แห้ว Water Chestnut สมุนไพร นิยมรับประทานเป็นอาหาร ต้นแห้วเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาเบาหวาน โทษของแห้วมีอะไรบ้าง

แห้ว ต้นแห้ว สรรพคุณของแห้ว สมุนไพร

ต้นแห้ว มีชื่อสามัญ ว่า Water Chestnut ชื่อวิทยาศาสตร์ของแห้ว คือ Eleocharisdulcis Trin. ต้นแห้วมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีน และ ประเทศในเขตอบอุ่น สามารถปลูกได้ทั่วไป แห้วเป็น พืชชายน้ำ ที่นิยมนำหัวของแห้วมารับประทาน เนื้อของหัวแห้ว ขาว มีรสหวาน นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น แป้ง หรือ แห้วกระป๋อง เป็นต้น

แห้วในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยนั้น เริ่มมการนำแห้วจีนเข้ามาปลูกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 โดย กำนันวงษ์ ปลูกในนาข้าวของกำนันวงษ์ ที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันการปลูกแห้วมีการปลูกมาก เฉพาะพื้นที่ภาคกลาง ตามแถบแม่น้ำท่าจีน

ชนิดของแห้ว

ต้นแห้ว ที่นิยมนำมาปลูกนั้น มี 3 ชนิด คือ แห้วหมู แห้วไทย และ แห้วจีน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • แห้วหมู หรือ หญ้าแห้วหมู มีลักษณะเด่นของแห้วชนิดนี้ คือ ลำต้นขนาดเล็ก กลม สั้น แตกใบสูงกว่าลำต้น แตกหัวออกตามไหล หัวแห้วมีขนาดเล็ก เปลือกหัวแห้วสีดำอมน้ำตาล เนื้อสีขาว แข็ง รสเผ็ดร้อน
  • แห้วไทย ลักษณะ คือ ลำต้นสูงประมาณ 80 เซนติเมตร ใบเป็นสามเหลี่ยม เปลือกของหัวแห้วมีสีดำ และแข็งเป็นริ้ว เนื้อของหัวแห้วมีสีขาว เมื่อให้ต้มสุกแล้วเนื่อจะเป็นสีเหลืองอ่อน หัวเล็กกว่าแห้วจีน
  • แห้วจีน นิยมปลูกมากที่สุดในไทย ลักษณะ คือ ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ใบเป็นทรงกลม เหมือนหญ้า หัวแห้วทรงกลม เปลือกของหัวแห้วสีน้ำตาลไหม้ เนื้อของหัวแห้วสีขาว

ลักษณะของต้นแห้ว

ต้นแห้ว เป็นพืชล้มลุก อายุแค่ปีเดียว ลักษณะคล้ายข้าว ปลูกในที่ที่มีน้ำมาก สำหรับรายละเอียดของต้นแห้ว มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากและหัวของแห้ว เป็นแบบไรโซม มีการแตกไหล หัวแห้ว มีลักษณะทรงกลม ค่อนข้างแบน หัวแห้ว สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ หัวแห้วที่เกิดเมื่อต้นแห้วอายุ 6 ถึง 8 สัปดาห์  และ หัวแห้วที่เกิดช่วงแห้วออกดอก
  • ลำต้นของแห้ว เป็นลักษณะกก ลำต้นมีทรงกลม ลำต้นตั้งตรง แข็ง และ อวบน้ำ ลำต้นสูงประมาณ 1.5 เมตร
  • ใบของแห้ว เป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะกลม ยาว สีเขียว
  • ดอกของแห้ว จะออกดอกเป็นช่อ ออกที่บริเวณยอดของลำต้น ช่อดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกแห้วจะแทงออกเมื่อลำต้นสูงประมาณ 15 เซนติเมตร
  • ผลของแห้ว เรียก เมล็ด มีขนาดเล็ก สีน้ำตาลอมดำ

ประโยชน์ของแห้ว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นแห้วนั้น ประโยชน์หลักของแห้วนั้น นิยมนำหัวแห้วมาทำอาหารรับประทาน ซึ่งหัวแห้วมีคุณสมบัติคล้ายยแป้งข้าวโพด สามารถนำแห้วมาทำแป้งได้ ทำอาหารสัตว์ได้ ส่วนใบและลำต้นของแห้วสามารถนำมาทำเครื่องจักรสานได้ เช่น หมวกสาน ตะกร้า เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของแห้ว

สำหรับหัวแห้วนั้นเป็นส่วนที่นิยมนำมารับประทาน โดยนักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหัวแห้ว ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 730 กิโลจูล มีสารอาหารสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย น้ำ 48.2 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 32.1 กรัม กากใยอาหาร 14.9 กรัม น้ำตาล 3.3 กรัม แคลเซียม 17.6 มิลลิกรัม สังกะสี 0.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.7 มิลลิกรัม โซเดียม 0.8 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม

สรรพคุณของแห้ว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแห้วด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นัั้น จะใช้ หัวแห้วและใบแห้ว โดยรายละเอียด สรรพคุณของแห้ว มีดังนี้

  • หัวแห้ว สรรพคุณ แก้อักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยบำรุงร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาเบาหวาน แก้กระหายน้ำ กระตุ้นการย่อยอาหาร ลดไข้ แก้ร้อนใน ช่วยขับน้ำนม รักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้ท้องผูก แก้อาการเมาเหล้า รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยให้หูดอ่อนนิ่มลง
  • ใบแห้ว สรรพคุณ แก้อาการปวดเหงือก แก้ปวดฟัน รักษาแผลในช่องปาก รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย ลดอาการปวดบวม

โทษของแห้ว

สำหรับโทษของแห้วนั้น เนื่องจากเนื้อแห้วมีความแข็ง ทำให้ระบบการย่อยอาหาร และ กระเพาะอาหารทำงานหนักขึ้น สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ พึ่งผ่าการผ่าตัดลำไส้หรือกระเพาะอาหารมา รวมถึงคนป่วยโรคเกี่ยวกับม้าม ควรหลีกเลี่ยงการกินแห้ว

แห้ว ( Water Chestnut ) คือ พืชล้มลุก สมุนไพร นิยมรับประทานหัวแห้ว ต้นแห้วเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของแห้ง ประโยชน์ของแห้ว สรรพคุณของแห้ว เช่น ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยบำรุงร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน กระตุ้นการย่อยอาหาร ช่วยขับน้ำนม เป็นต้น โทษของแห้วมีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

ผักชี Coriander ผักสวนครัวนำมารับประทานเป็นอาหาร ต้นผักชีเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด ประโยชน์และโทษของผักชีมีอะไรบ้าง

ผักชี ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของผักชี

ต้นผักชี มีชื่อสามัญว่า Coriander ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เป็นต้น ต้นผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย ผักชี จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ นิยมปลูกขาย และ ปลูกกินตามบ้านทั่วไป ซึ่งการปลูกผักชีในประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกมาก ได้แก่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม และ กรุงเทพมหานคร ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยมี สายพันธุ์ผักชีที่นิยมปลูก 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก
  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง

ลักษณะของต้นผักชี

ต้นผักชี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกและรับประทานทั่วไปในประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชี มีลักษณะตั้งตรง ภายในลำต้นกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ผิวลำต้นเรีบย มีสีเขียว หรือ น้ำตาลอมแดง ลำต้นจะสูงประมาณ 15 นิ้ว
  • รากของผักชี มีรากแก้ว แต่ไม่ยาว มีรากฝอยจำนวนมาก
  • ใบของผักชี มีลักษณะเป็นใบเดียว เป็นแฉกๆ รูปพัด สีเขียว มีกลิ่นหอม
  • ดอกของผักชี ซึ่งดอกของผักชีจะออกเป็นช่อ ออกจากโคนลำต้น ตั้งตรงเหนือยอดต้น ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว
  • เม็ดผักชี มีลักษณะเป็นทรงกลม ออกมาจากดอกของผักชี ใช้เป็นส่วนในการขยายพันธ์ผักชี

คุณค่าทางโภชนาการของผักชี

สำหรับประโยชน์ด้านโภชนาการของผักชีนั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสดๆ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 23 กิโลแคลอรี และ มีสารอาหารสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม  ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.162 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.114 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.57 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.149 มิลลิกรัม วิตามินบี9 62 ไมโครกรัม วิตามินซี 27 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.5 มิลลิกรัม วิตามินเค 310 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของผักชี 

ผักชี มีประโยชน์เป็นพืชที่ใช้ในการเป็นอาหารเป็นหลัก แต่นอกจากการนำมาทำอาหารแล้ว ผักชีสามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย ซึ่งได้จากการสกัดจากเมล็ดของผักชี สามารถนำมาเป็นสารในการผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เป็นต้น

สรรพคุณของผักชี

สำหรับประโยชน์ของผักชีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้นผักชี ตั้งแต่ รากผักชี ลำต้นผักชี ใบผักชี และ เมล็ดของผักชี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบผักชี สรรพคุณบำรุงสายตา ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ป้องกันมะเร็ง ขับเหงื่อ แก้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะ แก้สะอึก แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม  รักษาอาหารเป็นพิษ ช่วยแก้พิษตานซาง รักษาตับอักเสบ รักษาโรคหัด ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ
  • เมล็ดผักชี สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน บำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดท้อง แก้งท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร รักษาริดสีดวงทวาร
  • รากผักชี สรรพคุรช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ

โทษของผักชี

  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • การกินผักชีมากเกินไป เนื่องจากผักชีมีกลิ่นฉุน อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง
  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตาลาย หรือ ขี้หลงขี้ลืม เนื่องจากอาการมึนหัว
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง การกินผักชีมากเกินไป ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับคนเป็นโรคไต ควรลดการกินผักชี

ผักชี ( Coriander ) คือ ผักสวนครัว พืชล้มลุก นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร สมุนไพร ลักษณะของต้นผักชีเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของผักชี สรรพคุณของผักชี เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น ประโยชน์ของผักชี และ โทษของผักชี เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับผักชีทั้งหมด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove