ฟักเขียว สมุนไพร นิยมรับประทานผลฟักเขียว ประโยชน์และสรรพคุณลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงผิวพรรณ คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว

ฟักเขียว สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของฟักเขียว

ฟักเขียว พืชสมุนไพรริมรั่ว สรรพคุณสุดน่าทึ่ง ฟักเขียวสามารถช่วยลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันเมร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงปอด และบำรุงเลือด แต่ประโยชน์ของฟักเขียวยังมีมากกว่านี้มาก สำหรับฟักเขียว เป็นอย่างไร การนำเอาฟักเขียวมาใช้ประโยชน์ทางยา การรักษาโรค ทำอย่างไร วันนี้ เรามาทำความรู้จักกับฟักเขียวอย่างละเอียด

ต้นฟักเขียว หรือ ต้นฟักแฟง ซึ่งคนไทยเรียกสั้นๆว่า “ฟัก” ภาษาอังกฤษเรียกว่า Winter Melon มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Benincasa hispida (Thunb.) Cogn. ฟักเขียวถูกจัดให้เป็นพืชอยู่ในตระกูลแตง สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของฟักเขียว มีมากมาย เรียกต่างกันตามท้องถิ่น อาทิ เช่น ฟักขี้หมู ฟักจิง มะฟักขม มะฟักหม่น มะฟักหม่นขม บักฟัง ฟักขาว ฟักจีน แฟง ขี้พร้า มะฟักหอม เป็นต้น

ลักษณะทางพันธุศาสตร์ของฟักเขียว

ฟักเขียว เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเดียวกับ บวบ มะระ และแตงกวา เป็นพืชที่มีการปลูกมากในประเทศเขตร้อน ตามทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกา ลักษณะของฟักเขียว เป็นพืชอายุสั้น

  • ลำต้นของฟักเขียว ลำต้นยาว เป็นลักษณะเถา มีสีเขียวมีขนปกคลุมตลอดทั้งลำต้น
  • ใบของฟักเขียว ใบเป็นหยัก ปลายใบแหลม โคนของใบจะเว้าเป็นรูปหัวใจ ผิวของใบจะหยาบมีขน สีเขียวเข้ม ส่วนก้านใบนั้นจะยาวประมาณ 10เซนติเมตร
  • ดอกของฟักเขียว จะออกดอกตามง่ามของใบ ลักษณะเป้นดอกเดี่ยว สีเหลือง ดอกมีเกสรตัวผุ้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
  • ผลของฟักเขียว รูปกลมยาวเหมือนไข่ ผลมีความกว้างประมาณ 10 ถึง 20 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20 ถึง 40 เซนติเมตร เปลือกของฟักเขียว จะแข็งและมีสีเขียว  เนื้อของผลฟัก เป็นสีเขียวอ่อน ฉ่ำน้ำ เนื้อแน่น มีเมล็ดสีขาวอยู่ภายในจำนวนมาก
  • เมล็ดของฟักเขียว เป็นรูปไข่ ลักษณะแบน ผิวเรียบมีสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดของฟักเขียวสามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สำหรับในบ้านเรานั้นผลฟักเขียวจะนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทคาวและหวาน เช่น ต้ม ผัด แกง หรือทำเป็นขนมหวานในช่วงเทศกาล ใช้บริโภคทั้งแบบดิบและแบบสุก และสามารถบริโภคได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ โดยผลอ่อนจะมีรสชาติที่เข้มกว่าผลแก่ และมีน้ำมากกว่า

การปลูกต้นฟักเขียว

สำหรับ การปลูกต้นฟักเขียว นั้น ใช้การขยายพันธ์ด้วยเมล็ด ซึ่งเมล็ดของฟักเขียวจะอยู่ที่ผลสุกของฟักเขียว นำเมล็ดมาปลูก ง่าย ฟักเขียวชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบน้ำมาก แต่ต้องการให้ดินชื้นเสมอ การปลูกต้นฟักเขียว ให้เตรียมหลุมปลูกลึกสัก 5 เซ็นติเมตร นำเมล็ดฟักเขียวลงและฝังกลบ ต้นอ่อนจะงอกออกมาภายใน 3-5 วัน และจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ สำหรับผลฟักเขียวสามารถเก้บเกี่ยวผล ภายใน 60 วัน

คุณค่าทางอาหารของฟักเขียว

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของฟักเขียว พบว่า ผลสดของฟักเขียว ขนาด 100 กรัม พบว่า มีสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม กากใยอาหาร 0.4 กรัม แคลเซียม 19  มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 19 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม โซเดียม 6 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 111 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 4 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม และวิตามินซี 13 มิลลิกรัม

ฟัก เป็นพืชที่ นิยมนำมาทำอาหาร สำหรับอาหารไทย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น อาหาร เมนูต้ม เมนูแกง เนื่องจากเนื้อฟักเมื่อต้มจนแล้วจะนุ่มและเปื่อย สำหรับ เมนูฟักเขียว ที่เป็นที่รู้จัก คือ แกงเขียวหวานไก่ แกงเลียงกุ้งสด เป็นต้น แต่นอกจากอาหารคาวเมนูต่างๆ ฟักเขียว ก็สามารถนำมาทำขนมไทย เมนูของหวานได้เช่นกัน อาทิเช่น ขนมฟักเชื่อม ฟักกวน เป็นต้น แต่ก็มี ข้อควรระวังในการรับประทานฟักเขียว ให้ระวังในการรับประทาน สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย และแน่นหน้าอก

สรรพคุณของฟักเขียว

สำหรับ การนำเอาฟักเขียวมาใช้ประโยชน์ ด้านยา และการรักษาโรคนั้น เราจะแยก สรรพคุณของฟักเขียว ตามส่วนต่างๆของต้นฟัก ซึ่งนิยมนำฟักมาใช้ประโยชน์ในส่วน ผล เมล็ด ใบ เถา รากและเปลือก

  • รากของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดไข้ ช่วยแก้กระหายน้ำ รักษาโรคหนองใน
  • เปลือกของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาบาดแผล
  • ใบของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยแก้โรคบิด ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ช่วยรักษาบาดแผล ช่วยแก้พิษจากการถูกผึ้งต่อย
  • เมล็ดของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ บำรุงกำลัง บำรุงผิว ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยลดการแบ่งตัวของเซลล์ ช่วยรักษาวัณโรค ช่วยบำรุงปอด ช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาลำไว้อักเสบ เป็นยา ระบาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยลดอาการอักเสบ
  • เถาของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของฟัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยเพิ่มพลังทางเพศ รักษาเบาหวาน บำรุงกำลัง  บำรุงระบบประสาท ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ  ช่วยบำรุงปอด ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยแก้โรคบิด แก้ท้องอืด เป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน

การเลือกซื้อฟักเขียว

สำหรับ การรับประทานฟักเขียว หากไม่ได้ปลูกเอง แล้ว เทคนิคการเลือกฟักเขียว ที่ดี มีดังต่อไปนี้ ควรเลือกฟักเขียวที่มีเนื้อแข็ง เนื่องจากเนื้อที่แข็งเวลานำมาทำอาหารจะกรอบและมีรสหวาน น่ารับประทาน ลักษณะเนื้อฟักเขียวที่ดี จะมีสีเขียวบริเวณขอบและค่อยๆขาวขึ้นเมื่อเข้าไปในแกน สำหรับ การเก็บรักษาฟักเขียว สามารถเป็นไว้ได้นานเป็นเดือน

ฟักเขียว ( Winter Melon ) สมุนไพร นิยมรับประทานผลฟักเขียว ประโยชน์ของฟักเขียว สรรพคุณของฟักเขียว ลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ ทำความรู้จักกับฟักเขียว คุณค่าทางโภชนาการของฟักเขียว

อ้อย ( Sugar cane ) สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย มี 2 ชนิด อ้อยเคี้ยว อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร

อ้อย สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณอ้อย

อ้อย ( Sugar cane ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของอ้อย คือ Saccharum officinarum L. พืชตระกลูหญ้า สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล รสหวาน ประโยชน์ของอ้อย สรรพคุณของอ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว  และ อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย อ้อยสรรพคุณเป็นอย่างไร

ต้นอ้อย เป็นพืชล้มลุก พืชเศรษฐกิจ ใช้ทำน้ำตาล รวมถึงเป็นวัตถุดิบในการทำเอทานอล อ้อยมีสรรพคุณเด่น คือ ให้ความหวาน นิยมนมาทำเป็นเครื่องปรุงอาหารให้ความหวาน เรียกว่า น้ำตาล แต่อ้อยนั้นไม่ใช่แค่ให้วคามหวานเพียงอย่างเดียว อ้อยยังมีประโยชน์ด้านยารักษาโรค สมุนไพรไทย ด้วย เราจะมานำเสนอ เรื่อง อ้อย ว่า อ้อยเป็นอย่าไร ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย และการนำอ้อยมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคต่างๆ เป็นอย่างไร

ลักษณะของต้นอ้อย

ต้นอ้อย เป็น พืชล้มลุก การขยายพันธ์โดยการแตกกอ สามารถปลูกโดยใช้น้ำน้อย ลักษณะของต้นอ้อย มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นอ้อย ลำต้นมีสีแดงอมม่วงความสูงของลำต้นไม่เกิน 5 เมตร ลำต้นของอ้อยจะตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นของอ้อยจะเป็นข้อปล้องจำนวนมาก ซึ่งมีน้ำมากและมีความหวาน
  • ใบอ้อย มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก มีหนามเล็กๆที่ขอบใบ
  • ดอกอ้อย ออกดอกที่ปลายยอด
  • ผลเป็นผลแบบผลธัญพืช แห้งและมีขนาดเล็ก
  • รากของอ้อยนั้นอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่ ซึ่งกระจายทั่วลำต้น โดยรากของอ้อยจะแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ รากของท่อนพันธุ์ และรากของหน่อ

สำหรับ อ้อยในประเทศไทย นั้น มีพันธุ์อ้อยที่นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว และอ้อยสำหรับทำน้ำตาล

  • อ้อยเคี้ยว จะมีเปลือกและชานนิ่ม ให้วความหวานปานกลาง นิยมปลูกเพื่อนำน้ำอ้อยมาดื่มสด ซึ่งพันธ์อ้อยเคี้ยวที่นิยมปลูก คือ อ้อยสิงคโปร์  พันธุ์มอริเชียส พันธุ์บาดิลาสีม่วงดำอ้อยทั้ง 3 พันธุ์นี้จัดเป็นพวกอ้อยพันธ์ดั้งเดิม ที่ปลูกในแถบเกาะนิวกินี สามารถเคี้ยวให้ความหวานที่มากพอและไม่แข็งจนเกินไป
  • อ้อยสำหรับทำน้ำตาล เป็นอ้อยที่ถูกพัฒนาสายพันธ์ ให้น้ำมาก เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกทั่วโลก มีสายพันธ์ต่างๆ มากถึง 220 พันธ์อ้อย

สรรพคุณทางสมุนไพรของอ้อย

สำหรับตำราแพทย์แผนไทยนั้น จะใช้ อ้อยเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ รักษาหนองใน ขับนิ่ว ใช้ขับเสมหะ อ้อย นั้นสามารถใช้ประโยชน์ทางยาได้ตั้งแต่ ราก และลำต้น ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  • รากอ้อย ใช้นำมาเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้หืด แก้ไอ ช่วยแก้ไข้ ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้งหิวและหอบไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรี
  • ลำต้นอ้อย ใช้นำมาช่วยรักษาแผลพุพอง เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยรักษาโรคไซนัส ช่วยแก้หืด แก้ไอ ช่วยแก้ไข้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้งหิวและหอบไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรี ช่วยรักษาโรคงูสวัด
  • เปลือกของต้นอ้อย ช่วยแก้ตานขโมย รักษาโรคปากเป็นแผล

การนำอ้อยมาใช้ประโยชน์

สำหรับ ประโยชน์ของอ้อย นั้น เราสามารถแบ่งประโยชน์ของอ้อยออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ประโยชน์การใช้โดยตรงจากอ้อย และการใช้อ้อยด้านอุตสาหกรรม ซึ่งรายละเอียดดังนี้

  • การใช้ประโยชน์จากอ้อยโดยตรง คือ เป็นอาหาร ให้ความหวาน เป็นอาหารสัตว์ เป็นเชื้อเพลิง ใช้เป็นวัตถุคลุมดินหรือบำรุงดิน เป็นต้น
  • การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จากอ้อยนั้น จะให้ ชานอ้อย  กากตะกอน กากน้ำตาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะได้น้ำตาลทรายที่เราใช้ปรุงอาหารแล้ว ชานอ้อย กากตะกอน รวมถึงกากน้ำตาล สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น ชานอ้อย ใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น อัดเป็นแผ่น  แผ่นกันความร้อน ใช้ผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษชนิดต่าง ๆ ใช้เป็นอาหาร ใช้ทำปุ๋ยหมัก  กากตะกอน ใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ใช้ในผลิตภัณฑ์ขัดเงา ผลิตหมึกสำหรับกระดาษคาร์บอน ผลิตลิปสติก กากน้ำตาล ใช้ทำปุ๋ย ใช้เลี้ยงสัตว์ ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ ใช้ทำผงชูรส ใช้ทำกรดน้ำส้ม เป็นต้น

โทษของอ้อย

สำหรับการบริโภคน้ำอ้อยในปริมาณมาก และ ติดต่อกันนานเกินไป ทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานตามมาอีกมากมาย

อ้อย ภาษาอังกฤษ เรียก Sugar cane มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saccharum officinarum L. อ้อย นั้นจัดเป็นพืชในตระกูลหญ้า ไผ่ สำหรับ อ้อยมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น อ้อยขม อ้อยดำ อ้อยแดง อ้อยตาแดง เป็นต้น อ้อย สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน น้ำของต้นอ่อยมีความหวาน นำทำน้ำตาลรับประทาน นอกจากน้ำตาลแล้วอ้อยถูกนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษ พลาสติก เป็นเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ เป็นต้น ประเทศที่มีการปลูกอ้อยจำนวนมาก คือ บลาซิล คิวบา และอินเดีย

การปลูกอ้อย

สำหรับ การปลูกอ้อย นั้น อ้อยจะมีการเจริญเติบโตอยู่ 4 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะงอก ภาษาอังกฤษ เรียก germination phase เป็นระยะแรก คือ หน่อเริ่มโผล่พ้นดิน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 14-21 วัน เป็นหน่อที่เกิดจากตาของท่อนพันธุ์ เราเรียก หน่อแรก (primary shoot)
  • ระยะแตกกอ ภาษาอังกฤษ เรียก tillering phase ในระยะนี้การแตกกอของอ้อยจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังปลูก และการแตกกอนี้จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้อ้อยสามารถแตกกอได้ดี คือ ความชื้นในดิน แสง อุณหภูมิ และปุ๋ย การปลูกอ้อยในระยะการแตกกอต้อง การควบคุม น้ำ และ วัชพืช ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการแตกกอให้ผลผลิตที่ดีได้
  • ระยะย่างปล้อง ภาษาอังกฤษ เรียก stalk elongation phase เมื่อปลูกอ้อยได้อายุ 4-8 เดือน อ้อยจะเข้าสู่ระยะย่างปล้อง คือ อ้อยจะมีการเพิ่มความยาวและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปล้องอย่างรวดเร็ว เมื่อผ่านระยะ 8 เดือนแล้ว การเจริญเติบโตของอ้อยจะเริ่มลดลง และเริ่มมีการสะสมน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นฃ
  • ระยะแก่และสุก ภาษาอังกฤษ เรียก maturity and ripening phase ในระยะนี้อ้อยพร้อมให้ผลผลิตแล้ว อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมาก การสะสมน้ำตาลนั้นจะเริ่มจากส่วนโคนไปหาปลาย สามารถตัดผลผลิตไปใช้ประโยชน์

อ้อย ( Sugar cane ) สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล ประโยชน์และสรรพคุณของอ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว  และ อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย อ้อยสรรพคุณเป็นอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove