัน สร้างภูมิให้ระบบหายใจ บำรุงผิว ลดการอักเสบของสิว
  • มีกรดโฟลิค หรือวิตามินเอ็ม ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันทารกพิการ ช่วยการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หญิงแรกตั้งครรภ์เดือนแรกต้องการกรดโฟลิค
  • ช่วยแก้อาการเมาค้าง ผ่อนคลายความเครียด
  • ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำป้องกันผมหงอกก่อนวัย
  • ใช้แก้อาการเวียนศีรษะ หูอื้อ ใจสั่น นอนไม่หลับ เบาหวาน ท้องผูก

โทษของหม่อน

สำหรับข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากหม่อนและโทษของหม่อน มีดังนี้

  • ใบหม่อนสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่กำลังผ่าตัด ควรงดการกินใบหม่อน เพราะ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลเสียต่อการห้ามเลือด
  • ใบหม่อน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต สำหรับผู้ป่วยภาวะความดันต่ำ ไม่ควรบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากใบหม่อน

ต้นหม่อน มัลเบอรรี่ คือ พืชท้องถิ่น สมุนไพร สรรพคุณของหม่อน เช่น ลดไข้ ช่วยขับลม บำรุงสายตา ลักษณะของต้นหม่อน เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหม่อน โทษของหม่อน มีอะไรบ้าง

แก้วมังกร ( dragon fruit ) ลักษณะของต้นแก้วมังกร คุณค่าทางโภชนาการ ผลไม้ขึ้นชื่ิอของเวียดนาม สรรพคุณบำรุงผิว ลดความอ้วน โทษของแก้วมังกร มีอะไรบ้างแก้วมังกร สมุนไพร สรรพคุณของแก้วมังกร โทษของแก้วมังกร

แก้วมังกร ภาษาอังกฤษ เรียก dragon fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของแก้วมังกร คือ Hylocereus undatus (Haw) Britt. Rose. เป็นผลไม้ขึ้นชื่ิอของเวียดนาม มีเนื้อมาก รสหวาน คุณค่าทางอาหารสูง

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกับกระบองเพชร มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกากลาง และมีการนำเข้ามาเอเชียครั้งแรก ที่ประเทศเวียดนาม แหล่งเพาะปลูกแก้วมังกรสำคัญของไทย คือ จันทบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี สระบุรี และ สมุทรสงคราม แก้วมังกร จะออกผลผลิตในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สรรพคุณเด่นของแก้วมังกร คือ ช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ รักษาโรคเบาหวาน แก้ท้องผูก ช่วยลดน้ำหนัก ป้องกันโรคมะเร็งเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ป้อกงันโรคโลหิตจาง ช่วยขับสารพิษ ช่วยให้นอนหลับ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกศาสตร์ของแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร เป็นพืชล้มลุก โดย ลักษณะของราก ลำตัน ดอกและผล มีลักษณะทั่วไป ดังนี้

  • รากของแก้วมังกร มีรากเป็นรากฝอย ขนาดเล็ก แทงลึกลงดิน
  • ลำต้นของแก้วมังกร มีลำต้นคล้ายต้นกระบองเพชร เป็นสามเหลี่ยม อวบน้ำ ขอบมีรอยหยักเป็นระยะๆ ลำต้นเป็นปล้องๆ มีหนาม ผิวลำต้นมีสีเขียว
  • ดอกของแก้วมังกร เป็นดอกเดี่ยว ขึ้นบริเวณส่วนปลายของปล้องสุดท้าย แก้วมังกรจะออกดอกประมาณ 8 ถึง 10 เดือน ดอกแก้วมังกรในระยะแรกจะเป็นตุ่มสีเขียว เมื่อดอแก้วมังกรสมบูรณ์พร้อม จะบานออกกลีบเลี้ยงจะมีสีเขียวอ่อน รูปร่างทรงกรวย คล้ายกับดอกโบตั๋น ดอกแก้วมังกรจะบานเวลากลางคืน และจะหุบในช่วงเช้า
  • ผลแก้วมังกร ลักษณะของผลแก้วมังกรเป็นทรงกลมรี เปลือกสีบานเย็น เปลือกหนา ผิวเปลือกปกคลุมด้วยกลีบเลี้ยง สีเขียว เนื้อของแก้วมังกรมีสีขาวหรือสีแดง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

สายพันธุ์แก้วมังกร

สำหรับแก้วมังกรที่นิยมปลูกกัน มี 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย แก้วมังกรพันธ์เนื้อขาวเปลือกแดง แก้วมังกรพันธ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง และ แก้วมังกรพันธ์เนื้อแดงเปลือกแดง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. เปลือกจะมีสีชมพูสด กลีบสีเขียว รสชาติของเนื้อจะมีรสหวานอมเปรี้ยว
  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus megalanthus ผลจะมีขนาดเล็ดกว่าพันธ์อื่นๆ มีเปลือกสีเหลือง เนื้อสีขาว และเมล็ดจะมีขนาดใหญ่ รสชาติของเน้ือจะหวาน
  • แก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Hylocercus costaricensis เปลือกจะมีสีแดงจัด เนื้อก็มีสีแดงภายในมีเมล็ดจำนวนมาก รสชาติหวาน

คุณค่าทางอาหารของแก้วมังกร

มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลแก้วมังกรขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 67.70 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 1.10 กรัม ไขมัน 0.57 กรัม น้ำตาลกลูโคส 5.70 กรัม น้ำตาลฟรูทโทส 3.20 กรัม ซอร์บิทอล 0.33 กรัม คาร์โบไฮเดรท 11.20 กรัม กากใยอาหาร 1.34 กรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.01 มิลลิกรัม แคลเซียม 10.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.37 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 38.9 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 27.5 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 272.0 มิลลิกรัม โซเดียม 8.9 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.35 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าแก้วมังกร อุดมไปด้วย วิตามินและแร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลายชนิด ทั้ง วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น  แก้วมังกรจึงถูกจัดว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง

สรรพคุณของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์ของแก้วมังกร เรานำผลของแก้วมังกรมาบริโภค เพื่อประโยชน์ต่างๆ โดย สรรพคุณของแก้วมังกร มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง สดใส ชุ่มชื่น เพราะมีวิตามินซีสูง
  • ช่วยคลายร้อน ดับกระหาย
  • ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากมีแคลอรีต่ำ และกากใยอาหารสูง
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอยต่างๆ
  • ป้องกันโรคหัวใจ
  • ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • รักษาโรคเบาหวาน
  • ช่วยลดความดันโลหิต
  • ช่วยบรรเทาอาการของโรคโลหิตจาง
  • ช่วยกระตุ้นการขับน้ำนม
  • ช่วยดูดซับสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย เช่น ตะกั่วที่มาจากควันท่อไอเสีย ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  • ช่วยในการขับถ่าย แก้อาการท้องผูก
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ ช่วยให้นอนหลับง่าย

ข้อควรระวังในการกินแก้วมังกร

สำหรับข้อควรระวังในการกินแก้วมังกร มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • แก้วมังกร เป็นผลไม้เย็น หากบริโภคมากเกินไป จะทำให้มือเท้าเย็น ท้องเสียง่าย
  • สำหรับสตรีมีประจำเดือน ไม่ความกินแก้วมังกรมาก เนื่องจากความเย็นของแก้วมังกรมีผลต่อเลือดจับตัวเป็นก้อน ทำให้ประจำเดือนขัด
  • แก้วมังกรห้ามกินคู่กับนมสด เพราะจะทำให้อาหารไม่ย่อย

การเพาะปลูกแก้วมังกร

แก้วมังกร เป็นไม้เลื้อย ต้องมีหลักสำหรับให้ต้นแก้วมังกรยึดเกาะ นิยมใช้ไม้เนื้อแข็งหรือเสาซีเมนต์ ระยะปลูก 3 x 3 เมตร โดยให้เตรียมหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักเก่า นำกิ่งพันธุ์ลงหลุมแล้วมัดกิ่งพันธุ์ให้แนบหลักและกันแดดให้ 1 – 2 สัปดาห์ แก้วมังกร เป็นพืชที่เติบโตได้ทุกสภาพดิน แต่จะชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย และไม่ชอบดินชื้น และน้ำท่วมขัง พื้นที่มีการระบายน้ำดี


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove