บุก ( Konjac ) สมุนไพรสำหรับคนลดน้ำหนัก สรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บุกมาทำอาหารเสริม บุกมีสารสำคัญ กลูโคลส แมนโนส ฟลุคโตส และ กลูโคแมนแนนบุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุก

ต้นบุก มีชื่อสามัญว่า Konjac อ่านออกเสียงว่า คอน-จัค มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Amorphophallus konjac K.Koch ชื่อเรียกอื่นๆของบุก เช่น บุกคุงคก เบีย เบือ มันซูรัน หัวบุก บุกคางคก บุกหนาม บุกหลวง หมอ ยวี จวี๋ ยั่ว หมอยื่อ เป็นต้น หัวบุก มีสรรพคุณ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้โรคท้องมาน ใช้สำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปรกติ ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แก้ฝีหนองบวมอักเสบ  ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี ใช้เป็นยาพอกฝี

ลักษณะของต้นบุก

ต้นบุก ถือเป็น พืชล้มลุกชนิกหนึ่ง เป็นไม้เนื้ออ่อน ลักษณะของลำต้นอวบและมีสีเขียวเข้ม ใบบุกเป็นใบเดี่ยว ซึ่งใบของบุกจะแตกใบที่ยอดและใบแผ่ขึ้นเหมือนร่มกาง ดอกของบุกจะมีสีเหลือง จะบานในตอนเย็น มีกลิ่นฉุน ลักษณะเหมือนดอกหน้าวัว ลักษณะของต้นบุก มีดังนี้

  • ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 50-150 เซนติเมตร หัวที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นรูปค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย หรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวมีลายแต้มสีขาวปะปนอยู่
  • ใบบุก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลมรี ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
  • ดอกบุก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงทรงกระบอกกลมแบน มีกลิ่นเหม็น สีม่วงแดงอมเขียว มีกาบใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร สีม่วงอมเหลือง โผล่ขึ้นพ้นจากกลีบเลี้ยงที่มีสีม่วง
  • ผลบุก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแบน เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม

สรรพคุณของบุก

สำหรับสรรพคุณของบุก เรานิยมใช่ประโยน์ทางยาของบุก จาก หัว รากและเนื้อของลำต้น รายละเอียด ดังนี้

  • หัวบุก มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน เป็นยาแก้ไข้จับสั่น ช่วยแก้ไอ ละลายเสมหะ แก้โรคท้องมาน ใช้สำหรับสตรีประจำเดือนมาไม่ปรกติ ใช้แก้พิษงู ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้และน้ำร้อนลวก แก้ฝีหนองบวมอักเสบ  ใช้เป็นยาแก้ปวด แก้ฟกช้ำดำเขียว
  • รากของบุก ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี ใช้เป็นยาพอกฝี

ข้อควรระวังในการบริโภคบุก

สำหรับข้อห้ามสำหรับการรับประทานบุก คือ หัวบุกจะมีรสเผ็ด เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น ในกลุ่มคนที่ ม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร ไม่ดี ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน และไม่รับประทานมากเกินไป ซึงข้อควรระวังในการบริโภคบุก มีรายละเอียดดังนี้

  • ในเนื้อหัวบุกป่าจะมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลท (Calcium oxalate) เป็นจำนวนมาก ที่ทำให้เกิดอาการคัน ส่วนเหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดีแล้วรับประทานเข้าไปจะทำให้ลิ้นพองและคันปากได้
  • ก่อนนำมารับประทานจะต้องกำจัดพิษออกก่อน และไม่รับประทานกากยาหรือยาสด
  • กรรมวิธีการกำจัดพิษจากหัวบุก ให้นำหัวบุกมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตำพอแหลก คั้นเอาน้ำออกพักไว้ นำกากที่ได้ไปต้มน้ำ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปผสมกับน้ำที่คั้นครั้งแรก แล้วนำไปต้มกับน้ำปูนใสเพื่อให้พิษหมดไป เมื่อเดือดก็พักไว้ให้เย็น จะจับตัวกันเป็นก้อน จึงสามารถใช้ก้อนดังกล่าวในการปรุงอาหารหรือนำไปตากแห้งเพื่อใช้เป็นยาได้
  • ถ้าเกิดอาการเป็นพิษจากการรับประทานบุก ให้รับประทานน้ำส้มสายชูหรือชาแก่ แล้วตามด้วยไข่ขาวสด แล้วให้รีบไปพบแพทย์
  • เนื่องจากวุ้นบุกสามารถขยายตัวได้มาก จึงไม่ควรบริโภควุ้นบกภายหลังการรับประทาน แต่ให้รับประทานก่อนอาหารไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง ส่วนการบริโภคอาหารที่ผลิตจากวุ้น เช่น วุ้นก้อนและเส้นวุ้น สามารถบริโภคพร้อมอาหารหรือหลังอาหารได้ เพราะวุ้นดังกล่าวได้ผ่านกรรมวิธีและได้ขยายตัวมาก่อนแล้ว และการการที่จะขยายตัวหรือพองตัวได้อีกนั้นจึงเป็นไปได้ยาก ส่วนในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการนั้นพบว่าวุ้นบุกไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เนื่องจากไม่มีการย่อยสลายเป็นน้ำตาลในร่างกาย และไม่มีวิตามินและแร่ธาตุ หรือสารอาหารใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย
  • กลูโคแมนแนนมีผลทำให้การดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมันลดลง ซึ่งจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ แต่จะไม่มีผลต่อการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในน้ำ
  • การกินผงวุ้นบุกในปริมาณมาก อาจทำให้มีอาการท้องเดินหรือท้องอืด มีอาการหิวน้ำมากกว่าเดิม บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียเพราะระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้

มะเฟือง ไม้ผลรูปดาว นิยมรับประทานผลสุก ลักษณะของต้นมะเฟืองเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเฟือง เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงร่างกาย โทษของมะเพือง มีอะไรบ้างมะเฟือง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของมะเฟือง

ต้นมะเฟือง เป็นพืชไม่ผลัดใบ เติบโตได้ดีในอากาศร้อนชื้น ไม่ชอบอากาศหนาว ซึ่งมีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินโดนีเชีย และ มาเลเชีย ต่อมามีการแพร่กระจายเข้าสู่ประเทศแถบ ประเทศไทย พม่า ลาว ปัจจุบันมะเฟือง เป็นพืชที่มีความต้องการการบริโภคสูงในประเทศแถบทวีปยุโรป ผลไม้ส่งออก พืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เนื่องจากมีคาร์โบไฮเดรท วิตามินซี วิตามิน B5 วิตามินเค ฟอสฟอรัส ไฟเบอร์สูง

ต้นมะเฟือง ( Star fruit ) ชื่อวิทาศาสตร์ของมะเฟือง คือ acerrhoa carambola L สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะเฟือง เช่น เฟือง เป็นต้น นิยมทานผลอาหาร สรรพคุณเด่นของมะเฟือง เช่น บำรุงผิว ลดการเกิดสิว ช่วยขับปัสสาวะ แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ลดความร้อนในร่างกาย ป้องกันโรคโลหิตจาง รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน รักษานิ่ว

สายพันธุ์มะเฟือง

สำหรับมะเฟือง โดยทั่วไปมี 2 สายพันธ์ คือ สายพันธ์มะเฟืองหวาน และ สายพันธ์มะเฟืองเปรี้ยว ซึ่งสายพันธุ์มะเฟืองที่พบในประเทศไทย จะเป็นพันธุ์ท้องถิ่นที่มีการปลูกมาตั้งแต่ดั้งเดิม ซึ่งสายพันธุ์มะเฟืองที่พบในไทย มี 6 สายพันธ์ คือ สายพันธ์พื้นเมือง สายพันธ์ศรีเวียง สายพันธ์ดาราสยาม สายพันธ์ไต้หวัน สายพันธ์กวางตุ้ง และ สายพันธ์มาเลเซีย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะเฟืองสายพันธุ์พื้นเมือง เป็นพันธุ์ที่ไม่นิยมปลูก เนื่องจากผลรสเปรี้ยวมาก
  • มะเฟืองสายพันธุ์ศรีเวียง เป็นสายพันธ์ที่กลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์ดั้งเดิม ลักษณะเด่นผลดิบและผลสุกมัรสหวานมาก ผลมีสีเหลือง เหลืองอมส้ม
  • มะเฟืองสายพันธุ์ดาราสยาม ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้ คือ มีความหวานมาก
  • มะเฟืองสายพันธุ์ไต้หวัน ลักษณะพิเศษ คือ ผลขนาใหญ่ และ มีรสหวาน เป็นสานพันธุ์จากประเทศไต้หวัน
  • มะเฟืองสายพันธุ์กวางตุ้ง ลักษณะคล้ายสายพันธ์ไต้หวัน คือ ผลขนาดใหญ่ รสหวาน แต่สีผลค่อนข้างขาวนวล ขอบเหลี่ยมมีสีเขียว
  • มะเฟืองสายพันธุ์มาเลเชีย เป็นมะเฟืองสายพันธ์ที่ได้รับความนิยมสูง เน่ืองจากผลใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยว เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด ซึ่งมะเฟืองสายพันธุ์มาเลเชีย แบ่งได้อีก 2 พันธุ์ คือ สายพันธ์ B10 และ สายพันธุ์ B17

คุณค่าทางโภชนาการของมะเฟือง

สำหรับการบริโภคมะเฟืองเป็นอาหาร นิยมบริโภคผลของมะเฟืองเป็นอาหาร อาหารที่มีมะเฟือง เช่น น้ำมะเฟือง แหนมเนือง สลัดหมูย่าง เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะเฟือง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 34 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัยประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.8 กรัม กากใยอาหาร 0.9 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 15 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.17 มิลลิกรัม ไนอะซีน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินซี 28 มิลลิกรัม และ เบต้าแคโรทีน 3.19 RE

ลักษณะของต้นมะเฟือง

ต้นมะเฟือง เป็นไม้ผล ทรงฟุ่ม ไม่มีการผลัดใบ ให้เป็นร่มเงาได้ดีมาก สามารถขยายพันธ์โดยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ดพันธ์ สามารถเจริญเติบดตได้ดีในพื้นที่ร้อนชื้น ไม่ชอบอาการหนาว ลักษณะของต้นมะเฟือง มีดังนี้

  • ลำต้นมะเฟือง มีความสูงประมาณ 10 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ มีรอยแตกตามยาวไปทั่ว ลำต้นแตกกิ่งก้านจำนวนมาก
  • ใบมะเฟือง ลักษณะเป็นใบใบเดี่ยว ก้านใบยาว ใบย่อยเรียงเป็นคู่ๆจนถึงปลายก้านใบ ใบมะเฟืองคล้ายใบมะยม แต่ใบมะเฟืองจะป้อมกว่า ฐานใบมน ปลายใบแหลม ก้านใบสีม่วงแดง ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ใบแก่สีเขียว ขอบใบเรียบ ใบเป็นมัน ใบมีขนปกคลุม
  • ดอกมะเฟือง ออกดอกเป็นช่อ ออกดอกตามกิ่งและลำต้น ช่อดอกยาว ดอกตูมมีสีม่วงแดง ดอกบานจะมีสีแดงม่วง สีขาว หรือชมพู
  • ผลมะเฟือง ผลเป็นเหลี่ยม ลักษณะเป็นแฉกคล้ายรูปดาว  ผลอ่อนจะมีสีเขียว ผลสุกจะเป็นสีเหลือง ภายในผลฉ่ำน้ำ มีรสชาติแล้วแต่สายพันธ์ ภายในผลมีเมล็ด 5 – 12 เมล็ดต่อผล แต่บางสายพันธุ์จะมีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ดเลย ผลมะเฟืองจะเริ่มหลังจากดอกมะเฟืองบานแล้วประมาณ 60 วัน

สรรพคุณของมะเฟือง

มะเฟือง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางยาและการบำรุงร่างกาย นำมาเป็นสมุนไพรรักษาโรค  ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากหลายส่วน ตั้งแต่ ผล เมล็ด ใบ ดอก เปลือก และ ราก สรรพคุณของมะเฟือง มีดังนี้

  • ผลมะเฟือง สรรพคุณทำให้ชุม่คอ แก้คอแห้ง บำรุงเหงือกและฟัน ลดเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้อาเจียน แก้เมารถ ช่วยลดความเครียด ช่วยทำให้ผ่อนคลาย เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย ช่วยขับระดู ช่วยขับน้ำลาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน ช่วยเสริมสร้างภูมต้านทาน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แก้ร้อนใน แก้อาการท้องเสีย
  • เมล็ดมะเฟือง มีรสขม สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ช่วยให้นอนหลับง่าย แก้ดีซ่าน ช่วยขับระดู บรรเทาอาการปวดท้อง
  • ใบมะเฟือง สรรพคุณใช้รักษาแผลสด ลดไข้ ช่วยดับร้อน ช่วยขับปัสสาวะ แก้โรคนิ่ว แก้ปัสสาวะขัด รักษารังแค ช่วยห้ามเลือด บรรเทาอาการแผลจากแมลงกัดต่อย แก้ปวด
  • ดอกมะเฟือง สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับพยาธิ และ ช่วยขับสารพิษ
  • เปลือกต้นมำเฟือง สรรพคุณช่วยรักษาแผล แก้ท้องเสีย
  • รากมะเฟือง สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดเมื่อย บรรเทาอาการแน่นท้อง

โทษของมะเฟือง

สำหรับการใช้ประโยชน์หรือการรับประทานมะเฟือง มีข้อควรระวัง เนื่องจากผลของมะเฟืองนั้นมีกรดออกซาลิกสูง ทำให้ไตทำงานหนัก เป้นสาเหตุของโรคต่างๆตามมาได้ หากรับประทานมากเกินไป โทษของมะเฟือง มีดังนี้

  • ผลมะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูง ทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรรับประทานมะเฟือง
  • ผู้ป่วยที่รับประทานยาลดไขมัน หรือ ยาคลายเครียด ไม่ควรรับประทานมะเฟือง เนื่องจากมะเฟืองมีฤทธิ์ไปต่อต้านการทำงานของตัวยา
  • มะเฟืองมีสรรพคุณช่วยขับระดู สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ประโยชน์หรือรับประทานมะเฟือง อาจทำให้ตกเลือด แท้งลูกได้
  • มะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูง สามารถเพิ่มโอกาสการเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือ นิ่วในไตได้

มะเฟือง ไม้ผลรูปดาว นิยมรับประทานผลมะเฟืองสุก ลักษณะของต้นมะเฟืองเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเฟือง เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงร่างกาย โทษของมะเพือง มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove