ข่อย ( Tooth brush tree ) สมุนไพร ไม้มงคล ต้นข่อยเป็นอย่างไร กิ่งข่อยใช้ทำแปรงสีฟันแบบโบราณ สรรพคุณของข่อยใช้แทนยาสีฟัน รักษาแผล เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของข่อย

ข่อย สมุนไพร สรรพคุณของข่อย ประโยชน์ของข่อย

ข่อย สมุนไพรพื้นบ้าน รู้จักกันดีในสังคมไทย เป็นไม้ดัด ไม้ประดับ กิ่งของต้นข่อยมีสรรพคุณใช้แทนยาสีฟันได้ ยางของข่อยนำมาทำเป็นยาฆ่าแมลงได้ เนื้อไม้ข่อย ก็นิยมนำมาทำกระดาษ สำหรับสังคมไทยมีความเชื่อว่าต้นข่อย เป็นพืชศิริมงคล สามารถช่วยไล่สิ่งชั่วร้ายอัปมงคลออกจากบ้านได้ สำหรับวันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ ข่อย สมุนไพรชนิดนี้ เป็นอย่างไร มีสรรพคุณด้านสมุนไพรอย่างไร บ้าง

ต้นข่อย เป็นพืชยืนต้น ชนิดหนึ่ง มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Tooth brush tree ชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นข่อย คือ Streblus asper Lour ชื่อเรียกอื่นๆของต้นข่อยอาทิเช่น กักไม้ฝอย, ตองขะแหน่ , ส้มพอ , ซะโยเส่ , สะนาย , สมนาย เป็นต้น ข่อยจัดอยู่ในพืชตระกลูเดียวกันกับขนุน

มีการศึกษาสารเคมีที่อยู่ในต้นข่อย พบว่า มีสารต่างๆ ประกอบด้วย Asperoside (C31H48O9 ) ,trebloside(C31H46O10 ) , Kamaloside (C31H48O10 ) ,Indroside (C31H46O10 ) ,Strophalloside (C29H42O10.3H2O) ,Strophanolloside( C29H44O10.4H2O) , Glucokamaloside( C37H58O14 ) , Glucostrebloside (C37H56O15) , Sarmethoside (C30H46O10) Substance F (C31H48O10 ) , Substance G (C30H46O9 ) Substance H( C31H46O10 ), Di-o-acetyl derivative ,B-sitosterol , Glycoside , tannin

ลักษณะของต้นข่อย

ต้นข่อย เป็นพืช ไม้ยืนต้น ที่มีขนาดเล็ก ความสูงไม่เกิน 15 เมตร มีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในประเทศไทย สำหรับการขยายพันธ์ต้นข่อยนิยมใช้การปักชำ และการเพาะเมล็ด ซึ่งลักษณะของต้นข่อย มีดังนี้

  • ลำต้นข่อย ส่วนของลำต้นและกิ่งก้านของต้นข่อย สามารถคดงอ และสามารถดัดได้ มีความเหนียว เปลือกบางผิวขรุขระ ที่ต้นมียาง เป็นสีขาวข้น ลักษณะเหนียว จะซึมออกมาตามเปลือกของต้นและกิ่งก้าน ซึมออกมา
  • ใบของต้นข่อย เป็นใบเดี่ยว จะเรียงสลับตามกิ่งก้านของต้นข่อย ใบมีผิวสากๆ สีเขียว ใบหนา ลักษณะของใบจะรีและปลายแหลม
  • ดอกของต้นข่อย จะออกดอกเป็นช่อ ดอกจะมีสีขาวปนเหลือง ซึ่งดอกจะออกตามปลายกิ่ง และซอกใบ
  • ผลของต้นข่อย ผลมีลักษณะเหมือนไข่ ผลสดมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ด ขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย

สรรพคุณของต้นข่อย

สำหรับ ประโยชน์ของต้นข่อย สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้น ตั้งแต่ ราก เปลือก กิ่ง เนื้อไม้ และเมล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • กิ่งของต้นข่อย นำมาใช้แทนแปรงสีฟัน ช่วยทำให้ฟันแข็งแรง ฟันไม่ผุ ไม่ปวดฟัน
  • เปลือกของต้นข่อย มีรสฝาดและขม สามารถช่วยรักษาแผล แก้ท้องร่วง ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ รักษาพยาธิที่ผิวหนัง
  • ยางของต้นข่อย มีสรรพคุณช่วยย่อยน้ำนม
  • รากของต้นข่อย มีรสฝาดและขม สามารถนำมารักษาแผล เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้โรคคอตีบ รักษาโรคกระดูก แก้ปวดเส้นประสาท แก้ปวดเส้นเอ็น ใช้ฆ่าพยาธิได้ รักษาอาการไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ รักษาเหงือก แก้ปวดฟัน
  • เนื้อไม้ของข่อย สามารถนำมารักษาริดสีดวงจมูก
  • ใบของข่อย มีรสฝาดและมีฤทธ์ทำให้เมาได้ เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน แก้โรคไต ขับน้ำนม แก้บิด ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาอาการไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ รักษาเหงือก แก้ปวดฟัน
  • เมล็ดของข่อย มีรสมัน มีฤทธิ์ทำให้เมา สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาอาการไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ รักษาเหงือก แก้ปวดฟัน
  • ผลของต้นข่อย มีรสหวาน มีฤทธิ์ทำให้เมาและร้อน สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ แก้กระษัย ขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ข่อยด้านสมุนไพร

สารสกัดจากข่อยมีความเป็นพิษ หากถูกฉีดเข้าเส้นเลือด จะส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ และหัวใจ รวมถึงความดันของเลือด ทำให้เสียชีวิตได้ มีการสะกัดสารเคมีจากต้นข่อยและนำไปทดลองกับหนู พบว่าหนูมีอาการชัก และเสียชีวิต จากที่กล่าวมาข้างต้น ข่อยมีฤทธ์ทำให้เมา หากใช้ไม่ถูกวิธีก็เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ข่อย ( Tooth brush tree ) สมุนไพรพื้นบ้าน ไม้ประดับ กิ่งข่อย สรรพคุณใช้แทนยาสีฟัน ยางของข่อย ทำยาฆ่าแมลง ลักษณะของต้นข่อย เนื้อไม้ข่อย นำมาทำกระดาษ พืชมงคล ช่วยไล่สิ่งชั่วร้ายออกจากบ้าน โทษของข่อย ต้นข่อย

ยี่หร่า ( Tree Basil ) สมุนไพร สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงประสาท บำรุงผิว ต้นยี่หร่าเป็นอย่างไร ยี่หร่าใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม เครื่องดื่มยี่หร่า สมุนไพร สรรพคุณยี่หร่า ประโยชน์ของยี่หร่า

ยี่หร่า เป็น สมุนไพรท้องถิ่น มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ ว่า Tree Basil ยี่หร่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ocimum gratissimum L. ยี่หร่าเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระเพราและผักชี สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของยี่หร่า เช่น กะเพราญวณ จันทร์หอม เนียม จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น สะหลีดี หอมป้อม โหระพาช้าง กะเพราควาย หร่า เทียนขาว เป็นต้น

ต้นยี่หร่า เป็นอีกหนึ่ง สมุนไพร ที่นิยมนำมาใช้ทำอาหารรับประทาน สรรพคุณเด่นของยี่หร่า ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงระบบประสาท บำรุงผิวพรรณ ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ  มีฤทธิ์เผ็ดร้อน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับยี่หร่า กัน

ยี่หร่าในสังคมไทย

ยี่หร่า เป็น พืชที่มีความผูกพันกับสังคมไทยมาช้านาน ในกาบเห่เรือ ยังมีบทหนึ่ง “มัสมั่น หอมยี่หร่า รสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา” ยี่หร่าเป็นพืชล้มลุก มีกลิ่นแรง รสเผ็ดร้อน ซึ่งในใบของยี่หร่า จะมีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง เรียกว่า น้ำมันยี่หร่า นำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม น้ำหอม ทำเครื่องดื่ม

ถิ่นกำเนิดของยี่หร่า

ถิ่นกำเนิดของยี่หร่า นั้นอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย และจีน การนำเอายี่หร่ามาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ช่วยดับคาว จากนั้นสัตว์ ช่วยในการถนอมอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ ช่วยป้องกันไม่ให้อาหารเน่า และน้ำมันหอมระเหยของยี่หร่า ใช้แต่งกลิ่นอาหาร และใช้แต่งกลิ่นน้ำหอมต่างๆได้อีกด้วย

ต้นยี่หร่า

ต้นยี่หร่า เป็นไม้ประเภทล้มล้ก เป็นไม้พุ่ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง อาการถ่ายเทได้สะดวก ชอบอยู่กลางแจ้ง

  • ลำต้นของยี่หร่า มีความสูงไม่เกิน 80 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นยี่หร่า มีสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขา กิ่งก้านไม่ใหญ่
  • ใบยี่หร่า มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยัก สีเขียวสด ผิวใบสากๆ มีกลิ่นหอม
  • ดอกของยี่หร่า จะออกบริเวณปลายยอด มีลักษณะเป็นช่อ โดยแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก 
  • ผลของยี่หร่าหรือเมล็ดของยี่หร่า คือตัวเดียวกัน ผลของยี่หร่า มีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดเล็ก ผลอ่อนจะมีสีเขียว และผลแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีสีดำหรือสีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า

นักโภชนาการได้ทำการศึกษา คุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่า ในใบยี่หร่า 100 กรัม นั้น มี กากใยอาหาร 26.8 กรัม มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม วิตามินซี 0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม
และธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

สรรพคุณของยี่หร่า

ยี่หร่าในทางสมุนไพรและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ได้ทุกส่วน ของยี่หร่า ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก ผล ซึ่งรายละเอียดของสรรพคุณของยี่หร่า มีดังนี้

  • รากยี่หร่า สามารถช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้
  • ต้นยี่หร่า สามารถช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้
  • ผลของยี่หร่า สามารถช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
  • ใบยี่หร่า สามารถช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขัยของเสียออกจากร่างกาย แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด ขับลม ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน

โทษของยี่หร่า

สำหรับคนที่มีอาการแพ้ยี่หร่า อาจมีอาการระคายเคืองร่างกาย เกิดผื่นคัน หากพบว่ามีอาการแพ้ให้หยุดรับประทานทันที

ยี่หร่า ( Tree Basil ) สมุนไพร รสเผ็ดร้อน คุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า สรรพคุณของยี่หร่า ประโยชน์ของยี่หร่า ช่วยขับลม บำรุงระบบประสาท บำรุงผิวพรรณ ต้นยี่หร่าเป็นอย่างไร ชื่ออื่นๆของยี่หร่า ยี่หร่านำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม น้ำหอม และ เครื่องดื่ม


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove