โสน สมุนไพร พืชท้องถิ่น มีประโยชน์ในการรักษาโรค เช่น แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษแมลงกัดต่อย สรรพคุณต้นโสน ดอกโสนเป็นอย่างไรโสน ดอกโสน สมุนไพร สมุนไพรไทย

ดอกโสน เป็น ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โสน อ่านออกเสียงว่า สะ-โหน ภาษาอังกฤษ เรียก Sesbania มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sesbania javanica Miq สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของโสน เช่น ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน โสนดอกเหลือง สี่ปรีหลา เป็นต้น จัดเป็นพืชท้องถิ่นมีสรรพคุณด้านการรักษาโรค เช่น ช่วยแก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษจากแมลงกัดต่อย

ต้นโสน มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียจากอินเดียไปทางตะวันออกจนถึงประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศไทย เป็นไม้เนื้ออ่อน เติบโตได้ในบริเวณที่มีน้ำขังในดินแถบภาคกลางและดินเหนียว ต้นโสยมักพบตามพื้นที่ที่มีน้ำขัง แถบลุ่มน้ำ ริมทาง ริมหนองน้ำ คลองบึง

สายพันธุ์โสนในประเทศไทย

ต้นโสน จากการศึกษาสายพันธ์ต้นโสนในประเทศไทย พบว่ามี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย โสนแอฟริกัน โสนอินเดีย โสนหิน และ โสนคางคก ซึ่งรายละเอียดของสายพันธ์โสนแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • โสนอินเดีย ลักษณะรากมีปม ลำต้นสูง 2-3 เมตร ดอกมีสีเหลือง สามารถออกดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 90 วัน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
  • โสนแอฟริกัน มีลักษณะเด่นของโสนแอฟริกัน คือ รากมีปม ลำต้นสูง เป็นต้นโสนที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา กรมพัฒนาที่ดินนำเมล็ดเข้ามากปลูกครั้งแรก โดย ดร. สมศรี อรุณินท์ เมื่อปี พ.ศ. 2526
  • โสนคางคก นิยมใช้ประโยชน์จากไม้โสน ไม้โสนนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถสร้างรายได้เสริมกับชาวบ้านในท้องถิ่น
  • โสนหิน หรือ โสนกินดอก นิยมใช้ยอดอ่อน และดอกมาประกอบอาหารมากกว่าโสนทุกชนิด ลำต้นสูงประมาณ 4 เมตร

ประโยชน์ของต้นโสน

ต้นโสนมีการนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยมานิยมนำดอกโสนมารับประทานเป็นอาหาร ซึ่งอาหารเมนูดอกโสน ที่นิยมทำกินกัน เช่น ดอกโสนผัด ดอกโสนผัดน้ำมันหอย ดอกโสนผัดไข่ ไข่เจียวดอกโสน ดอกโสนชุบแป้งทอด ยำดอกโสน ข้าวเหนียวดอกโสน เป็นต้น สีเหลืองของดอกโสนนำมาทำสีผสมอาหาร ใช้ในการแต่งสีอาหารให้สีเหลือง ส่วนเนื้อไม้ นำมาทำเป็นของใช้ต่างๆ เช่น ของเล่นเด็ก ดอกไม้ประดิษฐ์ รวมถึงนำมาทำเป็นเชื้อเพลิง

ปัจจุบันใบและดอกโสน สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น ชาดอกโสน และ ชาจากยอดใบโสน  เป็นชาที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ รสชาติอ่อนนุ่ม

ลักษณะของต้นโสน

ต้นโสน เป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก มีอายุประมาณ 1 ปี โสน เป็น พืชชายน้ำที่ชอบเติบโตบริเวณพื้นที่ชุ่ม สามารถพบทั่วไปในประเทศไทย มักพบริมแม่น้ำลำคลอง ริมอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ และ พื้นที่ที่มีความชื้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นโสน มีดังนี้

  • ลำต้นโสน ความสูงประมาณ 1 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ เนื้อไม้อ่อนและกลวง
  • ใบโสน ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับบนลำต้น ใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบเป็นสีเขียว ก้านใบมีหนามแหลม
  • ดอกโสน ลักษณะดอกเป็นช่อกระจุก ออกดอกตามซอกใบ ซอกกิ่ง และปลายกิ่ง ดอกเป็นสีเหลือง ดอกโสนจะออกดอกในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี
  • ผลโสน ลักษณะเป็นฝักยาว ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ฝักแก้เป็นสีม่วงและสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดเป็นรูปทรงกลม สีน้ำตาลเป็นมันเงา

คุณค่าทางโภชนาการของโสน

สำหรับการรับประทานโสนเป็นอาหาร นิยมรับประทานดอกโสนเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกโสน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.9 กรัม โปรตีน 2.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ความชื้น 87.7 กรัม วิตามินเอ 3,338 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.26 มิลลิกรัม วิตามินซี 51 มิลลิกรัม แคลเซียม 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

ดอกโสน มีสารเควอเซทิน ไกลโคไซด์ ( Quercetin 3-2 (G)-rhamnosylrutinoside ) เป็นสารฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์หยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการอักเสบ

สรรพคุณของโสน

สำหรับการนำโสนมาใช้ประประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากดอก ราก ลำต้น ใบ ซึ่งสรรพคุณของโสน มีดังนี้

  • ดอกโสน สรรพคุณแก้พิษร้อน ลดไข้ เป็นยาสมานลำไส้ แก้อาการปวด ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • รากโสน สรรพคุณแก้ร้อน
  • ลำต้นโสน สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
  • ใบของโสน สรรพคุณรักษาแผล รักษาแผลฝี

โทษของโสน

ดอกโสนนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ซึ่งดอกโสนมีสรรพคุณแก้พิษร้อน ลดไข้ เป็นยาสมานลำไส้ แก้อาการปวด ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย การนำดอกโสนมารับประทานควรทำความสะอาด ไม่ให้มีสิ่งเจือปน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

แตงกวา ( Cucumber ) สมุนไพร ประโยชน์ของแตงกวา สรรพคุณของแตงกวา บำรุงผิวพรรณ แก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย พืชใช้บำรุงความงามทำให้ผิวพรรณดีแตงกวา สมุนไพร สรรพคุณของแตงกวา

ต้นแตงกวา ภาษาอังกฤษ เรียก Cucumber ชื่อวิทยาศาสตร์ของแตงกวา คือ Sucumis sativus Linn สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของแตงกวา เช่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงช้าง แตงร้าน แตงปี แตงยาง แตงเห็น แตงอ้ม ตาเสาะ อึ่งกวย เป็นต้น ชื่อของแตงกวาจะเรียกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย นิยมนำผลแตงกวามารับประทานเคียงกับน้ำพริก ลาบ อาหารจานเดียวต่างๆ เช่น ข้าวผัด ข้าวมันไก่ หมูแดง หมูกรอบ สลัดผัก เป็นต้น

ประโยชน์ของแตงกวา น้ำของแตงกวา สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น ครีมล้างหน้า เจลล้างหน้า สบู่ล้างหน้า ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด เป็นต้น  แตงกวานำมาทำทรีตเมนต์ ช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ลดสิว บำรุงผิวหน้า นอกจากนั้นนำผลแตงกวามาทำอาหารรับประทาน โดยเมนูแตงกวา เช่น ยำแตงกวา ต้มจืดแตงกวา ส้มตำแตงกวา  เป็นต้น

ลักษณะของต้นแตงกวา

ต้นแตงกวา พืชล้มลุก ชนิดไม้เถา อายุเพียงหนึ่งปี เป็นพืชอายุสั้น ปลูกได้ในทุกสภาพดินชอบดินร่วนซุยปนทราย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแตงกวา มีดังนี้

  • ลำต้นของแตงกวา เป็นลำต้นเดี่ยว ลักษณะเป็นเถาไม้เลื้อย ลำต้นกลม เถาแข็งแรงและเหนียว สีเขียว ลำต้นจะเกาะตามกิ่งไม้หรือสิ่งที่ยึดเกาะได้ดี ลำต้นมีขนหยาบ สีขาว
  • ใบแตงกวา เป็นใบประกอบ ขนาดเท่าฝ่ามือ ใบมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม สีเขียว มีก้านใบยาว ใบมีขนหยาบ
  • ดอกแตงกวา ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกมีสีเขียว และ สีเหลือง ดอกเป็นช่อออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกจะยาว ไม่มีลูกเล็กๆ ติดที่โคนดอก
  • ผลของแตงกวา ลักษณะทรงกลมยาวเป็นทรงกระบอก เนื้อผลฉ่ำน้ำ รสจืด ผลมีสีเขียวเข้ม
  • เมล็ดของแตงกวา ลักษณะของเมล็ดรีแบน ปลายแหลม สีขาว เมล็ดอยู่ภายในผล มีหลายเมล็ดในผล

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา

สำหรับต้นแตงกวานั้น นิยมรับประทานผลของแตงกวาเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้มีการศึกษา คุณประโยชน์ของแตงกวา พบว่า แตงกวา ขนาด 100 กรัม มีความชื้นร้อยละ 96.4  โปรตีนร้อยละ 0.4 ไขมันร้อยละ 0.1 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 2.8 และแร่ธาตุต่างๆ ตัวผลของแตงกวา มีสารเอนไซม์อยู่หลายชนิด เช่น เอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน  Oxidase Ascorbic acid  Dehydroginase  Succinic malic  ซึ่งส่วนของ เถ้าและเมล็ดของแตงกวา มี ฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูง

  • กากใยอาหาร ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • สารไฟโตนิวเทรียนท์ ( Phytochemicals ) เป็นสารตามธรรมชาติที่พบได้ในอาหารจำพวกพืชผักผลไม้ ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) คิวเคอร์บิทาซิน ( Cucurbitacin ) และลิกแนน ( Lignan ) เป็นต้น
  • สารต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidants ) แตงกวามีสารที่ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกายได้
  • วิตามิน แตงกวาอุดมไปด้วยวิตามินต่างๆที่เป็นประโยชน์สุขภาพ ประกอบกด้วย วิตามินเอ วิตามินบี และ วิตามินซี เป็นต้น
  • แร่ธาตุ แตงกวามีแร่ธาตุหลายชนิดที่อาจเป็นผลดีต่อสุขภาพผิวและระบบหมุนเวียนโลหิตได้ เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณของแตงกวา

สำหรับการนำเอาแตงกวามาใช้ประโยชน์ ด้านสมุนไพร การรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ตั้งแต่ผลสด ใบ เมล็ด และ เถา โดยรายละเอียดของสรรพคุณของแตงกวา มีดังนี้

  • ผลสดของแตงกวา สรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง รักษาแผลไฟลวก แก้ผด ผื่น คัน ช่วยกระชับรูขุมขน ทำให้ผิวเรียบตึง ทำให้ผิวที่หยาบกร้านอ่อนนุ่มลง
  • ใบของแตงกวา สรรพคุณแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดของแตงกวา สรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ
  • เถาของแตงกวา สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต แก้บิด รักษาหนองใน ขับปัสสาวะ

โทษของแตงกวา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแตงกวาด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • แตงกวามีกรดยูริกในน้ำเมือกใสๆ ร่างกายก็อาจจะสะสมกรดยูริกเข้าไปมากเกินไป  ถ้าหากร่างกายกำจัดออกไม่หมด
  • ใบแตงกวาสด มีรสขม มีความเป็นพิษ ไม่ควรรับประทานใบแตงกวาสด
  • เถาแตงกวาสดมีความเป็นพิษรสขม ไม่ควรรับประทานเถาแตงกวาสด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove